พบผลลัพธ์ทั้งหมด 69 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3012-3013/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร่วมกันมีเฮโรอีนไว้ครอบครองเพื่อจำหน่ายและพยายามส่งออกนอกราชอาณาจักร แม้เรือยังไม่แล่นพ้นชายฝั่งก็ถือเป็นความผิดสำเร็จ
จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 และที่ 8 รู้ว่าถุงปุ๋ยจำนวน 7 ถุง ภายในบรรจุเฮโรอีนและได้ร่วมกันลำเลียงมาจากบ้านของ ส.ลงเรือเพื่อส่งให้กับเรือใหญ่ในน่านน้ำสากลเป็นความผิดฐานมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย
จำเลยที่ 1 ถึงที่ 8 อยู่บนเรือพร้อมจะออกเดินทางสู่น่านน้ำสากลได้ทุกเมื่อ การที่จำเลยคนใดคนหนึ่งซึ่งอยู่บนเรือได้แกะเชือกที่หัวเรือออก เป็นการลงมือเพื่อส่งเฮโรอีนของกลางออกนอกราชอาณาจักรเพื่อจำหน่ายแล้ว จึงมีความผิดฐานพยายามส่งเฮโรอีนออกนอกราชอาณาจักรเพื่อจำหน่าย หาจำต้องให้เรือแล่นสู่น่านน้ำสากลเสียก่อนไม่
จำเลยที่ 1 ถึงที่ 8 อยู่บนเรือพร้อมจะออกเดินทางสู่น่านน้ำสากลได้ทุกเมื่อ การที่จำเลยคนใดคนหนึ่งซึ่งอยู่บนเรือได้แกะเชือกที่หัวเรือออก เป็นการลงมือเพื่อส่งเฮโรอีนของกลางออกนอกราชอาณาจักรเพื่อจำหน่ายแล้ว จึงมีความผิดฐานพยายามส่งเฮโรอีนออกนอกราชอาณาจักรเพื่อจำหน่าย หาจำต้องให้เรือแล่นสู่น่านน้ำสากลเสียก่อนไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9496/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิส่งออกกับความสัมพันธ์ระหว่างคู่สัญญา: จำเลยที่ 4 ไม่ต้องรับผิดในค่าขนส่ง
สินค้าที่โจทก์ขนส่งไปประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 เป็นผู้ติดต่อตกลงในการขนส่งกับโจทก์ จำเลยที่ 1 จึงเป็นคู่สัญญากับโจทก์ การที่จำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นผู้ได้รับอนุมัติโควตามอบโควตาให้จำเลยที่ 1 ส่งสินค้าเสื้อผ้าสำเร็จรูปออกไปประเทศสหรัฐอเมริกาอีกต่อหนึ่ง เป็นการโอนสิทธิในการส่งออกให้จำเลยที่ 1 ไม่ใช่เป็นการตั้งให้จำเลยที่ 1 มีอำนาจทำการแทนจำเลยที่ 4 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 797 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 1 จึงไม่ใช่ตัวแทนของจำเลยที่ 4 จำเลยที่ 4 ไม่ต้องรับผิดในค่าขนส่งต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9496/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิส่งออกกับการรับผิดในค่าขนส่ง: จำเลยที่ 1 เป็นคู่สัญญาโดยตรง ไม่ใช่ตัวแทนของจำเลยที่ 4
สินค้าที่โจทก์ขนส่งไปประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นของจำเลยที่ 1จำเลยที่ 1 เป็นผู้ติดต่อตกลงในการขนส่งกับโจทก์ จำเลยที่ 1 จึงเป็นคู่สัญญากับโจทก์ การที่จำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นผู้ได้รับอนุมัติโควตามอบโควตาให้จำเลยที่ 1 ส่งสินค้าเสื้อผ้าสำเร็จรูปออกไปประเทศสหรัฐอเมริกา อีกต่อหนึ่ง เป็นการโอนสิทธิในการส่งออกให้จำเลยที่ 1 ไม่ใช่ เป็นการตั้งให้จำเลยที่ 1 มีอำนาจทำการแทนจำเลยที่ 4 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 797 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 1จึงไม่ใช่ตัวแทนของจำเลยที่ 4 จำเลยที่ 4 ไม่ต้องรับผิดในค่าขนส่ง ต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7819/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิรับเงินชดเชยภาษีอากรส่งออก ต้องพิสูจน์สินค้าผลิตในประเทศ
ตาม พ.ร.บ.ชดเชยค่าภาษีอากรสินค้าส่งออกที่ผลิตในราชอาณาจักรพ.ศ. 2524 มาตรา 4 ผู้มีสิทธิได้รับเงินชดเชยหมายถึง ผู้ทำการส่งสินค้าออกซึ่งสินค้าดังกล่าวเป็นสินค้าที่ผลิตในราชอาณาจักร แต่พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบรับฟังไม่ได้ว่าสินค้าพิพาทที่โจทก์ส่งออกนอกราชอาณาจักรตามที่โจทก์ได้สำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาออกเป็นสินค้าที่ผลิตในราชอาณาจักร โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอรับเงินชดเชยค่าภาษีอากรสำหรับสินค้าดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7819/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการขอรับเงินชดเชยภาษีอากรต้องพิสูจน์ได้ว่าสินค้าส่งออกผลิตในประเทศ
ตามพระราชบัญญัติชดเชยค่าภาษีอากรสินค้าส่งออกที่ผลิตในราชอาณาจักร พ.ศ. 2524 มาตรา 4 ผู้มีสิทธิได้รับเงินชดเชยหมายถึง ผู้ทำการส่งสินค้าออกซึ่งสินค้าดังกล่าวเป็นสินค้าที่ผลิตในราชอาณาจักร แต่พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบรับฟังไม่ได้ว่าสินค้าพิพาทที่โจทก์ส่งออกนอกราชอาณาจักรตามที่โจทก์ได้สำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาออกเป็นสินค้าที่ผลิตในราชอาณาจักร โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอรับเงินชดเชยค่าภาษีอากรสำหรับสินค้าดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2473/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งออกสินค้าที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายศุลกากร ทำให้ไม่มีสิทธิขอคืนเงินอากร
โจทก์นำสินค้าผ้าฝ้ายจากเมืองฮ่องกงเข้ามาในราชอาณาจักรไทยเพื่อผลิตเป็นสินค้าเสื้อผ้าส่งออกไปยังต่างประเทศซึ่งการส่งออกดังกล่าวต้องมีโควตาและรับอนุญาตจากกระทรวงพาณิชย์เป็นหนังสือ แต่โจทก์ไม่มีโควตา จึงมอบให้บริษัท ว. เป็นผู้ส่งออกในนามของบริษัทดังกล่าว แม้ว่าตามมาตรา 19 ทวิ แห่ง พ.ร.บ. ศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2482 จะเพียงแต่บัญญัติให้ผู้นำเข้าต้องส่งสินค้าที่ผลิตด้วยของที่นำเข้าดังกล่าวออกไปยังเมืองต่างประเทศภายในกำหนด 1 ปี นับแต่วันนำเข้า จึงจะได้รับคืนเงินอากรขาเข้าก็ตาม แต่การส่งออกดังกล่าวต้องเป็นการส่งออกโดยชอบตามมาตรา 45 แห่ง พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อ 19 และข้อ 9 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 329 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 ซึ่งบัญญัติให้ผู้ส่งออกต้องปฏิบัติให้ครบถ้วนตาม พ.ร.บ. ศุลกากรและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับการศุลกากรและยื่นใบขนสินค้าโดยถูกต้องด้วย การที่บริษัท ว. ส่งสินค้าของโจทก์ไปยังประเทศสหรัฐอเมริกาโดยไม่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงพาณิชย์ ทั้งยังระบุในใบกำกับสินค้าว่าส่งออกไปยังเมืองฮ่องกงนั้น ถือเป็นการส่งออกที่ไม่ชอบด้วยมาตรา 45 ดังกล่าวซึ่งผูกพันโจทก์ด้วย โจทก์จะอ้างว่าโจทก์ไม่ทราบถึงการกระทำของบริษัทดังกล่าวหาได้ไม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอให้จำเลยคืนเงินอากรขาเข้าตามมาตรา 19 ทวิ ดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2473/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งออกที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายทำให้เสียสิทธิขอคืนเงินอากรขาเข้า แม้ผู้นำเข้าจะอ้างว่าไม่ทราบการกระทำของผู้ส่งออก
แม้มาตรา 19 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 9)พ.ศ. 2482 ประกอบมาตรา 45 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อ 19 และ ข้อ 9 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 329 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 จะเพียงแต่ บัญญัติให้ผู้นำเข้าต้องส่งสินค้าที่ผลิตด้วยของที่นำเข้า ดังกล่าวออกไปยังเมืองต่างประเทศภายในกำหนด 1 ปีนับแต่วันนำเข้า จึงจะได้รับคืนเงินอากรขาเข้าก็ตาม แต่การส่งออก ดังกล่าวต้องเป็นการส่งออกโดยชอบตามมาตรา 45แห่ง พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 ซึ่งบัญญัติให้ผู้ส่งออกต้องปฏิบัติให้ครบถ้วนตามพระราชบัญญัติศุลกากรและกฎหมาย อื่นที่เกี่ยวข้องกับการศุลกากรและยื่นใบขนสินค้าโดยถูกต้องด้วยการที่บริษัทว.ส่งสินค้าของโจทก์ไปยังประเทศสหรัฐอเมริกาโดยไม่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงพาณิชย์ ทั้งยังระบุใน ใบกำกับสินค้าว่าส่งออกไปยังเมืองฮ่องกงนั้น ถือเป็นการส่งออกที่ไม่ชอบด้วยมาตรา 45 ซึ่งการกระทำดังกล่าวผูกพันโจทก์ด้วย โจทก์จะอ้างว่าตนไม่ทราบถึงการกระทำของบริษัทดังกล่าวหาได้ไม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอให้จำเลยคืนเงินอากรขาเข้าตาม พระราชบัญญัติศุลกากรฯ มาตรา 19 ทวิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 921/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสำแดงเท็จทางศุลกากร ทำให้ไม่มีสิทธิขอคืนเงินอากร เมื่อส่งออกเกินกำหนด
โจทก์นำสินค้าเข้าโดยเสียภาษีอากรครบถ้วนแล้ว แม้ว่าต่อมาโจทก์จะยื่นคำร้องขอส่งสินค้ากลับออกไปภายในหนึ่งปี นับแต่วันนำเข้า แต่เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้เปิดตรวจสินค้าเพื่อหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการสำแดงชื่อยี่ห้อสินค้า ปรากฏว่าสินค้าบางส่วนไม่ตรงตามสำแดง อันเป็นความผิดฐานยื่นคำร้องขออันเกี่ยวกับของอันเป็นเท็จ มีความผิดตามมาตรา 60, 99 แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 และไม่อยู่ในเงื่อนไขที่จะได้รับคืนเงินอากร โจทก์อุทธรณ์เจ้าพนักงานของจำเลยพิจารณาอุทธรณ์แล้วเห็นว่า การกระทำของโจทก์เป็นความผิดฐานสำแดงเท็จตามมาตรา 99 ให้เปรียบเทียบปรับ 50,000 บาท เพื่อระงับคดี และให้แก้ใบขนสินค้าให้ถูกต้องเพื่อผ่านพิธีการศุลกากรไปได้ โจทก์ส่งสินค้ากลับออกไปนอกราชอาณาจักรเมื่อเกินหนึ่งปีนับแต่วันนำเข้า แสดงว่า โจทก์ไม่สามารถส่งสินค้าออกไปได้เนื่องจากเจ้าพนักงานของจำเลยได้กักสินค้าไว้เพื่อดำเนินการตามกฎหมาย แต่เมื่อการกระทำของโจทก์เป็นการสำแดงเท็จเจ้าพนักงานของจำเลยจึงกักสินค้าไว้โดยชอบด้วยกฎหมาย แม้ต่อมาเจ้าพนักงานของจำเลยจะอนุญาตให้โจทก์ส่งสินค้าดังกล่าวกลับออกไปยังเมืองต่างประเทศก็ตามแต่ก็ด้วยเหตุผลที่ไม่ปรากฏว่า โจทก์มีเจตนาทุจริตในการขอคืนเงินอากรและเชื่อว่าของที่จะส่งออกทั้งหมดเป็นของรายเดียวกันกับที่นำเข้า ดังนั้น การที่โจทก์ไม่สามารถส่งสินค้ากลับออกไปยังเมืองต่างประเทศภายในหนึ่งปี ได้นั้น จึงเป็นความผิดของโจทก์ที่สำแดงใบขนสินค้าอันเป็นเท็จ เป็นเหตุให้เจ้าพนักงานของจำเลยกักยึดสินค้าของโจทก์ไว้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอคืนเงินอากรขาเข้าตาม พ.ร.บ.ศุลกากร(ฉบับที่ 9) พ.ศ.2482 มาตรา 19
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 838/2540 เวอร์ชัน 5 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มเพิ่มเติม กรณีส่งออกสินค้าอัตรา 0% และไม่มีภาษีเปลี่ยนแปลง
โจทก์กรอกรายการยอดขายที่ต้องเสียภาษีในอัตราร้อยละ 0ขาดไป 1,000,000 บาท จึงเป็นกรณีที่โจทก์ในฐานะผู้ประกอบการจดทะเบียนยื่นแบบแสดงรายการภาษีไว้ไม่ถูกต้องครบถ้วน โจทก์มีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเพิ่มเติมอีกครั้งหนึ่งพร้อมกับชำระภาษีถ้ามี ให้ถูกต้องครบถ้วน แต่ถ้าไม่มีจำนวนภาษีในเดือนภาษีเปลี่ยนแปลงไป ผู้ประกอบการจดทะเบียนก็ยังคงมีหน้าที่มายื่นแบบแสดงรายการภาษีเพิ่มเติมอีกครั้งหนึ่งให้ถูกต้อง โดยไม่ต้องชำระภาษีแต่อย่างใด ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 83/4 คดีนี้ โจทก์ส่งสินค้าประเภทเซรามิคไปขายที่ประเทศมาเลเซียและประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นการส่งสินค้าออกนอกราชอาณาจักรเพื่อส่งไปต่างประเทศอันเป็นการส่งออกตามนัยมาตรา77/1 (14) แห่ง ป.รัษฎากร โจทก์จึงเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนสำหรับการประกอบกิจการประเภทการส่งออกสินค้าที่มิใช่การส่งออกสินค้าซึ่งได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 81 (3) แต่ตามมาตรา 80/1 (1) แห่ง ป.รัษฎากรกำหนดให้ใช้อัตราภาษีร้อยละ 0 ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม แม้โจทก์จะยื่นแบบแสดงรายการภาษีไว้ไม่ถูกต้อง แต่โจทก์ไม่มีจำนวนภาษีในเดือนภาษีที่โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มเปลี่ยนแปลงไป ที่โจทก์จะต้องนำมาชำระให้ถูกต้องพร้อมกับยื่นแบบแสดงรายการภาษีเพิ่มเติมตามมาตรา 83/4 แห่งป.รัษฎากร ดังนี้ กรณีของโจทก์จึงไม่ต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มตามมาตรา 89 (4) และ 89/1 แห่ง ป.รัษฎากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 838/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งออกสินค้าและหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเพิ่มเติม แม้ไม่มีภาษีเปลี่ยนแปลง
โจทก์ส่งสินค้าประเภทเซรามิคไปขายที่ประเทศมาเลเซียและอินโดนิเซีย อันเป็นการส่งออกตามประมวลรัษฎากรมาตรา77/1(14)โจทก์จึงเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนสำหรับการประกอบกิจการประเภทการส่งออกสินค้าที่มิใช่การส่งออกสินค้าซึ่งได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา81(3)แต่ตามมาตรา81/1(1)กำหนดให้ใช้อัตราภาษีร้อยละ0ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มแม้โจทก์จะยื่นแบบแสดงรายการภาษีไว้ไม่ถูกต้องโดยกรอกรายการยอดขายขาดไป1,000,000บาทแต่โจทก์ไม่มีจำนวนภาษีในเดือนภาษีที่โจทก์ยื่นเปลี่ยนแปลงไปที่โจทก์จะต้องนำมาชำระให้ถูกต้องพร้อมกับยื่นแบบแสดงรายการภาษีเพิ่มเติมมาตรา83/4จึงไม่ต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มตามมาตรา83(4)และ89/1