คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
หลักเกณฑ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 105 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1341/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การงดบังคับคดีต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง การอ้างเหตุวิกฤตเศรษฐกิจโดยไม่เข้าหลักเกณฑ์จึงไม่อาจงดบังคับคดีได้
กรณีที่จะงดการบังคับคดีได้ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ตามมาตรา 292 และ 293 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง คือกรณีที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้ยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่หรือได้ยื่นฟ้องเป็นคดีเรื่องอื่นในศาลเดียวกันนั้นซึ่งศาลยังมิได้วินิจฉัยชี้ขาด แต่ตามคำร้องของจำเลยหาได้อ้างเหตุตามบทบัญญัติดังกล่าวเพื่อขอให้ศาลงดการบังคับคดีไม่ กลับอ้างวิกฤติทางเศรษฐกิจซึ่งเกิดขึ้นนอกประเทศไทยและในประเทศไทยเป็นเหตุสุดวิสัยทำให้จำเลยไม่สามารถชำระหนี้ได้มาของดการบังคับคดี โดยอ้างว่าได้รับความคุ้มครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150,205 และ 219 อันเป็นกฎหมายในส่วนสารบัญญัติซึ่งไม่ได้บัญญัติเกี่ยวกับการงดการบังคับคดีแต่อย่างใด ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องของจำเลยจึงชอบแล้ว
ปัญหาที่ว่า ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 ถึงมาตรา 305(ว่าด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง) ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯ มาตรา 3,4,6,30 และ 48 จำเลยเพิ่งยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ทั้งมิได้กล่าวโดยชัดแจ้งว่าบทบัญญัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 271 ถึงมาตรา 305 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญเพราะเหตุใด จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้และไม่จำต้องส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1196-1218/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักค่าเสียหายจากค่านายหน้าลูกจ้าง และการจ่ายค่าเสียหายตามหลักเกณฑ์ที่ตกลงกัน มิขัดต่อ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน
การบอกเลิกสัญญาจ้างตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 17เป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน คู่สัญญาไม่มีสิทธิที่จะตกลงเกี่ยวกับการเลิกสัญญาจ้างเป็นอย่างอื่นได้ แม้จำเลยกับโจทก์ทั้งยี่สิบสามจะมีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตามระเบียบและข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย แต่ระเบียบดังกล่าวเป็นข้อตกลงที่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯมาตรา 17 จึงต้องใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 17 วรรคสอง บังคับแทนเมื่อโจทก์ทั้งยี่สิบสามได้ยื่นใบลาออกต่อจำเลย โดยประสงค์ให้มีผลเมื่อพ้นกำหนด 30วัน นับแต่วันยื่นใบลาออก แต่จำเลยกลับอนุมัติให้มีผลเป็นการลาออกในวันที่โจทก์ทั้งยี่สิบสามยื่นใบลาออกก่อนกำหนดที่โจทก์ทั้งยี่สิบสามประสงค์จะให้มีผลเป็นการลาออก จำเลยจึงต้องจ่ายค่าเสียหายเท่ากับค่าจ้างในวันทำงานจนถึงวันที่โจทก์ทั้งยี่สิบสามประสงค์จะลาออกพร้อมทั้งดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันผิดนัด
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 76 บัญญัติห้ามนายจ้างหักค่าจ้างค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุดและค่าล่วงเวลาในวันหยุด เพื่อชำระหนี้ที่ลูกจ้างเป็นหนี้นายจ้าง เว้นแต่การชำระหนี้อย่างใดอย่างหนึ่งตาม (1)-(5) โจทก์ที่ 10เป็นหัวหน้าพนักงานขาย มีสิทธิได้รับค่านายหน้าจากการขายตามหลักเกณฑ์การจ่ายค่าตอบแทนให้แก่เจ้าหน้าที่การตลาด ซึ่งข้อ 2 ระบุว่า ความผิดพลาดที่ทำให้เกิดความเสียหายของเจ้าหน้าที่การตลาด จะนำมาหักออกจากค่าตอบแทนของหัวหน้าส่วนที่ได้รับจากทีม ดังนั้น จำเลยจึงมีสิทธินำค่าเสียหายที่เกิดจากความผิดพลาดในส่วนความรับผิดชอบของโจทก์ที่ 10 มาหักออกจากค่านายหน้าที่โจทก์ที่ 10 มีสิทธิได้รับตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้น ซึ่งการหักเงินดังกล่าวเป็นหลักเกณฑ์การคำนวณค่านายหน้าที่โจทก์ที่ 10 มีสิทธิได้รับ มิใช่เป็นการนำค่าจ้างที่โจทก์ที่ 10 ได้รับมาหักเพื่อชำระหนี้ที่โจทก์ที่ 10 เป็นหนี้จำเลย จึงไม่ขัดต่อพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯมาตรา 76

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 676/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับปรุงโครงสร้างหนี้และสิทธิยกเว้นภาษี: การโอนทรัพย์สินต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด
การยกเว้นภาษีตามประมวลรัษฎากร ให้แก่ลูกหนี้และสถาบันการเงิน สำหรับเงินได้ที่ได้รับจากการโอนทรัพย์สินอันเนื่องมาจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนดตามมาตรา 6 ของพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากรฯ นั้น หมายถึง การโอนทรัพย์สินของลูกหนี้ให้แก่สถาบันการเงินซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้โดยทรัพย์สินดังกล่าวมีมูลค่าต่ำกว่ายอดหนี้เท่านั้น แต่การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ระหว่างโจทก์กับธนาคาร ท. มีแต่ข้อตกลงที่ธนาคารเจ้าหนี้ตกลงปลดหนี้ดอกเบี้ยและต้นเงินค้างชำระส่วนที่เหลือให้แก่ลูกหนี้ โดยมิได้มีการตกลงให้โจทก์โอนห้องชุดที่จำนองหรือทรัพย์สินอื่นใดให้แก่ธนาคาร ดังนั้น เมื่อธนาคารปลดหนี้ให้แก่โจทก์ตามสัญญาโจทก์จึงได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับจำนวนเงินที่ค้างชำระและธนาคารปลดหนี้ให้ตามมาตรา 5แห่งพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว แต่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอากรแสตมป์ และภาษีธุรกิจเฉพาะสำหรับการโอนขายห้องชุดที่จำนองให้แก่ ก. ตามมาตรา 6 แต่อย่างใด เนื่องจากมิใช่เป็นการโอนให้แก่สถาบันการเงิน ทั้งไม่เข้าเงื่อนไขที่จะได้รับยกเว้นตามมาตรา 8 เพราะความในมาตรา 8 หมายถึง การยกเว้นภาษีเงินได้ภาษีมูลค่าเพิ่มภาษีธุรกิจเฉพาะและอากรแสตมป์ให้แก่ลูกหนี้ของสถาบันการเงินสำหรับเงินที่ได้รับการโอนทรัพย์สินให้แก่เจ้าหนี้อื่นของลูกหนี้ซึ่งมิใช่สถาบันการเงินซึ่งได้เจรจาร่วมกับสถาบันการเงินในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของลูกหนี้ แต่ ก. มิใช่เจ้าหนี้ของโจทก์ ฉะนั้นการที่โจทก์โอนขายห้องชุดที่จดทะเบียนจำนองกับธนาคาร ท. ให้แก่ ก. จึงไม่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีธุรกิจเฉพาะและอากรแสตมป์ให้แก่ลูกหนี้ของสถาบันการเงินสำหรับเงินได้ที่ได้รับจากการโอนอสังหาริมทรัพย์ให้แก่ผู้อื่นซึ่งมิใช่เจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงิน ส่วนพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 373)ฯซึ่งให้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีธุรกิจเฉพาะและอากรแสตมป์ให้แก่ลูกหนี้ของสถาบันการเงิน สำหรับเงินได้ที่ได้รับจากการโอนอสังหาริมทรัพย์ให้แก่ผู้อื่นซึ่งมิใช่เจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงิน และสำหรับการกระทำตราสารอันเนื่องมาจากการโอนอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวนั้น ก็มีผลใช้บังคับสำหรับการโอนอสังหาริมทรัพย์ของลูกหนี้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2543 เป็นต้นไป จนถึงวันที่ 31ธันวาคม 2544 ซึ่งเป็นเวลาภายหลังจากที่โจทก์โอนไปแล้ว โจทก์จึงไม่ได้สิทธิยกเว้นภาษีอากรตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5662-5663/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอรอการบังคับคดีเพื่อรอผลคดีอาญาที่เกี่ยวข้องกับข้อพิพาทแรงงาน ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามกฎหมาย
ในระหว่างการบังคับคดีตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ทั้งสอง จำเลยจะยื่นคำขอตาม ป.วิ.พ. มาตรา 264 ให้รอการบังคับคดีไว้ก่อนเพื่อรอฟังผลคดีอาญาที่จำเลยเป็นโจทก์ฟ้องโจทก์ทั้งสองโดยอ้างว่าหากคดีอาญาถึงที่สุดว่า โจทก์ทั้งสองกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่จำเลยผู้เป็นนายจ้างแล้ว จำเลยจะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ทั้งสองตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119 (1) นั้น หาได้ไม่ เนื่องจากคดีนี้ไม่ได้อยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลใด และกรณีตามคำขอของจำเลยดังกล่าวก็ไม่ใช่เป็นวิธีการเพื่อบังคับตามคำพิพากษา จึงไม่ต้องด้วยบทกฎหมายข้างต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3034/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเรียกเก็บเงินประกันการทำงานชอบด้วยกฎหมาย หากเข้าหลักเกณฑ์ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน และประกาศกระทรวงแรงงาน
อ. เป็นผู้จัดการสถานีมีหน้าที่รับผิดชอบควบคุมทรัพย์สินภายในร้านสะดวกซื้อของโจทก์ จึงเข้าลักษณะงานที่โจทก์จะเรียกเงินประกันความเสียหายในการทำงานได้อ. ได้รับค่าจ้างเฉลี่ยรายวันวันละ 233.33 บาท ขณะที่โจทก์ได้รับเงินประกัน ซึ่งโจทก์สามารถเรียกได้ไม่เกิน 60 เท่าของอัตราค่าจ้างรายวันโดยเฉลี่ยที่ลูกจ้างได้รับอยู่ในวันที่นายจ้างรับเงินประกันคิดเป็นเงิน 13,999.80 บาท การที่โจทก์หักค่าจ้างของ อ. ไว้เป็นเงินประกัน 9,415 บาท และโจทก์ได้นำเงินไปฝากไว้กับบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์อันเป็นสถาบันการเงินในนาม อ. จึงเป็นการปฏิบัติที่ชอบด้วยบทบัญญัติ มาตรา 10 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 แล้ว แม้โจทก์ไม่ได้แจ้งชื่อสถาบันการเงิน ชื่อบัญชี และเลขที่บัญชีให้ อ. ทราบ ซึ่งเป็นการไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ก็ไม่มีผลกระทบต่อการเรียกเก็บเงินประกันที่โจทก์เรียกเก็บโดยชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2032-2033/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเลื่อนขั้นเงินเดือนพนักงานที่ลาออกก่อนเกษียณ: การพิจารณาตามหลักเกณฑ์เฉพาะและการไม่มีสิทธิในกรณีทั่วไป
จำเลยมีหลักเกณฑ์การเลื่อนขั้นเงินเดือนพนักงานอยู่ 2 กรณี คือ เลื่อนขั้นเงินเดือนพนักงานทั่วไปซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ของปีถัดไปและเลื่อนขั้นเงินเดือนพนักงานที่พ้นจากตำแหน่งหรือพ้นจากเป็นพนักงานของจำเลยเพราะเกษียณอายุเป็นกรณีพิเศษในวันที่ 30 กันยายน ของปีที่ครบเกษียณอายุ โดยมิได้มีการชำระเงินจริงเพียงแต่ให้นำไปใช้ในการคำนวณบำเหน็จหรือบำนาญเท่านั้น โจทกลาออกจากงานก่อนครบกำหนดเกษียณอายุและพ้นจากการเป็นพนักงานตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2543 โจทก์จึงพ้นจากการเป็นพนักงานของจำเลยก่อนที่จะมีการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปี 2544 จึงไม่มีสิทธิได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปี 2544

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6775/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาเงินค่าทดแทนที่ดินต้องครบถ้วนตามหลักเกณฑ์กฎหมาย และมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยตามอัตราที่กำหนด
การพิจารณากำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่ผู้มีสิทธิจะได้รับเงินค่าทดแทนที่ดิน ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 21วรรคหนึ่ง บัญญัติให้คำนึงถึงราคาของอสังหาริมทรัพย์นั้น 3 อย่าง ได้แก่ ราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดตามที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาฯ สำหรับคดีนี้คือวันที่ 2 พฤศจิกายน 2536 ราคาที่มีการตีราคาไว้เพื่อประโยชน์แก่การเสียภาษีบำรุงท้องที่ ราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ประกอบกับสภาพและที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์นั้น พร้อมทั้งเหตุและวัตถุประสงค์ของการเวนคืน รวม 5 ข้อ ที่ต้องพิจารณาประกอบกัน เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทั้งผู้ถูกเวนคืนและสังคม แต่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ฯ มุ่งเน้นการพิจารณาไปในเรื่องสภาพและที่ตั้ง และประโยชน์ที่ได้รับหลังจากถูกเวนคืน แล้ววางหลักเกณฑ์กำหนดราคาเพิ่มสำหรับที่ดินที่อยู่ติดถนนรามอินทราเท่า ๆ กันหมด ถ้าแปลงใดมีส่วนที่ถูกเวนคืนอยู่ไม่ลึกจากถนนรามอินทรามากนัก ไม่เกิน 80 เมตร ก็กำหนดเพิ่มให้ ถ้าอยู่ลึกเข้าไปมากกว่านั้น ก็กำหนดราคาให้ต่ำลงไปอีก ที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ฯ กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์เพิ่มขึ้น จึงยังไม่ครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 21 วรรคหนึ่ง
เมื่อศาลเห็นว่าเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ฯ เพิ่มให้ยังต่ำไป และกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่เป็นธรรมแก่โจทก์และสังคมเพิ่มขึ้นจากที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ กำหนด เมื่อไม่ปรากฏว่าฝ่ายจำเลยได้จ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ฯ กำหนดเพิ่มขึ้นให้แก่โจทก์ไปแล้วหรือไม่ ศาลจึงยังไม่เอาเงินค่าทดแทนที่ดินที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ฯ กำหนดเพิ่มขึ้นดังกล่าวมาหักออกจากเงินค่าทดแทนที่ดินที่ศาลกำหนดให้ข้างต้นแต่หากมีการจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ฯ กำหนดเพิ่มขึ้นกับดอกเบี้ยของเงินที่กำหนดเพิ่มให้แก่โจทก์ไปแล้วก็ต้องนำเอามาหักกันในชั้นบังคับคดี
ในเรื่องดอกเบี้ยของเงินค่าทดแทนที่ดินที่เพิ่มขึ้น พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 26 วรรคสาม บัญญัติไว้ว่า "ในกรณีที่รัฐมนตรีหรือศาลวินิจฉัยให้ชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้น ให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้นับแต่วันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนนั้น" โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าว แต่ต้องไม่เกินคำขอของโจทก์ เมื่อไม่ปรากฏว่าฝ่ายจำเลยกำหนดให้โจทก์มารับเงินค่าทดแทนที่ดินในวันใด ถือได้ว่าวันที่โจทก์รับเงินไปเป็นวันที่จำเลยกำหนดให้โจทก์ไปรับเงินอันเป็นวันที่ต้องมีการจ่ายเงินตามมาตรา 26วรรคสาม วันเริ่มคิดดอกเบี้ยของเงินค่าทดแทนที่ดินที่เพิ่มขึ้นคือวันที่โจทก์รับเงินไปดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6931-6932/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการพิจารณาคำร้องส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญ และหลักเกณฑ์การส่งเรื่องตามรัฐธรรมนูญ
โจทก์ทั้งสองยื่นคำร้องขอให้ศาลฎีการอการพิจารณาคดีไว้ชั่วคราวและส่งความเห็นของโจทก์ทั้งสองไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยในขณะคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา การพิจารณาสั่งคำร้องดังกล่าวจึงเป็นอำนาจของศาลฎีกา การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในคำร้องว่าให้รวมสำนวนไว้ ย่อมมีผลเป็นการปฏิเสธที่จะส่งคำร้องของโจทก์ทั้งสองไปให้ศาลฎีกา จึงเป็นการไม่ชอบ
คำร้องของโจทก์ทั้งสองระบุเพียงแต่ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาว่า ศาลฎีกามีอำนาจพิจารณาคดีปกครองหรือไม่ มิได้โต้แย้งว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญจึงไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ศาลฎีกาไม่จำต้องส่งคำร้องของโจทก์ทั้งสองไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4276/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอคืนภาษีธุรกิจเฉพาะต้องยื่นคำร้องก่อนฟ้องคดี หากไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ศาลไม่รับฟ้อง
โจทก์อ้างว่าตนไม่มีหน้าที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะ เงินเพิ่มและภาษีส่วนท้องถิ่น แต่ได้ชำระภาษีอากรดังกล่าวแก่จำเลยที่ 2 ไว้ โจทก์จึงนำคดีมาฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินดังกล่าวคืน เป็นเรื่องการขอคืนภาษีธุรกิจเฉพาะซึ่งโจทก์ต้องยื่นคำร้องขอคืนตามหลักเกณฑ์ วิธีการและระยะเวลาที่กำหนดไว้ก่อนโจทก์จึงจะนำคดีมาฟ้องต่อศาลภาษีอากรได้ ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 9 โจทก์รับว่าก่อนฟ้องคดีนี้โจทก์ไม่ได้ยื่นคำร้องขอคืนภาษีที่ตนไม่มีหน้าที่ต้องเสีย จึงเป็นกรณีที่โจทก์มิได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด โจทก์ไม่อาจนำคดีมาฟ้องต่อศาลได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4276/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องขอคืนภาษีธุรกิจเฉพาะที่ไม่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ เพราะไม่ได้ยื่นคำร้องขอคืนภาษีก่อนฟ้อง
โจทก์อ้างว่าตนไม่มีหน้าที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะ เงินเพิ่มและภาษีส่วนท้องถิ่น แต่ได้ชำระภาษีอากรดังกล่าวแก่จำเลยที่ 2 ไว้โจทก์จึงนำคดีมาฟ้อง ขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินดังกล่าวคืนเป็นเรื่องการขอคืนภาษีธุรกิจเฉพาะซึ่งโจทก์ต้องยื่นคำร้องขอคืนตามหลักเกณฑ์ วิธีการและระยะเวลาที่กำหนดไว้ก่อน โจทก์จึงจะนำคดีมาฟ้องต่อศาลภาษีอากรได้ ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ. 2528 มาตรา 9 โจทก์รับว่าก่อนฟ้องคดีนี้โจทก์ไม่ได้ยื่นคำร้องขอคืนภาษีที่ตนไม่มีหน้าที่ต้องเสีย จึงเป็นกรณีที่โจทก์มิได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด โจทก์ไม่อาจนำคดีมาฟ้องต่อศาลได้
of 11