คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
หน้าที่นำสืบ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 257 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2259/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์ข้อเท็จจริงในคดีแรงงานต้องห้ามตามกฎหมาย และศาลแรงงานมีอำนาจกำหนดหน้าที่นำสืบพยาน
อุทธรณ์ของโจทก์เป็นการกล่าวอ้างข้อเท็จจริงโจทก์ได้ถูกจำเลยเลิกจ้างแล้วเพราะเหตุละทิ้งหน้าที่ต้นแต่วันที่24ตุลาคม2538เพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยในปัญหาข้อกฎหมายว่าศาลแรงงานพิพากษาไม่ชอบเนื่องจากไม่ได้วินิจฉัยว่าโจทก์ละทิ้งหน้าที่โดยมีเหตุอันสมควรหรือไม่ซึ่งในปัญหานี้ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์ไม่ได้ทำงานให้แก่จำเลยตั้งแต่วันที่24ตุลาคม2538เป็นต้นมาโดยโจทก์สมัครใจเลิกเป็นลูกจ้างของจำเลยเองจำเลยไม่ได้เลิกจ้างโจทก์ดังนี้อุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานซึ่งเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522มาตรา54 การกำหนดประเด็นข้อพิพาทและหน้าที่นำสืบในคดีแรงงานไม่จำต้องอยู่ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเนื่องจากพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522ซึ่งเป็นกฎหมายเฉพาะได้บัญญัติไว้แล้วในมาตรา39วรรคหนึ่งและการกำหนดให้คู่ความฝ่ายใดในคดีแรงงานนำพยานมาสืบก่อนหรือหลังนั้นเป็นอำนาจและดุลพินิจของศาลแรงงานโดยเฉพาะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5485/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่การนำสืบของโจทก์ในคดีอาญา และการลงโทษฐานทำร้ายร่างกายเมื่อฟ้องฐานพยายามฆ่า
ในคดีอาญาโจทก์มีหน้าที่ต้องนำสืบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา174เพื่อแสดงให้เห็นว่าจำเลยกระทำความผิดหรือไม่และต้องนำสืบข้อเท็จจริงให้ฟังได้โดยปราศจากความสงสัยว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดจริงการที่จำเลยตอบคำถามค้านว่าอาวุธปืนที่จำเลยใช้ยิงเป็นอาวุธปืนไม่มีทะเบียนจะถือเท่ากับว่าเป็นคำรับสารภาพตามมาตรา176หาได้ไม่เมื่อโจทก์ไม่สืบก็ลงโทษจำเลยไม่ได้ ความผิดฐานพยายามฆ่ารวมการกระทำฐานทำร้ายร่างกายอยู่ด้วยศาลจึงมีอำนาจลงโทษจำเลยฐานทำร้ายร่างกายเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัสตามที่พิจารณาได้ความได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1027/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่นำสืบพยานเพื่อพิสูจน์ข้อต่อสู้เรื่องการรับผิดชอบในคดีอื่น
การที่จำเลยที่ 5 ต่อสู้ว่า โจทก์ฟ้องเรียกร้องให้จำเลยที่ 5รับผิดเป็นคดีอื่นซึ่งมีจำนวนเงินสูงกว่าจำนวนเงินที่จำเลยที่ 5 ต้องรับผิดแล้วจำเลยที่ 5 จึงไม่ต้องรับผิดในคดีนี้อีกนั้น จำเลยที่ 5 ต้องมีหน้าที่นำสืบให้ปรากฏข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 84 มิใช่เพียงให้การไว้ลอย ๆ โดยไม่สืบพยาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7995/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งสินค้า, ข้อจำกัดความรับผิด, และหน้าที่นำสืบของจำเลย
จำเลยที่ 2 ขับรถยนต์ลากจูงและรถพ่วงของจำเลยที่ 1 แล่นมาตามถนน พอแล่นเข้าโค้งซึ่งอยู่เชิงเขา ถนนเป็นทางโค้งลาดลงเขา รถแล่นเข้ามาในช่องขวาซึ่งเป็นช่องเดินรถสวน จำเลยที่ 2 จึงห้ามล้อครั้งแรกและหักรถเข้ามาในช่องเดินรถของตน แต่ไม่สามารถลดความเร็วของรถลงได้ จึงได้ห้ามล้ออย่างแรงรถแล่นเข้ามาในช่องเดินรถของตนด้านซ้ายและเสียหลักเพราะรถยาวและมีน้ำหนักมากจึงพุ่งเข้าชนราวเหล็กกั้นขอบถนนด้านซ้ายจนพลิกคว่ำหงายท้องไป ดังนี้ เหตุที่รถพลิกคว่ำสินค้าที่บรรทุกมาเสียหาย จึงมิได้เกิดแต่เหตุสุดวิสัย จำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งจึงต้องรับผิดในความเสียหายหรือบุบสลายของสินค้าที่อยู่ในระหว่างการขนส่งตามป.พ.พ. มาตรา 616
จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า ต้นทุนของสินค้ามีราคาเพียงกล่องละ444.88 บาท ราคาที่เกินจากนี้เป็นกำไร ค่าขนส่ง และค่าภาษีอากร เมื่อรวมกันแล้วทำให้สินค้ามีราคากล่องละ 516 บาท โจทก์มีสิทธิรับประกันภัยเพียงราคาต้นทุนของสินค้าเท่านั้น จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกราคาส่วนที่เกินจากจำเลยที่ 1 ปัญหาข้อนี้จำเลยที่ 1 มิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การและศาลชั้นต้นมิได้ยกขึ้นวินิจฉัย แม้ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยในปัญหาข้อนี้ก็ต้องถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคแรก ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า ตามแบบพิมพ์ ยพ.6 ก.เลขที่ 465217ลงวันที่ 4 ธันวาคม 2529 ในสำนวนการสอบสวนได้จำกัดความรับผิดของจำเลยที่ 1ไว้ไม่เกิน 100,000 บาท จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดเกินกว่าเงินจำนวนดังกล่าวในชั้นพิจารณาจำเลยที่ 1 ให้การต่อสู้ในปัญหาข้อนี้เพียงว่า หากโจทก์เป็นผู้รับประกันภัยจริง ค่าเสียหายที่จะต้องชดใช้แก่บริษัท อ.ก็ไม่ควรเกินกว่า 100,000 บาท ส่วนจำเลยที่ 2 ให้การต่อสู้ว่า ตามข้อตกลงของจำเลยที่ 1 ในการรับส่งสินค้า จำเลยที่ 1จะรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่สินค้าที่ขนส่งไม่เกิน 300,000 บาท หากสินค้ามีราคาเกินกว่านี้ ผู้ว่าจ้างจะต้องแจ้งให้จำเลยที่ 1 ทราบ แต่ในการรับจ้างขนส่งสินค้าในครั้งนี้ ผู้ว่าจ้างไม่ได้ปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าว คือไม่แจ้งให้จำเลยที่ 1 ทราบว่าสินค้าที่ขนส่งมีราคาเกินกว่า 300,000 บาท หากฟังว่าจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดก็ไม่ควรเกิน 300,000 บาท ดังนี้ จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ยกข้อต่อสู้ในเรื่องมีข้อความยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งในเอกสารที่ผู้ขนส่งออกให้แก่ผู้ส่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 625 ไว้ในคำให้การโดยชัดแจ้ง ฎีกาของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวจึงเป็นเรื่องนอกประเด็นข้อต่อสู้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ตาม ป.พ.พ.มาตรา 616 หน้าที่นำสืบข้อเท็จจริงว่าไม่ต้องรับผิดตกแก่จำเลย ผู้ขนส่งจะต้องนำสืบก่อน การที่ศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทและหน้าที่นำสืบให้โจทก์นำสืบก่อนในครั้งแรก จึงเป็นกรณีที่ไม่ได้ปฏิบัติตาม ป.วิ.พ.ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรม ถือว่าเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ ซึ่งหากศาลที่พิจารณาคดีทราบในภายหลัง ไม่ว่าจะเป็นโจทก์แถลงให้ศาลทราบหรือศาลทราบเอง ศาลก็มีอำนาจที่จะเพิกถอนหรือสั่งแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิมเมื่อใดก็ได้ โดยไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 27 วรรคสอง ดังนั้นการที่โจทก์ยื่นคำร้องคัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นช้ากว่า 8 วัน นับแต่วันทราบคำสั่งศาล จึงหาลบล้างอำนาจของศาลในเรื่องนี้ไม่ คำสั่งศาลชั้นต้นที่กำหนดประเด็นข้อพิพาทใหม่และให้จำเลยนำสืบก่อนในครั้งหลังจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7995/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งสินค้า ความเสียหายจากเหตุสุดวิสัย และประเด็นการกำหนดหน้าที่นำสืบในคดีแพ่ง
จำเลยที่2ขับรถยนต์ลากจูงและรถพ่วงของจำเลยที่1แล่นมาตามถนนพอแล่นเข้าโค้งซึ่งอยู่เชิงเขาถนนเป็นทางโค้งลาดลงเขารถแล่นเข้ามาในช่องขวาซึ่งเป็นช่องเดินรถสวนจำเลยที่2จึงห้ามล้อครั้งแรกและหักรถเข้ามาในช่องเดินรถของตนแต่ไม่สามารถลดความเร็วของรถลงได้จึงได้ห้ามล้ออย่างแรงรถแล่นเข้ามาในช่องเดินรถของตนด้านซ้ายและเสียหลักเพราะรถยาวและมีน้ำหนักมากจึงพุ่งเข้าชนราวเหล็กกั้นขอบถนนด้านซ้ายจนพลิกคว่ำหงายท้องไปดังนี้เหตุที่รถพลิกคว่ำสินค้าที่บรรทุกมาเสียหายจึงมิได้เกิดแต่เหตุสุดวิสัยจำเลยที่1ผู้ขนส่งจึงต้องรับผิดในความเสียหายหรือบุบสลายของสินค้าที่อยู่ในระหว่างการขนส่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา616 จำเลยที่1ฎีกาว่าต้นทุนของสินค้าที่ราคาเพียงกล่องละ444.88บาทราคาที่เกินจากนี้เป็นกำไรค่าขนส่งและค่าภาษีอากรเมื่อรวมกันแล้วทำให้สินค้ามีราคากล่องละ516บาทโจทก์มีสิทธิรับประกันภัยเพียงราคาต้นทุนของสินค้าเท่านั้นจึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกราคาส่วนที่เกินจากจำเลยที่1ปัญหาข้อนี้จำเลยที่1มิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การและศาลชั้นต้นมิได้ยกขึ้นวินิจฉัยแม้ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยในปัญหาข้อนี้ก็ต้องถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคแรกศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย จำเลยที่1ฎีกาว่าตามแบบพิมพ์ยพ.6ก.เลขที่465217ลงวันที่4ธันวาคม2529ในสำนวนการสอบสวนได้จำกัดความรับผิดของจำเลยที่1ไว้ไม่เกิน100,000บาทจำเลยที่1จึงไม่ต้องรับผิดเกินกว่าเงินจำนวนดังกล่าวในชั้นพิจารณาจำเลยที่1ให้การต่อสู้ในปัญหาข้อนี้เพียงว่าหากโจทก์เป็นผู้รับประกันภัยจริงค่าเสียหายที่จะต้องชดใช้แก่บริษัทอ.ก็ไม่ควรเกินกว่า100,000บาทส่วนจำเลยที่2ให้การต่อสู้ว่าตามข้อตกลงของจำเลยที่1ในการรับส่งสินค้าจำเลยที่1จะรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่สินค้าที่ขนส่งไม่เกิน300,000บาทหากสินค้ามีราคาเกินกว่านี้ผู้ว่าจ้างจะต้องแจ้งให้จำเลยที่1ทราบแต่ในการรับจ้างขนส่งสินค้าในครั้งนี้ผู้ว่าจ้างไม่ได้ปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าวคือไม่แจ้งให้จำเลยที่1ทราบว่าสินค้าที่ขนส่งมีราคาเกินกว่า300,000บาทหากฟังว่าจำเลยที่2ต้องรับผิดก็ไม่ควรเกิน300,000บาทดังนี้จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่1ได้ยกขึ้นต่อสู้ในเรื่องมีข้อความยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งในเอกสารที่ผู้ขนส่งออกให้แก่ผู้ส่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา625ไว้ในคำให้การโดยชัดแจ้งฎีกาของจำเลยที่1ดังกล่าวจึงเป็นเรื่องนอกประเด็นข้อต่อสู้ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา616หน้าที่นำสืบข้อเท็จจริงว่าไม่ต้องรับผิดตกแก่จำเลยผู้ขนส่งจะต้องนำสืบก่อนการที่ศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทและหน้าที่นำสืบให้โจทก์นำสืบก่อนในครั้งแรกจึงเป็นกรณีที่ไม่ได้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมถือว่าเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบซึ่งหากศาลที่พิจารณาคดีทราบในภายหลังไม่ว่าจะเป็นโจทก์แถลงให้ศาลทราบหรือศาลทราบเองศาลก็มีอำนาจที่จะเพิกถอนหรือสั่งแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิมเมื่อใดก็ได้โดยไม่อยู่ในบังคับของมาตรา27วรรคสองดังนั้นการที่โจทก์ยื่นคำร้องคัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นช้ากว่า8วันนับแต่วันทราบคำสั่งศาลจึงหาลบล้างอำนาจของศาลในเรื่องนี้ไม่คำสั่งศาลชั้นต้นที่กำหนดประเด็นข้อพิพาทใหม่และให้จำเลยนำสืบก่อนในครั้งหลังจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2809/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้สั่งจ่ายเช็คมีหน้าที่นำสืบข้ออ้างการระงับหนี้ หากไม่สามารถทำได้ ต้องรับผิดตามเช็ค
จำเลยที่ 1 เป็นผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาท ส่วนจำเลยที่ 2เป็นผู้สลักหลัง จำเลยทั้งสองต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 900 จำเลยที่ 1 มีหน้าที่นำสืบให้ได้ความตามข้ออ้างที่ว่า จำเลยที่ 1 สั่งจ่ายเช็คพิพาทให้บริษัท ส.เพื่อเป็นการค้ำประกันการเช่าซื้อรถยนต์จำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อครบแล้ว มูลหนี้ตามเช็คพิพาทระงับไป เมื่อนำสืบไม่ได้ ก็ไม่จำต้องวินิจฉัยพยานหลักฐานของโจทก์เกี่ยวกับมูลหนี้ตามเช็คพิพาทอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5400/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่การนำสืบพยานในคดีที่พิพาทเรื่องการครอบครองที่ดิน: ผู้ฟ้องต้องพิสูจน์ข้ออ้างของตนเอง
โจทก์ฟ้องเรียกที่ดินคืนจากจำเลยทั้งสองโดยอ้างว่าโจทก์มอบที่ดินให้จำเลยทั้งสองทำกินต่างดอกเบี้ย จำเลยทั้งสองให้การต่อสู้ว่า โจทก์ขายที่พิพาทให้จำเลยทั้งสองแล้ว ถือว่าจำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธโดยมิได้ตั้งประเด็นขึ้นมาใหม่เพราะข้อเท็จจริงที่ว่าโจทก์ขายที่ดินให้จำเลยทั้งสองแล้วนั้นเป็นเพียงเหตุผลของการปฏิเสธ โจทก์ต้องมีหน้าที่นำสืบข้อเท็จจริงเพื่อสนับสนุนข้ออ้างตามคำฟ้องของโจทก์ที่ว่า โจทก์มอบที่พิพาทให้จำเลยทั้งสองทำกินต่างดอกเบี้ย ไม่ใช่เป็นหน้าที่ของจำเลยทั้งสองที่จะต้องนำสืบพิสูจน์ว่าลายมือผู้ขายในสัญญาขายที่พิพาทเป็นของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2825/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่นำสืบ & ความชัดเจนของฟ้อง: การที่ศาลไม่อนุญาตให้แก้ไขหน้าที่นำสืบหลังการสืบพยาน และฟ้องไม่เคลือบคลุม
จำเลยทั้งสองยื่นคำแถลงต่อศาลชั้นต้นว่า คำสั่งของศาลชั้นต้นที่กำหนดหน้าที่นำสืบไม่ถูกต้อง ขอให้ทำการชี้สองสถานและกำหนดหน้าที่นำสืบใหม่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาต จำเลยทั้งสองไม่โต้แย้งคำสั่ง ศาลชั้นต้นดำเนินการ-สืบพยานจนเสร็จสำนวนและพิพากษาคดีแล้ว จึงอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งในเรื่องหน้าที่-นำสืบนี้อีกไม่ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (2) และ 247
คำฟ้องกล่าวว่า จำเลยทั้งสองทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์ ได้เบิกเงินเกินบัญชีหลายครั้ง และนำเงินเข้าหักทอนบัญชีตลอดมา คงเป็นหนี้ตามบัญชีกระแสรายวันท้ายฟ้องแล้วผิดสัญญา ขอให้บังคับชำระหนี้พร้อมดอกเบี้ยตามสัญญา คำฟ้องดังกล่าวจึงแสดงโดยแจ้งชัด ซึ่งสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา ส่วนวิธีการคำนวณดอกเบี้ยจากต้นเงินและวันเดือนปีใดแม้โจทก์จะมิได้บรรยายไว้ ก็เป็นเรื่องรายละเอียดซึ่งโจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
หลังจากครบกำหนดสัญญาแล้ว จำเลยทั้งสองยังคงเบิกเงิน-เกินบัญชี และนำเงินเข้าหักทอนบัญชีกับโจทก์ต่อไป เป็นการต่ออายุสัญญาออกไปโดยไม่มีกำหนดระยะเวลาจนกว่าโจทก์หรือจำเลยทั้งสองจะบอกเลิกสัญญา โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นต่อไปจนถึงวันบอกเลิกสัญญากับจำเลยทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2825/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่นำสืบ, ฟ้องไม่เคลือบคลุม, และดอกเบี้ยทบต้นในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี
จำเลยทั้งสองยื่นคำแถลงต่อศาลชั้นต้นว่า คำสั่งของศาลชั้นต้นที่กำหนดหน้าที่นำสืบไม่ถูกต้อง ขอให้ทำการชี้สองสถานและกำหนดหน้าที่นำสืบใหม่ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาต จำเลยทั้งสองไม่โต้แย้งคำสั่ง ศาลชั้นต้นดำเนินการสืบพยานจนเสร็จสำนวนและพิพากษาคดีแล้ว จึงอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งในเรื่องหน้าที่นำสืบนี้อีกไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(2)และ 247 คำฟ้องกล่าวว่า จำเลยทั้งสองทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์ ได้เบิกเงินเกินบัญชีหลายครั้ง และนำเงินเข้าหักทอนบัญชีตลอดมา คงเป็นหนี้ตามบัญชีกระแสรายวันท้ายฟ้องแล้วผิดสัญญาขอให้บังคับชำระหนี้พร้อมดอกเบี้ยตามสัญญา คำฟ้องดังกล่าวจึงแสดงโดยแจ้งชัด ซึ่งสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา ส่วนวิธีการคำนวณดอกเบี้ยจากต้นเงินและวันเดือนปีใดแม้โจทก์จะมิได้บรรยายไว้ ก็เป็นเรื่องรายละเอียดซึ่งโจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม หลังจากครบกำหนดสัญญาแล้ว จำเลยทั้งสองยังคงเบิกเงินเกินบัญชีและนำเงินเข้าหักทอนบัญชีกับโจทก์ต่อไป เป็นการต่ออายุสัญญาออกไปโดยไม่มีกำหนดระยะเวลาจนกว่าโจทก์หรือจำเลยทั้งสองจะบอกเลิกสัญญาโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นต่อไปจนถึงวันบอกเลิกสัญญากับจำเลยทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1425/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโต้แย้งคำสั่งศาลกำหนดประเด็นข้อพิพาทและการกำหนดหน้าที่นำสืบ สิทธิอุทธรณ์มาตรา 226(2) มิใช่คำร้องมาตรา 27
ในวันนัดสืบพยานโจทก์ โจทก์เห็นว่าศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทไม่ถูกต้อง โจทก์จึงยื่นคำร้องโต้แย้งคัดค้านคำสั่งและขอให้กำหนดประเด็นข้อพิพาทและกำหนดหน้าที่นำสืบใหม่ คำร้องโต้แย้งคัดค้านของโจทก์ เป็นการโต้แย้งคัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นเพื่อใช้สิทธิอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(2)กรณีมิใช่คำร้องที่จะต้องยื่นภายใน 8 วัน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 วรรคสอง
of 26