พบผลลัพธ์ทั้งหมด 13 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2600/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากสุขภาพไม่สมบูรณ์และหย่อนสมรรถภาพในการทำงาน
โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยตำแหน่งพนักงานเก็บค่าโดยสารรถประจำทางหลังจากโจทก์เข้าทำงานกับจำเลยได้2เดือนโจทก์ได้ลาป่วยทุกเดือนติดต่อกัน7เดือนโดยลาป่วยเดือนละ1วันถึง8วันแสดงว่าสุขภาพของโจทก์ไม่สมบูรณ์ไม่สามารถตรากตรำในหน้าที่พนักงานเก็บค่าโดยสารอันเป็นงานหนักไว้กรณีถือได้ว่าโจทก์เจ็บป่วยจนหย่อนสมรรถภาพในการทำงานถือเป็นเหตุสมควรที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ได้การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงมิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมทั้งนี้โดยไม่ต้องพิจารณาว่าโจทก์ขาดคุณสมบัติตามพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจพ.ศ.2518มาตรา9(3)และไม่ต้องพิจารณาว่าโจทก์ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำำานของจำเลยหรือไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2725/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างฐานหย่อนสมรรถภาพ ไม่ถือเป็นการฝ่าฝืนระเบียบ หากมีข้อบังคับให้อำนาจเลิกจ้างได้
เมื่อจำเลยมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ฐานหย่อนสมรรถภาพในการปฏิบัติงานและมีความบกพร่องในการปฏิบัติงานอยู่เนือง ๆ ตามข้อบังคับของจำเลยที่ให้อำนาจผู้จัดการเลิกจ้างพนักงานในกรณีดังกล่าวได้ ดังนี้ การที่โจทก์หย่อนสมรรถภาพและมีความบกพร่องในการปฏิบัติงานจึงมิใช่เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงาน ถือไม่ได้ว่าการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เป็นการเลิกจ้างในกรณีฝ่าฝืนระเบียบเกี่ยวกับการทำงานตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 47(3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2725/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างฐานหย่อนสมรรถภาพ ไม่ถือเป็นการเลิกจ้างเพราะฝ่าฝืนระเบียบ จึงต้องจ่ายค่าชดเชย
เมื่อจำเลยมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ฐานหย่อนสมรรถภาพในการปฏิบัติงานและมีความบกพร่องในการปฏิบัติงานอยู่เนือง ๆ ตามข้อบังคับของจำเลยที่ให้อำนาจผู้จัดการเลิกจ้างพนักงานในกรณีดังกล่าวได้ ดังนี้ การที่โจทก์หย่อนสมรรถภาพและมีความบกพร่องในการปฏิบัติงานจึงมิใช่เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงาน ถือไม่ได้ว่าการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เป็นการเลิกจ้างในกรณีฝ่าฝืนระเบียบเกี่ยวกับการทำงานตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 47(3)