คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
หมายเรียก

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 77 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 291/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องจำเลยที่ 1 แทนการหมายเรียก และอายุความการฟ้องเรียกทรัพย์สินคืน
ป.พ.พ.มาตรา 234 บัญญัติให้เจ้าหนี้ผู้ใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้จะต้องขอหมายเรียกลูกหนี้เข้ามาในคดีนั้นด้วย ก็เพื่อประสงค์ให้ลูกหนี้ได้มีโอกาสรักษาสิทธิของตน ดังนั้นการที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 เข้ามาในคดีนี้แทนการขอให้ศาลหมายเรียกจำเลยที่ 1 เข้ามาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 57 (3) จึงถือได้ว่ามีการเรียกลูกหนี้เข้ามาในคดีตามความมุ่งหมายของบทบัญญัติดังกล่าวตาม ป.พ.พ.มาตรา 4 แล้ว โจทก์จึงฟ้องจำเลยที่ 1 แทนการขอหมายเรียกจำเลยที่ 1 ให้เข้ามาในคดีได้ หาเป็นเหตุที่จะต้องยกฟ้องโจทก์และไม่เป็นเหตุขัดข้องที่จะพิพากษาให้จำเลยอื่นชำระหนี้แก่โจทก์โดยอ้างว่าโจทก์มิได้หมายเรียกจำเลยที่ 1 เข้ามาในคดีไม่
การที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 โดยมิได้มีคำขอบังคับให้จำเลยที่ 1ชำระหนี้นั้นก็เนื่องจากศาลฎีกาเคยพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้รายเดียวกันนี้ให้แก่โจทก์ไปก่อนแล้ว จึงไม่จำต้องมีคำขอบังคับจำเลยที่ 1 อีก ทั้งเมื่อมิได้มีคำขอบังคับจำเลยที่ 1 ศาลก็พิพากษาบังคับจำเลยที่ 1 ไม่ได้อยู่แล้ว ตาม ป.วิ.พ.มาตรา142 หาเป็นเหตุให้ฟ้องโจทก์ต้องเสียไปถึงกับยกฟ้องโจทก์ไม่ และการฟ้องเรียกทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 คืนจากผู้ถือหุ้นตาม ป.พ.พ.มาตรา 1269 กฎหมายก็มิได้กำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/30การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฟ้องของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนจึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสอง ให้ศาลชั้นต้นรับฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 ไว้แล้วดำเนินกระบวนพิจารณาตั้งแต่ให้จำเลยทั้งแปดยื่นคำให้การใหม่และพิพากษาใหม่ตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 291/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ (บริษัท) แทนการหมายเรียกเข้าศาล และการเรียกทรัพย์สินคืนจากผู้ถือหุ้นเพื่อชำระหนี้ภาษี
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 234 บัญญัติให้เจ้าหนี้ผู้ใช้สิทธิเรียกร้องของ ลูกหนี้จะต้องขอหมายเรียกลูกหนี้เข้ามาในคดีนั้นด้วย ก็เพื่อประสงค์ให้ลูกหนี้ได้มี โอกาสรักษาสิทธิของตน ดังนั้นการที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 เข้ามาในคดีนี้แทนการขอให้ศาลหมายเรียกจำเลยที่ 1 เข้ามาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(3) จึงถือได้ว่ามีการเรียกลูกหนี้เข้ามาในคดีตามความมุ่งหมายของบทบัญญัติ ดังกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4 แล้ว โจทก์จึงฟ้องจำเลยที่ 1 แทนการขอหมายเรียกจำเลยที่ 1 ให้เข้ามาในคดีได้ หาเป็นเหตุที่จะต้องยกฟ้องโจทก์ไม่ทั้งไม่เป็นเหตุขัดข้องที่จะพิพากษาให้จำเลยอื่นชำระหนี้แก่โจทก์โดยอ้างว่าโจทก์ มิได้หมายเรียกจำเลยที่ 1 เข้ามาในคดี โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 โดยมิได้มีคำขอบังคับให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ก็เนื่องจาก ศาลฎีกาเคยพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้รายเดียวกันนี้ให้แก่โจทก์ไปก่อนแล้วจึงไม่จำต้องมีคำขอบังคับจำเลยที่ 1 อีก ทั้งเมื่อมิได้มีคำขอบังคับจำเลยที่ 1 ศาลก็พิพากษาบังคับจำเลยที่ 1 ไม่ได้อยู่แล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 กรณีดังกล่าวหาเป็นเหตุให้ฟ้องโจทก์ต้องเสียไปถึงกับยกฟ้องโจทก์ไม่และการฟ้องเรียกทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 คืนจากผู้ถือหุ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1269 กฎหมายก็มิได้กำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 ดังนี้การที่ศาลชั้นต้น มีคำสั่งไม่รับฟ้องของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสอง ให้ศาลชั้นต้นรับฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 ไว้แล้วดำเนินกระบวนพิจารณา ตั้งแต่ให้จำเลยทั้งหมดยื่นคำให้การใหม่และพิพากษาใหม่ตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5834/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไปยังภูมิลำเนาจำเลยที่ถูกต้องตามกฎหมาย และผลของการรับทราบวันนัด
โจทก์ฟ้องจำเลยโดยบรรยายไว้ในคำฟ้องว่าจำเลยอยู่บ้านเลขที่281 เมื่อเจ้าพนักงานศาลนำหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไปส่งให้จำเลยที่บ้านเลขที่ดังกล่าว แต่ไม่พบจำเลย พบเพียงหญิงอายุประมาณ 40 ปี แจ้งว่าไม่เคยมีชื่อจำเลยอยู่ในบ้านดังกล่าว และไม่ยอมรับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไว้แทน โจทก์จึงต้องยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องเกี่ยวกับภูมิลำเนาของจำเลยเป็นบ้านเลขที่ 482/2ซึ่งการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องในครั้งหลังนี้ จำเลยทราบว่าถูกโจทก์ฟ้องและได้ยื่นคำให้การต่อสู้คดี แสดงว่าจำเลยถือเอาบ้านเลขที่ 482/2 เป็นภูมิลำเนาของจำเลยอีกแห่งหนึ่ง ฉะนั้น การปิดหมายแจ้งวันนัดการขายทอดตลาดให้จำเลยทราบที่บ้านเลขที่ดังกล่าวจึงชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 79 และถือว่าจำเลยทราบวันนัดขายทอดตลาดแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5834/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายเรียกและแจ้งการขายทอดตลาดชอบด้วยกฎหมาย แม้จำเลยไม่ได้พักอาศัยที่ภูมิลำเนาตามทะเบียนบ้าน
โจทก์ฟ้องจำเลยโดยบรรยายไว้ในคำฟ้องว่าจำเลย อยู่บ้านเลขที่ 281 เมื่อเจ้าพนักงานศาลนำหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไปส่งให้จำเลยที่บ้านเลขที่ดังกล่าวแต่ไม่พบจำเลย พบเพียงหญิงอายุประมาณ 40 ปี แจ้งว่าไม่เคยมีชื่อจำเลยอยู่ในบ้านดังกล่าว และไม่ยอมรับหมายเรียก และสำเนาคำฟ้องไว้แทน โจทก์จึงต้องยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้อง เกี่ยวกับภูมิลำเนาของจำเลยเป็นบ้านเลขที่ 482/2 ซึ่งการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องในครั้งหลังนี้ จำเลยทราบว่าถูกโจทก์ฟ้องและได้ยื่นคำให้การต่อสู้คดี แสดงว่าจำเลยถือเอาบ้านเลขที่ 482/2 เป็นภูมิลำเนา ของจำเลยอีกแห่งหนึ่ง ฉะนั้น การปิดหมายแจ้งวันนัด การขายทอดตลาดให้จำเลยทราบที่บ้านเลขที่ดังกล่าว จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 79 และถือว่าจำเลยทราบวันนัดขายทอดตลาดแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3655/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การออกหมายเรียกทหารกองเกินและการฟ้องคดีอาญา การบรรยายฟ้องต้องชัดเจนถึงการออกหมายเรียกและรับทราบ
การกระทำความผิดของทหารกองเกินที่หลีกเลี่ยงหรือขัดขืนไม่ไปให้คณะกรรมการตรวจเลือกทำการตรวจเลือกเข้ารับราชการทหารกองประจำการตาม พ.ร.บ.รับราชการทหาร พ.ศ.2497 มาตรา 45 ต้องประกอบด้วยนายอำเภอได้ออกหมายเรียก และทหารกองเกินได้รับหมายเรียกดังกล่าวแล้วหลีกเลี่ยงหรือขัดขืนไม่ไปให้คณะกรรมการตรวจเลือกทำการตรวจเลือกเข้ารับราชการทหารกองประจำการคดีนี้เหตุเกิดที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานครพ.ศ.2528 มาตรา 69 บัญญัติให้ผู้อำนวยการเขตมีอำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นอำนาจหน้าที่ของนายอำเภอ เมื่ออำนาจหน้าที่ในการออกหมายเรียกตามพ.ร.บ.รับราชการทหาร ฯ มาตรา 45 ดังกล่าว เป็นอำนาจหน้าที่ของผู้อำนวยการเขตดินแดง แต่โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องให้เห็นว่า ผู้อำนวยการเขตดินแดงได้ออกหมายเรียกจำเลยหรือไม่ และจำเลยได้รับหมายเรียกแล้วหรือไม่ ฟ้องโจทก์จึงไม่ได้บรรยายการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดตามที่ ป.วิ.อ.มาตรา 158(5) บัญญัติไว้ ฟ้องโจทก์จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพศาลก็ไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3655/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การออกหมายเรียกทหารกองเกิน: อำนาจหน้าที่ผู้อำนวยการเขตและความครบถ้วนของฟ้อง
การกระทำความผิดของทหารกองเกินที่หลีกเลี่ยงหรือขัดขืนไม่ไปให้คณะกรรมการตรวจเลือกทำการตรวจเลือกเข้ารับราชการทหารกองประจำการตามพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2497มาตรา 45 ต้องประกอบด้วยนายอำเภอได้ออกหมายเรียก และทหารกองเกินได้รับหมายเรียกดังกล่าวแล้วหลีกเลี่ยงหรือขัดขืน ไม่ไปให้คณะกรรมการตรวจเลือกทำการตรวจเลือกเข้ารับราชการทหารกองประจำการคดีนี้เหตุเกิดที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528มาตรา 69 บัญญัติให้ผู้อำนวยการเขตมีอำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นอำนาจหน้าที่ของนายอำเภอ เมื่ออำนาจหน้าที่ในการออกหมายเรียกตามพระราชบัญญัติรับราชการทหาร ฯมาตรา 45 ดังกล่าว เป็นอำนาจหน้าที่ของผู้อำนวยการ เขตดินแดง แต่โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องให้เห็นว่า ผู้อำนวยการเขตดินแดงได้ออกหมายเรียกจำเลยหรือไม่ และจำเลยได้รับหมายเรียกแล้วหรือไม่ ฟ้องโจทก์จึงไม่ได้บรรยายการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)บัญญัติไว้ ฟ้องโจทก์จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้จำเลยจะให้ การรับสารภาพศาลก็ไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 995/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเมื่อไม่ยื่นรายการภายในกำหนด และการออกหมายเรียกตรวจสอบภาษีที่ชอบด้วยกฎหมาย
เมื่อโจทก์ไม่ยื่นรายการซึ่งจำเป็นต้องใช้ในการคำนวณภาษีภายใน150วันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีตามมาตรา69แห่งประมวลรัษฎากรและการออกหมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมินตามมาตรา23ชอบแล้วเจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจประเมินภาษีโจทก์ตามมาตรา24หรือมาตรา71(1)แล้วแต่กรณีโดยถือตามแนวทางปฎิบัติตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ป.5/2527ลงวันที่20พฤศจิกายน2527ข้อ3แม้คำสั่งดังกล่าวจะมิใช่กฎหมายแต่ก็เป็นแนวทางปฎิบัติสำหรับการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา71(1)สำหรับกรณีของโจทก์ปรากฎว่าในรอบระยะเวลาบัญชีปี2533โจทก์ไม่มีภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ต้องชำระเนื่องจากขาดทุนเจ้าพนักงานประเมินจึงประเมินภาษีเงินได้ตามมาตรา71(1)ซึ่งได้ภาษีมากกว่าตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้ดังนั้นการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7279/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลื่อนคดีเมื่อจำเลยยังไม่ได้รับหมายเรียกและโจทก์ขาดนัด สืบเนื่องจากจำเลยยังไม่ได้รับหมายเรียกและไม่ได้ยื่นคำให้การ
ในวันนัดสืบพยานโจทก์นัดแรกนอกจากฝ่ายโจทก์ไม่มาศาลแล้ว จำเลยทั้งสามก็ไม่มาศาลเพราะยังส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยที่ 1 ไม่ได้ ส่วนจำเลยที่ 2 มิได้ยื่นคำให้การภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด แต่ศาลชั้นต้นยังไม่ได้มีคำสั่งว่าจำเลยที่ 2 ขาดนัดยื่นคำให้การ สำหรับจำเลยที่ 3 ที่ได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องก็ยังมีสิทธิยื่นคำให้การภายหลังวันนัดสืบพยานโจทก์นัดแรกนั้น กรณีเช่นนี้แม้โจทก์และพยานโจทก์จะมาศาลก็ไม่อาจสืบพยานโจทก์ได้ ศาลชั้นต้นชอบที่จะสั่งเลื่อนคดีไปเพื่อมีคำสั่งเกี่ยวกับจำเลยทั้งสามเสียก่อน การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาและให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความย่อมไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 330/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งเอกสารตามหมายเรียกศาล: พยานหลักฐานไม่เพียงพอฟังว่าจำเลยร่วมกันปลอมแปลงเอกสาร
โจทก์ไม่มีพยานว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันปลอมเอกสารตามที่โจทก์ขอให้ศาลหมายเรียกอย่างไรโดยเมื่อได้รับหมายเรียกจำเลยทั้งสองได้ให้เจ้าหน้าที่ค้นหาเอกสารดังกล่าวและเมื่อตรวจแล้วเห็นว่าตรงตามหมายเรียกจึงลงลายมือชื่อรับรองสำเนาเอกสารที่ถ่ายจากเอกสารดังกล่าวแล้วส่งศาลโดยปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการพยานโจทก์จึงไม่พอฟังลงโทษจำเลยทั้งสองได้แม้เอกสารซึ่งเป็นต้นฉบับจะถูกปลอมแปลงก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2384/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดยื่นคำให้การ: การส่งหมายเรียกโดยชอบ และการมีภูมิลำเนาหลายแห่ง
การขาดนัดยื่นคำให้การ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 197 วรรคแรกย่อมขึ้นอยู่กับว่าคู่ความฝ่ายนั้นได้รับหมายเรียกให้ยื่นคำให้การโดยชอบแล้วหรือไม่ด้วย ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าการส่งหมายให้จำเลยชอบแล้ว อันมีผลให้จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ จึงตรงประเด็นแล้ว
จำเลยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านตามที่โจทก์ระบุไว้ในคำฟ้องที่จำเลยอ้างว่าจำเลยย้ายไปอยู่ที่อื่นแต่ไม่ได้ย้ายทะเบียนบ้านออกไป ถือได้ว่าจำเลยมีถิ่นที่อยู่หรือหลักแหล่งที่ทำการงานเป็นปกติหลายแห่งจึงให้ถือเอาแห่งใดแห่งหนึ่งเป็นภูมิลำเนาของจำเลย เมื่อจำเลยได้รับหมายเรียกให้ยื่นคำให้การโดยชอบแล้ว จำเลยไม่ยื่นคำให้การภายในกำหนด การขาดนัดยื่นคำให้การของจำเลยจึงเป็นไปโดยจงใจและไม่มีเหตุอันสมควรประการอื่น
of 8