พบผลลัพธ์ทั้งหมด 183 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1379/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกัน-การถอนเงินฝาก: สิทธิถอนเงินฝากเมื่อหนี้ลดลง, การยึดถือสมุดคู่ฝากเป็นหลักประกัน
ความในสัญญาข้อ 8 มีว่า เพื่อเป็นหลักประกัน ผู้ค้ำประกันยอมมอบสมุดคู่ฝากประจำตามข้อ 6 และข้อ 7 ให้ธนาคารยึดถือไว้เป็นหลักประกันตลอดไปจนกว่าธนาคารจะได้รับชำระหนี้จากผู้กู้ครบถ้วน มีความหมายว่าธนาคารจำเลยเพียงยึดถือสมุดคู่ฝากประจำไว้เป็นประกัน ไม่ให้โจทก์ผู้ค้ำประกันถอนเงินโดยผิดเงื่อนไขตามสัญญาข้อ 7 เมื่อสัญญาข้อ 7 ระบุให้โจทก์ถอนเงินฝากได้ต่อเมื่อจำนวนหนี้ที่ผู้กู้เป็นหนี้ธนาคารลดลงเหลือไม่เกินราคาของหลักทรัพย์ที่ธนาคารประเมิน ซึ่งข้อเท็จจริงยุติว่าหนี้ของผู้กู้ลดลงดังกล่าวแล้ว ดังนั้น จำเลยจึงไม่อาจกันเงินฝากของโจทก์ไว้จนกว่าลูกหนี้ของจำเลยชำระหนี้หมดสิ้น
จำเลยทราบดีอยู่แล้วว่ามีพยานเอกสารอะไรบ้างที่จะต้องนำมาสืบเพื่อประโยชน์แก่คดีของตน และจำเลยสามารถยื่นบัญชีระบุพยานดังกล่าวได้ การที่จำเลยต้องให้พนักงานของจำเลยค้นหาเอกสารหลายครั้งจึงพบนั้น ย่อมถือเป็นความบกพร่องล่าช้าของพนักงานจำเลย อันเป็นเรื่องภายในของจำเลยเอง จึงไม่ใช่กรณีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 วรรคสาม และตามคำให้การของจำเลยก็ไม่ปรากฏว่ามีประเด็นอันเกี่ยวกับเอกสารดังกล่าวอันจะถือว่าเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีซึ่งจะต้องนำสืบเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมตามความในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87(2) กรณีจึงไม่มีเหตุที่จะให้รับบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมดังกล่าวของจำเลยได้ตามกฎหมาย
จำเลยทราบดีอยู่แล้วว่ามีพยานเอกสารอะไรบ้างที่จะต้องนำมาสืบเพื่อประโยชน์แก่คดีของตน และจำเลยสามารถยื่นบัญชีระบุพยานดังกล่าวได้ การที่จำเลยต้องให้พนักงานของจำเลยค้นหาเอกสารหลายครั้งจึงพบนั้น ย่อมถือเป็นความบกพร่องล่าช้าของพนักงานจำเลย อันเป็นเรื่องภายในของจำเลยเอง จึงไม่ใช่กรณีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 วรรคสาม และตามคำให้การของจำเลยก็ไม่ปรากฏว่ามีประเด็นอันเกี่ยวกับเอกสารดังกล่าวอันจะถือว่าเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีซึ่งจะต้องนำสืบเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมตามความในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87(2) กรณีจึงไม่มีเหตุที่จะให้รับบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมดังกล่าวของจำเลยได้ตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5437/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำนำทรัพย์สินเพื่อไถ่ถอนจากการขายฝาก ไม่ถือเป็นยักยอกทรัพย์ หากมีหลักประกันชัดเจน
โจทก์มีอาชีพขายเครื่องประดับอัญมณี โจทก์นำเครื่องประดับอัญมณีไปขายฝากหรือจำนำที่ห้างทอง พ. เป็นเงิน 3 ล้านบาทเศษ ต่อมาโจทก์ขอให้จำเลยที่ 1 ช่วยเหลือโดยการไถ่ทรัพย์สินดังกล่าวให้ ซึ่งแน่นอนว่าโจทก์ต้องมีหลักประกันที่น่าเชื่อถือให้แก่จำเลยที่ 1 เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 มีความสนิทสนมกันเป็นพิเศษถึงขนาดที่จำเลยที่ 1 จะนำเงินจำนวนมากไปไถ่ทรัพย์สินให้โจทก์โดยไม่มีค่าตอบแทนหรือหลักประกัน เมื่อจำเลยที่ 1 ไถ่ทรัพย์สินมาแล้วโจทก์ได้ส่งมอบทรัพย์สินนั้นให้แก่จำเลยที่ 1 ทันทีเพื่อเป็นหลักประกันหนี้ ย่อมเข้าลักษณะเป็นการจำนำตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 747 จำเลยที่ 1 ผู้รับจำนำชอบที่จะยึดของจำนำไว้ได้ทั้งหมดจนกว่าจะได้รับชำระหนี้และค่าอุปกรณ์ครบถ้วนตามมาตรา 758ส่วนการที่โจทก์ตกลงให้จำเลยที่ 1 นำทรัพย์สินไปขายให้แก่บุคคลอื่นโดยโจทก์กำหนดราคาขายให้นั้น ก็เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 ผู้รับจำนำจะช่วยขายทรัพย์สินที่จำนำให้แก่โจทก์เพื่อนำเงินมาชำระหนี้คืนแก่จำเลยที่ 1 เท่านั้น มิใช่เรื่องตัวการตัวแทนทั้งข้อเท็จจริงก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้ขายทรัพย์สินจำนำให้แก่จำเลยที่ 2 แล้วหรือไม่ แต่กลับได้ความจากโจทก์เองว่า จำเลยที่ 2 มีหนังสือทวงถามให้โจทก์ชำระเงินเพื่อชำระหนี้จำนำทรัพย์สินดังกล่าวให้เสร็จภายใน 30 วัน อันเป็นการแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 มิใช่ผู้ซื้อทรัพย์สินของโจทก์จากจำเลยที่ 1 แต่อย่างใด ดังนั้น แม้หากจะฟังว่าจำเลยที่ 1 ได้ขายทรัพย์สินไปแล้วและยังไม่ได้ชำระเงินค่าทรัพย์สินส่วนที่เหลือจากการหักชำระหนี้จำนำคืนให้แก่โจทก์ก็ตาม ก็เป็นเรื่องผิดสัญญาทางแพ่งที่โจทก์ต้องฟ้องร้องขอชำระหนี้ที่จำนำหรือเรียกราคาทรัพย์สินคืนจากจำเลยทั้งสองเท่านั้น จำเลยทั้งสองไม่มีความผิดฐานยักยอก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2162/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ความเป็นเจ้าของเงินสดหลักประกัน: ความสัมพันธ์ทนาย-ลูกความ และพยานหลักฐานสนับสนุน
ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ร้องกับจำเลยเป็นเพียงทนายความกับลูกความ ไม่ปรากฏว่าผู้ร้องเป็นญาติ หรือมีความสัมพันธ์ในการที่จะนำเงินสดถึง 200,000 บาท มาเป็นหลักประกันให้จำเลย อนึ่ง ป.วิ.อ. มาตรา 118 บัญญัติให้คืน
หลักประกันแก่ผู้ที่ควรรับไป เมื่อจำเลยยื่นคำคัดค้านว่าเงินที่วางประกันเป็นของจำเลยและพยานของจำเลยเบิกความเป็นลำดับเชื่อมโยงกันมีเหตุผลมีน้ำหนักดีกว่าพยานหลักฐานของผู้ร้องที่ศาลชั้นต้นส่งคืนหลักประกันตามสัญญาค้ำประกันให้แก่จำเลยจึงชอบแล้ว
หลักประกันแก่ผู้ที่ควรรับไป เมื่อจำเลยยื่นคำคัดค้านว่าเงินที่วางประกันเป็นของจำเลยและพยานของจำเลยเบิกความเป็นลำดับเชื่อมโยงกันมีเหตุผลมีน้ำหนักดีกว่าพยานหลักฐานของผู้ร้องที่ศาลชั้นต้นส่งคืนหลักประกันตามสัญญาค้ำประกันให้แก่จำเลยจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1441/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพราง: สัญญาขายฝากเป็นเพียงกลบเกลื่อนการกู้ยืมเงิน สัญญาเดิมตกเป็นโมฆะ
โจทก์และจำเลยมีเจตนาทำสัญญากู้ยืมเงินกันโดยจำเลยนำโฉนดที่ดินมาวางเป็นหลักประกันตั้งแต่ต้น มิได้มีเจตนาที่จะทำสัญญาขายฝากที่ดินและบ้านพิพาท สัญญาขายฝากที่ทำไว้จึงเป็นนิติกรรมอำพรางการกู้ยืมเงินและตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 118 วรรคหนึ่ง (มาตรา 155 วรรคหนึ่ง ที่แก้ไขใหม่) ต้องบังคับตามสัญญากู้ยืมเงินซึ่งเป็นนิติกรรมที่ถูกอำพรางไว้ตามมาตรา 118 วรรคสอง (มาตรา 155 วรรคสอง ที่แก้ไขใหม่) โดยถือว่าจำเลยได้มอบโฉนดที่ดินและบ้านพิพาทให้โจทก์ยึดถือไว้เป็นประกันหนี้เงินกู้ยืมเท่านั้น แต่จำเลยยังชำระต้นเงินและดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ไม่ครบถ้วนจำเลยยังไม่มีสิทธิขอให้โจทก์คืนโฉนดที่ดินพิพาท และเมื่อการขายฝากที่ดินพิพาทตกเป็นโมฆะ ศาลก็ชอบที่จะพิพากษาให้เพิกถอนเสีย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1441/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพราง: สัญญาขายฝากเพื่อปิดบังการกู้ยืมเงิน โมฆะและบังคับตามสัญญากู้ยืม
โจทก์จำเลยเจตนาผูกพันในเรื่องการกู้ยืมเงิน สัญญาขายฝากที่ทำไว้จึงเป็นนิติกรรมอำพรางการกู้ยืมเงินและตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 118 เดิม วรรคหนึ่ง ต้องบังคับตามสัญญากู้ยืมเงินซึ่งเป็นนิติกรรมที่ถูกอำพรางไว้ตามมาตรา 118 เดิม วรรคสองโดยถือว่าจำเลยได้มอบโฉนดที่ดินและบ้านพิพาทให้โจทก์ยึดถือไว้เป็นประกันหนี้เงินกู้ยืมเท่านั้น ทั้งจะต้องฟังว่าจำเลยได้กู้ยืมเงินโจทก์ จำเลยจึงไม่มีสิทธิขอให้โจทก์คืนโฉนดที่ดินพิพาทจนกว่าจำเลยจะชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินให้แก่โจทก์จนครบถ้วน และเมื่อการขายฝากที่ดินพิพาทตกเป็นโมฆะดังกล่าวแล้วก็ต้องพิพากษาให้เพิกถอนเสีย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7562/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันไม่สมบูรณ์เมื่อหลักประกันไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของเจ้าหนี้ ผู้ค้ำประกันไม่ต้องรับผิด
จำเลยที่ 1 ประสงค์จะขอทุเลาภาษีซึ่งตามหลักเกณฑ์ของโจทก์ที่ 1 (กรมสรรพากร) กำหนดให้นำหลักทรัพย์ไปประกันหนี้ภาษีอากรอย่างใดอย่างหนึ่งคือ โฉนดที่ดินซึ่งมีราคาเป็น 2 เท่าของเงินภาษีที่ค้างชำระ โดยจำนองแก่ทางราชการ หรือจัดให้มีธนาคารค้ำประกัน การที่จำเลยที่ 2 เข้ามาทำหนังสือค้ำประกันต่อโจทก์ทั้งสองจึงไม่ตรงตามหลักเกณฑ์ของโจทก์ที่ 1 ซึ่งโจทก์ที่ 2 ได้มีหนังสือสอบถามโจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 1 ได้มีหนังสือตอบโจทก์ที่ 2 ว่าการค้ำประกันดังกล่าวไม่ตรงตามหลักเกณฑ์ที่วางไว้ ขอให้โจทก์ที่ 2 ดำเนินการจดทะเบียนจำนองให้ถูกต้อง ทั้งโจทก์ที่ 1 ได้มีหนังสือแจ้งจำเลยที่ 1 ดำเนินการจดทะเบียนจำนองเสียใหม่ให้ถูกต้อง หรือหากไม่จดทะเบียนจำนองก็ต้องจัดให้มีธนาคารค้ำประกัน แสดงว่าโจทก์ที่ 1 มิได้ตกลงยอมรับการค้ำประกันของจำเลยที่ 2 แต่ประการใด แม้โจทก์ที่ 1 จะเคยมีหนังสือถึงจำเลยที่ 1 แจ้งว่าได้อนุมัติให้จำเลยที่ 2 ค้ำประกันหนี้ภาษีอากรได้แต่ก็ได้ระบุต่อไปว่า จะต้องให้จำเลยที่ 2 จดทะเบียนจำนองหลักทรัพย์ที่นำมาค้ำประกันให้ถูกต้อง การแจ้งอนุมัติดังกล่าวจึงหาใช่การยอมรับสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 1 จัดทำส่งให้แก่โจทก์ทั้งสอง ถือได้ว่าโจทก์ทั้งสองมิได้มุ่งประสงค์จะผูกนิติสัมพันธ์กับจำเลยที่ 2 โดยเข้าถือเอาสัญญาค้ำประกันดังกล่าวแต่อย่างใด จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดตามหนังสือสัญญาค้ำประกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5434/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีทรัพย์สินหลักประกันในคดีอาญาต้องยึดตามหลักป.วิ.พ. และมีกำหนดเวลาการร้องคัดค้าน
การบังคับคดีแก่ทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันตัวจำเลยในคดีอาญา ป.วิ.อ. มิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงต้องนำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาใช้บังคับโดยอนุโลม ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 15 ซึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสอง ที่ใช้ บังคับอยู่ในขณะที่ผู้ร้องยื่นคำร้องคดีนี้บัญญัติว่า ถ้าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งลักษณะนี้ เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือบุคคลอื่นที่มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีซึ่งต้อง เสียหายโดยการฝ่าฝืนนั้น แล้วแต่กรณีอาจยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องต่อศาลไม่ว่าเวลาใด ๆ ก่อนการบังคับคดีได้เสร็จลง แต่ต้องไม่ช้ากว่าแปดวันนับแต่ทราบการฝ่าฝืนนั้น ขอให้ศาลมีคำสั่งยกกระบวนวิธีการบังคับคดีทั้งปวง หรือวิธีการบังคับใด ๆ โดยเฉพาะ ฯลฯ การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์อันเป็นหลักประกันโดยอ้างว่า การขายทอดตลาดดำเนินการไปโดยไม่ชอบ จึงเป็นกรณีที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาร้องว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการบังคับคดีโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ผู้ร้องจึงต้องยื่นคำร้องขอต่อศาลก่อนการบังคับคดีได้เสร็จลง
เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ทำการขายทอดตลาดที่ดินในวันที่ 5 มิถุนายน 2539 ผู้ซื้อทรัพย์ซื้อได้ในราคา 300,000 บาท ผู้ซื้อทรัพย์ได้ชำระราคาที่ดินให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดีครบถ้วนแล้ว และได้จดทะเบียนรับโอนสิทธิครอบครอง ที่ดินดังกล่าวแล้วเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2539 ตามรายงานเจ้าหน้าที่ลงวันที่ 17 ตุลาคม 2539 ซึ่งได้รายงานว่ามีการทำบัญชีแสดงรายการรับและจ่ายเงินในคดีนี้เสร็จเรียบร้อยแล้ว และเจ้าพนักงานบังคับคดีได้มีคำสั่งในรายงานดังกล่าวเมื่อวันที่ 21 เดือนเดียวกันว่า ส่งเงินจำนวน 200,000 บาท ไปยังศาลจังหวัดประจวบคีรีขันธ์เรียกนายประกันรับเงินที่เหลือคืน เอกสารในสำนวนการยึดทรัพย์ถัดมาปรากฏเป็นสำเนาหมายแจ้งผู้ร้องให้ไปตรวจรับรองบัญชีแสดงรายการรับและจ่ายเงินและรับเงินส่วนที่เหลือจำนวน 83,231 บาทและมีปรากฏรายงานการส่งหมายของเจ้าหน้าที่ว่าได้จัดการส่งหมายแจ้ง ดังกล่าวให้ผู้ร้องแล้วเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2539 โดยวิธีปิดหมาย นอกจากนี้ยังปรากฏสำเนาหนังสือถึงผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ไม่ลงวันที่ แต่ลงเดือนพฤศจิกายน 2539 ว่าขอส่งบัญชีแสดงรายการรับและจ่ายเงินจำนวน 1 ฉบับ และเช็คธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 200,000 บาท เป็นเงินค่าปรับนายประกัน และลงชื่อหัวหน้าสำนักงานบังคับคดี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ แต่อย่างไรก็ตาม เจ้าพนักงานบังคับคดีของ ศาลจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ถือเป็นเจ้าพนักงานของศาลจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งถือเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา การยึดหลักประกัน การขายทอดตลาด ตลอดจนการรับเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดเป็นการดำเนินการตามคำสั่งของ ศาลจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการขายทอดตลาดและรับเงินที่ได้ จากการขายทอดตลาดจัดทำบัญชีส่วนแบ่งเสร็จสิ้นแล้ว และรายงานศาลจังหวัดประจวบคีรีขันธ์พร้อมบัญชีส่วนแบ่ง เจ้าพนักงานบังคับคดีมีคำสั่งเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2539 ว่าส่งเงิน 200,000 บาท ไปยังศาลจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เรียก นายประกันรับเงินส่วนที่เหลือคืน ถือได้ว่าการบังคับคดีได้เสร็จลงแล้วตั้งแต่วันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีมีคำสั่งดังกล่าว โดยไม่ต้องพิจารณาว่าศาลจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ได้รับเงินจากเจ้าพนักงานบังคับคดีแล้วหรือไม่ เพราะเป็นกระบวนการภายในของศาลเอง ผู้ร้องมายื่นคำร้องคดีนี้ ในวันที่ 12 พฤศจิกายน 2539 อันเป็นเวลาภายหลังการบังคับคดีได้เสร็จลงแล้ว ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดในคดีนี้ได้
เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ทำการขายทอดตลาดที่ดินในวันที่ 5 มิถุนายน 2539 ผู้ซื้อทรัพย์ซื้อได้ในราคา 300,000 บาท ผู้ซื้อทรัพย์ได้ชำระราคาที่ดินให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดีครบถ้วนแล้ว และได้จดทะเบียนรับโอนสิทธิครอบครอง ที่ดินดังกล่าวแล้วเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2539 ตามรายงานเจ้าหน้าที่ลงวันที่ 17 ตุลาคม 2539 ซึ่งได้รายงานว่ามีการทำบัญชีแสดงรายการรับและจ่ายเงินในคดีนี้เสร็จเรียบร้อยแล้ว และเจ้าพนักงานบังคับคดีได้มีคำสั่งในรายงานดังกล่าวเมื่อวันที่ 21 เดือนเดียวกันว่า ส่งเงินจำนวน 200,000 บาท ไปยังศาลจังหวัดประจวบคีรีขันธ์เรียกนายประกันรับเงินที่เหลือคืน เอกสารในสำนวนการยึดทรัพย์ถัดมาปรากฏเป็นสำเนาหมายแจ้งผู้ร้องให้ไปตรวจรับรองบัญชีแสดงรายการรับและจ่ายเงินและรับเงินส่วนที่เหลือจำนวน 83,231 บาทและมีปรากฏรายงานการส่งหมายของเจ้าหน้าที่ว่าได้จัดการส่งหมายแจ้ง ดังกล่าวให้ผู้ร้องแล้วเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2539 โดยวิธีปิดหมาย นอกจากนี้ยังปรากฏสำเนาหนังสือถึงผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ไม่ลงวันที่ แต่ลงเดือนพฤศจิกายน 2539 ว่าขอส่งบัญชีแสดงรายการรับและจ่ายเงินจำนวน 1 ฉบับ และเช็คธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 200,000 บาท เป็นเงินค่าปรับนายประกัน และลงชื่อหัวหน้าสำนักงานบังคับคดี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ แต่อย่างไรก็ตาม เจ้าพนักงานบังคับคดีของ ศาลจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ถือเป็นเจ้าพนักงานของศาลจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งถือเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา การยึดหลักประกัน การขายทอดตลาด ตลอดจนการรับเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดเป็นการดำเนินการตามคำสั่งของ ศาลจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการขายทอดตลาดและรับเงินที่ได้ จากการขายทอดตลาดจัดทำบัญชีส่วนแบ่งเสร็จสิ้นแล้ว และรายงานศาลจังหวัดประจวบคีรีขันธ์พร้อมบัญชีส่วนแบ่ง เจ้าพนักงานบังคับคดีมีคำสั่งเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2539 ว่าส่งเงิน 200,000 บาท ไปยังศาลจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เรียก นายประกันรับเงินส่วนที่เหลือคืน ถือได้ว่าการบังคับคดีได้เสร็จลงแล้วตั้งแต่วันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีมีคำสั่งดังกล่าว โดยไม่ต้องพิจารณาว่าศาลจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ได้รับเงินจากเจ้าพนักงานบังคับคดีแล้วหรือไม่ เพราะเป็นกระบวนการภายในของศาลเอง ผู้ร้องมายื่นคำร้องคดีนี้ ในวันที่ 12 พฤศจิกายน 2539 อันเป็นเวลาภายหลังการบังคับคดีได้เสร็จลงแล้ว ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดในคดีนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 445/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวางหลักประกันชำระหนี้ต้องเป็นเงินจริง เจ้าพนักงานบังคับคดีชอบที่จะดำเนินการขายทอดตลาดได้หากหลักประกันไม่พอชำระหนี้
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 295 เจ้าพนักงานบังคับคดีจะถอนการบังคับคดีได้ต่อเมื่อลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้วางเงินต่อศาลหรือต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นจำนวนพอชำระหนี้ตามคำพิพากษา แต่จำเลยทั้งสองมอบให้ผู้อื่นนำสมุดเงินฝากของบุคคลอื่นมาวางเพื่อประกันการชำระหนี้ พร้อมคำร้องของจำเลยทั้งสองที่ขอให้งดการขายทอดตลาดไปยื่นต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี กรณีจึงมิใช่เป็นการวางเงินชำระหนี้ตามคำพิพากษาต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่เข้าหลักเกณฑ์ของบทกฎหมายดังกล่าว เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่อาจงดการขายทอดตลาดได้
แม้ที่ดินของจำเลยที่ 1 จะอยู่ในย่านธุรกิจติดทางด่วนก็ตาม แต่เนื้อที่ดินมีจำนวนเพียง 72 ตารางวา ไม่น่าจะนำไปดำเนินการเพื่อให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้นอย่างมากมายอันจะทำให้ที่ดินมีราคาสูงมากได้ ราคาที่ดินดังกล่าวจึงไม่น่าจะสูงกว่าราคาประเมินมากนัก การซื้อขายที่ดินของการเคหะแห่งชาติก็มิได้กระทำในช่วงเดียวกันกับการขายทอดตลาดครั้งนี้ ทั้งมีเงื่อนไขในการชำระเงินไม่เหมือนกัน ไม่อาจนำมาเปรียบเทียบได้ เมื่อไม่ปรากฏว่ามีการสมรู้ร่วมกันให้ราคาต่ำหรือไม่สุจริตแต่อย่างใด การขายทอดตลาดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของจำเลยที่ 1 จึงชอบด้วยกฎหมาย
แม้ที่ดินของจำเลยที่ 1 จะอยู่ในย่านธุรกิจติดทางด่วนก็ตาม แต่เนื้อที่ดินมีจำนวนเพียง 72 ตารางวา ไม่น่าจะนำไปดำเนินการเพื่อให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้นอย่างมากมายอันจะทำให้ที่ดินมีราคาสูงมากได้ ราคาที่ดินดังกล่าวจึงไม่น่าจะสูงกว่าราคาประเมินมากนัก การซื้อขายที่ดินของการเคหะแห่งชาติก็มิได้กระทำในช่วงเดียวกันกับการขายทอดตลาดครั้งนี้ ทั้งมีเงื่อนไขในการชำระเงินไม่เหมือนกัน ไม่อาจนำมาเปรียบเทียบได้ เมื่อไม่ปรากฏว่ามีการสมรู้ร่วมกันให้ราคาต่ำหรือไม่สุจริตแต่อย่างใด การขายทอดตลาดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของจำเลยที่ 1 จึงชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4426/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวต้องมีเหตุผลอันสมควร การนำที่ดินมาเป็นหลักประกันต้องมีราคาที่แท้จริงและสามารถใช้ชำระหนี้ได้
ตามบทบัญญัติ ป.วิ.พ. มาตรา 261 วรรคสาม ศาลจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาต่อเมื่อจำเลยยื่นคำขอให้เห็นว่าวิธีการที่กำหนดไว้ตามมาตรา 254 นั้น ไม่มีเหตุเพียงพอหรือมีเหตุอันสมควรประการอื่น คำร้องของจำเลยที่ว่าฟ้องของโจทก์ไม่มีมูลที่จะชนะคดีก็ดี โจทก์มีเจตนาทุจริตในการร้องขอให้ศาลมีคำสั่งยึดที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของจำเลยก็ดี เป็นการคัดค้านว่าพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบไม่พอที่จะออกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา หาใช่วิธีการกำหนดไปนั้นไม่มีเหตุเพียงพอหรือมีเหตุอันสมควรประการอื่นไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4426/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงแก้ไขวิธีการคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา ต้องมีเหตุผลตามกฎหมาย การนำที่ดินมาเป็นหลักประกันต้องมีมูลความน่าเชื่อถือ
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 261 วรรคสาม ศาลจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาต่อเมื่อจำเลยยื่นคำขอให้เห็นว่าวิธีการที่กำหนดไว้ตามมาตรา 254 นั้นไม่มีเหตุเพียงพอหรือมีเหตุอันสมควรประการอื่น คำร้องของจำเลยที่ว่าฟ้องของโจทก์ไม่มีมูลที่จะชนะคดีก็ดี โจทก์มีเจตนาทุจริตในการร้องขอให้ศาลมีคำสั่งยึดที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของจำเลยก็ดี เป็นการคัดค้านว่าพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบไม่พอที่จะออกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา หาใช่วิธีการกำหนดไปนั้นไม่มีเหตุเพียงพอหรือมีเหตุอันสมควรประการอื่นไม่