พบผลลัพธ์ทั้งหมด 28 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2872/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ใหม่จากการออกตั๋วสัญญาใช้เงินชำระดอกเบี้ยเดิม โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากเงินต้นใหม่ได้ ไม่ถือเป็นการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ย
จำเลยออกตั๋วสัญญาใช้เงินแก่โจทก์ 2 ฉบับเพื่อชำระหนี้โจทก์โดยกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ด้วย จำเลยได้ชำระต้นเงินตามตั๋วเงินแล้วแต่ยังไม่ได้ชำระดอกเบี้ย ต่อมาจำเลยออกตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับพิพาทเพื่อชำระดอกเบี้ยดังกล่าว พร้อมกับกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้อีกด้วยถือว่าจำนวนเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับพิพาทกลายเป็นหนี้ใหม่และเป็นเงินต้น โจทก์จึงมีสิทธิได้ดอกเบี้ยจากเงินจำนวนนี้หาใช่เป็นการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1366/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้และการรับสภาพหนี้ใหม่: ผลต่อการฟ้องล้มละลาย
หนังสือรับสภาพหนี้ที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ทำไว้กับโจทก์เป็นการกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ฝ่ายเดียว โจทก์ไม่ได้ลงลายมือชื่อในหนังสือดังกล่าวไม่มีผลให้มีการเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้ลูกหนี้ หรือสาระสำคัญอันจะถือว่าเป็นการแปลงหนี้ใหม่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 349 จึงไม่ทำให้มูลหนี้เดิมระงับเมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 ทำหนังสือรับสภาพหนี้กับโจทก์ ย่อมทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14(1)ที่แก้ไขใหม่ จำเลยที่ 1 และที่ 2 ทำหนังสือรับสภาพหนี้ วันที่4 เมษายน 2523 นับอายุความใหม่จนถึงวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2533อันเป็นวันที่โจทก์ฟ้องคดียังไม่เกิน 10 ปี หนี้ตามคำขอให้โจทก์เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตและหนี้ตามสัญญารับมอบสินค้าเชื่อหรือทรัสต์รีซีท ซึ่งจำเลยที่ 3 ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ไว้จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4574/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้ใหม่กระทบสิทธิไล่เบี้ยของผู้ค้ำประกันและลูกหนี้ร่วม
โจทก์และจำเลยเป็นผู้ค้ำประกัน น. ในหนี้รายเดียวกันจึงเป็นลูกหนี้ร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 682 วรรคสอง เมื่อโจทก์ชำระหนี้แก่เจ้าหนี้แทน น.ไปแล้ว โจทก์ย่อมรับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้ไล่เบี้ย เอา แก่ จำเลยได้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 229(3) และ 296 และยังมีสิทธิที่จะไล่เบี้ยเอาแก่ น.เพื่อให้ชำระหนี้ทั้งหมดได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 693 วรรคแรกอีกด้วย เมื่อปรากฏต่อมาว่าโจทก์ตกลงกับ น. ทำหนังสือสัญญากู้เงินมีข้อความว่า น.เป็นลูกหนี้กู้เงินโจทก์ ถือได้ว่ามีหนี้ใหม่เกิดขึ้น ตามสัญญากู้เงิน เป็นการเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้ถือเป็นการแปลงหนี้ใหม่ มีผลทำให้หนี้ตามสิทธิไล่เบี้ยแก่ น. นั้นระงับไป โจทก์ขอ ที่จะฟ้องบังคับตาม มูลหนี้ ใหม่ในสัญญากู้เงิน กรณีดังกล่าว ความรับผิดของจำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันหนี้ตามเดิม ของ น. และในฐานะลูกหนี้ร่วมกับโจทก์ย่อมระงับไปด้วยโจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องไล่เบี้ยเอาแก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3880/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้ใหม่ทำให้หนี้เดิมระงับ สิทธิเรียกร้องเปลี่ยนไปตามสัญญาใหม่
จำเลยทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคาร ท. โดยโจทก์จำนองที่ดินเป็นประกัน ต่อมาจำเลยไม่ชำระหนี้แก่ธนาคาร ท.โจทก์ได้ชำระแทนจำเลย โจทก์ย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยให้จำเลยใช้เงินคืนตามจำนวนที่โจทก์ได้ชำระให้แก่ธนาคารไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 724แต่โจทก์มิได้ใช้สิทธิไล่เบี้ยดังกล่าว กลับตกลงกับจำเลยทำหนังสือสัญญาไว้ต่อกันมีข้อความว่า จำเลยเป็นหนี้เงินกู้ศ. และโจทก์มีการมอบเช็คไว้เป็นประกันเงินกู้ และตกลงจะผ่อนชำระหนี้เงินกู้ดังกล่าวทุกเดือนจนกว่าจะครบ กรณีดังกล่าวถือได้ว่ามีหนี้ใหม่เกิดขึ้นตามเอกสารที่ทำต่อกันเป็นการเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้ จึงเป็นการแปลงหนี้ใหม่ มีผลทำให้หนี้เดิมระงับไป ดังนั้น โจทก์จึงชอบที่จะฟ้องบังคับจำเลยตามมูลหนี้ใหม่ในเอกสารนั้น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3880/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้ใหม่: การตกลงผ่อนชำระหนี้แทนการใช้สิทธิไล่เบี้ย ทำให้หนี้เดิมระงับ
โจทก์จำนองที่ดินเป็นประกันการกู้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยต่อธนาคาร เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ โจทก์ได้ชำระหนี้แทนจำเลยไปตามจำนวนที่จำเลยเป็นหนี้ธนาคาร โจทก์ย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยให้จำเลยใช้เงินคืนตามจำนวนที่โจทก์ได้ชำระให้แก่ธนาคารไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 724 แต่โจทก์มิได้ใช้สิทธิไล่เบี้ย กลับตกลงกับจำเลยทำหนังสือสัญญาไว้ต่อกัน มีข้อความสรุปว่า จำเลยเป็นหนี้เงินกู้ ศ.และโจทก์เป็นเงิน 300,000 บาทจำเลยได้มอบเช็คจำนวน 6 ฉบับ ฉบับละ 50,000 บาท ไว้เป็นประกันเงินกู้และจำเลยจะต้องผ่อนชำระเงินกู้ให้โจทก์เดือนละ 3,000 บาทจนกว่าจะครบ กรณีดังกล่าวถือได้ว่ามีหนี้ใหม่เกิดขึ้น เป็นการเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้จึงเป็นการแปลงหนี้ใหม่มีผลให้หนี้เดิมระงับไป ดังนั้นโจทก์ชอบที่จะฟ้องบังคับจำเลยตามมูลหนี้ใหม่ตามหนังสือสัญญาดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6383/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้ใหม่และการบังคับจำนอง: ศาลวินิจฉัยได้ถูกต้องตามประเด็น
โจทก์จำเลยทำสัญญาแปลงหนี้ใหม่เปลี่ยนตัวเจ้าหนี้และลูกหนี้หนี้เดิมเป็นอันระงับ หนี้ใหม่เป็นหนี้เงิน จำเลยย่อมจำนองที่ดินเป็นประกันหนี้ได้ ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยจำนองที่ดินเพื่อประกันหนี้เงินกู้ตามฟ้องหรือไม่ แล้ววินิจฉัยว่าหนี้ระหว่างโจทก์จำเลยเกิดขึ้นจากการแปลงหนี้ใหม่ สัญญาจำนองจึงมีผลบังคับได้นั้น หาใช่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นไม่เพราะการวินิจฉัยถึงการแปลงหนี้ใหม่ก็เพื่อให้ทราบถึงที่มาแห่งหนี้ของโจทก์จำเลยให้ชัดขึ้นเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1234/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ การรับผิดในหนี้เดิมและหนี้ใหม่
เดิม อ.และพ. เป็นหนี้โจทก์ตามเช็คและสัญญากู้ยืมเงินการที่จำเลยทั้งสองยอมรับผิดในหนี้ดังกล่าวโดยทำเป็นสัญญากู้ยืมเงินกับโจทก์เป็นการแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ จำเลยทั้งสองต้องผูกพันรับผิดตามสัญญากู้ยืมต่อโจทก์ จะอ้างว่าจำเลยทั้งสองไม่ได้รับเงินไปตามสัญญากู้เพื่อปฏิเสธไม่ยอมรับผิดตามสัญญากู้ไม่ได้ เดิมศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเนื่องจากฟ้องคดีโดยไม่ได้รับความยินยอมจากภรรยา โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า โจทก์มีอำนาจฟ้อง พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทข้ออื่นแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปความ จำเลยฎีกา แต่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับเพราะจำเลยไม่เสียค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์ชั้นฎีกาถือได้ว่าจำเลยไม่ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในข้อนี้ประเด็นดังกล่าวจึงยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ จำเลยไม่อาจฎีกาในข้อนี้อีกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3809/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนตัวลูกหนี้และการแปลงหนี้ใหม่ ทำให้เช็คฉบับเดิมหมดผลผูกพัน
เมื่อ ม. กับผู้เสียหายตกลงกันไม่นำเช็คพิพาทซึ่งจำเลยเป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่าย ไปขึ้นเงินในวันที่เช็คพิพาทถึงกำหนดชำระโดยผู้เสียหายรับเอาเช็คฉบับของ ม. ไว้แทนเช็คพิพาทซึ่งมีจำนวนเงินเท่ากันและเมื่อถึงกำหนดผู้เสียหายก็นำเช็คของ ม. ไปขึ้นเงินจากธนาคาร ดังนี้ แสดงว่า ผู้เสียหายได้ตกลงเปลี่ยนตัวลูกหนี้และยอมรับเอาเช็คของ ม. แทนเช็คพิพาท อันเป็นการแปลงหนี้ใหม่ด้วยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้และเช็คด้วย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 350เช็คพิพาทจึงถูกยกเลิกไป แม้ผู้เสียหายจะนำเช็คพิพาทไปขึ้นเงินและธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน จำเลยก็ไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3023/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การล้มละลาย: หนี้เดิมแปลงเป็นหนี้ใหม่ตามคำพิพากษาตามยอม แม้ทรัพย์สินถูกยึดโดยรัฐ ก็ไม่หลุดพ้นจากหนี้
การรับช่วงทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 226 ได้แก่การเอาทรัพย์สินอันหนึ่งเข้าแทนที่ทรัพย์สินอีกอันหนึ่งในฐานะนิตินัยอย่างเดียวกันกับทรัพย์สินอันก่อน การที่ทรัพย์สินของสามีจำเลยและของจำเลยตกไปเป็นของรัฐตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรีนั้นเป็นไปตามกฎหมาย และนโยบายของรัฐบาลไม่ใช่เป็นการช่วงทรัพย์และไม่ใช่เหตุสุดวิสัยจำเลยจึงหาหลุดพ้นจากความรับผิดที่จะต้อง ชำระหนี้แก่โจทก์ไม่
มูลหนี้เดิมในคดีล้มละลายเกิดจากสัญญาจ้างเหมาให้โจทก์ก่อสร้างบ้านพักของจำเลยอันเป็นหนี้ที่ชอบด้วยกฎหมายแม้โจทก์ได้ฟ้องบังคับจำเลยให้ชำระหนี้ เพื่อโจทก์จะได้อาศัยหนี้ตามคำพิพากษาไปยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้จากกระทรวงการคลัง ก็เป็นสิทธิอันชอบที่จะกระทำเช่นนั้นได้ การที่โจทก์จำเลยตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความชำระหนี้แก่โจทก์ ในคดีแพ่งดังกล่าว มิใช่เกิดจากการสมยอมโดยปราศจากมูลหนี้อันต้องห้ามตามพระราชบัญญัติล้มละลายพุทธศักราช 2483 มาตรา 94 เมื่อหนี้เดิมได้แปลงมาเป็นหนี้ใหม่ตามคำพิพากษาตามยอมจึงหาทำให้หนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความกลายเป็นหนี้ที่ไม่อาจขอชำระได้ไม่และแม้จำเลยจะได้ชำระหนี้ให้โจทก์แล้วถึงร้อยละ 79.01 เมื่อปรากฏว่าจำเลยค้างชำระหนี้แก่โจทก์ทั้งต้นเงินและดอกเบี้ยเป็นเงินถึงหนึ่งล้านสามแสนบาทเศษ และจำเลยได้แจ้งให้โจทก์ทราบแล้วว่าไม่สามารถชำระหนี้ได้ และทรัพย์สินของจำเลยถูกยึดไปเป็นของรัฐหมดแล้วเช่นนี้ย่อมถือได้ว่าจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 8, 9 จำเลยนำสืบไม่ได้ว่า อาจชำระหนี้ได้ทั้งหมด ทั้งไม่เป็นการแน่นอนว่าสามีจำเลยและจำเลยจะได้รับทรัพย์สินที่ถูกยึดคืนตามที่ร้องขอหรือไม่ คดีจึงมีเหตุสมควรให้ลูกหนี้ (จำเลย) ล้มละลายได้
มูลหนี้เดิมในคดีล้มละลายเกิดจากสัญญาจ้างเหมาให้โจทก์ก่อสร้างบ้านพักของจำเลยอันเป็นหนี้ที่ชอบด้วยกฎหมายแม้โจทก์ได้ฟ้องบังคับจำเลยให้ชำระหนี้ เพื่อโจทก์จะได้อาศัยหนี้ตามคำพิพากษาไปยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้จากกระทรวงการคลัง ก็เป็นสิทธิอันชอบที่จะกระทำเช่นนั้นได้ การที่โจทก์จำเลยตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความชำระหนี้แก่โจทก์ ในคดีแพ่งดังกล่าว มิใช่เกิดจากการสมยอมโดยปราศจากมูลหนี้อันต้องห้ามตามพระราชบัญญัติล้มละลายพุทธศักราช 2483 มาตรา 94 เมื่อหนี้เดิมได้แปลงมาเป็นหนี้ใหม่ตามคำพิพากษาตามยอมจึงหาทำให้หนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความกลายเป็นหนี้ที่ไม่อาจขอชำระได้ไม่และแม้จำเลยจะได้ชำระหนี้ให้โจทก์แล้วถึงร้อยละ 79.01 เมื่อปรากฏว่าจำเลยค้างชำระหนี้แก่โจทก์ทั้งต้นเงินและดอกเบี้ยเป็นเงินถึงหนึ่งล้านสามแสนบาทเศษ และจำเลยได้แจ้งให้โจทก์ทราบแล้วว่าไม่สามารถชำระหนี้ได้ และทรัพย์สินของจำเลยถูกยึดไปเป็นของรัฐหมดแล้วเช่นนี้ย่อมถือได้ว่าจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 8, 9 จำเลยนำสืบไม่ได้ว่า อาจชำระหนี้ได้ทั้งหมด ทั้งไม่เป็นการแน่นอนว่าสามีจำเลยและจำเลยจะได้รับทรัพย์สินที่ถูกยึดคืนตามที่ร้องขอหรือไม่ คดีจึงมีเหตุสมควรให้ลูกหนี้ (จำเลย) ล้มละลายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 224/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลสร้างหนี้ใหม่ การบังคับคดีจากทรัพย์จำนองทำได้แม้ไม่ใช่ฟ้องบังคับจำนอง
โจทก์ฟ้องจำเลยขอให้ชำระหนี้จำนองแล้วโจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน โดยจำเลยยอมชำระหนี้จำนองศาลพิพากษาตามยอมคดีถึงที่สุดแล้วดังนี้ถือว่าเป็นเพียงฟ้องในมูลหนี้สามัญและมี ผลทำให้หนี้เดิมระงับ เกิดหนี้ใหม่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความเมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความโจทก์ย่อม บังคับคดีแก่ทรัพย์สินอื่น ๆ ของจำเลย รวมทั้งทรัพย์ที่จำนองได้ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1683/2498, 127/2506 และ 989/2506)