คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
หลักกฎหมาย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 15 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1067/2484

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีอาญาซ้ำกับจำเลยอื่น ศาลพิจารณาว่าคดีไม่เกี่ยวพันกันตามหลักกฎหมาย
โจทก์เคยฟ้องคนอื่นเป็นจำเลยฐานฆ่าคนตายรายนี้ ศาลยกฟ้องคดีถึงที่สุดไปแล้ว โจทก์มาฟ้องจำเลยฐานฆ่าคนตายรายเดียวกันนั้นได้ ถ้าจำเลยต่างคนกัน คดีย่อมไม่อยู่ในบังคับวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 39(4)
อ้างฎีกาที่ 1048/2478

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 504/2483

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อผิดพลาดในการดำเนินคดีอาญา: ฟ้องผิดฐานความผิด ศาลยกฟ้องตามหลักกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ฟ้องขอให้ ลงโทษตาม ม.249 ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยทำผิดตาม ม.252ลงโทษจำเลยไม่ได้อ้างฎีกา532/2480

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 424/2554 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับโทษจำคุกต่อจากคดีอื่น แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 จะพิพากษาเปลี่ยนโทษเป็นกักขังก็ยังคงทำได้ตามหลักกฎหมาย
บทบัญญัติ ป.อ. มาตรา 22 เป็นบทกำหนดหลักเกณฑ์ในการบังคับโทษจำคุกว่า ให้เริ่มนับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาโดยมีข้อยกเว้นในกรณีที่ศาลจะมีคำพิพากษาเป็นอย่างอื่น การที่ศาลมีคำพิพากษาให้นับโทษจำคุกจำเลยติดต่อกับโทษในคดีอาญาอื่น ย่อมมีความหมายว่าคำพิพากษาได้กล่าวถึงเวลาเริ่มการบังคับโทษจำคุกไว้เป็นอย่างอื่น โดยไม่ให้เริ่มนับแต่วันมีคำพิพากษาตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดข้างต้น
เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าคดีอาญาที่โจทก์ขอให้นับโทษจำเลยต่อนั้น ศาลอุทธรณ์ภาค 2 มีคำพิพากษาให้ลงโทษจำคุกจำเลยแม้จะพิพากษาให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นโทษกักขังแทน ก็ไม่เป็นการต้องห้ามที่ศาลจะกำหนดเวลาเริ่มการบังคับโทษจำคุกจำเลยในคดีนี้เป็นอย่างอื่นด้วยการให้นับโทษจำคุกจำเลยติดต่อกับโทษในคดีดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11102/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการซ้ำซ้อนขัดหลักกฎหมาย อนุญาโตตุลาการชุดหลังมีคำชี้ขาดขัดต่อความสงบเรียบร้อย
คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการชุดก่อนได้มีการจัดส่งสำเนาคำชี้ขาดถึงผู้ร้องและผู้คัดค้านโดยชอบแล้ว ย่อมเป็นที่สุดและผูกพันคู่กรณี ตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530 มาตรา 22 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 21 วรรคสี่
กำหนดระยะเวลาที่มาตรา 23 วรรคหนึ่ง กำหนดให้คู่กรณีมีสิทธิที่จะยื่นคำร้องขอต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อให้ศาลมีคำพิพากษาตามคำชี้ขาดภายในกำหนดเวลาหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้ส่งสำเนาคำชี้ขาดนั้น หมายถึงเฉพาะกรณีที่มีคู่กรณีฝ่ายใดไม่ยอมปฏิบัติตามคำชี้ขาดและจำเป็นที่คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งจะต้องบังคับให้คู่กรณีฝ่ายนั้นยอมปฏิบัติตามคำชี้ขาดเท่านั้น เมื่อคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการชุดก่อนไม่เข้าเกณฑ์ที่ผู้คัดค้านจำเป็นจะต้องร้องขอให้ศาลบังคับให้ผู้ร้องยอมปฏิบัติตามคำชี้ขาด แม้ผู้คัดค้านมิได้ยื่นคำร้องขอต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อให้ศาลมีคำพิพากษาตามคำชี้ขาดภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 23 วรรคหนึ่งดังกล่าว คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการชุดก่อนก็ยังมีผลผูกพันคู่กรณีอยู่ หาสิ้นผลบังคับไปไม่ ดังนั้น การนำข้อพิพาทที่ได้มีการวินิจฉัยชี้ขาดไปแล้วโดยอนุญาโตตุลาการชุดก่อนซึ่งคำชี้ขาดเป็นที่สุดและยังคงมีผลผูกพันคู่กรณีอยู่ไปรื้อร้องขอต่ออนุญาโตตุลาการชุดหลังให้พิจารณาชี้ขาดซ้ำอีก ย่อมเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย และถือได้ว่าคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการชุดหลังขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนที่ศาลมีอำนาจทำคำสั่งปฏิเสธการขอบังคับตามคำชี้ขาดได้
การที่อนุญาโตตุลาการชุดหลังได้รับคำเสนอข้อพิพาทของผู้ร้องไว้พิจารณาแล้วมีคำชี้ขาดใหม่ ฉบับลงวันที่ 3 ธันวาคม 2544 เป็นคำชี้ขาดที่ไม่ชอบด้วยมาตรา 23 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530 อันเป็นกฎหมายที่มีผลใช้บังคับอยู่ในขณะที่มีคำชี้ขาด เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องขอต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ให้มีคำพิพากษาตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการชุดหลังในวันที่ 5 มิถุนายน 2545 ซึ่งเป็นเวลาภายหลังวันที่ พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มีผลใช้บังคับแล้ว กรณีย่อมต้องด้วยหลักเกณฑ์ตามมาตรา 44 แห่ง พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 ที่ให้อำนาจศาลที่จะทำคำสั่งปฏิเสธการขอบังคับตามคำชี้ขาดนั้นได้ถ้าปรากฏต่อศาลว่าการบังคับตามคำชี้ขาดนั้นจะเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 6/2551)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2164/2561

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลดโทษทางอาญา: ลดโทษแต่ละกระทงก่อนแล้วจึงรวมโทษ เพื่อประโยชน์แก่จำเลยตามหลักกฎหมาย
เมื่อการกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ศาลชั้นต้นต้องลดโทษแต่ละกระทงก่อนแล้วจึงรวมโทษ เพราะ ป.อ. มาตรา 21 วรรคสอง บัญญัติว่า "หากกำหนดโทษจำคุกเป็นเดือน ให้นับสามสิบวันเป็นหนึ่งเดือน..." การกำหนดโทษ 12 เดือน จึงเท่ากับ 360 วัน แต่หากรวมโทษทุกกระทงเป็นจำคุก 2 ปี แล้วจึงลดโทษให้จำเลยกึ่งหนึ่งตาม ป.อ. มาตรา 78 คงจำคุก 1 ปี ย่อมเป็นผลร้ายแก่จำเลยมากกว่า
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2561)
of 2