พบผลลัพธ์ทั้งหมด 25 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1315/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การค้ำประกัน, การเพิ่มวงเงินจำนองไม่ถือเป็นการแปลงหนี้ใหม่, หนี้ค้ำประกันยังคงมีผลบังคับใช้
ข้อตกลงเพิ่มวงเงินจำนอง มิใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่เป็นสาระสำคัญแห่งหนี้ ถือไม่ได้ว่าเป็นการแปลงหนี้ใหม่อันจะมีผลทำให้หนี้เดิมระงับไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 349 คำฟ้องระบุจำนวนหนี้ที่ขอให้จำเลยร่วมรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันจำเลยให้การต่อสู้ว่า หากจะต้องรับผิด ก็รับผิดเพียงวงเงินที่ค้ำประกันและดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปีเท่านั้น มิได้ปฏิเสธยอดหนี้ ดังนั้น ปัญหาว่าจำเลยอื่นได้เบิกเงินไปจากโจทก์ และนำเงินเข้าฝากในบัญชีเพื่อลดหนี้ครั้งสุดท้ายเมื่อใด หนี้ถึงวันฟ้องเป็นต้นเงินเท่าใด และดอกเบี้ยเท่าใดนั้น โจทก์นำมาสืบในชั้นพิจารณาได้โดยไม่จำเป็นต้องแนบบัญชีเงินฝากกระแสรายวันมาท้ายคำฟ้องฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4495/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้จากการค้ำประกัน: วันเริ่มต้นดอกเบี้ยตามหลักฐานและคำขอ
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันผิดสัญญาจนถึงวันก่อนฟ้อง และดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันผิดนัดไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอ ข้อนี้แม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็ชอบที่จะแก้ไขเสียให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2515/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภริยาไม่ต้องรับผิดในหนี้ค้ำประกันที่สามีทำเป็นการส่วนตัว แม้จะไม่ได้คัดค้าน
การที่จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันกับโจทก์เพื่อการปฏิบัติงานและเพื่อความเสียหายอันเกิดจากจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุตรทำงานกับโจทก์ โดยที่ผู้ร้องผู้เป็นมารดาของจำเลยที่ 1 และเป็นภริยาของจำเลยที่ 2 ไม่คัดค้าน แต่ผู้ร้องมิได้เป็นคู่สัญญาหรือยินยอมด้วย กรณีเป็นการเฉพาะตัวของจำเลยที่2 ผู้ค้ำประกันโดยตรง ไม่เกี่ยวข้องกับกิจการอันจำเป็นในครอบครัว หรือเกี่ยวข้องกับสินสมรสหรือเกิดจากการงานที่ผู้ร้องกับจำเลยที่ 2 ทำด้วยกัน จึงไม่เป็นหนี้ร่วมตามนัยมาตรา 1490 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ผู้ร้องไม่ต้องผูกพันในมูลหนี้เรียกทรัพย์คืนและค้ำประกันที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1ที่ 2 และมีสิทธิร้องขอกันส่วนในที่พิพาทกึ่งหนึ่งในฐานะผู้ถือกรรมสิทธิ์รวม ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2207/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตสัญญาจำนอง: ครอบคลุมหนี้ค้ำประกันหรือไม่ แม้สัญญาจำนองระบุเป็นประกันหนี้สินทั้งหมด
ก. ผู้เป็นสมาชิกสหกรณ์จำเลยได้กู้เงินจำเลยโดยโจทก์ผู้เป็นสมาชิกอีกผู้หนึ่งเป็นผู้ค้ำประกัน ต่อมาโจทก์กู้เงินจำเลยโดยจำนองที่ดินไว้แก่จำเลยสัญญาจำนองมีข้อความว่า เพื่อประกันเงินซึ่งโจทก์เป็นหนี้จำเลยอยู่ในขณะทำสัญญาหรือในเวลาหนึ่งเวลาใดต่อไปภายหน้า กับทั้งหนี้สินต่าง ๆ ซึ่งโจทก์จะต้องรับผิดไม่ว่าในฐานะใด ๆ ต่อจำเลย ดังนี้ สัญญาจำนองย่อมครอบคลุมถึงหนี้ตามสัญญาค้ำประกันดังกล่าวด้วย แม้โจทก์จะชำระหนี้ที่โจทก์กู้จากจำเลยครบถ้วนแล้ว สัญญาจำนองก็ยังไม่ระงับสิ้นไป จำเลยมีสิทธิที่จะไม่จดทะเบียนไถ่ถอนจำนองที่ดินให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2207/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตสัญญาจำนองครอบคลุมหนี้ค้ำประกันหรือไม่ แม้สัญญาระบุถึงหนี้สินต่าง ๆ ที่ลูกหนี้ต้องรับผิดชอบต่อเจ้าหนี้
ก. ผู้เป็นสมาชิกสหกรณ์จำเลยได้กู้เงินจำเลยโดยโจทก์ผู้เป็นสมาชิกอีกผู้หนึ่งเป็นผู้ค้ำประกัน ต่อมาโจทก์กู้เงินจำเลยโดยจำนองที่ดินไว้แก่จำเลยสัญญาจำนองมีข้อความว่า เพื่อประกันเงินซึ่งโจทก์เป็นหนี้จำเลยอยู่ในขณะทำสัญญาหรือในเวลาหนึ่งเวลาใดต่อไปภายหน้า กับทั้งหนี้สินต่าง ๆ ซึ่งโจทก์จะต้องรับผิดไม่ว่าในฐานะใด ๆ ต่อจำเลย ดังนี้ สัญญาจำนองย่อมครอบคลุมถึงหนี้ตามสัญญาค้ำประกันดังกล่าวด้วย แม้โจทก์จะชำระหนี้ที่โจทก์กู้จากจำเลยครบถ้วนแล้ว สัญญาจำนองก็ยังไม่ระงับสิ้นไป จำเลยมีสิทธิที่จะไม่จดทะเบียนไถ่ถอนจำนองที่ดินให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2012/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนองประกันหนี้ลูกหนี้ร่วมและหนี้ค้ำประกัน แม้คดีขาดอายุความแต่บังคับชำระจากที่ดินจำนองได้
จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์ โดยมีอ.เป็นผู้ค้ำประกันรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม และ อ. ได้นำที่ดินมาจำนองประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 และหนี้ตามสัญญาค้ำประกันของ อ. ด้วย อ. ถึงแก่กรรมมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดก แม้โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดตามสัญญาค้ำประกันเกิน 1 ปีนับแต่ อ. ถึงแก่กรรม คดีขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 แล้วก็ตาม แต่โจทก์ในฐานะผู้รับจำนองก็ยังคงฟ้องบังคับชำระหนี้ตามสัญญาค้ำประกันดังกล่าวจากที่ดินที่จำนองได้ ตามมาตรา 189 และมาตรา 745
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1711/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิไถ่ถอนจำนองแยกจากหนี้ค้ำประกัน แม้สัญญาทำพร้อมกัน ศาลสั่งให้ไถ่ถอนได้
โจทก์จำนองที่ดินไว้แก่จำเลยเพื่อเป็นประกันหนี้บริษัท ภ.และหนี้ของโจทก์เองเป็นเงิน 180,000 บาทในวันเดียวกันนั้นโจทก์ทำสัญญาค้ำประกันเงินกู้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีของบริษัท ภ. สัญญาจำนองและสัญญาค้ำประกันจึงแยกต่างหากจากกัน จำเลยมีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินซึ่งจำนองในวงเงิน 180,000 บาทพร้อมทั้งค่าอุปกรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 715 เท่านั้นส่วนหนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชีของบริษัท ภ. ที่เกินกว่าจำนวนเงินที่จำนองเป็นประกันนั้นเป็นบุคคลสิทธิที่จำเลยจะต้องติดตามบังคับเอาจากโจทก์ตามสัญญาค้ำประกันในฐานะเป็นเจ้าหนี้สามัญโจทก์จึงมีสิทธิไถ่จำนองได้โดยไม่ต้องชำระหนี้ของบริษัท ภ. ซึ่งนอกเหนือจากหนี้จำนองเมื่อสัญญาจำนองมิได้กำหนดระยะเวลาไถ่ถอนไว้ และโจทก์ผู้จำนองแสดงความจำนงขอไถ่ถอนจำนองแล้วจำเลยจะไม่ยอมให้ไถ่ถอนจำนองโดยอ้างว่า โจทก์ยังมีภาระผูกพันที่จะต้องชำระหนี้ค้ำประกันอยู่อีกไม่ได้เพราะเป็นความรับผิดตามสัญญาคนละฉบับซึ่งแยกต่างหากจากกันและไม่เกี่ยวข้องกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3945/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ค้ำประกัน, ดอกเบี้ยทบต้น, ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกัน, หนี้ร่วม
โจทก์มอบให้ทนายมีหนัสือบอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชี และไถ่ถอนจำนองให้เสร็จสิ้นภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ จำเลยได้รับหนังสือบอกกล่าววันที่ 18 สิงหาคม 2522 ถือได้ว่ามีการเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดตั้งแต่วันที่ครบกำหนดตามที่บอกกล่าวคือในวันที่ 17 กันยายน 2522 โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นเพียงวันที่ 17 กันยายน 2522 ต่อจากนั้นคงคิดได้แต่ดอกเบี้ยตามธรรมดา
ผู้ค้ำประกันย่อมต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันเพียงเท่าที่ตนยอมค้ำประกัน ข้อสัญญาที่ผู้รับจำนองค้ำประกันมีสิทธิบังคับจำนองสำหรับหนี้ต้นเงินที่เกินวงเงินจำนองค้ำประกันด้วยนั้น เป็นการให้ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดเกินกว่าที่ตนยอมค้ำประกัน ผู้ค้ำประกันจึงไม่ต้องรับผิดในต้นเงินที่เกินกว่าที่กำหนดไว้ในสัญญาค้ำประกัน
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 ในวงเงิน 30,000 บาท ปรากฏตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดของจำเลยที่ 1 ว่า จำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้โจทก์ครั้งสุดท้ายในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2520 เป็นเงิน 16,031 บาท 69 สตางค์ โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นตั้งแต่วันนี้ ส่วนวิธีคิดดอกเบี้ยทบต้นเพื่อให้ผู้ค้ำประกันรับผิดนั้นต้องดูรายการที่จำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้โจทก์เต็มตามวงเงินที่ค้ำประกันเป็นวันเริ่มต้นคิดดอกเบี้ยทบต้น ปรากฏตามรายการบัญชีเดินสะพัดว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้โจทก์เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2520 เป็นเงิน 43,031 บาท 69 สตางค์ จึงให้ถือเอาวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2520 เป็นวันเริ่มต้นคิดดอกเบี้ยทบต้นในต้นเงิน 30,000 บาท ตามสัญญาค้ำประกันของจำเลยที่ 2 จนถึงวันที่ 17 กันยายน 2522 อันเป็นวันสุดท้ายที่โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้น ต่อจากนั้นให้คิดดอกเบี้ยตามปกติ
การที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ในฐานะผู้ค้ำประกันต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมจึงเป็นหนี้ที่ไม่อาจแบ่งแยกได้ ดังนั้นแม้จำเลยที่ 4 จะมิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 4 ได้
ผู้ค้ำประกันย่อมต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันเพียงเท่าที่ตนยอมค้ำประกัน ข้อสัญญาที่ผู้รับจำนองค้ำประกันมีสิทธิบังคับจำนองสำหรับหนี้ต้นเงินที่เกินวงเงินจำนองค้ำประกันด้วยนั้น เป็นการให้ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดเกินกว่าที่ตนยอมค้ำประกัน ผู้ค้ำประกันจึงไม่ต้องรับผิดในต้นเงินที่เกินกว่าที่กำหนดไว้ในสัญญาค้ำประกัน
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 ในวงเงิน 30,000 บาท ปรากฏตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดของจำเลยที่ 1 ว่า จำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้โจทก์ครั้งสุดท้ายในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2520 เป็นเงิน 16,031 บาท 69 สตางค์ โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นตั้งแต่วันนี้ ส่วนวิธีคิดดอกเบี้ยทบต้นเพื่อให้ผู้ค้ำประกันรับผิดนั้นต้องดูรายการที่จำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้โจทก์เต็มตามวงเงินที่ค้ำประกันเป็นวันเริ่มต้นคิดดอกเบี้ยทบต้น ปรากฏตามรายการบัญชีเดินสะพัดว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้โจทก์เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2520 เป็นเงิน 43,031 บาท 69 สตางค์ จึงให้ถือเอาวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2520 เป็นวันเริ่มต้นคิดดอกเบี้ยทบต้นในต้นเงิน 30,000 บาท ตามสัญญาค้ำประกันของจำเลยที่ 2 จนถึงวันที่ 17 กันยายน 2522 อันเป็นวันสุดท้ายที่โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้น ต่อจากนั้นให้คิดดอกเบี้ยตามปกติ
การที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ในฐานะผู้ค้ำประกันต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมจึงเป็นหนี้ที่ไม่อาจแบ่งแยกได้ ดังนั้นแม้จำเลยที่ 4 จะมิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 4 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1958/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกข้อต่อสู้เรื่องสัญญาประนีประนอมยอมความระงับหนี้ค้ำประกัน: การให้การไม่ชัดเจนทำให้ประเด็นไม่เกิด
คำให้การของจำเลยมิได้กล่าวโดยชัดแจ้งว่าสัญญาประนีประนอมระหว่างโจทก์กับลูกหนี้ในคดีเรื่องก่อน ทำให้หนี้ตามสัญญากู้ระงับสิ้นไป อันทำให้จำเลยผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิดตามมาตรา 698 คำให้การจำเลยกล่าวแต่เพียงว่าสัญญาประนีประนอมยอมผ่อนเวลาชำระหนี้ให้แก่ ส. ลูกหนี้ทำให้จำเลยหลุดพ้นจากความรับผิดตามมาตรา 700 เท่านั้น ยิ่งกว่านั้น ในการชี้สองสถาน จำเลยยังแถลงรับว่า ที่จำเลยไม่ต้องรับผิดก็เพราะโจทก์ยอมผ่อนเวลาให้ ส. โดยจำเลยมิได้ยินยอม การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องจำเลยอีกทั้งที่โจทก์ได้ฟ้อง ส. และทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันแล้ว ย่อมเป็นฟ้องซ้ำ ดังนี้ คำแถลงรับของจำเลยประกอบคำให้การสู้คดี ทำให้เห็นได้ชัดแจ้งว่า จำเลยมิได้ประสงค์จะยกประเด็นข้อกฎหมายว่าสัญญาประนีประนอมยอมความทำให้หนี้เดิมระงับ อันทำให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิดตามมาตรา 698 ขึ้นสู้คดี จำเลยจึงมิได้บรรยายไว้โดยชัดแจ้งในคำให้การเพียงแต่จำเลยสรุปไว้ท้ายคำให้การว่า จำเลยไม่ต้องรับผิดโดยหลักกฎหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 698, 850, 851, 852 ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 177 จึงไม่ทำให้เกิดประเด็นข้อนี้
เมื่อถือว่าจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่าสัญญาประนีประนอมยอมความทำให้หนี้เดิมระงับ ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิดตามมาตรา 698 แล้ว การที่ศาลชั้นต้นหยิบยกประเด็นข้อนี้ขึ้นวินิจฉัยยกฟ้องโจทก์ จึงเป็นการนอกประเด็น คู่ความจะยกประเด็นข้อนี้ขึ้นอุทธรณ์ฎีกาต่อมาไม่ได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 25/2511)
เมื่อถือว่าจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่าสัญญาประนีประนอมยอมความทำให้หนี้เดิมระงับ ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิดตามมาตรา 698 แล้ว การที่ศาลชั้นต้นหยิบยกประเด็นข้อนี้ขึ้นวินิจฉัยยกฟ้องโจทก์ จึงเป็นการนอกประเด็น คู่ความจะยกประเด็นข้อนี้ขึ้นอุทธรณ์ฎีกาต่อมาไม่ได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 25/2511)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12711/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ค้ำประกันระงับเมื่อหนี้ประธานระงับจากสัญญาประนีประนอมยอมความ ผู้ค้ำประกันไม่ต้องรับผิด
หนี้ตามสัญญาค้ำประกันเป็นหนี้อุปกรณ์ ผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันก็ต่อเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้เงินกู้ซึ่งเป็นหนี้ประธาน หรือยังมีหนี้ประธานที่ผู้ให้กู้ยังไม่ได้รับชำระหนี้ กล่าวคือยังคงมีหนี้ประธานอยู่ การที่โจทก์ได้ยื่นฟ้อง บ. ให้รับผิดชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมซึ่งเป็นหนี้ประธาน โจทก์กับ บ. ทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลพิพากษาตามยอมแล้ว ย่อมทำให้หนี้ประธานคือหนี้กู้ยืมระงับ เกิดเป็นหนี้ใหม่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ. มาตรา 852 เมื่อหนี้กู้ยืมเงินซึ่งเป็นหนี้ประธานระงับ จึงไม่มีหนี้ที่จำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดอีก จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันที่จะต้องใช้เงินแก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 698
(ประชุมครั้งที่ 9/2558)
(ประชุมครั้งที่ 9/2558)