พบผลลัพธ์ทั้งหมด 473 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 365-388/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัดและการรับผิดชอบหนี้ของหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิด
ศาลแพ่งกรุงเทพใต้มีคำสั่งให้เลิกจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 แต่ ป.พ.พ. มาตรา 1249 ให้พึงถือว่าจำเลยที่ 1 ยังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชีส่วนการตั้งบุคคลอื่นเป็นผู้ชำระบัญชีนั้นก็มีผลเพียงให้ผู้นั้นเป็นผู้มีอำนาจในการกระทำการต่าง ๆ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1259 และจำเลยที่ 2 ไม่มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 เท่านั้น จำเลยที่ 2 ยังคงเป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิด ซึ่งต้องรับผิดในบรรดาหนี้ของจำเลยที่ 1 ไม่จำกัดจำนวน ตามมาตรา 1077 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2985/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประวิงคดีและทรัพย์สินไม่พอชำระหนี้: ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์และพิพากษาให้ล้มละลาย
ทนายจำเลยทั้งสองสืบพยานจำเลยทั้งสองได้เพียงปากเดียวแล้วขอเลื่อนคดีถึง 2 ครั้งติด ๆ กัน กับยกเลิกวันนัดอีก 1 นัด ในการขอเลื่อนคดีทุกครั้ง ศาลชั้นต้นได้กำชับให้ทนายจำเลยทั้งสองเตรียมพยานมาให้พร้อมสืบ แต่พอถึงวันนัดทนายจำเลยทั้งสองขอเลื่อนคดีอีกเป็นครั้งที่ 3 ด้วยเหตุผลเดิม ๆ ว่า พยานที่ขอให้ศาลออกหมายเรียกไม่มาศาล ทั้ง ๆ ที่พยานดังกล่าวเป็นพนักงานของจำเลยที่ 1 ซึ่งควรจะนำมาศาลได้โดยง่าย พฤติการณ์แห่งคดีแสดงว่าจำเลยทั้งสองมิได้ให้ความสนใจและความสำคัญต่อการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้น ทั้งตามคำแถลงขอเลื่อนคดีก็มิได้แสดงให้เป็นที่พอใจของศาลว่าหากไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีแล้วจะทำให้เสียความยุติธรรมอย่างไร ที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าจำเลยทั้งสองจงใจประวิงคดีและไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีกับให้งดสืบพยานจำเลยทั้งสองจึงชอบแล้ว
เอกสารเกี่ยวกับหลักฐานแสดงฐานะและทรัพย์สินของจำเลยทั้งสองที่ระบุว่าจำเลยทั้งสองถือหุ้นอยู่ในบริษัทต่าง ๆ และเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ห้องชุด มีมูลค่าพอชำระหนี้โจทก์ได้ ซึ่งจำเลยทั้งสองเพิ่งนำมาแสดงหลังจากที่ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานจำเลยทั้งสองแล้ว ไม่ต้องห้ามมิให้ศาลฎีการับฟัง เพราะ พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 14 เป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ซึ่งกำหนดให้ศาลต้องพิจารณาเอาความจริงว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่ ลูกหนี้อาจชำระหนี้ได้ทั้งหมดหรือมีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้ลูกหนี้ล้มละลายหรือไม่ จำเลยทั้งสองจึงชอบที่จะเสนอพยานเอกสารต่อศาลเพื่อให้ความจริงปรากฏได้ อย่างไรก็ตาม จำเลยทั้งสองไม่ได้แสดงถึงงบการเงินเพื่อให้เห็นว่าบริษัทต่าง ๆ ที่จำเลยถือหุ้นอยู่มีผลประกอบการเป็นอย่างไร และหุ้นต่าง ๆ ที่จำเลยทั้งสองถืออยู่มีมูลค่าที่แท้จริงเป็นเงินตามจำนวนที่ระบุไว้หรือไม่ และยังได้ความตามหนังสือรับรองของบริษัทต่าง ๆ ที่จำเลยทั้งสองถือหุ้นอยู่ว่าขาดส่งงบการเงินปี 2542 รวม 10 บริษัท นายทะเบียนได้ขีดชื่อออกจากทะเบียนบริษัทร้าง 1 บริษัท ส่วนห้องชุดที่จำเลยที่ 2 ถือกรรมสิทธิ์มีภาระจำนองอีกด้วย ทรัพย์สินต่าง ๆ ที่จำเลยทั้งสองอ้างมา จึงไม่อาจรับฟังได้ว่ามีมูลค่าเพียงพอชำระหนี้ได้ทั้งหมด ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ว่าจำเลยทั้งสองมีหนี้สินล้นพ้นตัวและไม่มีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้จำเลยทั้งสองล้มละลาย
เอกสารเกี่ยวกับหลักฐานแสดงฐานะและทรัพย์สินของจำเลยทั้งสองที่ระบุว่าจำเลยทั้งสองถือหุ้นอยู่ในบริษัทต่าง ๆ และเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ห้องชุด มีมูลค่าพอชำระหนี้โจทก์ได้ ซึ่งจำเลยทั้งสองเพิ่งนำมาแสดงหลังจากที่ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานจำเลยทั้งสองแล้ว ไม่ต้องห้ามมิให้ศาลฎีการับฟัง เพราะ พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 14 เป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ซึ่งกำหนดให้ศาลต้องพิจารณาเอาความจริงว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่ ลูกหนี้อาจชำระหนี้ได้ทั้งหมดหรือมีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้ลูกหนี้ล้มละลายหรือไม่ จำเลยทั้งสองจึงชอบที่จะเสนอพยานเอกสารต่อศาลเพื่อให้ความจริงปรากฏได้ อย่างไรก็ตาม จำเลยทั้งสองไม่ได้แสดงถึงงบการเงินเพื่อให้เห็นว่าบริษัทต่าง ๆ ที่จำเลยถือหุ้นอยู่มีผลประกอบการเป็นอย่างไร และหุ้นต่าง ๆ ที่จำเลยทั้งสองถืออยู่มีมูลค่าที่แท้จริงเป็นเงินตามจำนวนที่ระบุไว้หรือไม่ และยังได้ความตามหนังสือรับรองของบริษัทต่าง ๆ ที่จำเลยทั้งสองถือหุ้นอยู่ว่าขาดส่งงบการเงินปี 2542 รวม 10 บริษัท นายทะเบียนได้ขีดชื่อออกจากทะเบียนบริษัทร้าง 1 บริษัท ส่วนห้องชุดที่จำเลยที่ 2 ถือกรรมสิทธิ์มีภาระจำนองอีกด้วย ทรัพย์สินต่าง ๆ ที่จำเลยทั้งสองอ้างมา จึงไม่อาจรับฟังได้ว่ามีมูลค่าเพียงพอชำระหนี้ได้ทั้งหมด ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ว่าจำเลยทั้งสองมีหนี้สินล้นพ้นตัวและไม่มีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้จำเลยทั้งสองล้มละลาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2384/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องล้มละลายต้องบรรยายคำฟ้องให้เข้าหลักเกณฑ์ พ.ร.บ.ล้มละลายฯ และลูกหนี้ร่วมกันต้องรับผิดชอบหนี้
การที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ไม่มีประกันจะฟ้องให้จำเลยล้มละลายจะต้องบรรยายคำฟ้องให้เข้าหลักเกณฑ์ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 9 คดีนี้โจทก์ได้บรรยายคำฟ้องว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ในมูลหนี้ตามคำพิพากษา 3 คดี เป็นจำนวนไม่น้อยกว่า 1,000,000 บาท จำเลยไม่ชำระหนี้ดังกล่าว จำเลยเป็นบุคคลมีหนี้สินล้นพ้นตัวและหนี้ดังกล่าวนั้นอาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน คำฟ้องของโจทก์จึงเข้าหลักเกณฑ์ตามที่ พ.ร.บ.ล้มละลายฯ กำหนดไว้แล้ว ส่วนจำเลยจะเป็นบุคคลมีหนี้สินล้นพ้นตัวอยางไร จำเลยได้กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งอันต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่ เป็นข้อที่ต้องไปว่ากล่าวในชั้นพิจารณา
มูลหนี้ตามคำพิพากษาที่พิพากษาให้จำเลยกับพวกหลายคนร่วมกันรับผิดชำระหนี้ จำเลยแต่ละคนซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาในคดีแพ่งดังกล่าวต้องร่วมกันรับผิดจนกว่าเจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้โดยสิ้นเชิง และขณะเดียวกันเจ้าหนี้ก็ย่อมมีสิทธิที่จะเรียกร้องให้ลูกหนี้ร่วมคนใดคนหนึ่งชำระหนี้ก็ได้ เมื่อจำเลยอยู่ในฐานะลูกหนี้มิได้ปฏิบัติหน้าที่ในการชำระหนี้ กรณีจึงไม่มีเหตุที่ไม่ควรให้จำเลยล้มละลาย
มูลหนี้ตามคำพิพากษาที่พิพากษาให้จำเลยกับพวกหลายคนร่วมกันรับผิดชำระหนี้ จำเลยแต่ละคนซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาในคดีแพ่งดังกล่าวต้องร่วมกันรับผิดจนกว่าเจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้โดยสิ้นเชิง และขณะเดียวกันเจ้าหนี้ก็ย่อมมีสิทธิที่จะเรียกร้องให้ลูกหนี้ร่วมคนใดคนหนึ่งชำระหนี้ก็ได้ เมื่อจำเลยอยู่ในฐานะลูกหนี้มิได้ปฏิบัติหน้าที่ในการชำระหนี้ กรณีจึงไม่มีเหตุที่ไม่ควรให้จำเลยล้มละลาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2358/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีล้มละลาย: ยุติเมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าลูกหนี้มิใช่บุคคลล้มละลาย แม้มีข้อโต้แย้งเรื่องหนี้สิน
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยมิใช่บุคคลผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว โจทก์มิได้อุทธรณ์ ข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยมิใช่บุคคลผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวจึงยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น การที่จำเลยฎีกาว่าจำเลยมิได้เป็นหนี้โจทก์และโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง แม้จะพิจารณาปัญหาตามฎีกาของจำเลยก็ไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป จึงไม่จำต้องวินิจฉัย ส่วนปัญหาว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์หรือไม่ จะต้องไปว่ากันในคดีแพ่งต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 823/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประนอมหนี้ก่อนล้มละลายทำให้คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดสิ้นผลบังคับ
ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ก่อนล้มละลายของจำเลยซึ่งขอประนอมหนี้โดยยอมชำระค่าใช้จ่ายและหนี้สินตามมาตรา 130 (1) - (7) แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลายฯ เต็มจำนวนและในทันทีเมื่อศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ จำเลยยอมชำระบรรดาหนี้ที่ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ได้รับชำระหนี้แล้วซึ่งทำให้จำเลยต้องผูกพันตามข้อตกลงในการประนอมหนี้และคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเป็นอันยกเลิกไปในตัว จึงไม่มีประโยชน์ที่จะพิจารณาฎีกาของจำเลยอีกต่อไป ชอบที่จะจำหน่ายคดีจากสารบบความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5175/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์สินโดยไม่ทราบหนี้สิน: ไม่เป็นความผิดฐานโกงเจ้าหนี้
เมื่อจำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ในคดีที่โจทก์ฟ้องให้ชำระหนี้เงินกู้และในที่สุดศาลฎีกามีคำพิพากษาวินิจฉัยว่ามีเหตุให้พิจารณาใหม่ตามคำร้องของจำเลยที่ 1 โดยฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 1 ไม่ทราบว่าถูกโจทก์ฟ้องให้ชำระหนี้เงินกู้ที่ศาลแพ่ง แต่เพิ่งมาทราบเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2540 ข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงเป็นอันยุติและผูกพันโจทก์กับจำเลยที่ 1 ผู้เป็นคู่ความด้วยเหตุนี้เอง การที่โจทก์กล่าวอ้างในฟ้องว่าเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2540 จำเลยทั้งสามร่วมกันโอนที่ดินพิพาททั้งสามแปลงในกรรมสิทธิ์ส่วนของจำเลยที่ 1 ให้แก่จำเลยที่ 2 แสดงให้เห็นว่าในวันตามฟ้องดังกล่าวจำเลยที่ 1 ยังไม่ทราบว่าถูกโจทก์ฟ้องให้ชำระหนี้เงินกู้ ดังนั้น ในขณะเกิดเหตุตามฟ้อง จึงไม่อาจฟังเป็นยุติว่าจำเลยทั้งสามร่วมกันโอนทรัพย์โดยรู้ว่าโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ได้ใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ชำระหนี้ทั้งนี้เพื่อมิให้โจทก์ได้รับชำระหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิด ไม่อาจถือได้ว่าจำเลยทั้งสามมีเจตนาร่วมกันกระทำความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตาม ป.อ. มาตรา 350
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4264/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นส่วนสามัญฟ้องหนี้เฉพาะส่วนไม่ได้ ต้องฟ้องเพื่อประโยชน์ส่วนรวม
โจทก์และ ส. ตกลงเข้ากันเป็นหุ้นส่วนทำกิจการบ้านจัดสรรและอาคารพาณิชย์ แม้ในการทำสัญญาขายที่ดินพร้อมอาคารแก่จำเลย จะได้มอบอำนาจให้ ว. เป็นผู้มีอำนาจจัดการแทน อันมีผลทำให้โจทก์และ ส. ผูกพันตามสัญญาที่ ว. ทำไว้กับจำเลย ซึ่งโจทก์หรือ ส. ผู้เป็นหุ้นส่วนมีสิทธิฟ้องจำเลยได้โดยลำพังก็ตาม แต่การฟ้องคดีก็จะต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์ของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน เมื่อโจทก์และ ส. ยังเป็นหุ้นส่วนกันอยู่ การที่โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยชำระหนี้เฉพาะส่วนของตนกึ่งหนึ่ง จึงเป็นการฟ้องเรียกหนี้สินของห้างหุ้นส่วนสามัญในฐานะส่วนตัว โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระเงินตามฟ้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2893/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โกงเจ้าหนี้ต้องมีหนี้สินก่อน การทำลายทรัพย์สินหลังบังคับคดีชอบแล้ว ไม่เป็นความผิด
ความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตาม ป.อ. มาตรา 350 ในเบื้องต้นต้องมีหนี้ระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้อยู่ก่อน โดยโจทก์อยู่ในฐานะเป็นเจ้าหนี้และผู้เสียหาย คดีนี้โจทก์อ้างสิทธิว่าโจทก์เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ แต่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ที่ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและตึกแถวจากจำเลยที่ 3 ได้ฟ้องขับไล่โจทก์และ ด. กับพวก แม้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ด. มีส่วนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินและตึกแถวซึ่งเป็นส่วนของทรัพย์มรดกของ ด. ตกได้แก่โจทก์ในฐานะภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ด. โจทก์จึงมีสิทธิที่จะอาศัยหรือใช้ประโยชน์ในที่ดินและตึกแถวนั้นได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 จำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่โจทก์ก็ตาม แต่คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ก็ยังมิได้แสดงให้เห็นว่าโจทก์เป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องเพราะโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง มิได้พิพากษาว่าจำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดชำระหนี้แก่โจทก์ การที่โจทก์มีสิทธิได้รับมรดกในที่ดินและตึกแถวที่เป็นที่ดินกรรมสิทธิ์ร่วมกันระหว่างพี่น้องในส่วนของ ด. เป็นสิทธิในทรัพยสิทธิ มิใช่สิทธิในฐานะเป็นเจ้าหนี้อันเป็นบุคคลสิทธิ สิทธิของโจทก์ดังกล่าวมีอยู่อย่างไรย่อมไม่หมดไป เมื่อจำเลยที่ 1 มิได้เป็นลูกหนี้ของโจทก์ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แม้จำเลยที่ 1 ทราบคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้วได้โอนที่ดินและตึกแถวให้แก่จำเลยที่ 2 ไป ในราคาต่ำก็ตาม การกระทำของจำเลยที่ 1 ก็ไม่ใช่เป็นการกระทำเพื่อมิให้เจ้าหนี้ของตนได้รับชำระหนี้อันเป็นความผิดอาญาฐานโกงเจ้าหนี้ตาม ป.อ. มาตรา 350
หลังจากจำเลยที่ 2 ได้รับโอนที่ดินจากจำเลยที่ 1 มาแล้ว จำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ทำลายตึกแถวตามคำฟ้องและทรัพย์สินส่วนตัวของโจทก์จนเปลี่ยนสภาพไปจากเดิม เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ส่งมอบตึกแถวแก่จำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2537 หลังจากนั้นจำเลยที่ 1 ได้โอนขายที่ดินและตึกแถวแก่จำเลยที่ 2 เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2538 จำเลยที่ 2 นำตึกแถวไปให้จำเลยที่ 3 เช่าทำประโยชน์ จำเลยที่ 2 และที่ 3 ทุบทำลายปรับปรุงดัดแปลงตึกแถวเป็นร้านค้าและหอพักมิใช่เป็นการกลั่นแกล้งโจทก์ แต่เป็นการใช้สิทธิตามปรกติโดยเชื่อว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการบังคับคดีถูกต้องแล้วซึ่งมีอำนาจทำได้ มิได้มีเจตนาทำลายตึกแถวให้เสียหายแต่อย่างใด การกระทำของจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงไม่เป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 358
หลังจากจำเลยที่ 2 ได้รับโอนที่ดินจากจำเลยที่ 1 มาแล้ว จำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ทำลายตึกแถวตามคำฟ้องและทรัพย์สินส่วนตัวของโจทก์จนเปลี่ยนสภาพไปจากเดิม เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ส่งมอบตึกแถวแก่จำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2537 หลังจากนั้นจำเลยที่ 1 ได้โอนขายที่ดินและตึกแถวแก่จำเลยที่ 2 เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2538 จำเลยที่ 2 นำตึกแถวไปให้จำเลยที่ 3 เช่าทำประโยชน์ จำเลยที่ 2 และที่ 3 ทุบทำลายปรับปรุงดัดแปลงตึกแถวเป็นร้านค้าและหอพักมิใช่เป็นการกลั่นแกล้งโจทก์ แต่เป็นการใช้สิทธิตามปรกติโดยเชื่อว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการบังคับคดีถูกต้องแล้วซึ่งมีอำนาจทำได้ มิได้มีเจตนาทำลายตึกแถวให้เสียหายแต่อย่างใด การกระทำของจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงไม่เป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 358
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7489/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งศาลที่เกี่ยวข้องกับหนี้สิน จำเป็นต้องวางเงินค่าธรรมเนียมพร้อมกัน หากไม่ปฏิบัติตาม ศาลมีอำนาจสั่งไม่รับอุทธรณ์
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลย ค่าคำร้องเป็นพับ การที่จำเลยอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้น โดยขอให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งอนุญาตให้พิจารณาใหม่ ซึ่งจะทำให้คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่บังคับให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์เป็นอันเพิกถอนไปได้ ผลเท่ากับเป็นการอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นอยู่ในตัวนั่นเอง ดังนั้น จำเลยต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ โดยศาลชั้นต้นไม่จำต้องมีคำสั่งให้จำเลยปฏิบัติก่อน การที่จำเลยมิได้วางเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์เช่นนี้ ในชั้นตรวจอุทธรณ์ศาลชั้นต้นชอบที่จะสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลย แต่เมื่อศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลย ศาลอุทธรณ์ก็ชอบที่จะพิพากษายกอุทธรณ์นั้นเสียโดยไม่ต้องวินิจฉัยในประเด็นแห่งอุทธรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยด้วยโดยพิพากษายืน จึงมิชอบด้วยบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาจึงต้องยกเสีย และไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของโจทก์
(ประชุมใหญ่)
(ประชุมใหญ่)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5189/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีล้มละลาย: สิทธิฟ้องแย้งจำกัดเฉพาะประเด็นการมีหนี้สินล้นพ้นตัว ห้ามฟ้องแย้งประเด็นอื่น
คดีล้มละลายเป็นคดีที่ฟ้องให้จัดการทรัพย์สินของบุคคลผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวเพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทั้งหลายของบุคคลผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวนั้น การพิจารณาคดีล้มละลายไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อจะชี้ขาดหรือพิพากษาบังคับให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์โดยเฉพาะจึงย่อมผิดแผกแตกต่างกับการพิจารณาคดีแพ่งสามัญเพราะประเด็นสำคัญในคดี
ล้มละลายมีอยู่ว่าจำเลยซึ่งถูกฟ้องขอให้ล้มละลายเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวและเป็นหนี้โจทก์จำนวนแน่นอนไม่น้อยกว่า 1,000,000 บาท สำหรับจำเลยซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา หรือไม่น้อยกว่า 2,000,000 บาท สำหรับจำเลยซึ่งเป็นนิติบุคคล หรือไม่ หากศาลพิจารณาได้ความจริงเช่นนั้นก็ต้องมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาด หากพิจารณาไม่ได้ความจริงหรือแม้ได้ความจริงแต่จำเลยนำสืบได้ว่าอาจชำระหนี้ได้ทั้งหมดหรือมีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้จำเลยล้มละลาย ศาลจะต้องพิพากษายกฟ้อง ดังนั้นการพิจารณาคดีล้มละลายศาลจะมีคำสั่งหรือคำพิพากษาได้เพียง 2 ประการ คือ มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดหรือพิพากษายกฟ้องตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 14 เท่านั้น โดยไม่เปิดช่องให้ศาลมีคำวินิจฉัยในประเด็นอื่นใดนอกเหนือไปจากที่กล่าวได้ จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะฟ้องแย้งให้ศาลมีคำพิพากษาให้โจทก์กระทำหรือไม่กระทำการใดได้อีกเพราะเป็นเรื่องอื่นที่ไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม เมื่อจำเลยให้การปฏิเสธหนี้สินที่โจทก์อ้างให้รับผิดตามสัญญารับผิดชดใช้หนี้เพราะสัญญาดังกล่าวปลอม จึงมีประเด็นที่โจทก์ต้องนำสืบถึงหนี้สินตามสัญญารับผิดชดใช้หนี้ ซึ่งหากศาลพิจารณาแล้วเชื่อว่าสัญญารับผิดชดใช้หนี้เป็นสัญญาปลอมดังที่จำเลยให้การต่อสู้ ศาลก็ชอบที่จะพิพากษายกฟ้องโจทก์ เมื่อเป็นเช่นนี้จำเลยจึงไม่มีสิทธิฟ้องแย้งขอให้ศาลพิพากษาว่าสัญญารับผิดชดใช้หนี้เป็นสัญญาปลอม
ล้มละลายมีอยู่ว่าจำเลยซึ่งถูกฟ้องขอให้ล้มละลายเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวและเป็นหนี้โจทก์จำนวนแน่นอนไม่น้อยกว่า 1,000,000 บาท สำหรับจำเลยซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา หรือไม่น้อยกว่า 2,000,000 บาท สำหรับจำเลยซึ่งเป็นนิติบุคคล หรือไม่ หากศาลพิจารณาได้ความจริงเช่นนั้นก็ต้องมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาด หากพิจารณาไม่ได้ความจริงหรือแม้ได้ความจริงแต่จำเลยนำสืบได้ว่าอาจชำระหนี้ได้ทั้งหมดหรือมีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้จำเลยล้มละลาย ศาลจะต้องพิพากษายกฟ้อง ดังนั้นการพิจารณาคดีล้มละลายศาลจะมีคำสั่งหรือคำพิพากษาได้เพียง 2 ประการ คือ มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดหรือพิพากษายกฟ้องตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 14 เท่านั้น โดยไม่เปิดช่องให้ศาลมีคำวินิจฉัยในประเด็นอื่นใดนอกเหนือไปจากที่กล่าวได้ จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะฟ้องแย้งให้ศาลมีคำพิพากษาให้โจทก์กระทำหรือไม่กระทำการใดได้อีกเพราะเป็นเรื่องอื่นที่ไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม เมื่อจำเลยให้การปฏิเสธหนี้สินที่โจทก์อ้างให้รับผิดตามสัญญารับผิดชดใช้หนี้เพราะสัญญาดังกล่าวปลอม จึงมีประเด็นที่โจทก์ต้องนำสืบถึงหนี้สินตามสัญญารับผิดชดใช้หนี้ ซึ่งหากศาลพิจารณาแล้วเชื่อว่าสัญญารับผิดชดใช้หนี้เป็นสัญญาปลอมดังที่จำเลยให้การต่อสู้ ศาลก็ชอบที่จะพิพากษายกฟ้องโจทก์ เมื่อเป็นเช่นนี้จำเลยจึงไม่มีสิทธิฟ้องแย้งขอให้ศาลพิพากษาว่าสัญญารับผิดชดใช้หนี้เป็นสัญญาปลอม