คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
หน้าที่ดูแล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 21 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1929/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของบิดามารดาต่อการกระทำละเมิดของบุตรผู้เยาว์ จำเป็นต้องพิสูจน์ความระมัดระวังตามหน้าที่
กรณีที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่ง เป็นบิดามารดาของจำเลยที่ 1 ผู้เยาว์ รับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ในผลของการละเมิดของจำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 429 นั้น จำเลยที่ 2และที่ 3 จะต้อง พิสูจน์ว่าตน ได้ ใช้ ความระมัดระวังตาม สมควรแก่หน้าที่ดูแล ซึ่ง ทำอยู่นั้น แต่ จำเลยที่ 2 และที่ 3 นำสืบแต่ เพียงว่าจำเลยที่ 1 ไปรับจ้างทำงานในจังหวัด นครราชสีมา โดย จำเลยที่ 2และที่ 3 ไม่ได้ตาม ไปด้วย เท่านั้น มิได้พิสูจน์ว่าตน ได้ ใช้ความระมัดระวังตาม สมควรแก่หน้าที่ดูแล ซึ่ง ทำอยู่นั้น จำเลยที่ 2และที่ 3 จึงต้อง ร่วม รับผิดกับจำเลยที่ 1.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1299/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่ดูแลรักษาของกลาง, การมอบหมายให้ผู้อื่นดูแล, การประมาทของโจทก์, และการไม่มีละเมิด
ท.เช่าซื้อรถยนต์จากโจทก์แล้วนำไปใช้ในการกระทำผิดจนถูกยึดเป็นของกลาง แม้ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยข้อบังคับการเก็บรักษาของกลาง พ.ศ. 2480 และข้อตกลงร่วมมือในการดำเนินคดีตามพระราชบัญญัติป่าไม้ระหว่างกรมป่าไม้กับกรมตำรวจ จะกำหนดให้พนักงานสอบสวนมีอำนาจยึดพาหนะที่ได้ใช้ในการกระทำความผิดไว้เพื่อเป็นหลักฐานในการพิจารณาคดีจนกว่าจะมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดีหรือจนคดีถึงที่สุดก็ตาม แต่มิได้ระบุว่าพนักงานสอบสวนจะต้องเก็บรักษาไว้เอง ทั้งระเบียบกระทรวงมหาดไทยฉบับดังกล่าวก็ให้อำนาจพนักงานสอบสวนจัดสถานที่สำหรับรักษาพาหนะของกลางหรือมอบให้ผู้ที่สมควรรักษาไว้แทนก็ได้ ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนมอบรถยนต์ของกลางในความผิดต่อพระราชบัญญัติป่าไม้ให้ ท.นำไปเก็บรักษาเป็นการใช้ดุลพินิจปฏิบัติหน้าที่ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย และไม่ขัดต่อข้อตกลงระหว่างกรมป่าไม้กับกรมตำรวจ ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 กระทำโดยไม่สุจริตหรือมีเจตนากลั่นแกล้งโจทก์ แม้โจทก์จะยึดรถยนต์ของกลางคืนจาก ท.เนื่องจาก ท.ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อแล้วขายรถยนต์ของกลางให้แก่ผู้อื่น และต่อมาศาลพิพากษาให้ริบรถยนต์ของกลาง เป็นเหตุให้โจทก์ถูกผู้ซื้อฟ้องเรียกค่าเสียหาย การกระทำของจำเลยที่ 1ก็ยังห่างไกลต่อผลที่เกิดความเสียหายแก่โจทก์ จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1083/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของนายจ้างต่อละเมิดของลูกจ้าง: หลักการแทนกันและขอบเขตความรับผิด
ผู้ทำละเมิดเป็นพนักงานหรือคนงานของจำเลยที่ 1 ได้ ทำ ละเมิดในขณะปฏิบัติการงานของจำเลยที่ 1 ตาม หน้าที่ที่รับ มอบหมาย พนักงานหรือคนงานดังกล่าวถือ ได้ ว่าเป็นผู้แทนอื่น ๆ ของจำเลยที่ 1เมื่อก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นแก่โจทก์ จำเลยที่ 1 ก็ต้อง รับผิดใช้ ค่าสินไหมทดแทนตาม ที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 76 แม้พนักงานหรือคนงานผู้ทำละเมิดเป็นผู้อยู่ในบังคับบัญชาของจำเลยที่ 2 และที่ 3 แต่ จำเลยที่ 2 และที่ 3 กับพนักงานหรือคนงานดังกล่าวต่าง ก็เป็นพนักงานหรือคนงานของจำเลยที่ 1 และต่างปฏิบัติหน้าที่ให้จำเลยที่ 1 ด้วย กัน จึงอยู่ในฐานะ นายงานกับคนงานเมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 มีส่วนผิดในการออกคำสั่งเกี่ยวกับการปฏิบัติงานจนเกิดความเสียหายขึ้น จำเลยที่ 2 และที่ 3จึงไม่ต้องร่วม รับผิดด้วย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2134/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของบิดามารดาต่อการกระทำละเมิดของบุตรผู้เยาว์ การใช้ความระมัดระวังตามควรแก่หน้าที่
จำเลยที่ 2 ที่ 3 บิดามารดาของจำเลยที่ 1 ให้การว่าตนไม่ต้องรับผิดในการกระทำของจำเลยที่ 1 เพราะจำเลยที่ 1 บรรลุนิติภาวะแล้ว เป็นเพียงคำให้การที่อ้างว่าจำเลยทั้งสองไม่มีส่วนพัวพันกับการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 ซึ่งมิได้เป็นอย่างเดียวกันกับการใช้ความระมัดระวังตามควรแก่หน้าที่ดูแลแต่อย่างใดจำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงไม่มีประเด็นที่จะนำสืบพิสูจน์ให้พ้นความรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 429

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 932/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาฝากทรัพย์ vs. เช่าจอดรถ: การรับฝากรถยนต์โดยมีผลตอบแทนทำให้จำเลยมีหน้าที่ดูแลรักษา
โจทก์นำรถยนต์ไปจอดในบริเวณปั๊มน้ำมันของจำเลย และได้มอบกุญแจรถยนต์ไว้ให้ลูกจ้างของจำเลย ลูกจ้างของจำเลยนำรถยนต์ของโจทก์เข้าไปเก็บในที่เคยเก็บรถยนต์ และโจทก์จ่ายค่ารับฝากให้จำเลยเมื่อมาเอารถคืนโดยได้ปฏิบัติเช่นนี้เป็นเวลานาน ถือว่าจำเลยได้ตกลงรับฝากรถยนต์ของโจทก์ไว้ในอารักขาของตน ตลอดเวลาที่รถยนต์ของโจทก์อยู่ที่ปั๊มน้ำมันของจำเลยอำนาจการครอบครองรถยนต์นั้นตกอยู่กับจำเลยที่จะจัดการเกี่ยวกับรถยนต์นั้นจนกว่าโจทก์จะมารับรถยนต์คืนไปจึงเป็นสัญญาฝากทรัพย์โดยมีบำเหน็จ
เงื่อนไขตามใบเสร็จรับเงินและประกาศที่จำเลยที่ 4 ทำขึ้นเพื่อยกเว้นความรับผิดนั้น เมื่อโจทก์มิได้ตกลงยินยอมหรือลงชื่อรับรู้ด้วย เงื่อนไขดังกล่าวจึงไม่ผูกพันโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 981/2474

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้รับจำนำมีหน้าที่ดูแลทรัพย์สินให้ปลอดภัย หากทรัพย์สินสูญหายต้องรับผิดชอบค่าเสียหาย
จำนำช้าง หักกลบลบหนี้ ค่าติดตามข้าง
หน้าที่นำสืบผู้รับจำนำมีหน้าที่นำสืบว่าได้รักษาทรัพย์ที่รับจำนำไว้อย่างวิญญชนแลมิได้ประมาท (ฎีกาที่ 1097/68)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19348/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หัวหน้าโครงการมีหน้าที่ดูแลต้นไม้ในพื้นที่รับผิดชอบ แม้กรมป่าไม้เป็นผู้ปลูก การปล่อยปละละเลยถือเป็นความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่
จำเลยเป็นหัวหน้าโครงการอ่างเก็บน้ำดอกกรายโดยมีบ้านพักปลูกอยู่ในโครงการ ไม้ยูคาลิปตัสที่ตัดปลูกอยู่บริเวณรอบอ่างเก็บน้ำ แม้กรมป่าไม้จะเป็นผู้ปลูก โดยพฤตินัยจำเลยซึ่งเป็นหัวหน้าโครงการอ่างเก็บน้ำก็ต้องมีหน้าที่ดูแลรักษาต้นยูคาลิปตัสดังกล่าว เพราะเป็นต้นไม้ของทางราชการ มิใช่วัชพืชหรือต้นไม้ไม่มีค่าที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ จำเลยจะอ้างว่ากรมป่าไม้ต้องมีหน้าที่ดูแลเพราะกรมป่าไม้เป็นผู้ปลูกไม่ได้ เพราะสถานที่ปลูกอยู่ในเขตโครงการอ่างเก็บน้ำที่จำเลยเป็นหัวหน้าและมีหน้าที่ควบคุมดูแลอยู่ หาใช่อยู่ในสถานที่ของกรมป่าไม้แต่อย่างใดไม่ และกรมป่าไม้ไม่ได้มีหน่วยงานดูแลอยู่ในที่เกิดเหตุ ดังนั้น เมื่อจำเลยจ้างหรือใช้ให้ บ. ไปตัดไม้ยูคาลิปตัสของกลาง การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 743/2561

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่ดูแลความปลอดภัยรถยนต์ในลานจอดห้างสรรพสินค้า การงดเว้นดูแลถือเป็นความประมาทเลินเล่อ
การที่จำเลยซึ่งเป็นห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ย่อมต้องการให้มีผู้มาซื้อสินค้าและใช้บริการเป็นจำนวนมากซึ่งจะมีผลโดยตรงต่อรายได้ของจำเลย การจัดให้มีลานจอดรถเป็นการให้บริการอย่างหนึ่งของจำเลยแก่ลูกค้า ดังนั้น การที่จำเลยยอมให้บุคคลทั่วไปนำรถยนต์มาจอดที่ลานจอดรถไม่ทำให้จำเลยหลุดพ้นจากหน้าที่ที่ต้องดูแลรถที่ลูกค้าของจำเลยนำมาจอดในลานจอดรถของห้างสรรพสินค้า จำเลยจึงมีหน้าที่ในการดูแลรักษาความปลอดภัยรถยนต์ของลูกค้าที่นำมาจอดในลานจอดรถของห้างสรรพสินค้าจำเลยและรับฟังได้อีกว่าก่อนเกิดเหตุจำเลยได้จัดให้มีการแจกบัตรเข้าออกสำหรับรถยนต์ของลูกค้าที่นำเข้ามาจอดแต่ขณะเกิดเหตุได้ยกเลิกการแจกบัตรเข้าออกและนำกล้องวงจรปิดมาติดตั้งไว้บริเวณทางเข้าออกลานจอดรถแทนซึ่งการติดตั้งกล้องวงจรปิดก็เป็นเพียงอุปกรณ์บันทึกภาพรถยนต์เข้าออกเท่านั้น ดังนั้น จึงเท่ากับจำเลยงดเว้นหน้าที่ที่จะต้องดูแลรถยนต์ของลูกค้าโดยให้ลูกค้าต้องเสี่ยงภัยเอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7308/2561

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานชำเราและบทแก้ไขโทษตามมาตรา 285 ป.อ. กรณีจำเลยไม่ใช่ผู้มีหน้าที่ดูแลศิษย์โดยตรง
คำว่า ศิษย์ซึ่งอยู่ในความดูแล ตาม ป.อ. มาตรา 285 มิได้หมายถึงเฉพาะผู้ที่มีความสัมพันธ์ในฐานะครูหรืออาจารย์ซึ่งมีหน้าที่สอนศิษย์เท่านั้น แต่ครูหรืออาจารย์นั้นต้องมีหน้าที่ควบคุมดูแลปกป้องรักษาตัวศิษย์ และกระทำความผิดตามที่กฎหมายบัญญัติต่อศิษย์ในระหว่างมีหน้าที่ดังกล่าวด้วย จำเลยเป็นเพียงครูสอนวิชาพลศึกษาโรงเรียนที่เกิดเหตุ โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยสอนหรือเคยสอนในชั้นเรียนที่โจทก์ร่วมศึกษา ทั้งจำเลยมิได้เป็นครูใหญ่ซึ่งมีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบนักเรียนทั้งโรงเรียน แม้จำเลยกระทำชำเราโจทก์ร่วมก็มิใช่การกระทำต่อศิษย์ซึ่งอยู่ในความดูแลอันจะทำให้ต้องรับโทษหนักขึ้นตาม ป.อ. มาตรา 285

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8908/2560

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่ดูแลความปลอดภัยลานจอดรถของห้างสรรพสินค้า และความรับผิดของบริษัทรักษาความปลอดภัย
แม้จำเลยจะต้องจัดให้มีสถานที่จอดรถตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 8 (9) ซึ่งบัญญัติให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารต้องมีพื้นที่จอดรถเพื่ออำนวยความสะดวกแก่การจราจร ซึ่งเป็นการปฏิบัติตามกฎหมายก็ตาม แต่จำเลยประกอบกิจการค้าห้างขนาดใหญ่ ขายปลีกและขายส่งสินค้าอุปโภคและบริโภคต่าง ๆ จำเลยย่อมต้องให้ความสำคัญด้านบริการไม่ว่าจะเป็นเรื่องสินค้า ความปลอดภัย ความสะดวกสบายเพื่อสร้างความพึงพอใจและดึงดูดให้ลูกค้ามาใช้บริการและซื้อสินค้าอันจะส่งผลต่อรายได้ของจำเลย การจัดสถานที่จอดรถที่สะดวกและปลอดภัยถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ลูกค้าตัดสินใจเข้ามาซื้อสินค้าหรือใช้บริการในห้างของจำเลยซึ่งเป็นประโยชน์แก่กิจการของจำเลยโดยตรง จำเลยต้องคำนึงถึงและมีหน้าที่ต้องดูแลความปลอดภัยของลูกค้าทั้งในชีวิตและทรัพย์สินตามสมควร ไม่ปล่อยให้ลูกค้าต้องเป็นผู้ระมัดระวังหรือเสี่ยงภัยเอง จำเลยจึงมีหน้าที่ดูแลรักษาความปลอดภัยของรถยนต์ของลูกค้าที่นำเข้าไปจอดในลานจอดรถที่จำเลยจัดไว้เพื่อป้องกันมิให้รถยนต์ถูกโจรกรรมได้ อันเนื่องมาจากลักษณะของการประกอบกิจการค้าเช่นจำเลยจะพึงต้องปฏิบัติต่อลูกค้า แม้จำเลยไม่ได้สัญญาว่าจะรับดูแลทรัพย์สินหรือรับฝากรถยนต์ของลูกค้าโดยตรง หรือมิได้มีการเรียกเก็บเงินค่าจอดรถก็ตาม ปรากฏว่าก่อนเกิดเหตุคดีนี้ จำเลยเคยจัดให้มีพนักงานรักษาความปลอดภัยประจำของจำเลยร่วมอยู่ที่จุดทางเข้าออกของห้าง และแจกบัตรจอดรถให้แก่ผู้ที่นำรถเข้ามาจอด ซึ่งเป็นวิธีการรักษาความปลอดภัยที่ค่อนข้างรัดกุม เพราะหากคนขับรถไม่มีบัตรจอดรถจะต้องมีหลักฐานมาแสดงความเป็นเจ้าของรถและยังต้องเสียค่าปรับจึงจะนำรถออกไปได้ แต่จำเลยกลับยกเลิกวิธีการดังกล่าวเสีย โดยติดตั้งกล้องวงจรปิดไว้ที่ตำแหน่งทางเข้าออกแทน และไม่จัดให้มีพนักงานรักษาความปลอดภัยดูแลจุดทางเข้าออกของห้างเพื่อสกัดกั้นมิให้มีการขับรถออกไปจากลานจอดรถของห้างได้โดยสะดวก มีผลเป็นการลดมาตรการป้องกันมิให้รถยนต์ที่ลูกค้านำมาจอดไว้ถูกโจรกรรมและนำออกไปจากพื้นที่ได้โดยง่าย พฤติการณ์ของจำเลยฟังได้ว่า จำเลยงดเว้นการที่จะต้องดูแลรถยนต์ของลูกค้าเพื่อป้องกันมิให้รถยนต์ของลูกค้าถูกโจรกรรม เป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อ เมื่อเป็นผลโดยตรงทำให้คนร้ายฉวยโอกาสโจรกรรมรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยไว้ไป จึงเป็นการกระทำละเมิดต่อผู้เอาประกันภัยตาม ป.พ.พ. มาตรา 420
ตามสัญญาว่าจ้างบริการรักษาความปลอดภัยระบุว่า จำเลยร่วมตกลงรับจ้างบริการรักษาความปลอดภัยให้แก่จำเลย โดยมีหน้าที่สอดส่องตรวจตราและสังเกตการณ์เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในชีวิต ร่างกายและทรัพย์สินของผู้ว่าจ้าง ลูกจ้าง และบุคคลอื่นที่มาใช้บริการของผู้ว่าจ้างในสถานที่ให้บริการ ซึ่งได้แก่อาคาร สถานที่ และอาณาบริเวณของอาคารให้มีความปลอดภัย จำเลยร่วมผู้ได้รับมอบหมายจากจำเลยจึงมีหน้าที่ต้องดูแลสถานที่จอดรถให้มีความปลอดภัยตามสมควร รวมถึงมีหน้าที่ป้องกันมิให้รถยนต์ของลูกค้าถูกโจรกรรมไปเช่นเดียวกับจำเลย เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยเป็นผู้สั่งยกเลิกการแจกบัตรจอดรถยนต์ และยกเลิกการจัดให้มีพนักงานรักษาความปลอดภัยประจำของจำเลยร่วมอยู่ที่จุดทางเข้าออกของห้างและแจกบัตรจอดรถให้แก่ผู้ที่นำรถเข้ามาจอดโดยเพียงแต่ติดตั้งกล้องวงจรปิดที่บริเวณทางเข้าออกแทนก่อนเกิดเหตุ ซึ่งมีผลเป็นการลดมาตรการป้องกันมิให้รถยนต์ที่ลูกค้านำมาจอดไว้ถูกโจรกรรมไป การที่จำเลยสั่งให้จำเลยร่วมจัดให้มีพนักงานรักษาความปลอดภัยเพียง 5 คนประจำตามจุดที่จำเลยกำหนดเพื่อดูแลพื้นที่ลานจอดรถยนต์ขนาด 1,096 คัน ซึ่งเป็นพื้นที่จอดรถขนาดใหญ่และมีการแบ่งพื้นที่จอดรถเป็นหลายส่วนรอบอาคารของห้าง การสอดส่องตรวจตราดูแลย่อมกระทำได้ไม่ทั่วถึง และไม่เพียงพอต่อการป้องกันมิให้เกิดการโจรกรรมรถยนต์ของลูกค้าไป เมื่อไม่ปรากฏว่าพนักงานรักษาความปลอดภัยของจำเลยร่วมปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับคำสั่งบกพร่องอย่างไร และไม่ปรากฏว่าเหตุโจรกรรมรถยนต์คันที่เอาประกันภัยไว้อยู่ในความรู้เห็นของพนักงานรักษาความปลอดภัยของจำเลยร่วม การที่รถยนต์คันดังกล่าวถูกโจรกรรมจึงไม่ได้เป็นผลโดยตรงมาจากการกระทำของพนักงานรักษาความปลอดภัยของจำเลยร่วมที่จำเลยร่วมจะต้องรับผิดต่อโจทก์ตามกฎหมาย
of 3