พบผลลัพธ์ทั้งหมด 104 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1312/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตอำนาจศาล, การฟ้องหมิ่นประมาททางหนังสือพิมพ์, และการพิสูจน์ความเสียหาย
ความผิดฐานหมิ่นประมาทที่กระทำโดยการโฆษณาทาง หนังสือพิมพ์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328 ย่อมเป็น ความผิดสำเร็จเมื่อมีการวางจำหน่ายหนังสือพิมพ์ และท้องที่ ที่ความผิดเกิดขึ้นย่อมได้แก่ท้องที่ทุกท้องที่ที่วางจำหน่าย หนังสือพิมพ์ฉบับนั้น หาใช่จำกัดเฉพาะท้องที่ที่โจทก์ ได้อ่านหนังสือพิมพ์และทราบการกระทำความผิดไม่ คดีทั้งสามสำนวนนี้ คู่ความทั้งหมดเป็นคู่ความรายเดียวกัน ทั้งการพิจารณาคดีเหล่านั้นถ้าได้รวมกันแล้วจะเป็นการสะดวก เมื่อโจทก์มีคำขอให้พิจารณาคดีรวมกันศาลชั้นต้นเห็นว่า คดีเหล่านั้นเกี่ยวเนื่องกันและมีคำสั่งให้พิจารณาพิพากษาคดีเหล่านั้นรวมกันแล้ว ข้อเท็จจริงใดที่ได้จากการพิจารณา จึงเป็นข้อเท็จจริงในสำนวนทั้งสามสำนวนการฟังพยานหลักฐาน ก็ต้องฟังรวมกันไปทั้งสามสำนวนประดุจเป็นคดีเดียวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 28 วรรคแรกประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15หาใช่แยกฟังเป็นรายสำนวนไม่ จำเลยลงพิมพ์โฆษณาใส่ความโจทก์ในหนังสือพิมพ์ ด.ฉบับที่ 153,154 และ 156 โดยมิได้คำนึงถึงความเสียหายของผู้ที่ตกเป็นข่าว หลังจากที่โจทก์ทราบข่าวที่จำเลยเสนอในฉบับที่ 153 แล้ว ธนาคาร ก. ได้ออกแถลงการณ์2 ฉบับ ยืนยันว่าไม่ได้ไล่โจทก์ออกและโจทก์ไม่มีพฤติการณ์เสื่อมเสียในการทำงาน แต่ได้ปฏิบัติงานด้วยความวิริยะอุตสาหะตลอดมา แต่จำเลยก็ยังลงข่าวในฉบับที่ 154 ว่า แถลงการณ์ดังกล่าวเป็นแถลงการณ์ปลอม และยังคงยืนยันใส่ความโจทก์เพิ่มขึ้นอีก ทั้งนี้ จำเลยไม่มีการตรวจสอบข้อเท็จจริงให้แน่นอนก่อนที่จะพิมพ์โฆษณาข้อมูลที่ได้มาจากแหล่งข่าวเสียก่อน โดยมุ่งแต่จะจำหน่ายหนังสือพิมพ์ให้ได้จำนวนมากเป็นสำคัญ ข้อความที่จำเลยลงพิมพ์โฆษณาตามฟ้อง จึงเป็น ข้อความที่จำเลยมิได้แสดงโดยสุจริต การกระทำของจำเลย จึงไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 329 ที่จะไม่มีความผิด และไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 330 วรรคแรก ที่จะไม่ต้องรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5015/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายทอดตลาดชอบด้วยกฎหมาย แม้จำเลยปกปิดภูมิลำเนา และไม่คัดค้านการแจ้งโดยหนังสือพิมพ์
คดีนี้ได้มีการประกาศขายทอดตลาด 2 ครั้งในการนำประกาศขายทอดตลาดครั้งแรกไปแจ้งแก่จำเลยเจ้าหน้าที่ส่งหมายรายงานว่าบ้านของจำเลยได้รื้อไปแล้วเจ้าพนักงานบังคับคดีจึงเรียกผู้แทนโจทก์มาแถลงเกี่ยวกับภูมิลำเนาของจำเลย ผู้แทนโจทก์แถลงว่า ได้ติดต่อเพื่อสืบหาที่อยู่ของจำเลย และปรากฏว่าไม่พบตามทะเบียนราษฎร์จึงขอประกาศหนังสือพิมพ์แจ้งให้จำเลยทราบแทนการส่งหมาย และในวันประกาศขายทอดตลาดครั้งที่ 1 ทนายจำเลยก็แถลงเพื่อขอคัดเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการขายทอดตลาดครั้งนี้ นอกจากนั้นทนายจำเลยยังยื่นคำแถลงคัดค้านเกี่ยวกับราคาที่ขายว่ายังต่ำไป ดังนี้ เมื่อบ้านเลขที่ 174อันเป็นภูมิลำเนาของจำเลยกำลังถูกรื้อ โดยจำเลยมีพฤติการณ์ปกปิดภูมิลำเนาอันแท้จริงของตน จึงเป็นกรณีที่ไม่อาจส่งประกาศกำหนดวันนัดขายทอดตลาดให้จำเลยณ ภูมิลำเนาดังกล่าวของจำเลยขณะโจทก์ฟ้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 74(2) และการที่จำเลยทราบดีอยู่แล้วว่าถูกเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์และประกาศขายทอดตลาดและแจ้งให้จำเลยทราบโดยประกาศหนังสือพิมพ์แล้ว แต่จำเลยหาได้คัดค้านว่าการแจ้งให้จำเลยโดยประกาศหนังสือพิมพ์ไม่ถูกต้องทั้งจำเลยมิได้แจ้งให้ศาลหรือเจ้าพนักงานบังคับคดีทราบว่าในการขายทอดตลาดครั้งต่อไป ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งให้จำเลยทราบ ณ ภูมิลำเนาใหม่ของจำเลยพฤติการณ์ของจำเลยเช่นนี้จึงเป็นการยอมรับว่าการแจ้งกำหนดวันขายทอดตลาดให้จำเลยทราบโดยประกาศหนังสือพิมพ์ถูกต้องแล้ว กรณีจึงไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9884/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหมิ่นประมาททางหนังสือพิมพ์: เจตนาใส่ความ, ความเป็นจริง, และขอบเขตความรับผิดของบรรณาธิการ/ผู้พิมพ์
หนังสือพิมพ์ที่จำเลยเป็นบรรณาธิการลงข้อความในข่าวหน้า 3 ย่อหน้าแรก พูดถึงเรื่องข้าราชการรัฐสภาล่าลายเซ็นส.ส. เพื่อให้แปรญัตติงบประมาณจัดซื้อสินค้า เพื่อหวังค่านายหน้าจากผู้ขายสินค้า ในย่อหน้าที่สอง พูดถึงเรื่องข้าราชการของรัฐสภาผู้นี้เป็นนายหน้าจัดหาผู้หญิงให้แก่ ส.ส. ซึ่งกรณีนี้ข้าราชการหญิงผู้นี้เคยถูกตั้งคณะกรรมการสอบสวนมาแล้ว เมื่อพิจารณาประกอบการพาดหัวข่าวที่ว่า ลากไส้อีโม่ง กินงบ ค้ากามกลางสภาจะเห็นได้ว่าเป็นการพูดกล่าวหาโจทก์คนละเรื่องคนละตอนกัน สำหรับข้อความ ในตอนที่สองทำให้เข้าใจว่า โจทก์เป็นนายหน้าจัดหาเด็กผู้หญิงมาให้ ส.ส. ซึ่งได้มีการสอบสวนลงโทษโจทก์มานานแล้วก่อนที่จำเลยจะนำมาลงเป็นข่าว การลงข่าวดังกล่าว ทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชังอันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328 และเป็นเรื่องส่วนตัวไม่ใช่เป็นเรื่องที่ลงข่าวเพื่อรักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน ตามคำฟ้องของโจทก์ขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 และ 328 เท่านั้น ไม่มีข้อความตอนใดที่ มุ่งประสงค์จะให้จำเลยต้องรับผิดในฐานะบรรณาธิการหรือผู้พิมพ์ ตามมาตรา 48 แห่งพระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ. 2484ที่โจทก์บรรยายในตอนแรกว่า จำเลยเป็นบรรณาธิการ ผู้พิมพ์ โฆษณา ก็เป็นการบอกถึงฐานะของจำเลยเท่านั้น ประกอบกับ โจทก์มิได้มีคำขอให้ลงโทษจำเลยตามบทมาตราดังกล่าวมาด้วยศาลจึงไม่อาจลงโทษจำเลยในฐานะบรรณาธิการหรือผู้พิมพ์ตามพระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ. 2484 มาตรา 48 ได้ เพราะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6990/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใส่ความหมิ่นประมาททางหนังสือพิมพ์: การติชมด้วยความเป็นธรรม vs. การยืนยันข้อเท็จจริงที่เป็นเท็จ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า วันที่ 23 ธันวาคม 2532 เวลากลางวันจำเลยที่ 1 ใส่ความโจทก์ด้วยข้อความอันเป็นเท็จ โดยให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ว่า "อย่างไรก็ตาม ได้รับเอกสารสำคัญที่ชี้ให้เห็นว่า ส.ส.พรรครัฐบาลเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการส่งคนงานไปประเทศญี่ปุ่น 4 คน คือ นายไชยยศ จิรเมธากร (โจทก์)ส.ส. อุดรธานี นายสุรชาติ ชำนาญศิลป์ ส.ส. อุดรธานี นายอุดร ทองน้อย ส.ส.ยโสธร และนายประณต เสริฐวิชา ส.ส. ร้อยเอ็ด ทั้ง 4 คน เป็น ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ ตนมีหลักฐานต่าง ๆ พร้อมแล้ว และพร้อมที่จะไปพิสูจน์กันในศาล หากต้องการ" โดยจำเลยที่ 1 มีเจตนาที่จะให้หนังสือพิมพ์ลงพิมพ์ข้อความที่จำเลยที่ 1ให้สัมภาษณ์เพื่อเผยแพร่ต่อประชาชนทั่วไป ข้อความที่จำเลยที่ 1 ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ดังกล่าวเป็นการแสดงความคิดเห็นติชมด้วยความเป็นธรรมว่า โจทก์เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการส่งคนงานไปทำงานในประเทศญี่ปุ่นเท่านั้น ไม่มีข้อความตอนใดที่บ่งชี้ว่า โจทก์ได้ร่วมกับผู้มีชื่อหลอกลวงคนงานให้ไปทำงานในประเทศญี่ปุ่นอันแสดงว่าโจทก์เป็นบุคคลทุจริตหรือประพฤติมิชอบหรือไม่เหมาะสมแก่เกียรติศักดิ์ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแต่ประการใด ทั้งไม่อาจเข้าใจได้ว่า โจทก์มีส่วนร่วมในการฉ้อโกงแรงงานดังกล่าว ข้อความที่จำเลยที่ 1 ให้สัมภาษณ์นั้นยังไม่ถือว่าเป็นการใส่ความโดยประการที่น่าจะทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง
จำเลยที่ 1 ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ว่า โจทก์เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการส่งคนงานไปประเทศญี่ปุ่น และจำเลยที่ 2 นำข้อความที่จำเลยที่ 1ให้สัมภาษณ์ไปลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ โดยพาดหัวข่าวว่า "แฉ 4 ส.ส. ประชาธิปัตย์พัวพันตุ๋นคนงานไปประเทศญี่ปุ่น" ซึ่งข้อความที่พาดหัวข่าวในหนังสือพิมพ์ที่จำเลยที่ 2นำไปลงพิมพ์นั้น ไม่ตรงกับข้อความที่จำเลยที่ 1 ให้สัมภาษณ์ ทั้งเนื้อข่าวที่ลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ดังกล่าวก็ตีพิมพ์แต่เพียงว่า จำเลยที่ 1 ให้สัมภาษณ์ว่า มีหลักฐานว่าโจทก์เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการส่งคนงานไปประเทศญี่ปุ่นเท่านั้น จำเลยที่ 2มิได้อ้างข้อความจริงใดเลยในการแสดงความคิดเห็นในการพาดหัวข่าวหนังสือพิมพ์เช่นนั้น และข้อความที่จำเลยที่ 2 ลงพิมพ์พาดหัวข่าวก็เป็นการยืนยันข้อเท็จจริงเพื่อให้ประชาชนผู้อ่านหนังสือพิมพ์ทุกคนเชื่อว่า โจทก์มีส่วนร่วมทุจริตฉ้อโกงแรงงานราษฎร ไม่เป็นการติชมด้วยความเป็นธรรมอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำ จึงเป็นการใส่ความหมิ่นประมาทโจทก์ ทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง จำเลยที่ 2 จึงมีความผิดตาม ป.อ.มาตรา 328
ศาลล่างทั้งสองให้โฆษณาคำพิพากษาในหนังสือพิมพ์โดยไม่ได้ระบุว่าให้โฆษณาคำพิพากษาในลักษณะใด ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ชัดแจ้ง และเป็นเหตุในส่วนลักษณะคดี จึงให้มีผลถึงจำเลยที่ 3 ที่มิได้อุทธรณ์ฎีกา และจำเลยที่ 4ที่มิได้ฎีกาด้วย ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 213 และมาตรา 225
จำเลยที่ 1 ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ว่า โจทก์เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการส่งคนงานไปประเทศญี่ปุ่น และจำเลยที่ 2 นำข้อความที่จำเลยที่ 1ให้สัมภาษณ์ไปลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ โดยพาดหัวข่าวว่า "แฉ 4 ส.ส. ประชาธิปัตย์พัวพันตุ๋นคนงานไปประเทศญี่ปุ่น" ซึ่งข้อความที่พาดหัวข่าวในหนังสือพิมพ์ที่จำเลยที่ 2นำไปลงพิมพ์นั้น ไม่ตรงกับข้อความที่จำเลยที่ 1 ให้สัมภาษณ์ ทั้งเนื้อข่าวที่ลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ดังกล่าวก็ตีพิมพ์แต่เพียงว่า จำเลยที่ 1 ให้สัมภาษณ์ว่า มีหลักฐานว่าโจทก์เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการส่งคนงานไปประเทศญี่ปุ่นเท่านั้น จำเลยที่ 2มิได้อ้างข้อความจริงใดเลยในการแสดงความคิดเห็นในการพาดหัวข่าวหนังสือพิมพ์เช่นนั้น และข้อความที่จำเลยที่ 2 ลงพิมพ์พาดหัวข่าวก็เป็นการยืนยันข้อเท็จจริงเพื่อให้ประชาชนผู้อ่านหนังสือพิมพ์ทุกคนเชื่อว่า โจทก์มีส่วนร่วมทุจริตฉ้อโกงแรงงานราษฎร ไม่เป็นการติชมด้วยความเป็นธรรมอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำ จึงเป็นการใส่ความหมิ่นประมาทโจทก์ ทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง จำเลยที่ 2 จึงมีความผิดตาม ป.อ.มาตรา 328
ศาลล่างทั้งสองให้โฆษณาคำพิพากษาในหนังสือพิมพ์โดยไม่ได้ระบุว่าให้โฆษณาคำพิพากษาในลักษณะใด ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ชัดแจ้ง และเป็นเหตุในส่วนลักษณะคดี จึงให้มีผลถึงจำเลยที่ 3 ที่มิได้อุทธรณ์ฎีกา และจำเลยที่ 4ที่มิได้ฎีกาด้วย ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 213 และมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6990/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหมิ่นประมาททางหนังสือพิมพ์: การพาดหัวข่าวเกินเลยถือเป็นความผิด แม้เนื้อข่าวไม่เกินเลย
โจทก์บรรยายฟ้องว่าวันที่23ธันวาคม2532เวลากลางวันจำเลยที่1ใส่ความโจทก์ด้วยข้อความอันเป็นเท็จโดยให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ว่า"อย่างไรก็ตามได้รับเอกสารสำคัญที่ชี้ให้เห็นว่าส.ส.พรรครัฐบาลเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการส่งคนงานไปประเทศญี่ปุ่น4คนคือนายไชยยศจิรเมธากร (โจทก์)ส.ส.อุดรธานีนายอุดรทองน้อยส.ส.ยโสธรและนายประณตเสริฐวิชา ส.ส.ร้อยเอ็ดทั้ง4คนเป็นส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ตนมีหลักฐานต่างๆพร้อมแล้วและพร้อมที่จะไปพิสูจน์กันในศาลหากต้องการ"โดยจำเลยที่1มีเจตนาที่จะให้หนังสือพิมพ์ลงพิมพ์ข้อความที่จำเลยที่1ให้สัมภาษณ์เพื่อเผยแพร่ต่อประชาชนทั่วไปข้อความที่จำเลยที่1ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ดังกล่าวเป็นการแสดงความคิดเห็นติชมด้วยความเป็นธรรมว่าโจทก์เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการส่งคนงานไปทำงานในประเทศญี่ปุ่นเท่านั้นไม่มีข้อความตอนใดที่บ่งชี้ว่าโจทก์ได้ร่วมกับผู้มีชื่อหลอกลวงคนงานให้ไปทำงานในประเทศญี่ปุ่นแสดงว่าโจทก์เป็นบุคคลทุจริตหรือประพฤติมิชอบหรือไม่เหมาะสมแก่เกียรติศักดิ์ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแต่ประการใดทั้งไม่อาจเข้าใจได้ว่าโจทก์มีส่วนร่วมในการฉ้อโกงแรงงานดังกล่าวข้อความที่จำเลยที่1ให้สัมภาษณ์นั้นยังไม่ถือว่าเป็นการใส่ความโดยประการที่น่าจะทำให้โจทก์เสียชื่อเสียงถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง จำเลยที่1ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ว่าโจทก์เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการส่งคนงานไปประเทศญี่ปุ่นและจำเลยที่2นำข้อความที่จำเลยที่1ให้สัมภาษณ์ไปลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์โดยพาดหัวข่าวว่า"แฉ4ส.ส.ประชาธิปัตย์"พัวพันตุ๋นคนงานไปประเทศญี่ปุ่น"ซึ่งข้อความที่พาดหัวข่าวในหนังสือพิพม์ที่จำเลยที่2นำไปลงพิมพ์นั้นไม่ตรงกับข้อความที่จำเลยที่1ให้สัมภาษณ์ทั้งเนื้อข่าวที่ลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ดังกล่าวก็ตีพิมพ์แต่เพียงว่าจำเลยที่1ให้สัมภาษณ์ว่ามีหลักฐานว่าโจทก์เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการส่งคนงานไปประเทศญี่ปุ่นเท่านั้นจำเลยที่2มิได้อ้างข้อความจริงใดเลยในการแสดงความคิดเห็นในการพาดหัวข่าวหนังสือพิมพ์เช่นนั้นและข้อความที่จำเลยที่2ลงพิมพ์พาดหัวข่าวก็เป็นการยืนยันข้อเท็จจริงเพื่อให้ประชาชนผู้อ่านหนังสือพิมพ์ทุกคนเชื่อว่าโจทก์มีส่วนร่วมทุจริตฉ้อโกงแรงงานราษฎรไม่เป็นการติชมด้วยความเป็นธรรมอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำจึงเป็นการใส่ความหมิ่นประมาทโจทก์ทำให้โจทก์เสียชื่อเสียงถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชังจำเลยที่2จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา328 ศาลล่างทั้งสองให้โฆษณาคำพิพากษาในหนังสือพิมพ์โดยไม่ได้ระบุว่าให้โฆษณาคำพิพากษาในลักษณะใดศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ชัดแจ้งและเป็นเหตุในส่วนลักษณะคดีจึงให้มีผลถึงจำเลยที่3ที่มิได้อุทธรณ์ฎีกาและจำเลยที่4ที่มิได้ฎีกาด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา213และมาตรา225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4853/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หมิ่นประมาททางหนังสือพิมพ์: การลงข้อความใส่ความโจทก์โดยไม่ตรวจสอบความจริง
จำเลยในฐานะบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ ลงพิมพ์ข้อความเกี่ยวกับโจทก์ในหนังสือพิมพ์ว่า "ผู้ที่ไปรายงานให้อุปทูตซาอุดีอาระเบียทราบมีเหตุผลอะไรที่ต้องแอบไปขายเพื่อนให้กับอุปทูต..." และข้อความว่า "...สาเหตุที่พันตำรวจเอกคนนั้นแอบไปสารภาพไถ่บาปกับอุปทูตเพื่อสร้างความดีความชอบให้กับตนเอง พันตำรวจโทสมคิดรู้เต็มอกว่า เพื่อนนายตำรวจในทีมคนไหนแอบใช้มีดปักหลังเพื่อน..." กับข้อความว่า "...และต่อมานายโมจาเอ็ด เอ อัลโนไวเซอร์ อุปทูตซาอุ ฯ ได้ยื่นหนังสือร้องทุกข์กล่าวโทษ พ.ต.ท.สมคิด บุญถนอมว่าเป็นผู้มีส่วนรู้เห็นในการหายตัวลึกลับของนายโมฮัมเหม็ด อัลรู ไวรี่ นักธุรกิจชาวซาอุ ฯ โดยอ้างจากคำบันทึกของ พ.ต.อ.เทพรัตน์ รัตนวานิช ว่าเป็นผู้รายงานให้ทราบ..." ข้อความดังกล่าว มีลักษณะเป็นการใส่ความว่าโจทก์เป็นคนไม่ดี โดยนำเรื่องไปบอกอุปทูตซาอุดีอาระเบีย เป็นคนขายเพื่อนเพื่อหาความดีให้ตน จึงเป็นกรณีน่าจะทำให้โจทก์เสียชื่อเสียงถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง ซึ่งจำเลยเองก็ยอมรับว่า จำเลยไม่ทราบว่าข้อความดังกล่าวนั้นจะเป็นความจริงหรือไม่ฉะนั้น จำเลยจะอ้างว่าแสดงความคิดเห็นโดยสุจริต ติชมด้วยความเป็นธรรมอันเป็นวิสัยของจำเลยซึ่งมีวิชาชีพของหนังสือพิมพ์ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4853/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใส่ความทำให้ผู้อื่นเสียชื่อเสียงทางหนังสือพิมพ์ จำเลยอ้างไม่ได้ว่าแสดงความคิดเห็นโดยสุจริต
จำเลยในฐานะบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ลงพิมพ์ข้อความเกี่ยวกับโจทก์ในหนังสือพิมพ์ว่า"ผู้ที่ไปรายงานให้อุปทูตซาอุดีอาระเบียทราบมีเหตุผลอะไรที่ต้องแอบไปขายเพื่อนให้กับอุปทูต"และข้อความว่า"สาเหตุที่พันตำรวจเอกคนนั้นแอบไปสารภาพไถ่บาปกับอุปทูตเพื่อสร้างความดีความชอบให้กับตนเองพันตำรวจโทสมคิดรู้เต็มอกว่าเพื่อนนายตำรวจในทีมคนไหนแอบใช้มีดปักหลังเพื่อน"กับข้อความว่า"และต่อมานายโมจาเอ็ดเออัลโนไวเซอร์อุปทูตซาอุฯได้ยื่นหนังสือร้องทุกข์กล่าวโทษพ.ต.ท.สมคิดบุญถนอม ว่าเป็นผู้มีส่วนรู้เห็นในการหายตัวลึกลับของนายโมฮัมเหม็ดอัลรูไวรี่นักธุรกิจชาวซาอุฯโดยอ้างจากคำบันทึกของพ.ต.อ.เทพรัตน์รัตนวานิช ว่าเป็นผู้รายงานให้ทราบ"ข้อความดังกล่าวมีลักษณะเป็นการใส่ความว่าโจทก์เป็นคนไม่ดีโดยนำเรื่องไปบอกอุปทูตซาอุดีอาระเบียเป็นคนขายเพื่อนเพื่อหาความดีให้ตนจึงเป็นกรณีน่าจะทำให้โจทก์เสียชื่อเสียงถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชังซึ่งจำเลยเองก็ยอมรับว่าจำเลยไม่ทราบว่าข้อความดังกล่าวนั้นจะเป็นความจริงหรือไม่ฉะนั้นจำเลยจะอ้างว่าแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตติชมด้วยความเป็นธรรมอันเป็นวิสัยของจำเลยซึ่งมีวิชาชีพของหนังสือพิมพ์ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3992/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ต้องรับผิดในฐานะตัวการ หากลงพิมพ์ข้อความหมิ่นประมาท แม้จะไม่มีเจตนา
จำเลยที่ 2 ให้สัมภาษณ์และได้ลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์กล่าวหมิ่นประมาทโจทก์ร่วมอันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ดังกล่าวต้องรับผิดเป็นตัวการตามพระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ. 2484 มาตรา 48 แม้จำเลยที่ 1จะไม่มีเจตนาหมิ่นประมาทโจทก์ร่วมและลงพิมพ์ไปตามคำสัมภาษณ์ของจำเลยที่ 2 เพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้ทราบความเป็นไปในพรรคการเมืองก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3992/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ต่อการหมิ่นประมาทจากบทสัมภาษณ์ แม้ไม่มีเจตนา
แม้จำเลยที่1จะ ไม่มี เจตนา หมิ่นประมาทโจทก์ร่วมและลงพิมพ์ข้อความไปตามคำสัมภาษณ์ของจำเลยที่2ซึ่งเป็นสมาชิกพรรคการเมืองเพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้ทราบความเป็นไปในพรรคการเมืองนั้นก็ตามแต่เมื่อหนังสือพิมพ์ซึ่งจำเลยที่1เป็น บรรณาธิการลงข้อความหมิ่นประมาทโจทก์ร่วมจำเลยที่1ก็ย่อมมีความผิดในฐานะเป็น ตัวการตามพระราชบัญญัติการพิมพ์พ.ศ.2484มาตรา48 ศาลล่างลงโทษปรับจำเลยทั้งสองตาม อัตราโทษของกฎหมายที่ใช้บังคับภายหลังการกระทำผิดซึ่งมีโทษปรับสูงกว่ากฎหมายเดิมจึงไม่เป็นคุณแก่จำเลยทั้งสองและไม่อาจนำกฎหมายดังกล่าวมาปรับบทลงโทษจำเลยทั้งสองได้ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2709/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปฏิบัติตามคำพิพากษา: การโฆษณาคำพิพากษาในหนังสือพิมพ์ แม้มีข้อจำกัดด้านพื้นที่
ศาลพิพากษาให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันจัดให้มีการโฆษณาคำพิพากษาในหนังสือพิมพ์รายวัน ดังนั้น การที่จำเลยทั้งสี่ได้ย่อคำพิพากษาโดยย่อคำฟ้องได้ใจความถูกต้องตรงกับคำฟ้องของโจทก์ทั้งสองและมีข้อความระบุว่าศาลพิพากษาว่าจำเลยทั้งสี่มีความผิดตามที่โจทก์ทั้งสองฟ้องตลอดจนบทลงโทษและโทษคนละเท่าใดตรงตามเนื้อความในต้นฉบับคำพิพากษาแล้ว เมื่อผู้อ่านอ่านแล้วจะเข้าใจได้ทันทีถือได้ว่าจำเลยทั้งสี่ได้ปฏิบัติถูกต้องตามคำพิพากษาแล้ว
ที่หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ไม่สามารถจะโฆษณาคำพิพากษาได้เนื่องจากมีการลดหน้าหนังสือพิมพ์ลง ประกอบกับใกล้สิ้นปีมีโฆษณามาก ย่อมเป็นที่เห็นได้ว่าถ้าพ้นสิ้นปีไปแล้วหนังสือพิมพ์ดังกล่าวก็สามารถจะโฆษณาคำพิพากษาให้ได้จึงไม่เป็นการพ้นวิสัย ส่วนหนังสือพิมพ์ไทยรัฐไม่สามารถจะโฆษณาคำพิพากษาได้เนื่องจากเนื้อที่ในการลงโฆษณาได้เปิดจำหน่ายล่วงหน้าไปจนถึงปีหน้า จำเลยทั้งสี่ย่อมจองสิทธิลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์ดังกล่าวต่อจากผู้ลงโฆษณาล่วงหน้าคนสุดท้ายได้ดังนั้นการโฆษณาคำพิพากษาในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐจึงยังอยู่ในวิสัยที่จะทำได้ ประกอบกับคำพิพากษามิได้บังคับว่าจะต้องจัดให้มีการโฆษณาในหนังสือพิมพ์ทั้งสองฉบับดังกล่าวข้างต้นเมื่อใด ดังนั้น การลงโฆษณาคำพิพากษาในหนังสือพิมพ์ทั้งสองฉบับดังกล่าวยังไม่เป็นการพ้นวิสัย
ที่หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ไม่สามารถจะโฆษณาคำพิพากษาได้เนื่องจากมีการลดหน้าหนังสือพิมพ์ลง ประกอบกับใกล้สิ้นปีมีโฆษณามาก ย่อมเป็นที่เห็นได้ว่าถ้าพ้นสิ้นปีไปแล้วหนังสือพิมพ์ดังกล่าวก็สามารถจะโฆษณาคำพิพากษาให้ได้จึงไม่เป็นการพ้นวิสัย ส่วนหนังสือพิมพ์ไทยรัฐไม่สามารถจะโฆษณาคำพิพากษาได้เนื่องจากเนื้อที่ในการลงโฆษณาได้เปิดจำหน่ายล่วงหน้าไปจนถึงปีหน้า จำเลยทั้งสี่ย่อมจองสิทธิลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์ดังกล่าวต่อจากผู้ลงโฆษณาล่วงหน้าคนสุดท้ายได้ดังนั้นการโฆษณาคำพิพากษาในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐจึงยังอยู่ในวิสัยที่จะทำได้ ประกอบกับคำพิพากษามิได้บังคับว่าจะต้องจัดให้มีการโฆษณาในหนังสือพิมพ์ทั้งสองฉบับดังกล่าวข้างต้นเมื่อใด ดังนั้น การลงโฆษณาคำพิพากษาในหนังสือพิมพ์ทั้งสองฉบับดังกล่าวยังไม่เป็นการพ้นวิสัย