คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
หนี้ประธาน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 24 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6779/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดสรรชำระหนี้: หนี้อุปกรณ์ต้องชำระก่อนหนี้ประธานเมื่อชำระไม่ครบ
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา329ในกรณีที่ลูกหนี้มีหนี้รายเดียวแต่ว่ามีทั้งหนี้ประธานและหนี้อุปกรณ์เมื่อลูกหนี้ชำระหนี้โดยไม่สามารถชำระหนี้ได้ทั้งหมดจะต้องจัดสรรชำระหนี้อุปกรณ์ก่อนเมื่อตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลและใบเสร็จรับเงินมิได้ระบุให้จัดใช้เป็นการชำระหนี้ต้นเงินอันเป็นหนี้ประธานก่อนจึงต้องเอาเงินจำนวนดังกล่าวจัดใช้หนี้ดอกเบี้ยอันเป็นหนี้อุปกรณ์ก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5753/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ประธานถึงกำหนด หนี้จำนองถึงกำหนดตาม, ผู้รับจำนองมีสิทธิได้รับชำระหนี้จากเงินจากการบังคับคดี
เมื่อหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีอันเป็นหนี้ประธานถึงกำหนดหนี้ตามสัญญาจำนองอันเป็นหนี้อุปกรณ์ที่ ว.และจำเลยทำไว้เป็นประกันหนี้ประธานดังกล่าวย่อมถึงกำหนดเช่นกัน
ทรัพย์ที่ ว.และจำเลยสามีภริยามีกรรมสิทธิ์ร่วมกัน ได้จำนองไว้แก่ผู้ร้องเป็นประกันหนี้ของ ว.นั้น โจทก์ได้นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดออกขายทอดตลาดเพื่อเอาเงินชำระหนี้ที่จำเลยมีต่อโจทก์ แม้ ว.มิได้ถูกฟ้องหรือเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาคดีนี้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับจำนองก็มีสิทธิดได้รับชำระหนี้จำนองเติมจำนวนทั้งสอง ว.และจำเลยในฐานะเจ้าหนี้จำนองจากเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.มาตรา 2 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5806/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยสัญญาเบิกเกินบัญชีและจำนอง: อัตราดอกเบี้ยต้องเป็นไปตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีประธาน, โจทก์ต้องแสดงรายละเอียดของหนี้
สัญญาจำนองเป็นหนี้อุปกรณ์ จำนวนหนี้และอัตราดอกเบี้ยย่อมเป็นไปตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีอันเป็นหนี้ประธานสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีไม่มีข้อตกลงให้เพิ่มอัตราดอกเบี้ยได้จึงเพิ่มอัตราดอกเบี้ยสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีตามสัญญาจำนองซึ่งเป็นหนี้อุปกรณ์ไม่ได้ มูลหนี้ประธานเกิดจากสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีซึ่งมีรวม5 ฉบับแต่ละฉบับกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ต่างกัน โจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้ตามที่กำหนดไว้ในสัญญาแต่ละฉบับ ฉบับที่กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ต่ำที่สุดร้อยละ 15 ต่อปี สูงที่สุดร้อยละ 18.5 ต่อปีแต่โจทก์ฟ้องรวมกันมาโดยไม่แยกให้แน่ชัดว่าสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับใด จำเลยที่ 1 เป็นหนี้เท่าใดนอกจากนี้โจทก์มิได้นำสืบถึงประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ให้โจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้เกินอัตราร้อยละ 15 ต่อปีด้วยโจทก์จึงมีสิทธิได้ดอกเบี้ยเพียงร้อยละ 15 ต่อปี.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2044/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ประธาน-หนี้อุปกรณ์: สิทธิโจทก์เลือกฟ้องบังคับชำระหนี้ตามสัญญากู้หรือจำนองก็ได้
คำให้การของจำเลยปรากฏชัดว่าจำเลยได้ทำสัญญากู้กับโจทก์ไว้ในฐานะเป็นหนี้ประธาน ส่วนสัญญาจำนองได้ทำไว้เพียงเพื่อประกันหนี้เงินกู้ตามสัญญากู้ หนี้จำนองจึงเป็นเพียงหนี้อุปกรณ์ โจทก์จึงไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินให้จำเลยตามสัญญาจำนอง เมื่อจำเลยรับว่าโจทก์ได้จ่ายเงินให้จำเลยรับไปภายหลังวันทำสัญญากู้เพียง 1 วัน ก็ต้องถือว่าจำเลยได้รับเงินจากโจทก์ไปตามสัญญากู้ สัญญากู้ดังกล่าวจึงบริบูรณ์ตามกฎหมาย
เมื่อหนี้ตามสัญญากู้เป็นหนี้ประธาน และหนี้ตามสัญญาจำนองเป็นหนี้อุปกรณ์หนี้ทั้งสองประเภทจึงอาจแยกเป็นส่วนออกต่างหากจากกันได้ โดยอำนาจแห่งมูลหนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะเลือกฟ้องบังคับชำระหนี้ตามสัญญากู้หรือตามสัญญาจำนองก็ได้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 733 มิได้บังคับว่าโจทก์มีสิทธิฟ้องบังคับจำนองได้แต่ทางเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2044/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ประธาน-หนี้อุปกรณ์: โจทก์มีสิทธิฟ้องบังคับชำระหนี้ได้ทั้งสัญญากู้และจำนอง
คำให้การของจำเลยปรากฏชัดว่าจำเลยได้ทำสัญญากู้กับโจทก์ไว้ในฐานะเป็นหนี้ประธาน ส่วนสัญญาจำนองได้ทำไว้เพียงเพื่อประกันหนี้เงินกู้ตามสัญญากู้ หนี้จำนองจึงเป็นเพียงหนี้อุปกรณ์โจทก์จึงไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินให้จำเลยตามสัญญาจำนองเมื่อจำเลยรับว่าโจทก์ได้จ่ายเงินให้จำเลยรับไปภายหลังวันทำสัญญากู้เพียง 1 วัน ก็ต้องถือว่าจำเลยได้รับเงินจากโจทก์ไปตามสัญญากู้ สัญญากู้ดังกล่าวจึงบริบูรณ์ตามกฎหมาย
เมื่อหนี้ตามสัญญากู้เป็นหนี้ประธาน และหนี้ตามสัญญาจำนองเป็นหนี้อุปกรณ์หนี้ทั้งสองประเภทจึงอาจแยกเป็นส่วนออกต่างหากจากกันได้ โดยอำนาจแห่งมูลหนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะเลือกฟ้องบังคับชำระหนี้ตามสัญญากู้หรือตามสัญญาจำนองก็ได้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 733มิได้บังคับว่าโจทก์มีสิทธิฟ้องบังคับจำนองได้แต่ทางเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3329/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบังคับจำนองแม้ขาดอายุความบังคับคดี, ดอกเบี้ยจำนองจำกัดตามอัตราหนี้ประธาน, การจำนองยังคงมีผล
แม้โจทก์มิได้ร้องขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์จำนองภายใน 10 ปี นับแต่วันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 แต่ก็ไม่เป็นเหตุให้หนี้จำนองระงับสิ้นไป การจำนองห้องชุดพิพาทยังคงมีอยู่ ลูกหนี้ต้องรับผิดตามสัญญาจำนอง แม้หนี้ประธานจะขาดอายุความ แต่จะบังคับคดีเอาดอกเบี้ยที่ค้างชำระในการจำนองเกินกว่า 5 ปี ไม่ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/27 ประกอบมาตรา 745 สำหรับดอกเบี้ยที่โจทก์ขอมาในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี นั้น เห็นว่า หนี้จำนองเป็นเพียงหนี้อุปกรณ์ซึ่งจะต้องมีหนี้ประธานเสียก่อน การบังคับจำนองจึงจะกระทำได้ เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้กู้ยืมซึ่งเป็นหนี้ประธานโดยกำหนดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 17 ต่อปี หนี้จำนองซึ่งเป็นหนี้อุปกรณ์จึงคิดดอกเบี้ยได้เพียงไม่เกินที่ศาลชั้นต้นกำหนด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12711/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ค้ำประกันระงับเมื่อหนี้ประธานระงับจากสัญญาประนีประนอมยอมความ ผู้ค้ำประกันไม่ต้องรับผิด
หนี้ตามสัญญาค้ำประกันเป็นหนี้อุปกรณ์ ผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันก็ต่อเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้เงินกู้ซึ่งเป็นหนี้ประธาน หรือยังมีหนี้ประธานที่ผู้ให้กู้ยังไม่ได้รับชำระหนี้ กล่าวคือยังคงมีหนี้ประธานอยู่ การที่โจทก์ได้ยื่นฟ้อง บ. ให้รับผิดชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมซึ่งเป็นหนี้ประธาน โจทก์กับ บ. ทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลพิพากษาตามยอมแล้ว ย่อมทำให้หนี้ประธานคือหนี้กู้ยืมระงับ เกิดเป็นหนี้ใหม่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ. มาตรา 852 เมื่อหนี้กู้ยืมเงินซึ่งเป็นหนี้ประธานระงับ จึงไม่มีหนี้ที่จำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดอีก จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันที่จะต้องใช้เงินแก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 698
(ประชุมครั้งที่ 9/2558)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12711/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ค้ำประกันระงับเมื่อหนี้ประธานระงับจากการประนีประนอมยอมความ ผู้ค้ำประกันไม่ต้องรับผิด
หนี้ตามสัญญาค้ำประกันเป็นหนี้อุปกรณ์ ผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันก็ต่อเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้เงินกู้ซึ่งเป็นหนี้ประธาน หรือยังมีหนี้ประธานที่ผู้ให้กู้ยังไม่ได้รับชำระหนี้ การที่โจทก์ฟ้อง บ. ให้รับผิดชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืม แล้วทั้งสองฝ่ายทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันจนศาลพิพากษาตามยอมแล้ว ย่อมทำให้หนี้ประธานคือหนี้กู้ยืมระงับ เกิดเป็นหนี้ใหม่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ เมื่อหนี้กู้ยืมระงับ จึงไม่มีหนี้ที่จำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดอีก จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันต่อโจทก์
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 9/2558)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15363/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำนองน้อยกว่าหนี้ประธาน: บังคับจำนองได้เฉพาะวงเงินจำนอง ส่วนที่เกินยังต้องรับผิด
กรณีหนี้จำนองมีจำนวนน้อยกว่าหนี้ประธาน หากเอาทรัพย์จำนองหลุดและทรัพย์สินนั้นมีราคาต่ำกว่าจำนวนเงินที่ค้างชำระ หรือถ้าเอาทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดใช้หนี้ ได้เงินจำนวนสุทธิน้อยกว่าจำนวนเงินที่ค้างชำระ เงินยังขาดอยู่เท่าใดลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดในเงินที่ขาดนั้น แต่ในส่วนที่เกินกว่าวงเงินจำนอง ลูกหนี้ต้องรับผิดชำระหนี้ประธานต่อเจ้าหนี้จนครบจำนวนต่อไป ตามหนังสือสัญญาจำนองที่ดินระหว่างจำเลยที่ 5 กับโจทก์ จำเลยที่ 5 ตกลงจำนองที่ดินแก่โจทก์เพื่อเป็นประกันการผ่อนชำระหนี้ค่าภาษีอากร 593,750 บาท จากหนี้ค่าภาษีอากรซึ่งเป็นหนี้ประธาน 1,255,291.40 บาท โดยไม่มีข้อตกลงยกเว้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 733 ถ้านำที่ดินของจำเลยที่ 5 ขายทอดตลาดแล้วได้เงินจำนวนสุทธิน้อยกว่า 593,750 บาท เงินยังขาดจากจำนวน 593,750 บาท อยู่เท่าใด จำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ไม่ต้องรับผิดในส่วนของจำนวนเงินตามสัญญาจำนองที่ยังขาดอยู่ แต่หากนำที่ดินของจำเลยที่ 5 ดังกล่าวออกขายทอดตลาดแล้วได้เงินจำนวนสุทธิมากกว่า 593,750 บาท เงินส่วนที่เกินจากจำนวน 593,750 บาท โจทก์ต้องคืนให้แก่จำเลยที่ 5 เนื่องจากเกินวงเงินจำนองที่จำเลยที่ 5 มีเจตนาทำสัญญาจำนองที่ดินเพื่อเป็นประกันหนี้ค่าภาษีอากรของจำเลยที่ 1 สำหรับจำนวนหนี้ค่าภาษีอากรที่จำเลยที่ 1 ค้างชำระแก่โจทก์ในส่วนที่เกินจำนวน 593,750 บาท ตามที่กำหนดไว้ในหนังสือสัญญาจำนองที่ดินซึ่งเป็นหนี้ประธานนั้น จำเลยที่ 1 ยังต้องรับผิดต่อโจทก์ในหนี้ค่าภาษีอากรค้างส่วนที่เกินจากวงเงินจำนองจนครบถ้วนต่อไป ดังนั้น จำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการและจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 ในฐานะผู้ค้ำประกัน จึงต้องรับผิดในหนี้ค่าภาษีอากรค้างของจำเลยที่ 1 เพราะเป็นความรับผิดต่างหากจากสัญญาจำนองในหนี้ค่าภาษีอากรที่เกินจากวงเงินจำนองจนครบถ้วนต่อไปด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11488/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้อุปกรณ์ไม่มีหนี้ประธาน สัญญาจำนองเป็นโมฆะ ผู้จำนองไม่ต้องรับผิด
หนี้ตามหนังสือสัญญาจำนองเป็นหนี้อุปกรณ์ที่มีขึ้นเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ประธานคือ หนี้เงินที่จำเลยกู้ยืมไปจากโจทก์ เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า จำเลยไม่ได้กู้ยืมเงินโจทก์ กรณีจึงไม่มีหนี้ประธาน โจทก์จึงไม่อาจฟ้องให้จำเลยในฐานะผู้จำนองรับผิดตามสัญญาจำนอง ซึ่งเป็นหนี้อุปกรณ์ได้ คดีจึงไม่จำต้องวินิจฉัยว่า จำเลยมอบอำนาจให้ จ. ไปจดทะเบียนจำนองหรือไม่ เพราะไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลง
of 3