พบผลลัพธ์ทั้งหมด 57 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6590/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปล้นทรัพย์ด้วยอาวุธปืนและการจำกัดความรับผิดของจำเลยที่ไม่ได้ใช้อาวุธปืน ศาลพิจารณาโทษฐานปล้นทรัพย์และหน่วงเหนี่ยวกักขัง
ป.อ. มาตรา 340 ตรี มุ่งหมายที่จะลงโทษให้หนักขึ้นเฉพาะผู้ที่มีหรือใช้อาวุธปืนในการปล้นทรัพย์เท่านั้น มิใช่ว่าผู้ที่ร่วมกระทำการปล้นทรัพย์รายเดียวกันจะต้องระวางโทษหนักขึ้นทุกคน
จำเลยที่ 1 และที่ 2 มีและใช้อาวุธปืนในการปล้นทรัพย์ส่วนจำเลยที่ 3 เพียงแต่รู้เห็นร่วมในการปล้นทรัพย์ด้วย ดังนี้ จำเลยที่ 3 ไม่มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 340 ตรี ด้วย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสามร่วมกันใช้กระดาษกาวปิดปากและใช้เชือกผูกข้อมือและเท้าทั้งสองข้างของผู้เสียหายติดกับต้นไม้อันเป็นการหน่วงเหนี่ยวกักขังทำให้ผู้เสียหายปราศจากเสรีภาพในร่างกาย ทั้งนี้เพื่อความสะดวกแก่การปล้นทรัพย์พาทรัพย์นั้นไป ให้ยื่นให้ซึ่งทรัพย์นั้น ยึดถือเอาทรัพย์นั้นไว้ และคดีได้ความว่าหลังจากที่จำเลยทั้งสามลวงผู้เสียหายขับรถยนต์มาแล้ว ระหว่างทางจำเลยที่ 1 ใช้อาวุธปืนจี้บังคับให้ผู้เสียหายหยุดรถและเปลี่ยนไปนั่งตอนกลางเบาะ จากนั้นจำเลยที่ 1 ได้ขับรถต่อมาไม่ห่างจากจุดแรกเท่าใดนักแล้วเลี้ยวเข้าไปข้างทาง จำเลยทั้งสามได้นำผู้เสียหายลงจากรถยนต์ จำเลยที่ 2 ใช้เชือกมัดผู้เสียหายไขว้หลัง ใช้กระดาษกาวปิดปากและคุมตัวเข้าไปในป่า จำเลยที่ 3 ใช้เชือกมัดมือเท้าผู้เสียหายติดกับต้นไม้ จำเลยที่ 2 ใช้เชือกมัดลำตัวติดกับต้นไม้กับล้วงเอาเงินของผู้เสียหายไป จากนั้นพากันขับรถยนต์ของผู้เสียหายหลบหนีไป แสดงว่าจำเลยทั้งสามร่วมกันหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังผู้เสียหายเพื่อสะดวกแก่การปล้นทรัพย์และพาทรัพย์นั้นไปและให้พ้นจากการจับกุมในขณะที่การปล้นทรัพย์ยังไม่ขาดตอนจากกัน อันเป็นส่วนหนึ่งของการกระทำในองค์ประกอบความผิดฐานปล้นทรัพย์นั้นเอง จึงหาใช่เป็นความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังผู้เสียหายอีกกรรมหนึ่งต่างหากไม่ การที่จำเลยทั้งสามร่วมกันทำร้ายผู้เสียหายในระหว่างทำการปล้นทรัพย์ก็หาใช่เป็นความผิดฐานทำร้ายร่างกายอีกบทหนึ่งไม่เช่นกัน ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตามป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225 จำเลยที่ 1 ที่ 2 มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 340 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 340 ตรี , 83 และจำเลยที่ 3 มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 340 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 83
จำเลยที่ 1 และที่ 2 มีและใช้อาวุธปืนในการปล้นทรัพย์ส่วนจำเลยที่ 3 เพียงแต่รู้เห็นร่วมในการปล้นทรัพย์ด้วย ดังนี้ จำเลยที่ 3 ไม่มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 340 ตรี ด้วย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสามร่วมกันใช้กระดาษกาวปิดปากและใช้เชือกผูกข้อมือและเท้าทั้งสองข้างของผู้เสียหายติดกับต้นไม้อันเป็นการหน่วงเหนี่ยวกักขังทำให้ผู้เสียหายปราศจากเสรีภาพในร่างกาย ทั้งนี้เพื่อความสะดวกแก่การปล้นทรัพย์พาทรัพย์นั้นไป ให้ยื่นให้ซึ่งทรัพย์นั้น ยึดถือเอาทรัพย์นั้นไว้ และคดีได้ความว่าหลังจากที่จำเลยทั้งสามลวงผู้เสียหายขับรถยนต์มาแล้ว ระหว่างทางจำเลยที่ 1 ใช้อาวุธปืนจี้บังคับให้ผู้เสียหายหยุดรถและเปลี่ยนไปนั่งตอนกลางเบาะ จากนั้นจำเลยที่ 1 ได้ขับรถต่อมาไม่ห่างจากจุดแรกเท่าใดนักแล้วเลี้ยวเข้าไปข้างทาง จำเลยทั้งสามได้นำผู้เสียหายลงจากรถยนต์ จำเลยที่ 2 ใช้เชือกมัดผู้เสียหายไขว้หลัง ใช้กระดาษกาวปิดปากและคุมตัวเข้าไปในป่า จำเลยที่ 3 ใช้เชือกมัดมือเท้าผู้เสียหายติดกับต้นไม้ จำเลยที่ 2 ใช้เชือกมัดลำตัวติดกับต้นไม้กับล้วงเอาเงินของผู้เสียหายไป จากนั้นพากันขับรถยนต์ของผู้เสียหายหลบหนีไป แสดงว่าจำเลยทั้งสามร่วมกันหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังผู้เสียหายเพื่อสะดวกแก่การปล้นทรัพย์และพาทรัพย์นั้นไปและให้พ้นจากการจับกุมในขณะที่การปล้นทรัพย์ยังไม่ขาดตอนจากกัน อันเป็นส่วนหนึ่งของการกระทำในองค์ประกอบความผิดฐานปล้นทรัพย์นั้นเอง จึงหาใช่เป็นความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังผู้เสียหายอีกกรรมหนึ่งต่างหากไม่ การที่จำเลยทั้งสามร่วมกันทำร้ายผู้เสียหายในระหว่างทำการปล้นทรัพย์ก็หาใช่เป็นความผิดฐานทำร้ายร่างกายอีกบทหนึ่งไม่เช่นกัน ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตามป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225 จำเลยที่ 1 ที่ 2 มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 340 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 340 ตรี , 83 และจำเลยที่ 3 มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 340 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 83
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9003/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพรากผู้เยาว์เพื่ออนาจาร, หน่วงเหนี่ยวกักขัง, และกระทำชำเรา: การแยกพิจารณาความผิด
เด็กหญิง ว.ผู้เสียหายขณะเกิดเหตุมีอายุ 14 ปีเศษ ออกจากบ้านของบิดามารดาตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม 2538 จนถึงวันที่ 26 สิงหาคม 2538 โดยจำเลยได้พรากผู้เสียหายไปเพื่อการอนาจาร ทำให้ปราศจากเสรีภาพ และกระทำชำเราโดยผู้เสียหายมิได้สมัครใจไปกับจำเลย การที่จำเลยพาผู้เสียหายไปที่บ้านญาติจำเลยที่ตำบลทับปริก อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ แล้วกระทำชำเราผู้เสียหายหลังจากนั้นจำเลยได้ปิดประตูขังผู้เสียหายไว้ในห้อง รุ่งขึ้นจำเลยได้ขับรถจักรยานยนต์พาผู้เสียหายไปบ้านญาติจำเลยที่บ้านควนพล ตำบลไทรทอง อำเภอชัยบุรี จังหวัดสุราษฎร์ธานี แล้วนำผู้เสียหายเข้าไปขังไว้ในห้องตลอดมา ตั้งแต่วันที่ 18 สิงหาคม2538 ถึงวันที่ 26 สิงหาคม 2538 แม้การที่จำเลยนำผู้เสียหายไปหน่วงเหนี่ยวกักขังไว้ที่บ้านญาติของจำเลยหลายแห่งเป็นเวลานานนับ 10 วัน จะเป็นการกระทำที่ต่อเนื่องมาจากความประสงค์เดียวกับการกระทำชำเราผู้เสียหายก็ตาม แต่การที่จำเลยนำผู้เสียหายไปหน่วงเหนี่ยวกักขังโดยปิดประตูขังไว้ในห้องตลอดมา ถือได้ว่าเป็นความผิดอีกกระทงหนึ่งต่างหากจากความผิดฐานกระทำชำเราซึ่งเสร็จเด็ดขาดไปแล้ว หาใช่เป็นกรรมเดียวกันไม่ จำเลยจึงมีความผิดตาม ป.อ.มาตรา 227วรรคหนึ่ง, 310 วรรคหนึ่ง และ 317 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9003/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พรากผู้เยาว์เพื่ออนาจาร, กระทำชำเรา, และหน่วงเหนี่ยวกักขัง: ความผิดแยกกระทง
เด็กหญิง ว. ผู้เสียหายขณะเกิดเหตุมีอายุ 14 ปีเศษ ออกจากบ้านของบิดามารดาตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม 2538 จนถึงวันที่ 26 สิงหาคม 2538โดยจำเลยได้พรากผู้เสียหายไปเพื่อการอนาจาร ทำให้ปราศจากเสรีภาพและกระทำชำเราโดยผู้เสียหายมิได้สมัครใจไปกับจำเลย การที่จำเลยพาผู้เสียหายไปที่บ้านญาติจำเลยที่ตำบลทับปริกอำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ แล้วกระทำชำเราผู้เสียหาย หลังจากนั้นจำเลยได้ปิดประตูขังผู้เสียหายไว้ในห้อง รุ่งขึ้นจำเลยได้ขับรถจักรยานยนต์พาผู้เสียหายไปบ้านญาติจำเลยที่บ้านควนพล ตำบลไทรทองอำเภอชัยบุรี จังหวัดสุราษฎร์ธานี แล้วนำผู้เสียหายเข้าไปขังไว้ในห้องตลอดมา ตั้งแต่วันที่ 18 สิงหาคม 2538 ถึงวันที่ 26 สิงหาคม 2538แม้การที่จำเลยนำผู้เสียหายไปหน่วงเหนี่ยวกักขังไว้ที่บ้านญาติของจำเลยหลายแห่งเป็นเวลานานนับ 10 วัน จะเป็นการกระทำที่ต่อเนื่องมาจากความประสงค์เดียวกับการกระทำชำเราผู้เสียหายก็ตาม แต่การที่จำเลยนำผู้เสียหายไปหน่วงเหนี่ยวกักขังโดยปิดประตูขังไว้ในห้องตลอดมา ถือได้ว่าเป็นความผิดอีกกระทงหนึ่งต่างหากจากความผิดฐานกระทำชำเราซึ่งเสร็จเด็ดขาดไปแล้วหาใช่เป็นกรรมเดียวกันไม่ จำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 227 วรรคหนึ่ง,310 วรรคหนึ่ง และ 317 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7742/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหน่วงเหนี่ยวกักขังเพื่อชำระหนี้ ไม่ถือเป็นค่าไถ่ตามความหมายในกฎหมายอาญา
การที่จำเลยทั้งสองกับพวกร่วมกันหน่วงเหนี่ยวกักขังตัวผู้เสียหาย ก็เพื่อให้ผู้เสียหายชำระหนี้ให้แก่จำเลยที่ 1 โดยจำเลยทั้งสองเชื่อว่าสามารถกระทำได้ดังนั้นประโยชน์ที่จำเลยที่ 1 เรียกร้องให้ผู้เสียหายชำระหนี้จึงไม่ใช่ค่าไถ่ตามความหมายในบทนิยามคำว่า "ค่าไถ่" ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 1(13) การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 313 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5432/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปฏิบัติหน้าที่มิชอบของเจ้าพนักงานตำรวจ, การหน่วงเหนี่ยวกักขัง, กรรโชกทรัพย์, และขอบเขตการลงโทษ
คดีอาญา แม้ผู้เสียหายไม่ได้มาเบิกความตอบคำถามค้านของทนายจำเลยก็ตาม แต่ศาลย่อมนำคำเบิกความของผู้เสียหายตอบคำถามโจทก์มาประกอบพยานหลักฐานอื่นของโจทก์และรับฟังลงโทษจำเลยได้
เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 กระทำความผิดเป็นเหตุเฉพาะตัวของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ย่อมไม่ทำให้มีผลถึงจำเลยที่ 1 ที่ข้อเท็จจริงฟังได้ว่ากระทำความผิด จำเลยที่ 1 จึงไม่หลุดพ้นความผิด
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานตำรวจ มีหน้าที่จับผู้กระทำผิดกฎหมายวันเกิดเหตุจำเลยกลั่นแกล้งจับผู้เสียหายแล้วเรียกเอาเงินจากผู้เสียหายเพื่อจะได้ปล่อยผู้เสียหายจนผู้เสียหายยอมให้เงินแก่จำเลย จึงเป็นการหน่วงเหนี่ยวกักขังกับกรรโชกผู้เสียหาย และปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและโดยทุจริต
โจทก์บรรยายฟ้องข้อหาหน่วงเหนี่ยวกักขังว่า จำเลยกับพวกร่วมกันหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้เสียหายโดยใส่กุญแจมือเป็นเหตุให้ผู้เสียหายปราศจากเสรีภาพในร่างกาย แต่โจทก์มิได้บรรยายฟ้องถึงข้อเท็จจริงว่า ได้ให้ผู้เสียหายกระทำการใดให้แก่จำเลยกับพวกหรือบุคคลอื่นอันเป็นองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ.มาตรา 310 ทวิ แม้คำขอท้ายฟ้องของโจทก์จะระบุมาตราดังกล่าวมาด้วย ก็ถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะให้ศาลลงโทษตามบทมาตรา 310 ทวิ นี้
โจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับการกระทำความผิดของจำเลยต่อผู้เสียหายในแต่ละข้อหารวมกันมาในข้อเดียวกัน แสดงว่า โจทก์ประสงค์ให้ศาลลงโทษสำหรับความผิดที่จำเลยกระทำต่อผู้เสียหายในแต่ละข้อหาเพียงกระทงเดียวการที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำเลย รวม 2 กระทง เป็นการพิพากษาเกินคำขอ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 215 และมาตรา 225
เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 กระทำความผิดเป็นเหตุเฉพาะตัวของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ย่อมไม่ทำให้มีผลถึงจำเลยที่ 1 ที่ข้อเท็จจริงฟังได้ว่ากระทำความผิด จำเลยที่ 1 จึงไม่หลุดพ้นความผิด
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานตำรวจ มีหน้าที่จับผู้กระทำผิดกฎหมายวันเกิดเหตุจำเลยกลั่นแกล้งจับผู้เสียหายแล้วเรียกเอาเงินจากผู้เสียหายเพื่อจะได้ปล่อยผู้เสียหายจนผู้เสียหายยอมให้เงินแก่จำเลย จึงเป็นการหน่วงเหนี่ยวกักขังกับกรรโชกผู้เสียหาย และปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและโดยทุจริต
โจทก์บรรยายฟ้องข้อหาหน่วงเหนี่ยวกักขังว่า จำเลยกับพวกร่วมกันหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้เสียหายโดยใส่กุญแจมือเป็นเหตุให้ผู้เสียหายปราศจากเสรีภาพในร่างกาย แต่โจทก์มิได้บรรยายฟ้องถึงข้อเท็จจริงว่า ได้ให้ผู้เสียหายกระทำการใดให้แก่จำเลยกับพวกหรือบุคคลอื่นอันเป็นองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ.มาตรา 310 ทวิ แม้คำขอท้ายฟ้องของโจทก์จะระบุมาตราดังกล่าวมาด้วย ก็ถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะให้ศาลลงโทษตามบทมาตรา 310 ทวิ นี้
โจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับการกระทำความผิดของจำเลยต่อผู้เสียหายในแต่ละข้อหารวมกันมาในข้อเดียวกัน แสดงว่า โจทก์ประสงค์ให้ศาลลงโทษสำหรับความผิดที่จำเลยกระทำต่อผู้เสียหายในแต่ละข้อหาเพียงกระทงเดียวการที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำเลย รวม 2 กระทง เป็นการพิพากษาเกินคำขอ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 215 และมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5432/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานตำรวจกลั่นแกล้งจับกุมและเรียกรับเงินจากผู้เสียหาย เข้าข่ายความผิดฐานกรรโชก, หน่วงเหนี่ยวกักขัง, และปฏิบัติหน้าที่มิชอบ
คดีอาญา แม้ผู้เสียหายไม่ได้มาเบิกความตอบคำถามค้านของทนายจำเลยก็ตาม แต่ศาลย่อมนำคำเบิกความของผู้เสียหายตอบคำถามโจทก์มาประกอบพยานหลักฐานอื่นของโจทก์และรับฟังลงโทษจำเลยได้
เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 กระทำความผิดเป็นเหตุเฉพาะตัวของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ย่อมไม่ทำให้มีผลถึงจำเลยที่ 1 ที่ข้อเท็จจริงฟังได้ว่ากระทำความผิด จำเลยที่ 1 จึงไม่หลุดพ้นความผิด
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานตำรวจ มีหน้าที่จับผู้กระทำผิดกฎหมายวันเกิดเหตุจำเลยกลั่นแกล้งจับผู้เสียหายแล้วเรียกเอาเงินจากผู้เสียหายเพื่อจะได้ปล่อยผู้เสียหายจนผู้เสียหายยอมให้เงินแก่จำเลย จึงเป็นการหน่วงเหนี่ยวกักขังกับกรรโชกผู้เสียหายและปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและโดยทุจริต
โจทก์บรรยายฟ้องข้อหาหน่วงเหนี่ยวกักขังว่า จำเลยกับพวกร่วมกันหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้เสียหายโดยใส่กุญแจมือเป็นเหตุให้ผู้เสียหายปราศจากเสรีภาพในร่างกายแต่โจทก์มิได้บรรยายฟ้องถึงข้อเท็จจริงว่า ได้ให้ผู้เสียหายกระทำการใดให้แก่จำเลยกับพวกหรือบุคคลอื่นอันเป็นองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 310 ทวิ แม้คำขอท้ายฟ้องของโจทก์จะระบุมาตราดังกล่าวมาด้วย ก็ถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะให้ศาลลงโทษตามบทมาตรา 310 ทวิ นี้
โจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับการกระทำความผิดของจำเลยต่อผู้เสียหายในแต่ละข้อหารวมกันมาในข้อเดียวกัน แสดงว่า โจทก์ประสงค์ให้ศาลลงโทษสำหรับความผิดที่จำเลยกระทำต่อผู้เสียหายในแต่ละข้อหาเพียงกระทงเดียวการที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำเลย รวม 2 กระทง เป็นการพิพากษาเกินคำขอ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสองประกอบด้วยมาตรา 215 และมาตรา 225
เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 กระทำความผิดเป็นเหตุเฉพาะตัวของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ย่อมไม่ทำให้มีผลถึงจำเลยที่ 1 ที่ข้อเท็จจริงฟังได้ว่ากระทำความผิด จำเลยที่ 1 จึงไม่หลุดพ้นความผิด
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานตำรวจ มีหน้าที่จับผู้กระทำผิดกฎหมายวันเกิดเหตุจำเลยกลั่นแกล้งจับผู้เสียหายแล้วเรียกเอาเงินจากผู้เสียหายเพื่อจะได้ปล่อยผู้เสียหายจนผู้เสียหายยอมให้เงินแก่จำเลย จึงเป็นการหน่วงเหนี่ยวกักขังกับกรรโชกผู้เสียหายและปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและโดยทุจริต
โจทก์บรรยายฟ้องข้อหาหน่วงเหนี่ยวกักขังว่า จำเลยกับพวกร่วมกันหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้เสียหายโดยใส่กุญแจมือเป็นเหตุให้ผู้เสียหายปราศจากเสรีภาพในร่างกายแต่โจทก์มิได้บรรยายฟ้องถึงข้อเท็จจริงว่า ได้ให้ผู้เสียหายกระทำการใดให้แก่จำเลยกับพวกหรือบุคคลอื่นอันเป็นองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 310 ทวิ แม้คำขอท้ายฟ้องของโจทก์จะระบุมาตราดังกล่าวมาด้วย ก็ถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะให้ศาลลงโทษตามบทมาตรา 310 ทวิ นี้
โจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับการกระทำความผิดของจำเลยต่อผู้เสียหายในแต่ละข้อหารวมกันมาในข้อเดียวกัน แสดงว่า โจทก์ประสงค์ให้ศาลลงโทษสำหรับความผิดที่จำเลยกระทำต่อผู้เสียหายในแต่ละข้อหาเพียงกระทงเดียวการที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำเลย รวม 2 กระทง เป็นการพิพากษาเกินคำขอ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสองประกอบด้วยมาตรา 215 และมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 887/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์โทษจำคุกที่ไม่รอการลงโทษในความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขัง ซึ่งเป็นข้อหาที่มีอัตราโทษจำกัดและจำเลยไม่ได้อุทธรณ์
ความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 310 วรรคแรก มีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับห้ามมิให้โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง การที่โจทก์อุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์ให้การลงโทษเป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ เมื่อจำเลยมิได้อุทธรณ์ข้อหาดังกล่าวจึงยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาในข้อหาดังกล่าวมาโดยไม่รอการลงโทษจำเลยจึงไม่ชอบ ศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในส่วนนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 887/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ไม่รอการลงโทษและการจำกัดสิทธิอุทธรณ์ในข้อหาหน่วงเหนี่ยวกักขังตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
โจทก์อุทธรณ์ขอไม่ให้รอการลงโทษความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขัง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 310 ซึ่งระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปีปรับไม่เกินหกพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยในข้อหาดังกล่าวเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 642/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานค้าประเวณีและหน่วงเหนี่ยวกักขัง โดยมีเจตนาเพื่อสำเร็จความใคร่ของผู้อื่น ศาลแก้ไขโทษกรรมเดียว
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 กับพวกที่หลบหนี โดยเจตนาเพื่อสำเร็จความใคร่ของผู้อื่น เป็นธุระจัดหา ล่อไปหรือชักพาไป ซึ่งผู้เสียหายโดยร่วมกันใช้อุบายหลอกลวงความจริงจำเลยกับพวกมีเจตนาพาผู้เสียหายไปเพื่อการอนาจารผู้เสียหายถูกจำเลยกับพวกพาตัวไปพักที่โรงแรม พ. พวกของจำเลยที่หลบหนีได้ข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายจนสำเร็จความใคร่หลายครั้ง ดังนั้น เมื่อตามคำฟ้องและทางพิจารณาที่ศาลอุทธรณ์รับฟังมาดังกล่าว ซึ่งโจทก์มิได้ฎีกาโต้แย้งให้รับข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่น จึงเห็นได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้กระทำไปเพื่อสำเร็จความใคร่ของ พ. ผู้ร่วมกระทำผิดด้วยกัน จำเลยที่ 1จึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 283 การที่จำเลยที่ 1 ใช้อุบายหลอกลวงผู้เสียหายแล้ว พ.พาผู้เสียหายไปเพื่อการอนาจารดังกล่าว ก็โดยเจตนาเพื่อสำเร็จความใคร่ของผู้อื่นซึ่งจำเลยที่ 1 กับพวกได้ร่วมกันหน่วงเหนี่ยวกักขังและบังคับขู่เข็ญให้ผู้เสียหายค้ำประเวณีในเวลาต่อมา การกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นการกระทำที่ต่อเนื่องกันไปโดยเจตนาเพื่อสำเร็จความใคร่ของผู้อื่นเพียงประการเดียว จึงเป็นความผิดกรรมเดียว ให้ลงโทษจำเลยที่ 1บทหนักตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 283 วรรคแรกเพียงกระทงเดียว หาใช่เป็นความผิดตามมาตรา 283 วรรคแรก,83 กระทงหนึ่ง และมาตรา 283 วรรคแรก,284 วรรคแรกอีกกระทงหนึ่ง ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 188/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังโดยมีอาวุธ การกระทำที่แสดงเจตนาเตรียมพร้อมใช้ความรุนแรงถือเป็นความร่วม
จำเลยทั้งสามมีอาวุธปืนติดตัวขึ้นไปบนสถานีตำรวจ จำเลยที่ 1ขอให้ผู้เสียหายไปตรวจค้นบ้านบุคคลอื่น แต่ผู้เสียหายไม่ยอมทำตาม จำเลยที่ 1จึงใช้อาวุธปืนจี้บังคับไม่ยอมให้ผู้เสียหายออกจากห้องแล้วใช้มือล็อกคอและกอดปล้ำบังคับผู้เสียหายให้นั่งบนโซฟา โดยจำเลยที่ 2 ถืออาวุธปืนสั้นและจำเลยที่ 3 ยืนจับด้ามปืนสั้นที่เอว แม้จำเลยที่ 3 จะไม่ได้ชักปืนออกมาก็ตาม แต่การกระทำของจำเลยที่ 3 แสดงว่าจำเลยที่ 3 ได้เตรียมพร้อมที่จะใช้อาวุธปืนบังคับผู้เสียหายด้วยจำเลยที่ 3 จึงมีความผิดฐานร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 หน่วงเหนี่ยวกักขังผู้เสียหายให้ปราศจากเสรีภาพในร่างกาย