พบผลลัพธ์ทั้งหมด 20 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4062/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนมติสมาคมที่ฝ่าฝืนข้อบังคับ: สิทธิสมาชิกและการหมดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1291
ฟ้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่ที่แก้ไขข้อบังคับและย้ายที่ตั้งของสมาคม อ้างว่าการลงมติเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับมติที่ประชุมใหญ่จึงเป็นมติที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเป็นคำฟ้องขอให้เพิกถอนมติของสมาคมที่ฝ่าฝืนต่อข้อบังคับตามป.พ.พ. มาตรา 1291 ซึ่งสมาชิกมีสิทธิจะร้องขอให้เพิกถอน แต่อย่าให้เนิ่นช้าเกินกว่า 1 เดือนนับแต่วันที่ได้ลงมตินั้น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5059/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิฟ้องคดีบุกรุก: การหมดอายุความและการฟ้องเพื่อเอาคืนการครอบครอง
ในชั้นไต่สวนมูลฟ้องคดีอาญาที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานบุกรุก ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า โจทก์มิได้ครอบครองที่ดินพิพาทในขณะฟ้องคดีนี้ตามที่บรรยายมาในฟ้อง การที่โจทก์มีคำขอให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและต้นไม้ออกจากที่ดินพิพาทและห้ามจำเลยเกี่ยวข้องกับที่ดิน พิพาทมาพร้อมกับฟ้องคดีอาญา ถือได้ว่าเป็นการฟ้องเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครอง ซึ่งโจทก์จะต้องฟ้องภายใน 1 ปี นับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครอง เมื่อปรากฏจากคำเบิกความของโจทก์ในชั้นไต่สวนดังกล่าวว่า โจทก์ฟ้องคดีนี้เกินกว่า 1 ปี นับแต่วันถูกแย่งการครอบครอง โจทก์จึงหมดสิทธิฟ้องแม้จำเลยจะยังมิได้ให้การต่อสู้คดี
ปัญหาเรื่องสิทธิฟ้องร้องของโจทก์เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
ปัญหาเรื่องสิทธิฟ้องร้องของโจทก์เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4264/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงกฎหมายระหว่างการพิจารณาคดีทำให้ความผิดตามฟ้องหมดไป
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยไม่ซื้อหุ้นให้โจทก์ตามที่โจทก์สั่งซื้ออันเป็นความผิดตามมาตรา 21 และมีบทลงโทษตามมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2517 ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกามีพระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2527 ซึ่งใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2527 ยกเลิกความในมาตรา 21 และมาตรา 42 เดิม โดยมิได้บัญญัติถึงลักษณะความผิดที่โจทก์ฟ้องไว้อีก จึงเป็นกรณีที่กฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง มิได้กำหนดให้การกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด ฉะนั้นการกระทำของจำเลยจะเป็นความผิดตามฟ้องหรือไม่ก็ตาม การวินิจฉัยก็ไม่เป็นประโยชน์แก่คดีของโจทก์ เพราะแม้จะเป็นความผิด จำเลยก็พ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 290/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงเจตนาในการยึดถือที่ดินต่างดอกเบี้ยและการหมดอายุความฟ้องแย่งการครอบครอง
จำเลยทำนาของโจทก์ต่างดอกเบี้ย โจทก์ขอไถ่ จำเลยไม่ให้ไถ่อ้างว่าเป็นการขายขาด ดังนี้ เป็นการแสดงเจตนาไม่ยึดถือที่ดินแทนโจทก์ โจทก์ไม่ฟ้องเรียกคืนใน 1 ปี หมดสิทธิตาม มาตรา1375
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 368/2500
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกกล่าวเปลี่ยนแปลงลักษณะการยึดถือและการหมดอายุความฟ้องคดีครอบครองปรปักษ์ กรณีผู้เช่าอ้างพินัยกรรม
ผู้เช่านามือเปล่าไม่ชำระค่าเช่า และบอกผู้ให้เช่าว่ามีผู้ทำพินัยกรรมยกนานั้นให้ผู้เช่าเป็นการบอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะการยึดถือถ้าผู้ให้เช่าไม่ฟ้องใน 1 ปี ก็หมดสิทธิฟ้องเรียกคืนแม้ผู้ให้เช่าฟ้องครั้งหนึ่งแล้วถอนฟ้องเสียผลของการถอนฟ้องทำให้กลับสู่ฐานะเดิมเหมือนไม่มีการฟ้องเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 909/2490 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา แม้ข้อหาอาญาหมดอายุความแล้ว ก็ไม่เป็นเหตุให้ข้อหาแพ่งต้องห้ามฎีกา
ฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา แม้ข้อหาในทางอาญาได้ยุติแล้ว โดยต้องห้ามฎีกา ก็ไม่เป็นเหตุให้ข้อหาในทางส่วนแพ่งซึ่งอาจฎีกาต่อไปอีกได้นั้น ต้องห้ามฎีกาด้วยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9479/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หมดอายุความฟ้องเพิกถอนมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นเกิน 1 เดือน ทำให้ไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์ทั้งสองขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนเพิ่มทุนของบริษัท ซึ่งก็คือขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่วิสามัญผู้ถือหุ้นของบริษัทครั้งที่ 3/2536 เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2536 ครั้งที่ 4/2536 เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2536 และครั้งที่ 5/2536 เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2536 โดยให้โจทก์ทั้งสองและจำเลยทั้งสองถือหุ้นตามอัตราส่วนก่อนการประชุมใหญ่วิสามัญดังกล่าว โดยอ้างว่าการเรียกประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นดังกล่าวให้โจทก์ทั้งสองไม่ชอบ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องขอให้เพิกถอนมติโดยอ้างว่าการประชุมใหญ่วิสามัญนั้นได้นัดเรียกประชุมฝ่าฝืนบทบัญญัติของกฎหมาย ดังนี้การขอให้เพิกถอนมติของที่ประชุมใหญ่อันผิดระเบียบ ป.พ.พ. มาตรา 1195 ต้องยื่นต่อศาลภายในกำหนด 1 เดือน นับแต่วันลงมติ เมื่อโจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้เกินกำหนดระยะเวลาดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2620/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หมดอายุความฟ้องคดีภาษี: แม้มีเหตุผลทางปกครอง การฟ้องต้องเป็นไปตามกำหนด 30 วัน
โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประเมินไม่พอใจการประเมินและคำชี้ขาดเกี่ยวกับวิธีดำเนินการประเมินและจัดเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดินตามหนังสือแจ้งรายการประเมินและคำชี้ขาดซึ่งเป็นคำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบเนื่องจากไม่มีเหตุผลอันประกอบด้วยข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ ข้อกฎหมายที่อ้างอิง ข้อพิพาทและข้อสนับสนุนในการใช้ดุลพินิจตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 มาตรา 39 โจทก์ก็ต้องนำคดีมาฟ้องภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันรับแจ้งความให้ทราบคำชี้ขาดตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2547 มาตรา 31 วรรคหนึ่ง เมื่อโจทก์ได้รับแจ้งความให้ทราบคำชี้ขาดเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2551 แต่โจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2551 จึงพ้นกำหนด 30 วัน นับแต่วันรับแจ้งความให้ทราบคำชี้ขาด โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนใบแจ้งรายการประเมิน (ภ.ร.ด.8) และใบแจ้งคำชี้ขาด (ภ.ร.ด.11) ซึ่งเป็นคำสั่งทางปกครองที่เกี่ยวกับวิธีดำเนินการประเมินและจัดเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดินหากโจทก์ชนะคดีย่อมเป็นผลให้โจทก์ไม่มีความรับผิดในค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินตามการประเมิน จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้และมีทุนทรัพย์ตามจำนวนภาษีโรงเรือนและที่ดินตามการประเมินนั้น
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนใบแจ้งรายการประเมิน (ภ.ร.ด.8) และใบแจ้งคำชี้ขาด (ภ.ร.ด.11) ซึ่งเป็นคำสั่งทางปกครองที่เกี่ยวกับวิธีดำเนินการประเมินและจัดเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดินหากโจทก์ชนะคดีย่อมเป็นผลให้โจทก์ไม่มีความรับผิดในค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินตามการประเมิน จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้และมีทุนทรัพย์ตามจำนวนภาษีโรงเรือนและที่ดินตามการประเมินนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3788/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนนิติกรรมโอนสิทธิเรียกร้องและหนี้สินสมรส: กำหนดระยะเวลาฟ้องร้องและการหมดอายุความ
การที่โจทก์ฟ้องว่าสามีโจทก์นำสินสมรสออกให้จำเลยที่ 1 กู้ และให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 เข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้เงินกู้แทนสามีโจทก์โดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์เป็นการกล่าวหาว่าสามีโจทก์จัดการสินสมรสโดยฝ่าฝืน ป.พ.พ. มาตรา 1476 (เดิม) และมาตรา 1476 (5) ใหม่ โจทก์ในฐานะคู่สมรสฝ่ายที่ได้รับความเสียหายมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการให้กู้เงินและการสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ดังกล่าวได้ตามมาตรา 1480 ที่บัญญัติให้สิทธิแก่โจทก์ไว้ ซึ่งเป็นกรณีที่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นการเฉพาะอยู่แล้ว จะนำบทบัญญัติกรณีเจ้าของกรรมสิทธิ์ใช้สิทธิในฐานะเจ้าของทรัพย์สินติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนตามมาตรา 1336 และบทบัญญัติเรื่องกรรมสิทธิ์รวมตามมาตรา 1357 ถึง 1366 มาใช้บังคับแก่กรณีนี้ไม่ได้
แม้ปรากฏว่าสามีโจทก์ให้จำเลยที่ 1 กู้เงินในปี 2528 อันเป็นเวลาก่อนที่ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.พ.พ. (ฉบับที่ 10)ฯ ใช้บังคับ และแม้โจทก์จะมาฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2539 ซึ่งเป็นเวลาที่กฎหมายที่แก้ไขใหม่ใช้บังคับแล้วก็ตาม แต่ พ.ร.บ. ดังกล่าว มาตรา 63 ให้ใช้กฎหมายก่อนการแก้ไขบังคับซึ่งการเพิกถอนการให้กู้เงินกรณีเช่นนี้ มาตรา 1480 วรรคสาม (เดิม) บัญญัติให้นำความมาตรา 240 มาใช้บังคับโอยอนุโลม อันหมายความว่า โจทก์ต้องฟ้องภายในหนึ่งปีนับแต่รู้เหตุให้เพิกถอนหรือสิบปีนับแต่วันทำนิติกรรมดังกล่าว ดังนั้น ฟ้องโจทก์ที่ขอให้เพิกถอนนิติกรรมการกู้เงินระหว่างสามีโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงเกินกำหนด 10 ปี นับแต่วันทำนิติกรรม ส่วนกรณีที่สามีโจทก์ให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 เข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้แทนสามีโจทก์นั้น ระยะเวลาการเพิกถอนนิติกรรมตามกฎหมายทั้งสองฉบับคงเหมือนเดิม เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า โจทก์ทราบเรื่องดังกล่าวอย่างช้าภายในเดือนธันวาคม 2537 ซึ่งเกินกำหนด 1 ปี ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความทั้งสองกรณี
แม้ปรากฏว่าสามีโจทก์ให้จำเลยที่ 1 กู้เงินในปี 2528 อันเป็นเวลาก่อนที่ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.พ.พ. (ฉบับที่ 10)ฯ ใช้บังคับ และแม้โจทก์จะมาฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2539 ซึ่งเป็นเวลาที่กฎหมายที่แก้ไขใหม่ใช้บังคับแล้วก็ตาม แต่ พ.ร.บ. ดังกล่าว มาตรา 63 ให้ใช้กฎหมายก่อนการแก้ไขบังคับซึ่งการเพิกถอนการให้กู้เงินกรณีเช่นนี้ มาตรา 1480 วรรคสาม (เดิม) บัญญัติให้นำความมาตรา 240 มาใช้บังคับโอยอนุโลม อันหมายความว่า โจทก์ต้องฟ้องภายในหนึ่งปีนับแต่รู้เหตุให้เพิกถอนหรือสิบปีนับแต่วันทำนิติกรรมดังกล่าว ดังนั้น ฟ้องโจทก์ที่ขอให้เพิกถอนนิติกรรมการกู้เงินระหว่างสามีโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงเกินกำหนด 10 ปี นับแต่วันทำนิติกรรม ส่วนกรณีที่สามีโจทก์ให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 เข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้แทนสามีโจทก์นั้น ระยะเวลาการเพิกถอนนิติกรรมตามกฎหมายทั้งสองฉบับคงเหมือนเดิม เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า โจทก์ทราบเรื่องดังกล่าวอย่างช้าภายในเดือนธันวาคม 2537 ซึ่งเกินกำหนด 1 ปี ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความทั้งสองกรณี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1592/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การก่อสร้างในพื้นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินโดยไม่ได้รับอนุญาต และการหมดอายุความของคดี
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ที่ดินที่เกิดเหตุเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทเพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ เป็นที่ดินราชพัสดุ เป็นที่ดินของรัฐ และเป็นที่ดินที่อยู่ในเขตพระราชกฤษฎีกาหวงห้ามที่ดินเพื่อการจัดตั้งนิคมสร้างตนเองจังหวัดลพบุรี ประชาชนไม่สามารถเข้ามาใช้ประโยชน์ได้เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากนิคมสร้างตนเองจังหวัดลพบุรี ดังนั้น การที่จำเลยยึดถือครอบครองและปลูกสร้างสิ่งปลูกสร้างโดยปราศจากเหตุอันจะอ้างตามกฎหมายได้ ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจสั่งให้จำเลย คนงาน ผู้รับจ้าง ผู้แทนและบริวารของจำเลยออกไปจากที่ดินที่เกิดเหตุได้