คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
หน้าที่ตามสัญญา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 28 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3448/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขาย: สิทธิเรียกร้องค่าปรับและหน้าที่ชำระราคาที่ดินเมื่อศาลบังคับตามสัญญา
ตามสัญญาจะซื้อจะขายเอกสารหมาย จ.2 ข้อ 3 มีข้อความว่าถ้าผู้จะขายผิดสัญญา ผู้จะขายยอมให้ผู้จะซื้อฟ้องบังคับให้เป็นไปตามสัญญาและยอมใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้จะซื้อจำนวน 30,000 บาท เมื่อคดีฟังได้ว่าจำเลยทั้งสองเป็นผู้ผิดสัญญา แม้ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยทั้งสองจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทและกำหนดให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองย่อมมีสิทธิได้รับเบี้ยปรับตามที่ได้กำหนดไว้ในสัญญา
แม้คำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ทั้งสองมิได้ขอชำระราคาที่ดินให้จำเลยทั้งสอง แต่การซื้อขายที่ดินเป็นสัญญาต่างตอบแทน ต่างฝ่ายก็มีหน้าที่ชำระหนี้ต่อกัน เมื่อศาลอุทธรณ์บังคับให้จำเลยทั้งสองจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแก่โจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองก็มีหน้าที่ต้องชำระราคาค่าที่ดินพิพาทให้จำเลยทั้งสองที่ศาลอุทธรณ์กำหนดให้โจทก์ชำระค่าที่ดินพิพาทส่วนที่เหลือแก่จำเลยทั้งสองนั้นชอบแล้วไม่เป็นการเกินคำขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 234/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์ไม่ระงับ แม้มีการโอนกรรมสิทธิ์ ผู้ซื้อมีหน้าที่ปฏิบัติตามสัญญาเช่าเดิม
โจทก์ได้เช่าที่ดินจาก ส. เจ้าของที่ดินเดิมโดยมีกำหนดเวลาเช่า 3 ปี ทำหลักฐานการเช่าเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดแล้วย่อมใช้ฟ้องร้องบังคับคดีได้ ผู้ให้เช่าต้องส่งมอบที่ดินให้แก่ผู้เช่าครอบครองตามสัญญา แม้ ส. จะโอนขายที่ดินให้แก่จำเลยแล้ว สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์ระหว่างโจทก์และ ส.ย่อมไม่ระงับไปเพราะเหตุโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินที่ให้เช่า จำเลยต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของ ส. ซึ่งมีต่อโจทก์ด้วย จึงมีหน้าที่ให้โจทก์ได้อยู่ในที่ดินจนครบกำหนดระยะเวลาเช่า แม้สัญญาเช่าที่โจทก์ทำกับ ส. ถึงบัดนี้เกินกำหนดเวลา3 ปีแล้ว แต่สัญญาเช่ามีสาระสำคัญอยู่ที่ระยะเวลาการเช่า แม้สัญญาเช่าจะลงวันที่เริ่มต้นก็ตาม แต่เมื่อผู้เช่าไม่ได้ ใช้ทรัพย์ครบตามกำหนดระยะเวลาในสัญญาเช่า ผู้ให้เช่าก็ มีหน้าที่ต้องส่งมอบทรัพย์ให้ผู้เช่าใช้ประโยชน์ในที่เช่าจนครบกำหนดตามสัญญา แม้วันที่ที่กำหนดในสัญญาเช่าจะล่วงเลย ไปแล้ว ศาลก็บังคับให้จำเลยส่งมอบทรัพย์สินที่เช่าให้แก่ โจทก์ตามสัญญาเช่าได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6470/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นสุดสัญญาเช่าและหน้าที่ในการส่งคืนสภาพที่ดิน ผู้เช่าขายบ้านที่เช่าไม่ได้ปลดหน้าที่
จำเลยปลูกบ้านในที่ดินของโจทก์โดยอาศัยสิทธิการเช่าเมื่อสัญญาเช่าระงับเมื่อสิ้นกำหนดเวลาที่ตกลงกันไว้จำเลยก็ต้องส่งคืนที่ดินซึ่งเป็นทรัพย์สินที่เช่าในสภาพเรียบร้อยแก่โจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 561 โดยจำเลยจะต้องรื้อถอนบ้านซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินที่เช่าเพื่อส่งมอบที่ดินที่เช่าคืนแก่โจทก์ การที่จำเลยโอนขายบ้านให้ส.โดยมีข้อตกลงให้ส. มีหน้าที่รื้อถอนบ้านออกไปจากที่ดินที่จำเลยเช่าก็ดี และการที่บ้านถูกเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาคดีอื่นของจำเลยนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้ก็ดี หาเป็นเหตุให้จำเลยพ้นหน้าที่จะต้องส่งมอบที่ดินที่เช่าคืนให้โจทก์ตามผลของกฎหมายไม่ การที่จำเลยไม่รื้อถอนบ้านออกจากที่ดินที่เช่าของโจทก์เมื่อสิ้นกำหนดเวลาสัญญาเช่าแล้วโจทก์ย่อม มีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยและบริวารรื้อบ้านพร้อมขนย้าย ทรัพย์สินออกจากที่ดินได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5459/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดิน: ผู้ขายมีหน้าที่ชี้แนวเขตและแบ่งแยกที่ดินให้ชัดเจนก่อนโอน
ตามกฎหมายเจ้ากรรมสิทธิ์รวมในที่ดินทุกคนต่างเป็นเจ้าของร่วมกันทุกตอนในที่ดินทั้งแปลงนั้น แต่ในระหว่างเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมด้วยกันเอง อาจอ้างการครอบครองเป็นส่วนสัดตามกฎหมายว่าด้วยเรื่องการครอบครองต่อกันได้ โดยตกลงแบ่งที่ดินกันเองแล้วลงชื่อรับรองหลักเขตที่เจ้าพนักงานที่ดินปัก เพื่อรังวัดแบ่งแยกซึ่งเป็นการตกลงแบ่งทรัพย์กันเองอันมีผลบังคับได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364 โดยถือว่าเป็นเรื่องของความยินยอมของเจ้าของรวมทุกฝ่ายพร้อมใจกันให้เป็นเช่นนั้นแต่การครอบครองเป็นส่วนสัดดังกล่าวนี้มิได้เป็นผลถึงกับจะทำให้ที่ดินเป็นอีกแปลงหนึ่งต่างหากจากที่ดินแปลงใหญ่ในโฉนดเดิมนั้นไปได้ แต่ตราบใดที่ยังไม่ได้มีการแบ่งแยกโฉนดออกจากกันก็ต้องถือว่าเป็นที่ดินแปลงเดียวโฉนดเดียวกันอยู่ จำเลยอ้างว่ามีส่วนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินในโฉนดทั้งแปลงคิดเป็นเนื้อที่ 35 ไร่ ได้ตกลงขายให้โจทก์ทั้งหมด แต่จำเลยยังมิได้ขอให้เจ้าพนักงานรังวัดแบ่งแยกที่ดินเนื้อที่ 35 ไร่ของจำเลยออกเป็นส่วนสัดมีเขตกว้างยาวแน่นอน โดยได้รับความยินยอมของเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมรายอื่นแล้ว จำเลยเพียงแต่เข้าใจเอาเองว่าที่ดินส่วนของจำเลยอยู่ตรงไหนและไม่แน่ชัดว่าโจทก์ได้รับทราบว่าที่ดินของจำเลยอยู่ตรงส่วนไหน และมีแนวเขตกว้างยาวเท่าใด แน่นอนแล้ว ดังนั้นเมื่อจำเลยตกลงจะขายที่ดินส่วนของจำเลยเนื้อที่ 35 ไร่ แก่โจทก์โดยยังมีผู้อื่นอีกหลายรายถือกรรมสิทธิ์ปะปนกันอยู่ จึงเป็นหน้าที่ของจำเลยที่จะไปชี้แนวเขตที่ดินเพื่อรังวัดแบ่งแยกที่ดินเฉพาะส่วนให้โจทก์และเจ้าพนักงานที่ดินดำเนินการแบ่งแยกที่ดินแก่โจทก์ตามสัญญาจะซื้อจะขายต่อไป อันเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติตามสัญญา จำเลยจะเพียงแต่จดทะเบียนให้โจทก์มีชื่อถือกรรมสิทธิ์รวมกับผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมรายอื่น ๆ ในโฉนดโดยอ้างว่าไม่มีข้อตกลงดังกล่าวในสัญญาหาได้ไม่เมื่อจำเลยไม่ยอมยื่นคำขอรังวัดแบ่งแยกและนำชี้เขตที่ดินในวันนัดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ จึงเป็นการปฏิเสธไม่ยอมให้โจทก์เข้าสวมสิทธิที่จะขอแบ่งกรรมสิทธิ์ส่วนของจำเลยเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ตามสัญญาจะซื้อจะขาย โจทก์จึงมีสิทธิไม่ยอมจดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินส่วนของจำเลยได้ จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา แม้ในสัญญาจะซื้อขายมีข้อกำหนดว่าถ้าผู้จะขายผิดสัญญายอมใช้ค่าเสียหายแก่ผู้จะซื้อเป็นจำนวนสองเท่าของราคาขายอันเป็นการกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้ากรณีที่ผู้จะขายผิดสัญญา แต่โจทก์นำสืบไม่พอฟังได้ว่าโจทก์ได้เสียหายไปอย่างไร เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้ ซึ่งศาลมีอำนาจกำหนดให้ตามสมควรแก่พฤติการณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 222

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3493/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดินและภาระทำถนน ทายาทรับไปซึ่งหน้าที่ตามสัญญา
ผู้ตายขายที่ดินให้โจทก์โดยมีข้อตกลงว่า ผู้ตายจะต้องทำถนนจากทางสาธารณะสู่ที่ดินที่ขายให้โจทก์ จำเลยทั้งสองเป็นบุตรอันเป็นทายาทของผู้ตายย่อมรับเอาสิทธิและหน้าที่ของผู้ตายมาด้วย จึงมีหน้าที่ต้องทำถนนและจดทะเบียนภารจำยอมให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4540/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ธนาคารออกแคชเชียร์เช็ค: หน้าที่ตามสัญญาและผลของการปฏิบัติตามเช็คอย่างถูกต้อง
ธนาคารจำเลยออกแคชเชียร์เช็คสั่งให้ธนาคารโจทก์จ่ายเงินเข้าบัญชีของ ธ. ซึ่งมีบัญชีดังกล่าวกับธนาคารโจทก์ การที่ธนาคารโจทก์นำเงินเข้าบัญชีของ ธ. และ ธ. เบิกเงินไปจากธนาคารโจทก์แล้ว เมื่อไม่มีลักษณะใดที่แสดงว่าเป็นการจ่ายเงินโดยไม่สุจริต ธนาคารจำเลยจะปฏิเสธการจ่ายเงินตามแคชเชียร์เช็คแก่โจทก์โดยอ้างว่าธนาคารโจทก์จะต้องนำแคชเชียร์เช็คไปเรียกเก็บเงินจากธนาคารจำเลยเสียก่อนจึงจะนำเงินเข้าบัญชีของ ธ. ได้นั้นไม่ได้ เพราะเป็นข้ออ้างที่ขัดกับข้อความที่ปรากฏในแคชเชียร์เช็ค

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1000/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนมีหน้าที่ส่งมอบทะเบียนรถตามคำสั่งตัวการ แม้มีหนี้ค่าซ่อมรถแยกต่างหาก
บริษัทผู้ให้เช่าซื้อรถแทรกเตอร์ได้โอนทะเบียนรถมาให้โจทก์ผู้เช่าซื้อโดยส่งมายังจำเลยซึ่งเป็นตัวแทนจำเลยจึงมีหน้าที่ทำตามคำสั่งของบริษัทตัวการจะอ้างว่ามีสิทธิยึดหน่วงเพราะยังมีหนี้ค่าซ่อมรถค้างชำระไม่ได้เพราะเป็นหนี้เกี่ยวกับตัวรถไม่เกี่ยวกับทะเบียนรถ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 771/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถาปนิกมีหน้าที่ตรวจสอบการก่อสร้างตามแบบ แม้จะไม่ได้ควบคุมงานโดยตรง การร้องเรียนต่อ ก.ส. ไม่เป็นละเมิด
โจทก์ซึ่งเป็นสถาปนิกรับจ้างออกแบบบ้านให้จำเลยที่ 1ก็มีหน้าที่โดยอัตโนมัติที่จะต้องตรวจสอบการดำเนินการก่อสร้างและให้คำแนะนำแก่ผู้ดำเนินการหรือผู้ควบคุมงาน รวมทั้งผู้รับเหมาก่อสร้างทั้งนี้เพื่อให้รูปแบบที่ก่อสร้างออกมาตรงตามสถาปัตยกรรมที่โจทก์เป็นผู้ออกแบบไว้ เมื่อบ้านชำรุดเพราะมีการทรุดตัวของฐานรากไม่เท่ากัน การที่จำเลยที่ 1 ร้องเรียนกล่าวหาโจทก์ จึงเป็นสิทธิตามกฎหมายไม่มีข้อเท็จจริงที่จะส่อว่าจำเลยมีเจตนากลั่นแกล้งให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ส่วนผลของการร้องเรียนคณะกรรมการควบคุมการประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม (ก.ส.) จำเลยจะมีมติลงโทษโจทก์หรือไม่ จำเลยที่ 1 ไม่ได้เกี่ยวข้องด้วยจึงไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์ ก.ส. จำเลยมีหนังสือแจ้งข้อกล่าวหาและให้โจทก์ไปให้ถ้อยคำต่อคณะอนุกรรมการตามรายชื่อที่แนบไป เมื่อโจทก์ไม่ไปแก้ข้อกล่าวหาจึงเป็นสิทธิของคณะอนุกรรมการที่จะดำเนินการไต่สวนไปได้ตามข้อบังคับ ก.ส. ว่าด้วยการไต่สวนผู้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุมในกรณีถูกกล่าวหาหรือสั่งพักหรือเพิกถอนใบอนุญาต และการที่ก.ส. สั่งพักใบอนุญาตโจทก์ จึงไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1598/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกัน, ข้อจำกัดทุนทรัพย์, เหตุสุดวิสัย, การผิดสัญญา, หน้าที่ตามสัญญา
แม้โจทก์ฟ้องกำหนดจำนวนทุนทรัพย์มา 100,000 บาท แต่ตามฟ้องปรากฏว่าจำเลยทำสัญญาค้ำประกันคนต่างด้าว 2 ราย ซึ่งเรียกว่าลูกประกันโดยแยกทำสัญญารายละฉบับ มีข้อสัญญาว่าถ้าจำเลยผิดสัญญาแต่ละรายยอมให้ปรับรายละ 50,000 บาท ทุนทรัพย์ในคดีจึงแยกออกตามสัญญาค้ำประกันแต่ละฉบับ คือฉบับละ 50,000 บาท เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นว่าจำเลยผิดสัญญาค้ำประกันและกำหนดค่าปรับรวมกันมา 60,000 บาท ก็ยังถือได้ว่ากำหนดค่าปรับในวงเงินตามสัญญาค้ำประกันแต่ละฉบับ ไม่เกินฉบับละ 50,000 บาท จึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 (อ้างคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 692/2524)
ส่วนที่จำเลยอ้างว่า จำเลยส่งลูกประกันออกไปนอกราชอาณาจักรไม่ได้เพราะเหตุสุดวิสัย เนื่องจากในระยะเวลาที่เกิดเหตุประเทศไทยไม่มีความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศกัมพูชา ซึ่งลูกประกันมีสัญชาตินั้น ปรากฏว่าหน้าที่ของจำเลยที่ต้องจัดการให้ลูกประกันออกไปเสียจากราชอาณาจักรก็มิได้กำหนดในสัญญาว่าต้องส่งกลับประเทศภูมิลำเนา ดังนั้นเพียงแต่ให้ออกไปนอกราชอาณาจักรก็เป็นการเพียงพอแล้วอีกทั้งเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์สั่งให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาก็ล่วงเลยระยะเวลาที่ประเทศไทยและประเทศกัมพูชาขาดความสัมพันธ์ทางการทูตกันแล้ว จำเลยจึงสามารถปฏิบัติตามสัญญาได้ กรณีไม่เป็นเหตุสุดวิสัยดังที่จำเลยอ้าง นอกจากนี้เหตุสุดวิสัยที่จะอ้างเพื่อให้หลุดพ้นไม่ต้องปฏิบัติตามสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 219 นั้นจะต้องเป็นเหตุซึ่งเกิดขึ้นภายหลังที่ได้ทำสัญญาด้วย ดังนั้น การที่จำเลยยังคงทำสัญญาค้ำประกันลูกประกันดังกล่าวทั้งที่ทราบอยู่แล้วว่าประเทศไทยและประเทศกัมพูชาไม่มีความสัมพันธ์ทางการทูตต่อกัน และพฤติการณ์ที่จำเลยไม่จัดการให้ลูกประกันออกไปนอกราชอาณาจักร ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์จึงถือได้ว่าจำเลยผิดสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 322/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิของผู้เช่าเมื่อมีการซื้อขายทรัพย์สินที่เช่า: ผู้ซื้อต้องรับสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าเดิม
จำเลยที่ 2 เช่าที่พิพาทจากจำเลยที่ 1 ผู้เป็นเจ้าของ ต่อมาโจทก์เช่าช่วงจากจำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 1 ยินยอม แล้วโจทก์ซื้อที่พิพาทจากจำเลยที่ 1 ในระหว่างที่สัญญาเช่าระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ยังมีผลบังคับอยู่ แม้จำเลยที่ 1 จะต้องโอนขายที่พิพาทให้โจทก์ แต่โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนจะต้องรับโอนสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าที่จำเลยที่ 1 ผู้โอนได้ทำไว้กับจำเลยที่ 2 ผู้เช่าเดิมมาด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 569 และโจทก์ก็รู้ถึงความผูกพันตามสัญญาเช่าระหว่างจำเลยทั้งสองอยู่ก่อนแล้ว จำเลยที่ 2 จึงยังมีสิทธิในที่พิพาทในฐานะผู้เช่าอยู่ โจทก์จะห้ามจำเลยที่ 2 เกี่ยวข้องในที่พิพาทหาได้ไม่
of 3