พบผลลัพธ์ทั้งหมด 231 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 616/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดก แม้ไม่เป็นทายาทโดยตรง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 บัญญัติว่าทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียจะร้องต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกก็ได้ ดังนั้น ผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกตามมาตรา 1713 หาจำต้องมีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตายโดยเป็นทายาทโดยตรงของผู้ตายทุกกรณีไม่ เมื่อผู้ร้องเป็นผู้รับมรดกของ ก. แทนที่ ช. บิดาผู้ร้อง และหลังจากที่ ก. ถึงแก่ความตายยังมิได้จัดแบ่งที่ดินตามกรรมสิทธิ์แห่งเจ้าของรวมระหว่าง ก. กับ ส. ผู้ตายทั้งสอง ดังนั้น ผู้ร้องจึงมีส่วนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์อยู่ด้วยส่วนหนึ่ง ถือว่าผู้ร้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียในที่ดินอันเป็นมรดกของ ส. ผู้ร้องจึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกเฉพาะที่ดินอันเป็นมรดกของ ส. ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 458/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องเพิกถอนผู้จัดการทรัพย์สินผู้เยาว์และเรียกคืนทรัพย์สิน กรณีผู้ให้ทรัพย์สินมีส่วนได้เสีย
ตามคำฟ้องของโจทก์มีคำขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนหน้าที่ผู้จัดการทรัพย์สินของผู้เยาว์ของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นมารดาของผู้เยาว์และอำนาจจัดการทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้รับบุตรบุญธรรมของผู้เยาว์ในส่วนที่โจทก์ยกทรัพย์สินให้แก่ผู้เยาว์ และให้จำเลยทั้งสองส่งมอบบัญชีและทรัพย์สินดังกล่าวให้โจทก์กับมีคำสั่งห้ามจำเลยทั้งสองเข้ามาเกี่ยวข้องทรัพย์สินที่โจทก์ยกให้ผู้เยาว์ คำขอดังกล่าวนี้เป็นเรื่องที่โจทก์อ้างว่าจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการทรัพย์สินของผู้เยาว์ในส่วนที่โจทก์ยกให้จัดการทรัพย์สินของผู้เยาว์โดยไม่ชอบ กรณีดังกล่าวโจทก์ในฐานะผู้ให้ทรัพย์สินแก่ผู้เยาว์ย่อมถือว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการที่จะร้องขอต่อศาลให้เพิกถอนจำเลยที่ 1 ออกจากการเป็นผู้จัดการทรัพย์สินในส่วนดังกล่าวได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1577 ประกอบมาตรา 56
ในส่วนของจำเลยที่ 2 ซึ่งโจทก์ฟ้องว่าร่วมกับจำเลยที่ 1 โยกย้ายทรัพย์สินที่โจทก์ยกให้ผู้เยาว์ไปเป็นประโยชน์ส่วนตัว และมีคำขอท้ายฟ้องให้จำเลยทั้งสองร่วมกันส่งมอบบัญชีและทรัพย์สินให้โจทก์ ซึ่งหากจำเลยที่ 2 ได้กระทำการโยกย้ายทรัพย์สินของผู้เยาว์จริง โจทก์ก็ย่อมมีอำนาจฟ้องให้จำเลยที่ 2 ส่งมอบบัญชีและทรัพย์สินให้โจทก์ตามคำขอท้ายฟ้องได้
ในส่วนของจำเลยที่ 2 ซึ่งโจทก์ฟ้องว่าร่วมกับจำเลยที่ 1 โยกย้ายทรัพย์สินที่โจทก์ยกให้ผู้เยาว์ไปเป็นประโยชน์ส่วนตัว และมีคำขอท้ายฟ้องให้จำเลยทั้งสองร่วมกันส่งมอบบัญชีและทรัพย์สินให้โจทก์ ซึ่งหากจำเลยที่ 2 ได้กระทำการโยกย้ายทรัพย์สินของผู้เยาว์จริง โจทก์ก็ย่อมมีอำนาจฟ้องให้จำเลยที่ 2 ส่งมอบบัญชีและทรัพย์สินให้โจทก์ตามคำขอท้ายฟ้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 458/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องเพิกถอนผู้จัดการทรัพย์สินผู้เยาว์และเรียกคืนทรัพย์สินที่ยกให้ โดยผู้ให้ทรัพย์สินมีส่วนได้เสีย
ตามคำฟ้องโจทก์มีคำขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนหน้าที่ผู้จัดการทรัพย์สินผู้เยาว์ของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นมารดาของผู้เยาว์ และอำนาจจัดการทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้รับบุตรบุญธรรมของผู้เยาว์ ในส่วนที่โจทก์ยกทรัพย์สินให้แก่เด็กหญิง ก. ผู้เยาว์ และให้จำเลยทั้งสองส่งมอบบัญชีและทรัพย์สินดังกล่าวให้โจทก์กับมีคำสั่งห้ามจำเลยทั้งสองเข้ามาเกี่ยวข้องทรัพย์สินที่โจทก์ยกให้ผู้เยาว์ ซึ่งคำขอดังกล่าวนี้เป็นเรื่องที่โจทก์อ้างว่าจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการทรัพย์สินของผู้เยาว์ในส่วนที่โจทก์ยกให้จัดการทรัพย์สินของผู้เยาว์โดยไม่ชอบ กรณีดังกล่าวโจทก์ในฐานะผู้ให้ทรัพย์สินแก่ผู้เยาว์ย่อมถือได้ว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการที่จะร้องขอต่อศาลให้เพิกถอนจำเลยที่ 1 ออกจากการเป็นผู้จัดการทรัพย์สินในส่วนดังกล่าวได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1577 ประกอบมาตรา 56 และหากจำเลยที่ 2 ได้กระทำการโยกย้ายทรัพย์สินของผู้เยาว์จริง โจทก์ก็ย่อมมีอำนาจฟ้องให้จำเลยที่ 2 ส่งมอบบัญชีและทรัพย์สินให้โจทก์ตามคำขอท้ายฟ้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1703/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกหนี้ร่วมไม่มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีทรัพย์สินของลูกหนี้ร่วมอื่น แม้เป็นผู้ค้ำประกัน
แม้จำเลยที่ 2 จะเป็นลูกหนี้ร่วมกันกับจำเลยที่ 1 และที่ 3 ซึ่งแต่ละคนจำต้องชำระหนี้ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นจนสิ้นเชิงก็ตาม แต่ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่จะขายทอดตลาดนั้น เป็นทรัพย์สินของจำเลยที่ 3 มิใช่ทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ทั้งจำเลยที่ 2 ก็มิได้มีชื่อตามทะเบียนในทรัพย์สินที่ยึดดังกล่าวแต่อย่างใด จำเลยที่ 2 จึงมิใช่ผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินที่จะขายทอดตลาดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 306 การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ได้แจ้งการขายทอดตลาดที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของจำเลยที่ 3 ให้จำเลยที่ 2 ทราบ เป็นการชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6186/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องการสมรสโมฆะ: บุตรมีสิทธิร้องขอได้เมื่อกระทบสิทธิรับมรดก
โจทก์ทั้งเจ็ดเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของนาย ท. กับนาง จ. ต่อมานาง จ. ถึงแก่ความตาย นายท. ได้จดทะเบียนสมรสกับนาง ป. หลังจากนั้นนาย ท.มาจดทะเบียนสมรสกับจำเลยอีกโดยมิได้หย่าขาดจากนาง ป. จึงเป็นการฝ่าฝืนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1452 ย่อมตกเป็นโมฆะตามมาตรา 1495 เมื่อนาย ท. ถึงแก่ความตายแล้ว โจทก์ทั้งเจ็ดจึงเป็นทายาทโดยธรรมของนาย ท. และมีสิทธิได้รับทรัพย์มรดกของนาย ท. โจทก์ทั้งเจ็ดจึงอยู่ในฐานะเป็นบุคคลผู้ที่มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอให้ศาลพิพากษาว่า การสมรสระหว่างนาย ท. และจำเลยเป็นโมฆะได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1497 โจทก์ทั้งเจ็ดมีอำนาจฟ้อง ขอให้เพิกถอนการสมรสระหว่างนาย ท. กับจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4082-4083/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาเกี่ยวกับข้อจำกัดในการอุทธรณ์ฎีกาเมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยประเด็นที่ไม่ชอบ และประเด็นส่วนได้เสีย
โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความแบ่งทรัพย์สินกันต่อหน้าศาล แม้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ฮ. ทายาทผู้หนึ่งไม่ได้รับส่วนแบ่งเลย ในขณะที่ทายาทอื่นได้รับส่วนแบ่งกันทุกคนก็ตาม ก็เป็นเรื่องที่ ฮ. จะไปว่ากล่าวเอง โจทก์ไม่มีส่วนได้เสียจากการได้หรือไม่ได้รับมรดกของ ฮ. จึงไม่มีข้ออ้างเป็นเหตุแห่งส่วนได้เสียอันจะอุทธรณ์ฎีกาในปัญหานี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4082-4083/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความแบ่งที่ดิน: การอุทธรณ์ต้องเป็นไปตามข้อยกเว้นตามกฎหมาย และต้องมีส่วนได้เสียโดยตรง
อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่า การแบ่งที่ดินตามสัญญาประนีประนอมยอมความระบุแต่เพียงจำนวนเนื้อที่ที่แบ่งให้แก่โจทก์และบุคคลอื่นเป็นการแบ่งอย่างเลื่อนลอยไม่ชัดเจน ไม่อาจทราบได้ว่าที่ดินที่ได้รับแบ่งตั้งอยู่ส่วนใด มีอาณาเขตอย่างไร ผู้ได้รับส่วนแบ่งไม่สามารถแบ่งแยกที่ดินกันได้ถูกต้อง จึงไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความได้ ขอให้ศาลฎีกาส่งเรื่องคืนให้ศาลชั้นต้นทำสัญญาประนีประนอมยอมความแบ่งแยกที่ดินกันให้มีอาณาเขตแน่นอนว่าส่วนใดเป็นของใครบ้างนั้น ไม่เข้าเหตุหนึ่งเหตุใด ตามข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 138 วรรคสอง ซึ่งโจทก์จะมีสิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาได้ การที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยจึงเป็นการไม่ชอบและโจทก์ไม่อาจจะฎีกาต่อมาได้ตามมาตรา 249 วรรคหนึ่ง
ข้อตกลงแบ่งที่ดินตามสัญญาประนีประนอมยอมความหากจะทำให้ ฮ. ไม่ได้รับส่วนแบ่งที่ดินมรดกเลยหรือไม่ก็ตาม ก็เป็นเรื่องที่ ฮ. จะไปว่ากล่าวเอง โจทก์ไม่มีส่วนได้เสียจากการได้หรือไม่ได้รับมรดกของ ฮ. จึงไม่มีข้ออ้างเป็นเหตุแห่งส่วนได้เสียอันจะอุทธรณ์ฎีกาในปัญหานี้ได้ ที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยในปัญหานี้จึงเป็นการไม่ชอบและโจทก์ไม่อาจฎีกาในปัญหานี้ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
ข้อตกลงแบ่งที่ดินตามสัญญาประนีประนอมยอมความหากจะทำให้ ฮ. ไม่ได้รับส่วนแบ่งที่ดินมรดกเลยหรือไม่ก็ตาม ก็เป็นเรื่องที่ ฮ. จะไปว่ากล่าวเอง โจทก์ไม่มีส่วนได้เสียจากการได้หรือไม่ได้รับมรดกของ ฮ. จึงไม่มีข้ออ้างเป็นเหตุแห่งส่วนได้เสียอันจะอุทธรณ์ฎีกาในปัญหานี้ได้ ที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยในปัญหานี้จึงเป็นการไม่ชอบและโจทก์ไม่อาจฎีกาในปัญหานี้ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1443/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างทนายความที่มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดก: โมฆะตามหลักจริยธรรมวิชาชีพ
สัญญาจ้างว่าความระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสามมีใจความทำนองว่า จำเลยแต่ละคนตกลงให้ค่าตอบแทนโจทก์จำนวนร้อยละ 3 ของมูลค่าทรัพย์มรดกหรือจำนวนเงินที่ได้รับโดยจะจ่ายให้เมื่อได้รับเงินจากการแบ่งปันทรัพย์มรดกเป็นคราว ๆ ไป แสดงว่าค่าตอบแทนที่โจทก์จะได้รับจากจำเลยทั้งสามขึ้นอยู่กับทรัพย์มรดกหรือจำนวนเงินที่จำเลยทั้งสามได้รับ หากจำเลยทั้งสามไม่ได้รับทรัพย์มรดกหรือเงินส่วนแบ่ง โจทก์ก็ไม่มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนจากจำเลยทั้งสาม สัญญาจ้างว่าความเช่นนี้มีลักษณะที่โจทก์ซึ่งเป็นทนายความเข้ามีส่วนได้เสียทางทรัพย์สินในผลแห่งคดีของจำเลยทั้งสามซึ่งเป็นลูกความ ไม่เหมือนกับสัญญาจ้างว่าความที่ทนายพึงได้รับค่าจ้างเป็นจำนวนเงินตายตัวโดยไม่ต้องคำนึงถึงผลคดีว่าจะแพ้หรือชนะอย่างไร ทั้งการที่โจทก์มีหนังสือทวงถามเรียกค่าจ้างว่าความจากจำเลยทั้งสามโดยคิดในอัตราร้อยละ 3 ของทรัพย์มรดกแต่ละรายการที่จำเลยทั้งสามได้รับไปแล้วนั้น ยิ่งทำให้เห็นเจตนาของโจทก์ว่าประสงค์จะได้รับค่าจ้างตามผลแห่งคดีที่จำเลยทั้งสามได้รับทรัพย์มรดกโดยตรง สัญญาจ้างว่าความระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสามแม้ไม่ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย แต่ก็เป็นสัญญาที่ฝ่าฝืนต่อหลักจริยธรรมแห่งวิชาชีพทนายความ ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 150 และเมื่อข้อความในสัญญาจ้างว่าความชัดเจนอยู่แล้ว กรณีไม่อาจตีความโดยเพ่งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริงให้เป็นอย่างอื่นไปได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6744/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิฎีกาของโจทก์ร่วม: ข้อจำกัดเฉพาะในฐานะผู้เสียหายในข้อหาที่ตนมีส่วนได้เสีย
ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ผู้เสียหายเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการหมายถึงอนุญาตให้เข้าร่วมเป็นโจทก์ได้เฉพาะในข้อหาที่โจทก์ร่วมเป็นผู้เสียหาย
ข้อหาตาม ป.อ. มาตรา 371 และความผิดต่อ พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหาย โจทก์ร่วมมิใช่ผู้เสียหาย แม้ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ผู้เสียหายเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ โจทก์ร่วมก็ไม่มีสิทธิฎีกาในข้อหาดังกล่าวนี้
ข้อหาตาม ป.อ. มาตรา 371 และความผิดต่อ พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหาย โจทก์ร่วมมิใช่ผู้เสียหาย แม้ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ผู้เสียหายเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ โจทก์ร่วมก็ไม่มีสิทธิฎีกาในข้อหาดังกล่าวนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7605/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ถือหุ้น/กรรมการบริษัทจำกัด ไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียโดยตรงในคดีที่จำเลยเป็นนิติบุคคล และไม่ต้องรับผิดในหนี้ของบริษัท
การดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศในกรณีที่บุคคลภายนอกจะเข้ามาเป็นคู่ความด้วยการร้องสอดนั้น ต้องนำ ป.วิ.พ.มาตรา 57 มาใช้บังคับโดยอนุโลม ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ผู้ร้องเป็นผู้ถือหุ้นคนหนึ่ง ผู้ร้องในฐานะผู้ถือหุ้นมีหน้าที่ต้องชำระค่าหุ้นให้บริษัทจำเลยเต็มมูลค่าของหุ้นที่ถืออยู่เท่านั้น ผู้ร้องไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ต่อบุคคลภายนอกในกิจการที่จำเลยที่ 1 ได้กระทำ และแม้ผู้ร้องจะเป็นกรรมการคนหนึ่งของจำเลยที่ 1 ด้วยก็ตาม ผลของคำพิพากษาคดีนี้หากพึงมีให้ต้องบังคับจำเลยที่ 1 ชำระหนี้แก่โจทก์ ก็หากระทบกระเทือนถึงผู้ร้องให้ต้องร่วมรับผิดด้วยไม่ และหากกรรมการอื่นของจำเลยที่ 1 ทำให้จำเลยที่ 1 ต้องเสียหายอันกระทบถึงประโยชน์ส่วนได้เสียของผู้ร้องอย่างไร ก็เป็นเรื่องที่ผู้ร้องต้องไปว่ากล่าวต่างหาก เพราะเป็นข้อโต้แย้งสิทธิต่างหากจากคดีนี้ ผู้ร้องจึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียโดยตรงในผลแห่งคดีนี้ ผู้ร้องย่อมไม่มีสิทธิร้องสอดเข้ามาในคดีเป็นจำเลยร่วม
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ผู้ร้องเป็นผู้ถือหุ้นคนหนึ่ง ผู้ร้องในฐานะผู้ถือหุ้นมีหน้าที่ต้องชำระค่าหุ้นให้บริษัทจำเลยเต็มมูลค่าของหุ้นที่ถืออยู่เท่านั้น ผู้ร้องไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ต่อบุคคลภายนอกในกิจการที่จำเลยที่ 1 ได้กระทำ และแม้ผู้ร้องจะเป็นกรรมการคนหนึ่งของจำเลยที่ 1 ด้วยก็ตาม ผลของคำพิพากษาคดีนี้หากพึงมีให้ต้องบังคับจำเลยที่ 1 ชำระหนี้แก่โจทก์ ก็หากระทบกระเทือนถึงผู้ร้องให้ต้องร่วมรับผิดด้วยไม่ และหากกรรมการอื่นของจำเลยที่ 1 ทำให้จำเลยที่ 1 ต้องเสียหายอันกระทบถึงประโยชน์ส่วนได้เสียของผู้ร้องอย่างไร ก็เป็นเรื่องที่ผู้ร้องต้องไปว่ากล่าวต่างหาก เพราะเป็นข้อโต้แย้งสิทธิต่างหากจากคดีนี้ ผู้ร้องจึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียโดยตรงในผลแห่งคดีนี้ ผู้ร้องย่อมไม่มีสิทธิร้องสอดเข้ามาในคดีเป็นจำเลยร่วม