คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
หน่วยงานราชการ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 41 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7429/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะสำนักงานปุ๋ยฯ ไม่ใช่หน่วยงานราชการ จึงต้องจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
แม้ พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2518ได้ถูกยกเลิกไปโดย พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2528ก็ตาม แต่การจัดระเบียบราชการกรุงเทพมหานครที่บัญญัติไว้ในมาตรา 60 ก็เป็นทำนองเดียวกับมาตรา 11 ที่ถูกยกเลิก ซึ่งหาได้มีสำนักงานปุ๋ย กรุงเทพมหานครรวมอยู่ด้วยไม่ เมื่อสำนักงานปุ๋ยฯ ได้จัดตั้งขึ้นครั้งแรกโดยกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้อนุมัติให้เทศบาลนครกรุงเทพเป็นผู้จัดตั้งและดำเนินการ โดยมิได้จัดตั้งขึ้นตามพ.ร.ฎ.ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ นอกจากนี้ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการควบคุมและดำเนินงานของสำนักงานปุ๋ยเทศบาลนครกรุงเทพ พ.ศ.2507 ก็ให้มีคณะกรรมการบริหาร มีหน้าที่บริหารกิจการของสำนักงานปุ๋ยฯ โดยเฉพาะ แยกไปจากการบริหารราชการของเทศบาลนครกรุงเทพ อีกทั้งในบทเฉพาะกาลข้อ 26ในระยะเริ่มแรกซึ่งตั้งสำนักงานปุ๋ยฯ เทศบาลนครกรุงเทพก็ตั้งค่าใช้จ่ายและทุนดำเนินงานให้ต่างหากโดยจัดสรรเงินทุนหมุนเวียนให้ และในข้อ 27 ยังได้ระบุไว้ด้วยว่า การดำเนินกิจการของสำนักงานปุ๋ยฯ เมื่อปรากฏผลกำไรจากกำไรสุทธิให้แบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งส่งให้เป็นรายได้ของเทศบาลนครกรุงเทพ อีกส่วนหนึ่งให้เป็นเงินสำรองเพื่อปรับปรุงขยายกิจการหรือลงทุนเพิ่มขึ้น แสดงว่าการจัดตั้งสำนักงานปุ๋ยฯ ขึ้นก็โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไรในทางเศรษฐกิจ ดังนี้สำนักงานปุ๋ยเทศบาลนครกรุงเทพหรือสำนักงานปุ๋ยกรุงเทพมหานครจึงไม่ใช่ส่วนราชการของกรุงเทพมหานครและไม่เป็นราชการส่วนท้องถิ่น จึงไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นมิให้ใช้ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่16 เมษายน 2515 ข้อ 1 (3) จำเลยที่ 1 ในฐานะนิติบุคคลผู้เป็นเจ้าของสำนักงานปุ๋ยกรุงเทพมหานคร รวมทั้งจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นประธานกรรมการบริหารและเป็นผู้อำนวยการจำเลยที่ 1 ตามลำดับ ในฐานะเป็นนายจ้างของโจทก์ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่16 เมษายน 2515 ข้อ 2 จึงมีหน้าที่จ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์เมื่อเลิกจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2385/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดชอบของหน่วยงานราชการต่อหนี้ที่เกิดจากการปฏิบัติงานของส่วนราชการในสังกัด
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 218 เป็นกฎหมายว่าด้วยการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินและกำหนดหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัดในการบริหารงานส่วนจังหวัด ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจหน้าที่ควบคุมดูแลให้การดำเนินการต่าง ๆ ตามโครงการของสำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบทจังหวัดมหาสารคามที่จำเลยอนุมัติเป็นไปตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุเพื่อความสะดวกในการปฏิบัติราชการเท่านั้น การที่ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคามอนุมัติและมอบอำนาจให้หัวหน้าสำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบทจังหวัดมหาสารคามทำสัญญาซื้อน้ำมันเป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ เป็นการทำหน้าที่แทนจำเลยตามกฎหมาย จำเลยซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงต้องรับผิดชอบในการกระทำของสำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบทจังหวัดมหาสารคาม เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าสำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบทจังหวัดมหาสารคามเป็นหนี้โจทก์จำเลยจึงต้องมีหน้าที่ชำระหนี้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2385/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของหน่วยงานราชการต่อหนี้ที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแล
ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 218 เป็นกฎหมายว่าด้วยการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินและกำหนดหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัดในการบริหารส่วนจังหวัด การที่ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคามอนุมัติและมอบอำนาจให้หัวหน้าสำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบทจังหวัดมหาสารคามสั่งซื้อน้ำมัน และผู้ว่าราชการจังหวัดทำสัญญาซื้อน้ำมัน เป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยพัสดุ เป็นการทำหน้าที่แทนจำเลยตามกฎหมาย จำเลยซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงต้องรับผิดชอบในการกระทำของสำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบทจังหวัดมหาสารคาม เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า สำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบทจังหวัดมหาสารคามเป็นหนี้โจทก์จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องชำระหนี้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3124/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของหน่วยงานราชการต่อการสั่งซื้อของข้าราชการในสังกัด แม้ไม่ปฏิบัติตามระเบียบ
จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 เป็นข้าราชการสังกัดกรมราชทัณฑ์จำเลยที่ 4 โดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้บัญชาการเรือนจำกลาง จำเลยที่ 2เป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายพัสดุในเรือนจำกลาง และจำเลยที่ 3 เป็นหัวหน้าฝ่ายอบรมและฝึกวิชาชีพในเรือนจำกลาง จำเลยที่ 1 ที่ 2และที่ 3 ได้ร่วมกันสั่งซื้อสินค้าประเภทวัสดุ อุปกรณ์ และเครื่องมือในการก่อสร้างจากโจทก์โดยไม่ได้รับอนุมัติให้ดำเนินการจัดซื้อ อันเป็นการฝ่าฝืนระเบียบของทางราชการ แต่ระเบียบดังกล่าวเป็นระเบียบปฏิบัติของทางราชการ กำหนดให้หน่วยราชการปฏิบัติจึงเป็นหน้าที่ของจำเลยที่ 4 จะต้องคอยควบคุมดูแลให้ข้าราชการในสังกัดปฏิบัติตาม การที่จำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามระเบียบการสั่งซื้อวัสดุ การทำบัญชีหนี้สินและการส่งมอบจึงเป็นเรื่องภายในระหว่างจำเลยที่ 4 กับจำเลยที่ 1 โดยเฉพาะหาผูกพันบุคคลภายนอกไม่ จำเลยที่ 4 จะอ้างระเบียบปฏิบัติของส่วนหรือหน่วยราชการมาเพื่อให้พ้นจากความรับผิดหาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5630/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฐานะคู่ความของหน่วยงานราชการ และการสั่งพักราชการ/ออกจากราชการเนื่องจากมีมลทิน
ผู้ที่จะเป็นคู่ความได้ต้องเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลหรือนิติบุคคลตามกฎหมายพิเศษ แม้กรมกำลังพลทหารบก จำเลยที่ 3กรมการแพทย์ทหารบก จำเลยที่ 4 และโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า จำเลยที่ 5จะเป็นหน่วยงานในสังกัดของจำเลยที่ 1 และที่ 2 แต่ตามพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการและกำหนดหน้าที่ของส่วนราชการกองทัพบก กองบัญชาการทหารสูงสุด กระทรวงกลาโหม (ฉบับที่ 2)พ.ศ. 2512 มาตรา 4 ซึ่งออกตามความในมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2503 ก็มิได้กำหนดให้จำเลยที่ 3 ที่ 4 และที่ 5 มีฐานะเป็นนิติบุคคล จึงไม่อาจเป็นคู่ความที่จะถูกฟ้องร้องเป็นจำเลยได้
ตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหมว่าด้วยการสั่งให้ทหารประจำการพักราชการ พ.ศ. 2500 ข้อ 6(2) กำหนดให้ผู้บังคับบัญชาสั่งให้ผู้ถูกสั่งพักราชการออกจากราชการได้ แม้ไม่ได้กระทำความผิด แต่หากมีมลทินหรือมัวหมอง ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2ผู้บังคับบัญชาของโจทก์มีคำสั่งให้โจทก์ซึ่งถูกสั่งให้พักราชการออกจากราชการประจำการเป็นนายทหารกองหนุน มีเบี้ยหวัด เพราะเหตุมลทินหรือมัวหมอง จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5630/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะคู่ความของหน่วยงานราชการ และอำนาจสั่งพักราชการ/ออกจากราชการเนื่องจากมลทิน
ผู้ที่จะเป็นคู่ความได้ต้องเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลหรือนิติบุคคลตามกฎหมายพิเศษ แม้กรมกำลังพลทหารบก จำเลยที่ 3กรมการแพทย์ทหารบก จำเลยที่ 4 และโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า จำเลยที่ 5จะเป็นหน่วยงานในสังกัดของจำเลยที่ 1 และที่ 2 แต่ตามพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการและกำหนดหน้าที่ของส่วนราชการกองทัพบก กองบัญชาการทหารสูงสุด กระทรวงกลาโหม (ฉบับที่ 2)พ.ศ. 2512 มาตรา 4 ซึ่งออกตามความในมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2503 ก็มิได้กำหนดให้จำเลยที่ 3 ที่ 4 และที่ 5 มีฐานะเป็นนิติบุคคล จึงไม่อาจเป็นคู่ความที่จะถูกฟ้องร้องเป็นจำเลยได้ ตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหมว่าด้วยการสั่งให้ทหารประจำการพักราชการ พ.ศ. 2500 ข้อ 6(2) กำหนดให้ผู้บังคับบัญชาสั่งให้ผู้ถูกสั่งพักราชการออกจากราชการได้ แม้ไม่ได้กระทำความผิด แต่หากมีมลทินหรือมัวหมอง ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2ผู้บังคับบัญชาของโจทก์มีคำสั่งให้โจทก์ซึ่งถูกสั่งให้พักราชการออกจากราชการประจำการเป็นนายทหารกองหนุน มีเบี้ยหวัด เพราะเหตุมลทินหรือมัวหมอง จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5454/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ระเบียบภายในหน่วยงานราชการไม่อาจใช้ต่อสู้บุคคลภายนอกที่ไม่ทราบได้
การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้บัญชาการเรือนจำซื้อสินค้าจากโจทก์ไปใช้ในกิจการของเรือนจำแล้วมิได้จัดให้มีการตั้งบัญชีเจ้าหนี้ไว้ตามระเบียบปฏิบัติราชการของกรมราชทัณฑ์จำเลยที่ 2ที่วางไว้เพื่อให้มีผลผูกพันจำเลยที่ 2 นั้น เป็นเพียงระเบียบปฏิบัติภายในของจำเลยที่ 2 ไม่อาจยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ผู้เป็นบุคคลภายนอกและไม่ทราบถึงระเบียบดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3590/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินยกให้หน่วยงานราชการกลายเป็นสาธารณสมบัติ แม้โอนกรรมสิทธิ์ให้ผู้อื่นโดยสุจริตก็ไม่เกิดผล
เจ้าของที่ดินเดิมได้ยกที่พิพาทให้แก่อำเภอบ้านลาดและทางราชการได้ใช้ที่พิพาทปลูกสร้างสุขศาลาหรือสถานีอนามัยอำเภอบ้านลาดและบ้านพักข้าราชการ ดังนี้ที่พิพาทเป็นทรัพย์ที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ ย่อมเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตาม ป.พ.พ. มาตรา 1304(3) นับแต่วันที่เจ้าของที่ดินเดิมยกให้อำเภอบ้านลาดแม้ผู้คัดค้านจะได้ที่พิพาทมาโดยสุจริต เสียค่าตอบแทนและจดทะเบียนสิทธิแล้วก็หาได้กรรมสิทธิ์ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4391/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของหน่วยงานราชการจากการกระทำละเมิดของข้าราชการ และการฟ้องคดีเกินอายุความ
จำเลยที่ 1 รับราชการอยู่กรมข่าวทหาร สังกัดกองบัญชาการทหารสูงสุดซึ่งเป็นนิติบุคคลต่างหากจากกระทรวงกลาโหม แต่กองบัญชาการทหารสูงสุดเป็นส่วนราชการส่วนหนึ่งในสังกัดกระทรวงกลาโหมตามพระราชบัญญัติจัดระเบียบกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2503 เมื่อการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 เกิดขึ้นจากการปฏิบัติราชการตามหน้าที่ กระทรวงกลาโหมและกองบัญชาการทหารสูงสุดต้องร่วมกันรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 76
ค่าเสียหายในเรื่องละเมิดนั้นแม้โจทก์นำสืบถึงจำนวนแน่นอนไม่ได้ศาลก็อาจกำหนดให้ตามสมควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลหมายเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีละเมิดเมื่อพ้น 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน คดีโจทก์สำหรับจำเลยร่วมจึงขาดอายุความฟ้องร้อง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4290/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกที่ดินให้หน่วยงานราชการมีเงื่อนไข ไม่ถือเป็นการอุทิศเป็นสาธารณสมบัติ หากไม่ได้จดทะเบียน
เจ้าของเดิม ยกที่พิพาทให้กรมอนามัยปลูกสร้างสำนักงานผดุงครรภ์โดยมีเงื่อนไขว่า จะนำไปซื้อขาย หักโอน หรือแลกเปลี่ยนกับผู้อื่นหรือหน่วยราชการอื่นไม่ได้ และเมื่อหมดความประสงค์จะใช้ ให้ส่งมอบที่พิพาทคืนทันที ดังนี้ เจตนาของผู้ให้ หาใช่เป็นการอุทิศที่พิพาทเพื่อใช้เป็นสาธารณประโยชน์ตลอดไปอันมีผลให้ที่ดินตก เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินไม่ เมื่อการยกให้มิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงไม่มีผลสมบูรณ์ และย่อมไม่ผูกพันผู้ให้หรือโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนที่พิพาทต่อมาในภายหลังตาม ป.พ.พ. มาตรา 525,1299 วรรคแรก แม้โจทก์จะรู้ถึงสิทธิที่จำเลยได้รับการยกให้จากเจ้าของเดิม ก็ตาม ก็หาเป็นการกระทบกระเทือนต่อสิทธิของโจทก์ผู้ได้กรรมสิทธิ์มาโดยนิติกรรมซึ่งได้จดทะเบียนการได้มากับพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่ โจทก์จึงมีสิทธิให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากที่พิพาทได้.
of 5