คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
หนังสือ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 160 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 51/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิซื้อขายที่ดิน: การแปลงหนี้ใหม่ต้องทำเป็นหนังสือจึงสมบูรณ์ ผู้รับโอนไม่มีอำนาจฟ้องหากไม่มีสัญญาโดยตรงกับผู้ขาย
ตามสัญญาจะซื้อจะขายระหว่างจำเลยกับอ. ข้อ2วรรคสองที่กำหนดไว้ว่า"ส่วนเงินที่เหลือจำนวน6,900,000บาทผู้ซื้อจะต้องชำระให้แก่ผู้ขายครบถ้วนในวันที่ผู้ขายไปจดทะเบียนขายที่ดินให้แก่ผู้ซื้อหรือบุคคลอื่นที่ผู้ซื้อกำหนดเป็นผู้รับโอนแทนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ณสำนักงานที่ดิน"นั้นมิได้มีข้อความใดที่แสดงว่าจำเลยกับอ.ตกลงกันให้อ.โอนสิทธิตามสัญญาจะซื้อจะขายให้แก่บุคคลอื่นแต่อย่างใดได้เลยข้อความดังกล่าวเป็นเพียงข้อความต่อเนื่องจากวรรคหนึ่งเกี่ยวกับการชำระราคาที่พิพาทว่าจะชำระกันอย่างไรเมื่อใดโดยระบุเป็นข้อตกลงไว้ว่าผู้รับโอนที่พิพาทอาจเป็นอ.ผู้ซื้อหรือหากไม่รับโอนด้วยตนเองก็จะให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับโอนแทนก็ได้คำว่า"บุคคลอื่น"จึงมีความหมายเพียงเป็นบุคคลผู้ที่จะมีชื่อในขณะที่รับโอนต่อเจ้าพนักงานที่ดินเมื่อการซื้อขายนั้นสำเร็จสมบูรณ์แทนชื่อของผู้ซื้อที่แท้จริงเท่านั้นคู่สัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทรายนี้ก็คือจำเลยกับอ. โจทก์กล่าวอ้างมาในฟ้องว่าจำเลยยินยอมให้อ. โอนสิทธิการซื้อที่พิพาทให้แก่โจทก์จึงเป็นการแปลงหนี้ใหม่โดยเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา349วรรคสามซึ่งจะต้องบังคับตามมาตรา306เรื่องโอนสิทธิเรียกร้องเมื่อไม่ปรากฏว่าการโอนหนี้ระหว่างโจทก์กับอ. ได้ทำเป็นหนังสือการโอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าวจึงไม่สมบูรณ์ไม่อาจใช้ยันจำเลยได้และมิใช่เป็นกรณีรับช่วงสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา226ส่วนการที่โจทก์ทำสัญญาเป็นหุ้นส่วนกับจ.และอ.ในการซื้อที่พิพาทเพื่อนำไปขายเอากำไรก็เป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับผู้เป็นหุ้นส่วนกันเองจำเลยมิได้รู้เห็นหรือรู้ด้วยแต่อย่างใดถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้รับโอนสิทธิตามสัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทจากอ. โจทก์มิใช่คู่สัญญากับจำเลยจึงไม่อาจมีอำนาจฟ้องบังคับให้ปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทและเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2586/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อต้องทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อทั้งสองฝ่าย สถานที่ทำสัญญาสำคัญต่อเขตอำนาจศาล
สัญญาเช่าซื้อจะต้องทำเป็นหนังสือซึ่งต้องลงลายมือชื่อคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย มิฉะนั้นจะเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 572 วรรคสอง ดังนั้นแม้มีการจัดทำหนังสือสัญญาเช่าซื้อให้จำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อในฐานะผู้เช่าซื้อที่จังหวัดลพบุรีแล้ว แต่ยังไม่มีการลงลายมือชื่อคู่สัญญาฝ่ายผู้ให้เช่าซื้อ จึงยังไม่ครบถ้วนบริบูรณ์ เมื่อมีการส่งสัญญาดังกล่าวไปให้ผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อในสัญญาแทนโจทก์ลงลายมือชื่อในนามผู้ให้เช่าซื้อที่สำนักงานใหญ่ของโจทก์ในท้องที่เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ซึ่งอยู่ในเขตอำนาจศาลแพ่งกรุงเทพใต้เพื่อให้สัญญาครบถ้วนบริบูรณ์ เช่นนี้ ย่อมถือได้ว่า สำนักงานใหญ่ของโจทก์เป็นสถานที่ที่ทำสัญญาฉบับนี้อันเป็นสถานที่ที่มูลคดีนี้เกิดขึ้นอีกแห่งหนึ่งด้วย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ผู้เช่าซื้อและจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันซึ่งต้องรับผิดในมูลความแห่งคดีเกี่ยวข้องกันได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 4(1) และมาตรา 5

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6065/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคิดบัญชีค่าหนังสือและการโต้แย้งรายการบัญชีที่ไม่ชัดเจน จำเลยไม่มีสิทธิสืบพยานหลักฐาน
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์ประกอบธุรกิจจัดจำหน่ายหนังสือชนิดต่างๆให้แก่ผู้พิมพ์หนังสือที่ไม่สามารถจัดส่งหนังสือไปจำหน่ายเองได้และโจทก์เป็นผู้แทนจัดจำหน่ายหนังสือให้แก่จำเลยโดยโจทก์ยินยอมให้จำเลยเบิกเงินค่าหนังสือที่ขอให้โจทก์จัดจำหน่ายไปก่อนล่วงหน้าบางส่วนได้แล้วจึงนำมาหักกลบลบกับจำนวนเงินที่ได้จากการขายหนังสือของจำเลยโจทก์คิดบัญชีเมื่อวันที่18พฤษภาคม2530แล้วยังมีเงินที่จำเลยเบิกจากโจทก์ไปล่วงหน้าซึ่งต้องคืนโจทก์อยู่จำนวนหนึ่งคำให้การของจำเลยที่ให้การปฏิเสธในเรื่องจำนวนเงินที่ต้องชำระคืนแก่โจทก์ว่าไม่ถูกต้องนั้นจำเลยให้การลอยๆเพียงว่าไม่ถูกต้องเพราะโจทก์รวมเอาหนังสือบางเล่มที่เกิดการชำรุดฉีกขาดหรือเปียกน้ำในระหว่างที่อยู่ในความครอบครองของโจทก์เข้าด้วยและถือว่าเป็นหนังสือที่คืนแก่จำเลยแล้วโดยมิได้กล่าวถึงข้อเท็จจริงให้ชัดแจ้งว่าหนังสือรายการใดที่ชำรุดฉีกขาดหรือเปียกน้ำและมีเป็นจำนวนเท่าใดคิดเป็นเงินเท่าใดที่จะต้องหักออกจากรายการในช่องมูลค่าหนังสือที่รับคืนไปตามเอกสารท้ายฟ้องทั้งที่โจทก์ได้แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับรายการจัดจำหน่ายหนังสือให้แก่จำเลยในช่วงระหว่างเดือนพฤษภาคม2527ถึงวันที่14พฤษภาคม2530มาอย่างละเอียดในเอกสารท้ายฟ้องแล้วซึ่งจำเลยสามารถให้การโต้แย้งรายการเหล่านั้นแต่ละรายการว่าไม่ถูกต้องอย่างไรได้โดยง่ายแต่จำเลยกลับให้การเพียงว่ามีรายการหนังสือเปียกน้ำที่ต้องหักออกคำให้การจำเลยในเรื่องหนังสือที่เปียกน้ำจึงไม่ชัดแจ้งไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา177วรรคสองจำเลยจึงไม่มีสิทธินำพยานหลักฐานเข้านำสืบตามข้อต่อสู้นั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1100/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อยกเว้นภาษีหนังสือ, ค่าใช้จ่ายรถยนต์, และการไม่รับอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
หนังสือนิตยสารของโจทก์มิใช่หนังสือพิมพ์ที่ส่วนใหญ่เป็นข่าวสารแต่กลับมีเนื้อหาที่เป็นนวนิยายมากกว่าข่าวสาร จึงไม่ได้รับยกเว้นตามมาตรา 79 ตรี (7) โจทก์ต้องนำรายรับจากการจำหน่ายหนังสือดังกล่าวมารวมคำนวณเสียภาษีการค้าตามบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภท 1 ชนิด 6
หลักฐานทะเบียนรถยนต์หาใช่เอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ของรถยนต์ไม่ แม้ทะเบียนรถยนต์ระบุวันเดือนปีที่โจทก์เป็นเจ้าของผู้ครอบครองไว้ก็หาต้องฟังเป็นเด็ดขาดตามนั้นเสมอไปไม่ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่ารายจ่ายเกี่ยวกับรถยนต์คันดังกล่าวมิใช่รายจ่ายที่โจทก์กำหนดขึ้นเอง จึงไม่ต้องด้วยประมวลรัษฎากรมาตรา 65 ตรี
ศาลภาษีอากรกลางสั่งไม่รับอุทธรณ์โจทก์บางข้อโดยมิได้สั่งในวันที่โจทก์ยื่นอุทธรณ์และยังไม่แจ้งคำสั่งให้โจทก์ทราบ เมื่อศาลฎีกาตรวจอุทธรณ์ของโจทก์ข้อดังกล่าวแล้ว เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามพ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 25กรณีจึงไม่มีเหตุต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลภาษีอากรกลางแจ้งคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ให้โจทก์ทราบอีกเพราะไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6315/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาที่ต้องทำเป็นหนังสือ การนำสืบพยานบุคคลขัดต่อมาตรา 94(ข) ว.พ.พ.
สัญญากู้และสัญญาจำนองประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคหนึ่งและมาตรา 714 บังคับให้ต้องทำเป็นหนังสือ จึงเป็นกรณีที่กฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง เมื่อโจทก์มีสัญญากู้และสัญญาจำนองมาแสดง จำเลยจะนำสืบพยานบุคคลประกอบข้ออ้างว่ายังมีข้อตกลงเพิ่มเติมไปกว่าข้อความที่มีอยู่ในสัญญาทั้งสองนั้นอยู่อีก จึงเป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข) ปัญหาข้อกฎหมายตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข) นี้ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความมิได้ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)ประกอบด้วยมาตรา 246 และ มาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6289/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือแสดงเจตนาให้ทรัพย์สินหลังเสียชีวิตมีผลเป็นพินัยกรรมตามกฎหมาย
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายคำว่า"พินัยกรรม" ไว้ว่า "เอกสารแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินหรือในการต่าง ๆ อันจะให้เกิดเป็นผลบังคับได้ตามกฎหมายเมื่อผู้ทำพินัยกรรมตาย"การที่มารดาโจทก์จำเลยทำหนังสือโดยเรียกหนังสือนั้นว่าพินัยกรรมและใช้ถ้อยคำว่า "...ขอ...ยกทรัพย์สินของข้าพเจ้าทั้งหมด...ให้แก่ บ.แต่เพียงผู้เดียว..."นั้น ตามความเข้าใจของสามัญชนที่เห็นข้อความดังกล่าวย่อมเข้าใจว่า ส.เจตนาจะนำทรัพย์สินของ ส.ทั้งหมดให้แก่ บ. เมื่อ ส.ถึงแก่ความตายแล้ว ข้อความในหนังสือไม่ได้แสดงให้เห็นว่า ส.ตั้งใจยกทรัพย์สินของ ส.ให้แก่โจทก์ตั้งแต่ ส.ยังมีชีวิตอยู่ ข้อความในหนังสือดังกล่าวจึงเป็นการแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายของ ส.เกี่ยวกับทรัพย์สินของ ส. เข้าลักษณะเป็นพินัยกรรมตามกฎหมาย เมื่อปรากฏว่าหนังสือนั้นได้ลงวันเดือนปี ที่ทำขึ้นและ ส.ผู้ทำหนังสือนั้นได้ลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าพยาน 2 คน และพยานผู้เขียน 1 คน โดยพยานทั้ง 3 คน นั้นได้ลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อของ ส.ไว้ในขณะนั้น หนังสือดังกล่าวจึงเป็นพินัยกรรมซึ่งได้ทำขึ้นถูกต้องตามแบบตาม ป.พ.พ. มาตรา 1656 มีผลใช้ได้โดยสมบูรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 592/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องบังคับให้หย่าจากหนังสือสมัครใจหย่าที่ไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย
ขณะที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ปรากฏว่าหนังสือที่โจทก์จำเลยสมัครใจจะหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยา โดยจะไปจดทะเบียนหย่าที่สำนักงานเขตต่อไปนั้น มีพยานลงลายมือชื่อเพียงคนเดียวจึงไม่สมบูรณ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1514วรรคสอง โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยให้หย่าขาดจากโจทก์ตามหนังสือดังกล่าวไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 586/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกที่ดินต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนจึงมีผลผูกพันตามกฎหมาย
การให้หรือคำมั่นว่าจะให้ที่ดินจะต้องได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงบังคับกันได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา526บันทึกข้อตกลงระหว่างป. กับจำเลยที่ระบุว่าจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของที่พิพาทยินยอมยกที่ดังกล่าวส่วนหนึ่งให้โจทก์ด้วยแต่มิได้จดทะเบียนจึงไม่มีผลผูกพันจำเลยโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาที่พิพาทโดยอาศัยบันทึกดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5797/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตั้งตัวแทนซื้อขายที่ดินโดยไม่ทำเป็นหนังสือ และสิทธิในการยกข้อต่อสู้ในชั้นฎีกา
ที่จำเลยฎีกาว่า การตั้งตัวแทนซื้อขายที่ดินต้องทำเป็นหนังสือแต่โจทก์จำเลยมิได้ทำเป็นหนังสือต่อกันจึงไม่สมบูรณ์นั้น เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยมิได้ยกขึ้นกล่าวในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จำเลยย่อมมีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคสอง
คดีที่โจทก์ฟ้องว่าโจทก์ให้จำเลยถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินพิพาทแทนโจทก์ จำเลยในฐานะตัวแทนของโจทก์ได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินโฉนดดังกล่าวให้แก่บุคคลภายนอกแล้วรับเงินค่าที่ดินไปเป็นประโยชน์ส่วนตน ขอให้จำเลยคืนเงินค่าที่ดินแก่โจทก์ จำเลยให้การต่อสู้ว่า จำเลยมิได้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแทนโจทก์นั้นเป็นเรื่องที่โจทก์จำเลยโต้เถียงกันโดยเฉพาะว่าจำเลยเป็นตัวแทนของโจทก์โดยจำเลยมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแทนโจทก์หรือไม่ กรณีไม่เกี่ยวกับหนี้ตามสัญญาซื้อขายที่ดินโดยอาศัยสัญญาตัวแทนเป็นมูลฟ้อง ดังนั้น การที่โจทก์ตั้งจำเลยเป็นตัวแทนขายที่ดินพิพาทโดยไม่ได้ทำเป็นหนังสือ จึงไม่ขัดต่อ ป.พ.พ.มาตรา 798 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1514/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงราคาซื้อขายที่ดินที่ขัดแย้งกับสัญญาซื้อขายที่เป็นหนังสือ
โจทก์ฟ้องบังคับตามสัญญาซื้อขายที่ดิน อันเป็นสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ซึ่งต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามป.พ.พ. มาตรา 556 วรรคหนึ่ง จึงเป็นกรณีที่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง และสัญญาซื้อขายดังกล่าว มีข้อความระบุชัดว่าซื้อขายที่ดินในราคา 1,000,000 บาท แต่โจทก์นำพยานบุคคลเข้าสืบอ้างว่าซื้อขายที่ดินกันในราคา 1,827,000 บาท ย่อมเป็นการนำสืบเพื่อเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญาซื้อขายดังกล่าว ต้องห้ามมิให้รับฟังตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94 (ข) และข้อกฎหมายนี้แม้จะมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ก็ตามแต่ก็เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนซึ่งศาลฎีกาเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
of 16