คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
หลักฐานหนังสือ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 66 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4805/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติสัมพันธ์การให้ทุนหมุนเวียนทำประมง ไม่ใช่การกู้ยืม สัญญาต่างตอบแทนฟ้องร้องได้ไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ
โจทก์ประกอบกิจการแพปลา รับซื้อสัตว์น้ำจากผู้ประกอบอาชีพประมง ลักษณะการประกอบกิจการของโจทก์นอกจากรับซื้อสัตว์น้ำแล้วโจทก์ยังให้ยืมเงินและทดรองจ่ายค่าใช้จ่ายและค่าอุปกรณ์เกี่ยวกับเรือประมงของผู้ซึ่งนำสัตว์น้ำมาขายแก่โจทก์ การชำระคืนตกลงให้หักเอาจากค่าปลาหรือสัตว์น้ำที่นำมาขาย จำเลยเป็นเจ้าของเรือประมง 4 ลำ และเป็นผู้นำปลามาขายแก่โจทก์ โดยโจทก์ให้จำเลยยืมเงินและทดรองจ่ายจ่ายค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เกี่ยวกับประมงของจำเลยไปก่อนเมื่อจำเลยนำสัตว์น้ำมาขายแก่โจทก์ โจทก์จึงคิดหักหนี้เงินที่จำเลยรับล่วงหน้าและทดรองจ่ายไป ดังนี้นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยดังกล่าวมิใช่เป็นการกู้ยืม แต่เป็นการรับเงินไปเป็นทุนหมุนเวียนในการทำการประมงของจำเลยกล่าวคือโจทก์รับดำเนินการในภาระต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเฉพาะกับเรือประมงที่จะออกทะเลโดยมุ่งที่จะซื้อสัตว์น้ำจากเรือของจำเลย สำหรับค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่โจทก์ออกไปจะนำมาหักกับค่าซื้อขายสัตว์น้ำที่เรือแต่ละลำได้มา ต่างกับการกู้ยืมเงินทั่ว ๆ ไปที่ไม่มีข้อผูกมัดว่าจะต้องใช้จ่ายเงินได้เฉพาะเรื่อง และถือเอาผลประโยชน์จากดอกเบี้ยเป็นสำคัญ นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นสัญญาต่างตอบแทนประเภทหนึ่ง เป็นนิติกรรมที่ไม่มีแบบย่อมสมบูรณ์ด้วยการแสดงเจตนาและฟ้องร้องบังคับกันได้โดยไม่จำต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือมาแสดง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9121/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คชำระหนี้ที่อาจบังคับได้ แม้ไม่มีหลักฐานหนังสือ แต่จำเลยออกเช็คในขณะที่ไม่มีเงินในบัญชี
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา653วรรคหนึ่งเป็นกรณีหนึ่งหนี้เงินจำนวนดังกล่าวไม่มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งแต่สำหรับคดีนี้โจทก์มีหลักฐานเป็นหนังสือเอกสารหมายจ.1มาแสดงและจำเลยนำสืบรับว่าได้กู้ยืมเงินจำนวนดังกล่าวจากผู้เสียหายจริงสัญญากู้ยืมเงินอาจจะรวมเงินจำนวนที่กู้ยืมกันในครั้งก่อนๆมารวมไว้ในสัญญากู้ยืมเงินฉบับเดียวกันได้ไม่มีกฎหมายห้ามดังนั้นการที่ผู้เสียหายนำเงินจำนวน700,000บาทที่ให้จำเลยกู้ยืมไปเมื่อวันที่11เมษายน2537มารวมกับเงินจำนวน800,000บาทที่ให้จำเลยกู้ยืมอีกเมื่อวันที่21เมษายน2537รวมเป็นเงิน1,500,000บาทจึงชอบที่จะทำได้และเป็นหนี้ที่อาจบังคับได้ตามกฎหมายหากผู้เสียหายนำหลักฐานการกู้ยืมเงินตามเอกสารหมายจ.1มาฟ้องเรียกเงินจำนวนดังกล่าวในทางแพ่งจำเลยก็อาจจะต้องรับผิดตามจำนวนที่ปรากฏในเอกสารนั้นเมื่อจำเลยทำหลักฐานการกู้ยืมตามเอกสารหมายจ.1แล้วในวันเดียวกันจำเลยออกเช็คสั่งจ่ายเงินจำนวนเดียวกันกับที่กู้ยืมโดยลงวันที่ล่วงหน้าไว้ตรงกับกำหนดที่จะต้องชำระคืนหนี้เงินที่กู้ยืมนั้นจึงเป็นการออกเช็คชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6749/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ การรับผิดในฐานะลูกหนี้ร่วม และอายุความสัญญาประนีประนอมยอมความ
สัญญาค้ำประกันต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกันถึงจะฟ้องร้องบังคับคดีได้ จึงต้องห้ามมิให้รับฟังพยานบุคคลเพื่อเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงแก้ไขตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข) การที่ผู้ร้องอ้างและนำสืบด้วยพยานบุคคลว่ามีข้อตกลงนอกจากสัญญาค้ำประกันเป็นการเพิ่มเติมเอกสารสัญญาค้ำประกันจึงต้องห้ามมิให้รับฟัง สัญญาค้ำประกันที่ผู้ร้องทำไว้มีข้อความว่า หากลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้แก่เจ้าหนี้หรือลูกหนี้ถูกศาลสั่งให้เป็นบุคคลล้มละลาย เป็นบุคคลไร้ความสามารถหรือเป็นผู้สาบสูญหรือตาย หรือไปเสียจากถิ่นที่อยู่โดยหาตัวไม่พบ หรือกรณีอื่นใดที่ทำให้เจ้าหนี้ไม่ได้รับชำระหนี้จนครบถ้วนผู้ค้ำประกันยอมเข้ารับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมหมายความว่าผู้ร้องยอมรับผิดร่วมกับลูกหนี้ในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วมผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ก่อน สิทธิเรียกร้องตามสัญญาประนีประนอมยอมความ แม้มีข้อความว่าลูกหนี้จะผ่อนชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้เป็นรายเดือนก็มีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/32 มิใช่มีอายุความ 5 ปี ตามมาตรา 193/33เพราะมิใช่เงินที่ต้องผ่อนชำระเพื่อผ่อนทุนคืนเป็นงวด ๆ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8504/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดินต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ การรับฟังพยานบุคคลจึงมีข้อจำกัด และสัญญาจะให้ทรัพย์สินต้องจดทะเบียนจึงมีผลผูกพัน
สัญญาจะซื้อจะขายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 456 วรรคสอง บังคับว่าต้องมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อฝ่ายผู้ต้องรับผิดเป็นสำคัญจึงจะฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ เป็นกรณีที่กฎหมายบังคับให้ต้องมีเอกสารมาแสดง การรับฟังพยานหลักฐานในกรณีเช่นนี้ต้องอยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94 กล่าวคือจะนำพยานบุคคลมาสืบว่า ยังมีข้อความเพิ่มเติมหรือนอกเหนือไปจากที่ปรากฏในสัญญาจะซื้อจะขายไม่ได้ จำเลยสัญญาว่ายินยอมจะไปโอนที่ดินพิพาทให้โจทก์เป็นสัญญาหรือคำมั่นว่าจะให้ทรัพย์สินซึ่งจะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงจะบังคับกันได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 526 แต่สัญญายินยอมให้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงไม่มีผลผูกพันจำเลยให้ต้องรับผิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 667/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขาย: การพิสูจน์ข้อตกลงเพิ่มเติมขัดกับหลักฐานหนังสือ และผลของการผิดนัดตามสัญญา
โจทก์จำเลยตกลงทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทเป็นหนังสือ แม้มีการวางเงินมัดจำด้วย การวางเงินมัดจำก็เป็นแต่เพียงข้อสัญญาข้อหนึ่งเท่านั้น ไม่ใช่ตกลงทำสัญญากันด้วยการวางเงินมัดจำ การฟ้องร้องให้บังคับคดีจึงต้องอาศัยหลักฐานตามหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายที่ทำไว้ กรณีจึงต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94(ข) ที่ห้ามมิให้คู่ความนำสืบพยานบุคคลว่ายังมีข้อความเพิ่มเติมนอกเหนือจากสัญญาอยู่อีก การที่จำเลยนำสืบพยานบุคคลว่ายังมีข้อตกลงว่า ถ้าผู้เช่าที่ดินพิพาทตกลงจะซื้อโจทก์ยอมคืนเงินมัดจำและถือว่าสัญญาเป็นอันยกเลิกกันนอกเหนือข้อตกลงในสัญญาจึงต้องห้ามมิให้รับฟังและถือไม่ได้ว่ามีข้อตกลงดังกล่าว สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกำหนดวันนัดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทและชำระราคาส่วนที่เหลือไว้แน่นอน จำเลยไม่ไปตามนัดจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์มีอำนาจฟ้องให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3583/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้เงินกู้ยืมโดยตัวแทนและหลักฐานหนังสือ
จำเลยทั้งสองได้ชำระหนี้เงินกู้ยืม โดยมอบฉันทะให้โจทก์ผู้ให้กู้นำไปถอนเงินจากบัญชีเงินฝากธนาคารของจำเลยเอง เมื่อจำเลยทั้งสองมีหลักฐานที่โจทก์เป็นตัวแทนจำเลย และโจทก์ลงลายมือชื่อเป็นผู้รับเงินตามใบถอนเงินจากบัญชีเงินฝากของจำเลยมาแสดง จึงถือได้ว่าเป็นการนำสืบการใช้เงินโดยมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ให้ยืมมาแสดง ตาม ป.พ.พ. มาตรา653 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3583/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ด้วยการมอบฉันทะให้ถอนเงินจากบัญชีผู้กู้ ถือเป็นการใช้เงินโดยมีหลักฐานเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้กู้ได้ชำระหนี้เงินกู้ยืมแก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ให้กู้โดยมอบฉันทะให้โจทก์ไปถอนเงินจากธนาคารที่จำเลยทั้งสองมีบัญชีเงินฝากเอง ดังนี้ เมื่อจำเลยทั้งสองมีหลักฐานที่โจทก์เป็นตัวแทนจำเลยดังกล่าวและโจทก์ลงลายมือชื่อเป็นผู้รับเงินตามใบถอนเงินจากบัญชีเงินฝากของจำเลยมาแสดง จึงถือได้ว่าเป็นการนำสืบการใช้เงินโดยมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ให้ยืมมาแสดง ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา653 วรรคสอง แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3046/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายข้าวนึ่งที่ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 456 วรรคสอง สัญญาเป็นโมฆะ
การที่โจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคลมีภูมิลำเนาอยู่ในต่างประเทศตกลงซื้อขายข้าวนึ่งกับจำเลยที่ 1 ซึ่งภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทยโดยทางโทรพิมพ์ และโจทก์ได้เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตมายังเครดิตธนาคาร ก. เพื่อชำระเงินค่าข้าวนึ่งตามที่มีการติดต่อกันไว้ทางโทรพิมพ์แล้วก็ตาม เมื่อการตกลงซื้อขายข้าวนึ่งดังกล่าวไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อจำเลยทั้งสองผู้ต้องรับผิดหรือได้วางประจำหรือได้ชำระหนี้บางส่วนแล้ว ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรคสอง โจทก์จึงไม่สามารถฟ้องร้องบังคับแก่จำเลยทั้งสองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4866/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนเชิดทำสัญญาประนีประนอมยอมความไม่ต้องมีหลักฐานการตั้งตัวแทนเป็นหนังสือ
บันทึกข้อตกลงเรื่องค่าเสียหายที่สามีโจทก์ทำไว้กับจำเลยมีลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ ซึ่งต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือการตั้งตัวแทนเพื่อไปทำสัญญาประนีประนอมยอมความก็จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 798แต่ปรากฏว่าในการไปทำบันทึกข้อตกลงเรื่องค่าเสียหายดังกล่าวโจทก์ได้แสดงออกหรือยอมให้สามีโจทก์แสดงออกว่าเป็นตัวแทนโจทก์ไปทำบันทึกข้อตกลงเรื่องค่าเสียหายกับจำเลย อันเป็นเรื่องตัวแทนเชิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 821 ไม่อยู่ในบังคับมาตรา 798 ที่จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ แม้โจทก์มิได้มีหนังสือตั้งให้สามีโจทก์ไปทำบันทึกข้อตกลงดังกล่าวกับจำเลย โจทก์ในฐานะตัวการก็ต้องผูกพันรับผิดต่อจำเลยตามข้อตกลงนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1717/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดเช็ค: หนี้นอกเหนือหลักฐานหนังสือ ไม่อาจฟ้องร้องตามกฎหมายเช็คฉบับใหม่
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยกระทำความผิด แต่ขณะคดีอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกากฎหมายฉบับที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยได้ถูกยกเลิกไปแล้วมีกฎหมายฉบับใหม่คือ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 ออกมาใช้บังคับแทน ปรากฏว่ากฎหมายฉบับใหม่ที่ออกภายหลัง การออกเช็คที่จะเป็นความผิดนั้นต้องเป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย คดีนี้โจทก์นำสืบว่า จำเลยออกเช็คตามฟ้องให้แก่ผู้เสียหายเพื่อชำระหนี้เงินที่กู้ยืมไปโดยมิได้ทำหลักฐานแห่งการกู้ยืมกันไว้ เมื่อหนี้เงินกู้ยืมระหว่างผู้เสียหายกับจำเลยมีจำนวนเกินกว่าห้าสิบบาทและไม่มีการทำหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินไว้เป็นหนังสือ จึงเป็นหนี้ที่ต้องห้ามตามกฎหมายมิให้ฟ้องร้องขอให้บังคับคดี การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534มาตรา 4 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในภายหลัง
of 7