คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
หักค่าใช้จ่าย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 29 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4797/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายอสังหาริมทรัพย์ตามตัวอย่าง: การจัดทำสัญญาซื้อขายและการหักค่าใช้จ่าย
ผู้ซื้อที่ดินจาก ฉ. ได้ซื้อบ้านที่โจทก์ปลูกลงในที่ดินนั้นพร้อมกันด้วยและโจทก์ได้จัดเตรียมแบบแปลนสำหรับปลูกบ้านในที่ดินทุกแปลงไว้เหมือนกันทุกหลังกับได้สร้างบ้านตัวอย่างขึ้นไว้ให้ผู้ซื้อได้ดูเป็นตัวอย่าง อีกทั้งโจทก์ได้ลงมือปลูกสร้างบ้านลงในที่ดินเป็นการล่วงหน้าไปก่อนที่ผู้ซื้อจะได้ตกลงทำสัญญาซื้อที่ดินกับ ฉ. และทำสัญญารับจ้างเหมาก่อสร้างกับโจทก์ แสดงว่าโจทก์ลงมือปลูกสร้างบ้านขึ้นเพื่อขายมาแต่ต้น อันเป็นลักษณะของการขายตามตัวอย่าง หาใช่เป็นการรับจ้างทำของไม่ ยิ่งกว่านั้นบ้านที่โจทก์ปลูกสร้างลงในที่ดินของ ฉ. โดยได้รับความยินยอมจาก ฉ. นั้น ย่อมเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ เมื่อผู้ซื้อประสงค์จะได้กรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้าน จึงตกลงทำสัญญาจะซื้อที่ดินและบ้านจาก ฉ. และโจทก์ แต่โจทก์กลับจัดให้ผู้ซื้อทำสัญญาซื้อที่ดินจาก ฉ.และทำสัญญาว่า โจทก์รับเหมาก่อสร้างบ้านให้ผู้ซื้อที่ดินจาก ฉ. โดยใช้สัมภาระของโจทก์ขึ้นไว้แทน ซึ่งไม่ตรงต่อความเป็นจริง ดังนี้ รายรับที่โจทก์ได้จากการโอน-กรรมสิทธิ์บ้านให้แก่ผู้ซื้อจึงเป็นรายรับจากการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร ตามประเภทการค้า 11 การค้าอสังหาริมทรัพย์
โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้จากการขายอสังหา-ริมทรัพย์ ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 40 (8) โดยขอหักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรตรงตามจำนวนเงินในสัญญาจ้างเหมาผู้อื่นปลูกสร้างบ้าน เป็นค่าใช้จ่ายที่โจทก์จ่ายไปจริง ถือได้ว่าเจ้าพนักงานประเมินได้หักค่าใช้จ่ายแก่โจทก์ตามความจำเป็นและสมควรเป็นการถูกต้องแล้ว ส่วนที่โจทก์ขอหักค่าใช้จ่ายตามราคาประเมินของกรมโยธาธิการนั้น เป็นเพียงราคาจากการประเมิน มิใช่ค่าใช้จ่ายที่โจทก์จ่ายไปจริง จึงมิใช่ค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรอันจะนำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายตามพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ.2502 มาตรา 8 ทวิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4797/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือการรับจ้างก่อสร้าง การประเมินภาษี และการหักค่าใช้จ่าย
โจทก์ได้สร้างบ้านตัวอย่างและจัดเตรียมแบบแปลนบ้านสำหรับปลูกในที่ดินเหมือนกันทุกหลัง ทั้งได้ปลูกสร้างบ้านลงในที่ดินเป็นการล่วงหน้าไว้ก่อนที่ผู้ซื้อจะได้ตกลงทำสัญญากับโจทก์ เป็นกรณีโจทก์ลงมือปลูกสร้างบ้านขึ้นเพื่อขายมาแต่ต้นเป็นลักษณะขายตามตัวอย่าง บ้านที่โจทก์ปลูกสร้างลงในที่ดินของ ฉ. โดยได้รับความยินยอมจาก ฉ. ย่อมเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ และเมื่อผู้ซื้อประสงค์จะซื้อที่ดินพร้อมบ้าน ย่อมต้องทำสัญญาจะซื้อที่ดินและบ้านจาก ฉ.และโจทก์ แต่โจทก์กลับให้ผู้ซื้อทำสัญญาจะซื้อที่ดินจาก ฉ. และทำสัญญาว่าจ้างโจทก์ก่อสร้างบ้าน จึงไม่ตรงต่อความเป็นจริงหาใช่เป็นการรับจ้างทำของไม่ ดังนั้น รายรับที่โจทก์ได้จากการโอนกรรมสิทธิ์บ้านให้แก่ผู้ซื้อจึงเป็นรายรับจากการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร ตามประเภทการค้า 11 การค้าอสังหาริมทรัพย์ ต้องเสียภาษีการค้า ราคาประเมินของกรมโยธาธิการเป็นเพียงราคาจากการประเมินมิใช่ราคาที่โจทก์ได้จ่ายไปจริง จึงมิใช่ค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรอันจะนำมาหักค่าใช้จ่ายตาม พ.ร.ฎ. โจทก์มีรายรับจากการขายอสังหาริมทรัพย์สำหรับปี พ.ศ. 2521เป็นเงิน 4,487,070 บาท และปี พ.ศ. 2522 เป็นเงิน 2,907,800บาท แต่โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีในยอดรายรับเพียง2,027,800 บาท และ 1,685,000 บาท ตามลำดับ พฤติการณ์เป็นการหลีกเลี่ยงภาษีไม่มีเหตุสมควรที่จะงดหรือลดเงินเพิ่มและเบี้ยปรับ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2651/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักค่าใช้จ่ายในการซื้อที่ดินแทนโจทก์และการพิจารณาประเด็นข้อเท็จจริงที่ขัดแย้งกัน จำเป็นต้องสืบพยานเพื่อพิสูจน์
โจทก์บรรยายฟ้องว่า บิดาโจทก์แบ่งทรัพย์สินรวมทั้งเงินสดให้โจทก์ส่วนหนึ่ง ต่อมาเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2517 บิดาโจทก์นำเงินสดในส่วนของโจทก์ไปซื้อที่ดินแทนโจทก์ในราคา 30,000,000 บาท และในวันนั้นเองบิดาโจทก์ได้ขายฝากที่ดินดังกล่าวแทนโจทก์ในราคา15,000,000 บาท มีกำหนด 1 ปี กำหนดสินไถ่ไว้ 16,800,000 บาทและโจทก์ได้ชำระดอกเบี้ยแก่ผู้ซื้อฝากตลอดมาต่อมาเมื่อวันที่ 28มิถุนายน 2520 อันเป็นวันกำหนดการไถ่ถอนโจทก์ไถ่ถอนการขายฝากในจำนวนเงินแปลงดังกล่าวไปในราคา 44,864,000 บาท การที่บิดาโจทก์ซื้อที่ดินในราคา 30,000,000 บาท ถือได้ว่าซื้อแทนโจทก์เป็นค่าใช้จ่ายที่โจทก์ซื้อมา หรือเป็นทุนของโจทก์ในการซื้อที่ดินโจทก์จึงหักค่าใช้จ่ายได้ตามความจำเป็นและสมควร จำเลยให้การว่าคำให้การของโจทก์ในชั้นตรวจสอบจากคำอุทธรณ์และจากหนังสือขอความเป็นธรรมในการประเมินภาษีของโจทก์ โจทก์อ้างแต่เพียงว่าบิดาโจทก์ยกที่ดินให้โจทก์ในระหว่างการขายฝากซึ่งที่ดินตกเป็นของผู้ซื้อแล้ว ไม่เคยอ้างว่าบิดาโจทก์ซื้อที่ดินและขายฝากที่ดินแทนโจทก์ดังนี้ ข้อเท็จจริงระหว่างโจทก์และจำเลยที่โต้แย้งกันนี้ จะต้องวินิจฉัยจากพยานหลักฐานของทั้งสองฝ่ายเสียก่อน ศาลฎีกามีอำนาจยกคำสั่งและคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสอง ให้ศาลชั้นต้นทำการพิจารณาเริ่มจากการสืบพยานโจทก์จำเลยแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดีได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4628/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักค่าใช้จ่ายจากเงินบำเหน็จออกจากงานตามมาตรา 42 ทวิ วรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากร
โจทก์ออกจากงานเพราะครบเกษียณอายุ เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2524 นายจ้างของโจทก์จ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงานให้โจทก์เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2524 เป็นเงิน 94,140 บาทครั้นวันที่ 5 มกราคม 2525 จ่ายเงินบำเหน็จเพราะโจทก์ออกจากงานให้อีก 545,358.25 บาท ไม่ปรากฏว่านอกจากนี้นายจ้างยังจ่ายเงินให้โจทก์เป็นรายเดือนอันมีลักษณะเป็นเงินบำนาญอีก เงินที่นายจ้างจ่ายให้โจทก์ทั้งหมดดังกล่าวเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้โจทก์เพียงครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานชอบที่จะหักค่าใช้จ่ายตามมาตรา 42 ทวิ วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4628/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้จากเงินบำเหน็จและบำนาญเมื่อออกจากงาน: เงินบำเหน็จหักค่าใช้จ่ายได้
ตามมาตรา 42 ทวิ วรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากรนั้นเงินได้พึงประเมินที่นายจ้างจ่ายให้ลูกจ้างเมื่อออกจากงานมีอยู่ 2 ลักษณะ คือเงินได้พึงประเมินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน และเงินได้จ่ายในลักษณะเป็นบำเหน็จจำนวนหนึ่งและมีลักษณะเป็นบำนาญอีกจำนวนหนึ่งซึ่งกรณีที่นายจ้างจ่ายในลักษณะหลังนี้ เงินบำนาญเท่านั้นที่จะหักค่าใช้จ่ายตามบทบัญญัติมาตรานี้ไม่ได้ และตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ มาตรา 4 ให้คำจำกัดความคำว่า บำเหน็จว่าเป็นเงินตอบแทนความชอบ ฯลฯ ซึ่งจ่ายให้ครั้งเดียว ส่วนบำนาญหมายความว่าเป็นเงินตอบแทน ฯลฯซึ่งจ่ายเป็นรายเดือน ดังนี้เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่านอกจากนายจ้างของโจทก์ได้จ่ายเงินชดเชยตามกฎหมายแรงงานและเงินบำเหน็จให้โจทก์แล้ว นายจ้างยังได้จ่ายเงินให้โจทก์เป็นรายเดือนภายหลังโจทก์ออกจากเงินอันมีลักษณะเป็นเงินบำนาญด้วยฉะนั้นเงินที่นายจ้างจ่ายให้โจทก์ทั้งหมดซึ่งรวมถึงเงินบำเหน็จด้วย จึงเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้โจทก์ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน ชอบที่โจทก์จะหักค่าใช้จ่ายตามที่มาตรา 42 ทวิ วรรคสาม บัญญัติไว้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2444/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา: สิทธิในการหักค่าใช้จ่ายและการถือว่าสินค้าขายหมด
โจทก์มิได้ทำและนำบัญชีมาแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าคงเหลือเมื่อสิ้นปี เจ้าพนักงานประเมินจึงมีสิทธิที่จะถือว่าสินค้าที่โจทก์ซื้อมาได้ขายหมดไปแต่ ละปี ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานประเมินนำเอายอดเงินที่อ้างว่าสินค้าที่โจทก์ซื้อมาได้ขายหมดไปแต่ละปีมาคำนวณภาษีและหักค่าใช้จ่ายให้ตามความจำเป็นและสมควร โดยนำเอามาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากรมาใช้บังคับโดยอนุโลมจึงชอบแล้ว
เมื่อโจทก์ตกลงยินยอมให้เจ้าพนักงานประเมินคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาโดยให้หักค่าใช้จ่ายตาม มาตรา 8 วรรคสอง แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับ ที่ 11) พ.ศ. 2502 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย มาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว (ฉบับ ที่ 70) พ.ศ. 2520 ที่กำหนดให้นำมาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากรมาใช้บังคับโดยอนุโลมแล้ว โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาในอัตราร้อยละ 80 ตาม มาตรา 8 วรรคแรก (25) ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1867/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ผู้รับเงินเพื่อหักค่าใช้จ่ายทางภาษี ต้องมีหลักฐานชัดเจน ลายเซ็นไม่ตรงกับตัวอย่างธนาคารไม่อาจรับฟังได้
โจทก์อ้างว่า ต. หุ้นส่วนผู้จัดการห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ซ. ได้ โอนเงินเข้าบัญชีโจทก์เป็นเงิน764,268 บาท โดยเข้าใจผิดว่ามีการซื้อ ขายไม้กัน แต่ เมื่อโจทก์ ทราบเรื่องก็ได้จ่าย เงินจำนวน 764,268 บาท คืนในวันเดียวกัน โดย สั่งจ่ายเป็นเช็ค เงินสดแก่ผู้ถือ จึงไม่อาจชี้ ได้ ว่าใครเป็น ผู้รับเงินตาม เช็คฉบับ นี้คงมีแต่ ลายเซ็นภาษาจีนที่ด้านหลังเช็ค ซึ่ง มีลักษณะไม่ตรง กับลายเซ็นตัวอย่างของ ต. ที่มอบไว้แก่ธนาคารพยานหลักฐานโจทก์ฟังไม่ได้ว่า ต. เป็นผู้รับเงินไป ถือ ว่ารายจ่ายดังกล่าวเป็นรายจ่ายซึ่ง ผู้จ่ายพิสูจน์ไม่ได้ว่าใครเป็นผู้รับ จึงถือ เป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิไม่ได้ โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิจะนำเงินจำนวน 764,268 บาท มาหักออกจากรายรับได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2231-2234/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษี การหักค่าใช้จ่าย และการคำนวณรายรับที่ถูกต้องตามกฎหมายภาษีอากร
โจทก์ใช้ระบบเกณฑ์สิทธิในการลงบัญชี โจทก์ต้องใช้ระบบดังกล่าวโดยตลอด การที่โจทก์สั่งซื้อสินค้าโจทก์ลงบัญชีโดยใช้ระบบเกณฑ์สิทธิ แต่ในการขายสินค้าโจทก์ใช้ระบบเงินสด ทำให้โจทก์มีรายจ่ายมากและรายรับน้อย การลงบัญชีย่อมไม่ถูกต้องและจะถือราคาสินค้าเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิไม่ได้ รายจ่ายเกี่ยวกับค่าน้ำมันเชื้อเพลิง โจทก์มิได้ลงบัญชีรายจ่ายไว้ เพราะไม่สามารถหาหลักฐานมาแสดงได้ เหตุที่โจทก์ไม่สามารถหาหลักฐานมาแสดงได้ เพราะใบเสร็จรับเงินค่าน้ำมันนั้นโจทก์ให้ผู้ขายน้ำมันส่งมอบไว้ยังหน่วยงานต่าง ๆ ของโจทก์ และหน่วยงานดังกล่าวมิได้ส่งใบเสร็จรับเงินดังกล่าวมายังโจทก์ ซึ่งเป็นความบกพร่องของพนักงานของโจทก์เอง โจทก์จึงนำรายจ่ายเกี่ยวกับค่าน้ำมันเชื้อเพลิงมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิไม่ได้ ราคาไม้แปรรูปควรจะต้องสูงกว่าราคาไม้ท่อนเพราะต้องรวมค่าจ้างแปรรูปไม้เข้าไว้ด้วย โจทก์ตีราคาไม้แปรรูปอันเป็นสินค้าคงเหลือเมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีเพียงลูกบาศก์เมตรละ80 บาท และตีราคาไม้ท่อนลูกบาศก์เมตรละ 900 บาท ดังนั้นการที่เจ้าพนักงานประเมินตีราคาไม้แปรรูปลูกบาศก์เมตรละ1,300 บาท โดยคิดจากราคาไม้ท่อนรวมกับค่าจ้างเลื่อยลูกบาศก์เมตรละ 400 บาท จึงชอบด้วยเหตุผล โจทก์ประกอบการค้าเลื่อยไม้ขายและโม่หินขาย ตามสัญญาที่โจทก์ทำกับลูกค้าระบุว่าโจทก์เป็นผู้ขายหรือผู้รับจ้าง และต้องนำสินค้าคือไม้และหินไปส่งมอบแก่ผู้ซื้อหรือผู้ว่าจ้าง ในสัญญาดังกล่าวไม่ได้แยกเรื่องการขนส่งไว้ และไม่อาจแยกได้ว่าราคาซื้อขายหรือราคาค่าจ้างรวมเอาค่าขนส่งไว้เท่าใด จึงเป็นลักษณะของสัญญาซื้อขายหรือสัญญาจ้างทำของที่โจทก์จะต้องส่งของให้แก่คู่สัญญา โจทก์จึงต้องนำรายรับจากการขายหรือรับจ้างทำสินค้ามาคำนวณเพื่อเสียภาษีการค้า จะแยกเสียภาษีการค้าเฉพาะราคาสินค้าโดยถือว่ารายได้จากการขนส่งโจทก์ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีการค้านั้นมิได้ วัตถุพลอยได้จากการเลื่อยไม้จำพวกขี้เลื่อย ปีกไม้ และเศษไม้โจทก์ขายไปบ้าง มีคนมาขอโจทก์ให้ไปบ้าง พนักงานของโจทก์เก็บไปเป็นประโยชน์ส่วนตนบ้าง จึงมิใช่เป็นของไม่มีมูลค่าตามประมวลรัษฎากร มาตรา 79(1)(ข) บัญญัติให้รายรับจากการค้าประเภทโรงเลื่อยให้หมายความรวมถึงมูลค่าของผลิตภัณฑ์และวัตถุพลอยได้ด้วย ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานประเมินประเมินรายรับของโจทก์จากวัตถุพลอยได้ดังกล่าว จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 994/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าบริการทางวิศวกรรมเป็นเงินได้จากอาชีพอิสระ หักค่าใช้จ่ายได้ตามมาตรา 70(4)
โจทก์จ้างบริษัท ด. เป็นผู้ดำเนินการเกี่ยวกับการก่อสร้างโรงงานออกแบบแปลนโรงงานรวมทั้งการสำรวจสถานที่ตั้งโรงงานจัดนำเครื่องจักรเก่าจากต่างประเทศมาปรับปรุงให้ใช้การได้กับโรงงานของโจทก์และเมื่อติดตั้งเครื่องจักรโรงงานแล้วจะต้องทำการฝึกวิศวกรไทยของโจทก์ให้รู้จักใช้เครื่องจักรรวมทั้งการบำรุงรักษาด้วย โดยโจทก์จะต้องจ่ายค่าตอบแทนในการบริการให้แก่เจ้าหน้าที่ของบริษัทด. ตลอดระยะเวลาตามข้อตกลง กรณีดังกล่าวถือเป็นการให้บริการทางวิศวกรรม เงินค่าตอบแทนที่โจทก์จ่ายให้กับบริษัท ด.จึงเป็นเงินได้จากอาชีพอิสระ วิศวกรรมตามมาตรา 40(6) แห่งประมวลรัษฎากร มิใช่ค่าแห่งสิทธิตามมาตรา 40(3) โจทก์ย่อมหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาร้อยละ 40 ก่อนหักภาษี ณ ที่จ่ายจากเงินได้พึงประเมินได้ตามมาตรา 70(4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2860/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินเพื่อหากำไรและการหักค่าใช้จ่ายทางภาษี ศาลยืนตามประเมินเจ้าพนักงาน
โจทก์ทั้งสองเป็นสามีภรรยากันซื้อที่ดินมาแล้วแบ่งแยกที่ดินออกเป็นแปลงย่อยเนื้อที่เพียงเล็กน้อย มีลักษณะเพื่อที่จะปลูกสร้างตึกแถว และต่อมาหลังจากโจทก์ซื้อที่ดินดังกล่าวแล้วไม่ถึง3 ปี ได้ขายไปในช่วงระยะเวลาอันสั้น ส่อแสดงให้เห็นว่าโจทก์ซื้อที่ดินมาแล้วขายไปในทางการค้าหรือหากำไร เพราะคำว่าการขายโดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไรหมายความว่าหากมีการซื้อที่ดินมาเพื่อจะขายเพื่อเอากำไรก็เรียกว่าเป็นการค้า แม้จะกระทำเพียงครั้งเดียวก็ถือได้ว่าเป็นการขายโดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไรแล้ว การคำนวณเงินได้สุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และการคำนวณภาษีการค้านั้นมีหลักเกณฑ์ไม่เหมือนกัน ไม่เป็นผลผูกมัดถึงกันอย่างใด การขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไรจะต้องเสียภาษีการค้า และเมื่อโจทก์ขายที่ดินที่ได้มาโดยมุ่งทางการค้าหรือหากำไรแล้ว ดังนั้น ในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โจทก์จึงไม่มีสิทธิหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้ร้อยละ 80 ของเงินได้พึงประเมิน
of 3