พบผลลัพธ์ทั้งหมด 38 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9546/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การล้มละลายไม่ทำให้หนี้จากการสั่งจ่ายเช็คเป็นโมฆะ การกระทำผิดเกิดขึ้นก่อนล้มละลาย
กรณีที่ศาลมีคำสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์บุคคลใดหรือมีคำพิพากษาให้บุคคลใดเป็นบุคคลล้มละลายนั้นเกี่ยวกับสิทธิและสภาพของบุคคล บุคคลผู้ล้มละลายจะจัดการทรัพย์สินได้หรือไม่ เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย กฎหมายล้มละลายเพียงบัญญัติมิให้บุคคลที่ถูกพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินคดีในทางแพ่งด้วยตนเองหรือก่อหนี้สินขึ้นอีกในระหว่างพิทักษ์ทรัพย์อยู่ ถ้าหากไปก่อหนี้สินขึ้นในระหว่างถูกพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าหนี้จะถือเอามูลหนี้นั้นไปขอรับชำระหนี้ไม่ได้ แต่ไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติให้หนี้สินนั้นสูญสิ้นไป โดยเฉพาะกฎหมายล้มละลายมิได้คุ้มครองให้ผู้กระทำผิดอาญาพ้นผิดไปด้วย จำเลยที่ 2 กระทำผิดโดยสั่งจ่ายเช็ครวม 4 ฉบับ ลงวันที่ 3 พฤษภาคม 2534 ถึงวันที่ 24 พฤษภาคม 2534 ซึ่งธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2534 จำนวน 1 ฉบับ และเมื่อวันที่13 มิถุนายน 2534 จำนวน 3 ฉบับ แต่จำเลยที่ 1ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2535การกระทำผิดได้เกิดขึ้นก่อนจะถูกพิทักษ์ทรัพย์ไม่เกี่ยวข้องกับการถูกพิทักษ์ทรัพย์ในภายหลังแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 879/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความระงับหนี้เช็คสำเร็จเมื่อเงื่อนไขการขายทรัพย์มรดกเป็นไปตามตกลง
โจทก์จำเลยทำ ข้อตกลงกันแม้จะเรียกว่าเป็น หนังสือรับสภาพหนี้ แต่มีข้อสาระสำคัญว่าจำเลยยอมรับว่าได้สั่งจ่ายเช็คพิพาทให้โจทก์และจะชำระหนี้ให้โจทก์เมื่อศาลตั้งผู้จัดการมรดกของ ถ. และผู้จัดการมรดกได้จำหน่ายทรัพย์มรดกแล้วโดยโจทก์ยอมถอนคำร้องทุกข์ในคดีเช็คพิพาทที่โจทก์ร้องทุกข์ไว้ข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยเป็นกรณีที่คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายต้องการระงับข้อพิพาทที่มีอยู่ให้เสร็จไปด้วยต่างฝ่ายต่างยอมผ่อนผันให้แก่กันจึงเข้าลักษณะสัญญา ประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา850จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชำระหนี้ตามเช็คพิพาทแก่โจทก์ ส่วนข้อตกลงระบุว่าจำเลยจะชำระหนี้แก่โจทก์เมื่อผู้จัดการมรดกได้จำหน่ายที่ดินทรัพย์มรดกเป็น เงื่อนไขบังคับก่อน แต่เงื่อนไขดังกล่าวจะสำเร็จหรือไม่มิใช่ขึ้นอยู่กับจำเลยหรือสุดแล้วแต่ใจจำเลยหากแต่ขึ้นอยู่กับ ผู้จัดการมรดก ข้อตกลงดังกล่าวไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนเป็นเรื่องวิธีการชำระหนี้ให้แก่โจทก์ ข้อตกลงดังกล่าวหาตกเป็น โมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา152(เดิม)ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 879/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความระงับหนี้เช็ค การจัดการมรดก และผลผูกพันตามสัญญา
ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับ ว. และจำเลยมีว่าจำเลยยอมรับว่าได้สั่งจ่ายเช็คให้โจทก์และ ว. และยอมรับว่าจะชำระเงินให้โจทก์และ ว. เมื่อศาลได้ตั้งผู้จัดการมรดกของ ถ. เจ้ามรดกและผู้จัดการมรดกได้จำหน่ายที่ดินแล้วโดยโจทก์และ ว. ยอมถอนคำร้องทุกข์ในคดีเช็คที่ได้แจ้งความไว้ข้อตกลงเช่นนี้เข้าลักษณะสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา850ซึ่งมีผลทำให้หนี้เดิมคือหนี้ตามเช็คระงับไปเกิดหนี้ใหม่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความจำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชำระเงินตามเช็คพิพาทแก่โจทก์ เมื่อผู้จัดการมรดกของ ถ. ได้ประกาศขายที่ดินตามข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยแล้วโดยเมื่อขายได้แล้วจะต้องแบ่งเงินให้แก่จำเลยและจำเลยจะต้องนำไปชำระให้แก่โจทก์ตามข้อตกลงดังนั้นอำนาจในการจัดการมรดกรวมตลอดถึงการขายที่ดินมรดกตามข้อตกลงจึงขึ้นอยู่กับผู้จัดการมรดกมิใช่ขึ้นอยู่กับจำเลยหรือสุดแล้วแต่ใจของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้โจทก์ข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายและไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนข้อตกลงดังกล่าวจึงหาตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา152(เดิม)ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 618/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของการประนีประนอมยอมความทำให้หนี้เช็คระงับ สิทธิฟ้องย่อมระงับตามกฎหมาย
มูลหนี้ตามเช็คคดีนี้โจทก์ได้นำไปฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีแพ่งให้ชดใช้เงินแล้ว โจทก์และจำเลยทั้งสองได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลได้พิพากษาคดีตามยอมถึงที่สุดแล้ว ผลของการประนีประนอมยอมความดังกล่าวย่อมทำให้การเรียกร้องซึ่งแต่ละฝ่ายได้ยอมสละนั้นระงับสิ้นไปและทำให้แต่ละฝ่ายได้สิทธิตามที่แสดงในสัญญานั้นว่าเป็นของตนดังที่บัญญัติไว้ ป.พ.พ. มาตรา852 ดังนั้น หนี้ที่จำเลยทั้งสองได้ออกเช็คตามฟ้องเพื่อใช้เงินนั้นจึงเป็นอันสิ้นผลผูกพันไปก่อนที่ศาลฎีกามีคำพิพากษาถึงที่สุด คดีจึงเป็นอันเลิกกันตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 7 สิทธิของโจทก์ในการนำคดีมาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4839/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกหนี้ร่วมรับผิดชอบหนี้เช็ค: การได้รับช่วงสิทธิเรียกร้องจากลูกหนี้ร่วม
โจทก์และจำเลยต่างเป็นผู้รับประกันด้วยอาวัลผู้สั่งจ่ายเช็คต้องร่วมรับผิดต่อว.ผู้ทรงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา989ประกอบมาตรา967วรรคแรกโจทก์และจำเลยจึงเป็นลูกหนี้ร่วมกันเมื่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลผู้มีความผูกพันร่วมกับจำเลยในอันจะต้องใช้หนี้มีส่วนได้เสียด้วยในการใช้หนี้ได้เข้าใช้หนี้นั้นแก่ว.แล้วโจทก์ย่อมได้รับช่วงสิทธิว. มาเรียกร้องจากจำเลยได้ครึ่งหนึ่งของเงินที่ได้ชำระไปตามมาตรา229
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2384/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้เช็ค: ศาลต้องรับฟังพยานบุคคลสนับสนุนการชำระหนี้ แม้โจทก์ฟ้องในฐานะผู้รับเช็ค
โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดตามเช็คหาใช่ฟ้องจำเลยให้รับผิดชำระเงินตามสัญญากู้ยืมเงินมีหลักฐานเป็นหนังสืออันจะนำการใช้เงินได้ต่อเมื่อมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ให้ยืมมาแสดงหรือเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมนั้นได้เวนคืนแล้วหรือได้แทงเพิกถอนลงในเอกสารนั้นแล้วจึงจะรับฟังข้อเท็จจริงได้ตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา653บัญญัติไว้แต่อย่างใดจำเลยย่อมนำสืบด้วยพยานบุคคลว่าได้ชำระเงินตามเช็คให้แก่โจทก์ครบถ้วนแล้วได้ ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยคำเบิกความของจำเลยและพยานจำเลยว่ามีน้ำหนักรับฟังได้หรือไม่โดยอ้างข้อกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา653แล้วสรุปว่าฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้ชำระหนี้เช็คพิพาทให้โจทก์เป็นการรับฟังพยานหลักฐานที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยข้อเท็จจริงให้เสียใหม่โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 302/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดในหนี้เช็ค เนื่องจากไม่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรง และโจทก์ไม่ได้ฟ้องเรื่องหนี้กู้ยืม
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองใช้เงินตามเช็ค โดยอ้างว่าจำเลยที่ 1 กู้เงินโจทก์ไปใช้ในกิจการของโรงพิมพ์ แล้วจำเลยที่ 1ออกเช็คชำระหนี้แก่โจทก์ มิได้บรรยายว่า จำเลยที่ 2 มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างใดกับเช็คพิพาท และข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าเช็คพิพาทจำเลยที่ 2 ได้ลงชื่อในฐานะผู้สั่งจ่ายหรือฐานะอื่นใด แสดงว่าจำเลยที่ 2 ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเช็คพิพาท จึงไม่ก่อให้เกิดนิติสัมพันธ์ระหว่างกันในลักษณะตั๋วเงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 900 จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดแม้โจทก์จะบรรยายฟ้องกล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 เป็นหุ้นส่วนอันเป็นการแสดงว่าจำเลยที่ 2 เป็นลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1ในมูลหนี้เดิมซึ่งเป็นหนี้กู้ยืมเงิน แต่โจทก์ไม่ได้ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงิน จึงบังคับจำเลยที่ 2 ตามคำฟ้องไม่ได้ เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ดังได้วินิจฉัยแล้ว จำเลยที่ 1 ที่ 2 จะเป็นหุ้นส่วนกันหรือไม่ก็ไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงไป จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันจะได้รับวินิจฉัยต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 103/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้เช็คและการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย สัญญาซื้อขายลดเช็ค
เจ้าหนี้รับเช็คทั้งหกฉบับซึ่งลูกหนี้เป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายมาจาก บ. โดย บ.เป็นผู้นำมาขายลดแก่เจ้าหนี้โดยตรง มิใช่ บ. เป็นตัวแทนของลูกหนี้นิติสัมพันธ์ระหว่างเจ้าหนี้กับ บ.จึงเป็นสัญญาขายลดเช็คส่วนลูกหนี้จะต้องผูกพันรับผิดต่อเจ้าหนี้ ซึ่งเป็น ผู้ทรงเช็คโดยชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 904 ในฐานะผู้สั่งจ่ายเช็คทั้งหกฉบับมิใช่คู่สัญญาขายลดเช็ค ดังนั้น เมื่อวันที่เช็คทั้งหกฉบับถึงกำหนดใช้เงินถึงวันที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ล่วงเลยระยะเวลา 1 ปีแล้วสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ต่อลูกหนี้จึงขาดอายุความ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1002 ไม่สามารถฟ้องร้องบังคับคดีได้ จึงเป็นหนี้ที่ต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้ ตามมาตรา 94(1) แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 103/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้เช็คและการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย: สัญญาซื้อลดเช็คกับความรับผิดของผู้สั่งจ่าย
เจ้าหนี้รับเช็คทั้งหกฉบับซึ่งลูกหนี้เป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายมาจาก บ. โดย บ. เป็นผู้นำมาขายลดแก่เจ้าหนี้โดยตรงมิใช่เป็นตัวแทนของลูกหนี้ นิติสัมพันธ์ระหว่างเจ้าหนี้กับ บ.จึงเป็นสัญญาขายลดเช็คซึ่งกฎหมายมิได้กำหนดให้จำต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ ส่วนลูกหนี้จะต้องผูกพันรับผิดต่อเจ้าหนี้ซึ่งเป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 904ในฐานะผู้สั่งจ่ายมิใช่คู่สัญญาขายลดเช็ค ดังนั้น เมื่อวันที่เช็คทั้งหกฉบับถึงกำหนดใช้เงิน ถึงวันที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ล่วงเลยระยะเวลา 1 ปีแล้วสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ต่อลูกหนี้จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1002 ไม่สามารถฟ้องร้องบังคับคดีได้ จึงเป็นหนี้ที่ต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 94(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5631/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำให้การที่ไม่ชัดเจนถือเป็นปฏิเสธไม่ได้, ข้อเท็จจริงใหม่ไม่อุทธรณ์ได้, หนี้เช็คถึงกำหนดชำระทันที
คำให้การที่ว่า ว.จะเป็นกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนโจทก์หรือไม่ไม่ทราบ และไม่รับรองนั้น เป็นคำให้การที่ไม่ได้แสดงโดยชัดแจ้งว่าปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือแต่บางส่วนจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง ถือไม่ได้ว่าเป็นคำให้การปฏิเสธ จึงรับฟังได้ตามฟ้องว่า ว. เป็นกรรมการของโจทก์และมีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ ในคำให้การต่อสู้คดีทำนองว่า พนักงานของโจทก์หลอกลวงให้ลงชื่อในสัญญาค้ำประกันซึ่งยังมิได้กรอกข้อความ แต่ในฎีกากลับอ้างว่าพนักงานของโจทก์กรอกจำนวนเงินในสัญญาค้ำประกันที่จะต้องรับผิดเกินกว่าวงเงินที่ตกลงกันไว้ ดังนั้น ข้อเท็จจริงที่ยกขึ้นอ้างในฎีกา จึงไม่ใช่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น และมิใช่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้ก็ถือว่าเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาวินิจฉัยให้ไม่ได้ หนี้ตามเช็คเป็นหนี้ที่มีกำหนดเวลาชำระหนี้ไว้แน่นอนตามวันแห่งปฏิทิน เมื่อธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน ผู้สั่งจ่ายจึงตกเป็นผู้ผิดนัดทันทีโดยไม่ต้องบอกกล่าวก่อน ตาม ป.พ.พ.มาตรา 204 วรรคสอง และโจทก์มีสิทธิเรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ได้ทันทีโดยมิต้องบอกกล่าวตาม ป.พ.พ. มาตรา 686.