พบผลลัพธ์ทั้งหมด 57 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5912/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมคบกันทำสัญญาซื้อขายย้อนหลังเพื่อหลีกเลี่ยงการชำระหนี้ และผลกระทบต่อการเพิกถอนการจดทะเบียนสิทธิ
ประเด็นสำคัญในคดีแพ่งที่โจทก์ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยทั้งสองซึ่งจะเป็นประเด็นที่ทำให้แพ้หรือชนะคดีนั้นมีอยู่ว่าจำเลยที่1และจำเลยที่2ได้สมคบกันทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทลงวันที่ย้อนหลังไปเพื่อแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่1ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่2ก่อนขายให้โจทก์จริงหรือไม่ถ้าเป็นการทำสัญญาย้อนหลังไปจริงจำเลยทั้งสองก็จะแพ้คดีแพ่งซึ่งเป็นประเด็นเดียวกันกับคดีอาญาที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองว่าสมคบกันทำนิติกรรมโดยไม่สุจริตอันเป็นความผิดฐานโกงเจ้าหนี้เพราะในคดีอาญาดังกล่าวถ้าจำเลยทั้งสองสมคบกันทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทฉบับดังกล่าวโดยเป็นการทำสัญญาย้อนหลังไปเพื่อแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่1ขายที่ดินพิพาทให้จำเลยที่2ก่อนขายให้โจทก์การกระทำของจำเลยทั้งสองก็อาจจะเป็นความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ได้จึงเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา คดีอาญาที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองในข้อหาโกงเจ้าหนี้ศาลวินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์ขาดสาระสำคัญไม่ครบองค์ประกอบแห่งความผิดเพราะไม่ได้บรรยายในฟ้องว่าจำเลยทั้งสองกระทำไปโดยรู้อยู่แล้วว่าโจทก์ได้ใช้หรือจะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ชำระหนี้และตามคำบรรยายฟ้องการกระทำของจำเลยทั้งสองไม่เป็นความผิดฐานโกงเจ้าหนี้โดยมิได้ชี้ขาดว่าจำเลยทั้งสองสมคบกันทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทลงวันที่ย้อนหลังไปเพื่อแสดงให้จำเลยที่1ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่2ก่อนขายให้โจทก์หรือไม่ในการพิพากษาคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาดังกล่าวศาลย่อมมีอำนาจฟังข้อเท็จจริงในปัญหาที่ว่าจำเลยทั้งสองสมคบกันทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทลงวันที่ย้อนหลังหรือไม่ตามที่คู่ความนำสืบได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา46
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2728/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์สินที่ถูกยึดโดยเจตนาสมยอมเพื่อหลีกเลี่ยงหนี้ ถือเป็นโมฆะ
การที่ผู้ร้องรู้อยู่ว่าที่พิพาทซึ่งจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์และมีสิทธิครอบครองอยู่ด้วยถูกยึดเพื่อขายทอดตลาดเอาชำระหนี้โจทก์อยู่ แต่ก็ยังรับโอนที่พิพาทโดยอ้างว่าเจ้าพนักงานที่ดินยอมทำการจดทะเบียนการโอน ถือว่าผู้ร้องรับโอนโดยไม่สุจริต เป็นพฤติการณ์ที่สมคบกันเพื่อหลีกเลี่ยงมิให้ที่พิพาทถูกยึดใช้หนี้โจทก์การจดทะเบียนซื้อขายที่พิพาทระหว่าง ส. ในฐานะผู้จัดการมรดก ป. ในส่วนที่เป็นมรดกตกแก่จำเลยกับผู้ร้อง จึงเป็นไปโดยการสมยอมกันซึ่งเป็นเจตนาลวงตกเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 118 วรรคแรก เดิม (มาตรา 155 วรรคแรก ที่แก้ไขใหม่)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6673/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์สินเพื่อหลีกเลี่ยงหนี้ ถือเป็นความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ แม้เจ้าหนี้ยังไม่ได้ฟ้อง
การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 โอนที่ดินให้แก่จำเลยที่ 3 และที่ 4 โดยรู้อยู่แล้วว่าโจทก์จะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ชำระหนี้ และจำเลยที่ 1และที่ 2 มีทรัพย์สินเหลืออยู่ไม่พอที่จะชำระหนี้ให้โจทก์ได้ เป็นการกระทำเพื่อมิให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของตนได้รับชำระหนี้ทั้งหมดหรือบางส่วน จึงมีความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ ตาม ป.อ. มาตรา 350 ส่วนจำเลยที่ 3 และที่ 4 ซึ่งเป็นบุตรของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ก็รู้อยู่แล้วเช่นเดียวกันว่าโจทก์จะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ชำระหนี้ รับโอนที่ดินจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงมีความผิดฐานเป็นตัวการเช่นเดียวกับจำเลยที่ 1 และที่ 2
สิทธิที่จะบังคับชำระหนี้จะหมดไปหรือไม่ ไม่ใช่องค์ประกอบตามป.อ. มาตรา 350 หากฟังได้ว่าจำเลยทั้งสี่ได้ร่วมกันกระทำเพื่อมิให้เจ้าหนี้ของตนหรือของผู้อื่นได้รับชำระหนี้ทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งเจ้าหนี้ได้ใช้หรือจะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ชำระหนี้ ก็เป็นการกระทำการดังที่กล่าวไว้ในมาตรานี้แล้ว จำเลย-ทั้งสี่จึงต้องมีความผิด
สิทธิที่จะบังคับชำระหนี้จะหมดไปหรือไม่ ไม่ใช่องค์ประกอบตามป.อ. มาตรา 350 หากฟังได้ว่าจำเลยทั้งสี่ได้ร่วมกันกระทำเพื่อมิให้เจ้าหนี้ของตนหรือของผู้อื่นได้รับชำระหนี้ทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งเจ้าหนี้ได้ใช้หรือจะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ชำระหนี้ ก็เป็นการกระทำการดังที่กล่าวไว้ในมาตรานี้แล้ว จำเลย-ทั้งสี่จึงต้องมีความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6673/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โกงเจ้าหนี้: การโอนทรัพย์สินเพื่อหลีกเลี่ยงการชำระหนี้ แม้สิทธิบังคับคดีอาจไม่หมดไป ก็ถือเป็นความผิด
การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 โอนที่ดินให้แก่จำเลยที่ 3 และที่ 4 โดยรู้อยู่แล้วว่าโจทก์จะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ชำระหนี้และจำเลยที่ 1 และที่ 2 มีทรัพย์สินเหลืออยู่ไม่พอที่จะชำระหนี้ให้โจทก์ได้ เป็นการกระทำเพื่อมิให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของตนได้รับชำระหนี้ทั้งหมดหรือบางส่วน จึงมีความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350 ส่วนจำเลยที่ 3 และที่ 4 ซึ่งเป็นบุตรของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ก็รู้อยู่แล้วเช่นเดียวกันว่าโจทก์จะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ชำระหนี้รับโอนที่ดินจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงมีความผิดฐานเป็นตัวการเช่นเดียวกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 สิทธิที่จะบังคับชำระหนี้จะหมดไปหรือไม่ ไม่ใช่องค์ประกอบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350 หากฟังได้ว่าจำเลยทั้งสี่ได้ร่วมกันกระทำเพื่อมิให้เจ้าหนี้ของตนหรือของผู้อื่นได้รับชำระหนี้ทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งเจ้าหนี้ได้ใช้หรือจะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ชำระหนี้ ก็เป็นการกระทำการดังที่กล่าวไว้ในมาตรานี้แล้วจำเลยทั้งสี่จึงต้องมีความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 266/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์สินให้บุตรเพื่อหลีกเลี่ยงหนี้ เจ้าหนี้ขอเพิกถอนนิติกรรม การพิจารณาความเสียเปรียบของเจ้าหนี้
จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษารวม 3 สำนวน เป็นเงิน1,400,000 บาทเศษ หนี้สำนวนที่ 1 ศาลได้พิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความแล้วให้จำเลยผ่อนชำระแก่โจทก์เดือนละ5,000 บาท ไม่ปรากฏว่าจำเลยผิดนัด สำนวนที่ 2 มีทรัพย์สินจำนองเป็นประกัน ราคาสูงกว่าที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์อยู่ประมาณ200,000 บาท จำเลยที่ 1 ยังมีร้านขายเครื่องไฟฟ้า 3 คูหา และมีที่ดินอีก 3 แปลง แม้จำเลยที่ 1 จะนำที่ดินไปจำนองประกันหนี้ไว้แก่ธนาคารอื่นก็ตาม แต่ก็มีราคาสูงเกินกว่าจำนวนหนี้ของธนาคารนั้นอยู่มากนอกจากนี้หากจำเลยที่ 1 ต้องการหลีกเลี่ยงการชำระหนี้โจทก์แล้ว จำเลยที่ 1 ก็สามารถกระทำได้โดยโอนที่ดินพิพาทให้แก่บุคคลอื่นซึ่งแยบยล สมเหตุผลดีกว่าโอนให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุตรเสียอีก การที่จำเลยที่ 1 โอนที่ดินพิพาททั้ง 5 แปลงให้จำเลยที่ 2 จึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำที่จะเป็นการให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4522/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โกงเจ้าหนี้: การโอนทรัพย์สินเพื่อหลีกเลี่ยงหนี้ แม้มีการผ่อนชำระ ก็ถือเป็นความผิด
จำเลยที่ 1 สัญญาว่าหากจำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้ตามสัญญาจำเลยที่ 1 ยอมโอนที่ดินให้แก่โจทก์เพื่อเป็นการใช้หนี้แทนจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาไม่ชำระหนี้ โจทก์เตือนให้จำเลยที่ 1 โอนที่ดินให้แก่โจทก์แล้ว แต่จำเลยที่ 1 ไม่ยอมโอน กลับนำไปโอนขายให้แก่บุคคลอื่น แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 มีเจตนาจะไม่ให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนโดยรู้อยู่แล้วว่าโจทก์ได้ฟ้องจำเลยที่ 1 ต่อศาลเพื่อให้ชำระหนี้ จำเลยที่ 1จึงมีความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350 เมื่อการกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นความผิดฐานโกงเจ้าหนี้แล้ว การที่โจทก์จะฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีแพ่งโดยขอให้บังคับจำเลยที่ 1 โอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์หรือไม่เป็นสิทธิของโจทก์หาทำให้การกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 ซึ่งกระทำสำเร็จแล้วกลายเป็นผู้ไม่ได้กระทำความผิดไม่ และไม่จำเป็นที่โจทก์จะต้องนำสืบว่านอกจากที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างของจำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 1ไม่มีทรัพย์สินอื่นที่จะนำมาชำระหนี้แก่โจทก์ได้กับไม่ต้องคำนึงว่าจำเลยที่ 1 ได้โอนขายที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างโดยเปิดเผยหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2503/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฉ้อฉลทางแพ่ง: การกู้ยืมเงินและโอนสิทธิเพื่อหลีกเลี่ยงหนี้เจ้าหนี้อื่น
ระหว่างที่มีการทำสัญญากู้เงินระหว่างจำเลยที่ 1 ผู้คัดค้านและบริษัท ภ. นั้น จำเลยที่ 1 ดำรงสินทรัพย์ขาดสภาพคล่องจำเลยที่ 1 รู้อยู่แล้วว่าไม่อาจชำระเงินคืนเจ้าหนี้ซึ่งเป็นผู้ทรงตั๋วสัญญาใช้เงินของจำเลยที่ 1 ได้ การที่ผู้คัดค้านกู้เงินจากจำเลยที่ 1 แล้วในวันเดียวกันนั้นผู้คัดค้านนำเงินจำนวนดังกล่าวทั้งหมดไปให้บริษัท ภ. กู้ จำเลยที่ 1 ยอมรับชำระหนี้จากผู้คัดค้านด้วยตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัท ภ. โดยที่ขณะนั้นบริษัทภ. เป็นหนี้ จำเลยที่ 1 ตามตั๋วสัญญาใช้เงินถึง 64,000,000 บาทอยู่แล้ว และจำเลยที่ 1 ยืนยันจะไม่เรียกร้องเอาเงินส่วนที่ยังได้ไม่ครบจากผู้คัดค้านโดยผู้คัดค้านได้ผลประโยชน์จากผลต่างของดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 1 เช่นนี้ เป็นพฤติการณ์ที่ส่อพิรุธให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 และผู้คัดค้านรู้ดีอยู่แล้วว่าการกระทำดังกล่าวจะทำให้เจ้าหนี้อื่นของจำเลยที่ 1 เสียเปรียบ อันเป็นการร่วมกันฉ้อฉลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 378/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนนิติกรรมโอนขายที่ดินเพื่อหลีกเลี่ยงหนี้ เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องได้
โจทก์เป็นเจ้าหนี้จำเลยที่ 1 ตามคำพิพากษาในคดีอื่นที่พิพากษาให้จำเลยที่ 1 ร่วมกับจำเลยอื่นชำระหนี้เป็นเงินจำนวนหนึ่งให้โจทก์ ต่อมาจำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ที่ 3 โดยจำเลยที่ 2 ที่ 3 รู้ว่าจำเลยที่ 1เป็นหนี้โจทก์ขณะทำการรับโอนที่ดินพิพาทและจำเลยที่ 1 ไม่มีทรัพย์สินอื่นพอชำระหนี้ให้โจทก์ เมื่อโจทก์เป็นเจ้าหนี้จำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิบังคับชำระหนี้เอาแก่ทรัพย์สินของจำเลยที่ 1ได้โดยสิ้นเชิง แม้จำเลยที่ 1 จะมีลูกหนี้ร่วมคนอื่นก็ตาม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 291 เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มีทรัพย์สินอื่นที่จะบังคับชำระหนี้ได้นอกจากที่ดินพิพาท การที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 รับซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 ไว้ จึงทำให้กองทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ลดน้อยลงไม่พอที่จะใช้หนี้แก่โจทก์ อันเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ โจทก์ขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมอันเป็นการฉ้อฉลได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 237
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2690/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์สินเพื่อหลีกเลี่ยงหนี้ เจ้าหนี้ฟ้องอาญาได้ หากฟ้องชัดเจนครบองค์ความผิด
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยเจตนาเพื่อมิให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ซึ่งได้ใช้สิทธิทางศาลโดยชอบแล้วได้รับชำระหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน ได้โอนสิทธิการเช่าโทรศัพท์ของจำเลยให้แก่ผู้มีชื่อทำให้โจทก์เสียหาย ไม่ได้รับชำระหนี้ตามคำพิพากษาฟ้องโจทก์ดังกล่าวเป็นคำฟ้องที่สมบูรณ์มีความหมายชัดแจ้งอยู่ในตัวแล้วว่า จำเลยรู้อยู่แล้วว่า โจทก์ได้ใช้สิทธิทางศาลแล้วซึ่งครบองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350 และเป็นฟ้องที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)โจทก์ไม่จำต้องบรรยายข้อความที่มีความหมายอย่างเดียวกันซ้ำในฟ้องอีก โจทก์อุทธรณ์เป็นปัญหาข้อกฎหมายซึ่งศาลชั้นต้นยังมิได้วินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญในประเด็น ศาลอุทธรณ์มีอำนาจสั่งให้ศาลชั้นต้นพิจารณาปัญหาข้อเท็จจริงเช่นว่านั้นแล้วพิพากษาไปตามรูปคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 240(3)ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 229/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งสินสมรสหลังหย่าและการหลีกเลี่ยงหนี้เจ้าหนี้: ข้อตกลงแบ่งทรัพย์สินเป็นโมฆะ
ผู้ร้องกับจำเลยเป็นสามีภริยากัน ได้ที่ดินพร้อมบ้านพิพาทมาในระหว่างสมรสจึงเป็นสินสมรส ต่อมาจำเลยถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดและโจทก์นำเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยึดที่ดินพร้อมบ้านพิพาท โดยอ้างว่าเป็นสินสมรสของจำเลย ก่อนถูกยึดทรัพย์สินดังกล่าว ผู้ร้องกับจำเลยจดทะเบียนหย่ากัน โดยตกลงแบ่งที่ดินพร้อมบ้านพิพาทให้เป็นของผู้ร้อง แต่ข้อตกลงแบ่งทรัพย์สินในการหย่านั้นเป็นการแสดงเจตนาลวงด้วยสมรู้กันเพื่อมิให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ หรืออีกนัยหนึ่งเป็นการกระทำขึ้นโดยสมยอมไม่มีผลผูกพันบุคคลภายนอก ที่ดินพร้อมบ้านพิพาทจึงคงเป็นทรัพย์สินอันเป็นกรรมสิทธิ์รวมของผู้ร้องกับจำเลย ผู้ร้องไม่มีอำนาจร้องขอให้ถอนการยึดตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 158.