คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
หักบัญชี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 23 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักบัญชีเงินฝากและเช็คในบัญชีเดินสะพัดช่วงก่อนล้มละลาย ไม่ถือเป็นการโอนทรัพย์สินเพื่อเอื้อประโยชน์เจ้าหนี้รายอื่น
จำเลยมีบัญชีเดินสะพัดกับธนาคารผู้คัดค้านและอยู่ในระหว่างบัญชียังเดินสะพัด การที่จำเลยนำเช็คของธนาคารอื่นมาเข้าบัญชีของจำเลยเพื่อให้ธนาคารผู้คัดค้านเรียกเก็บเงินให้ภายในระยะเวลา 3 เดือนก่อนจำเลยถูกโจทก์ฟ้องขอให้ล้มละลาย ถือได้ว่าเป็นการนำเงินตามเช็คฝากเข้าบัญชีเดินสะพัดหาใช่จำเลยมีเจตนาชำระหนี้ให้แก่ธนาคารผู้คัดค้าน ที่ธนาคารผู้คัดค้านเรียกเก็บเงินตามเช็คได้แล้วนำมาหักกับยอดหนี้ที่จำเลยเบิกเกินบัญชีอยู่ในขณะนั้น เป็นเพียงวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการบัญชีตามปกติธรรมดาของธนาคาร กรณีมิใช่จำเลยได้กระทำหรือยินยอมให้กระทำโดยมุ่งหมายให้ผู้คัดค้านได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่นตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 115 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงขอให้ศาลเพิกถอนการฝากเงินตามเช็คดังกล่าวไม่ได้
ธนาคารผู้คัดค้านนำเงินฝากประจำของจำเลยไปเข้าบัญชีกระแสรายวันของจำเลยภายในกำหนด 3 เดือนก่อนจำเลยถูกโจทก์ฟ้องขอให้ล้มละลายเพื่อเป็นการชำระหนี้ที่จำเลยเป็นหนี้เบิกเงินเกินบัญชีธนาคารผู้คัดค้าน การกระทำของธนาคารผู้คัดค้านดังกล่าวเกิดจากข้อตกลงตามหนังสือยินยอมให้หักบัญชีเงินฝากประจำชำระหนี้ระหว่างจำเลยกับธนาคารผู้คัดค้าน โดยทำขึ้นก่อนมีการขอให้จำเลยล้มละลายเกือบ 9 เดือน ซึ่งตามข้อตกลงดังกล่าวลูกหนี้ยินยอมให้ธนาคารผู้คัดค้านนำเงินในบัญชีฝากประจำมาหักหนี้เบิกเกินบัญชีในบัญชีเดินสะพัด เมื่อใดก็ได้โดยไม่ต้องมีการตัดทอนบัญชีก่อนและโดยมิต้องบอกกล่าวล่วงหน้าหรือขอความยินยอมลูกหนี้เสียก่อน การที่ธนาคารหักหนี้ดังกล่าวจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยได้กระทำหรือยินยอมให้ธนาคารผู้คัดค้านกระทำการโอนบัญชีและหักหนี้ในระหว่างระยะเวลา 3 เดือนก่อนมีการขอให้ล้มละลายโดยมุ่งหมายให้ธนาคารผู้คัดค้านได้เปรียบเจ้าหนี้อื่นตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 115 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะขอให้เพิกถอนการโอนไม่ได้ (อ้างฎีกา 2483/2527)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักบัญชีเงินฝากและการโอนบัญชีเพื่อชำระหนี้ก่อนล้มละลาย ไม่ถือเป็นการเจตนาให้เจ้าหนี้ได้เปรียบ
จำเลยมีบัญชีเดินสะพัดกับธนาคารผู้คัดค้านและอยู่ในระหว่างบัญชียังเดินสะพัดการที่จำเลยนำเช็คของธนาคารอื่นมาเข้าบัญชีของจำเลยเพื่อให้ธนาคารผู้คัดค้านเรียกเก็บเงินให้ภายในระยะเวลา3เดือนก่อนจำเลยถูกโจทก์ฟ้องขอให้ล้มละลายถือได้ว่าเป็นการนำเงินตามเช็คฝากเข้าบัญชีเดินสะพัดหาใช่จำเลยมีเจตนาชำระหนี้ให้แก่ธนาคารผู้คัดค้านที่ธนาคารผู้คัดค้านเรียกเก็บเงินตามเช็คได้แล้วนำมาหักกับยอดหนี้ที่จำเลยเบิกเกินบัญชีอยู่ในขณะนั้นเป็นเพียงวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการบัญชีตามปกติธรรมดาของธนาคารกรณีมิใช่จำเลยได้กระทำหรือยินยอมให้กระทำโดยมุ่งหมายให้ผู้คัดค้านได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่นตามพ.ร.บ.ล้มละลายฯมาตรา115เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงขอให้ศาลเพิกถอนการฝากเงินตามเช็คดังกล่าวไม่ได้ ธนาคารผู้คัดค้านนำเงินฝากประจำของจำเลยไปเข้าบัญชีกระแสรายวันของจำเลยภายในกำหนด3เดือนก่อนจำเลยถูกโจทก์ฟ้องขอให้ล้มละลายเพื่อเป็นการชำระหนี้ที่จำเลยเป็นหนี้เบิกเงินเกินบัญชีธนาคารผู้คัดค้านการกระทำของธนาคารผู้คัดค้านดังกล่าวเกิดจากข้อตกลงตามหนังสือยินยอมให้หักบัญชีเงินฝากประจำชำระหนี้ระหว่างจำเลยกับธนาคารผู้คัดค้านโดยทำขึ้นก่อนมีการขอให้จำเลยล้มละลายเกือบ9เดือน ซึ่งตามข้อตกลงดังกล่าวลูกหนี้ยินยอมให้ธนาคารผู้คัดค้านนำเงินในบัญชีฝากประจำมาหักหนี้เบิกเกินบัญชีในบัญชีเดินสะพัดเมื่อใดก็ได้โดยไม่ต้องมีการตัดทอนบัญชีก่อนและโดยมิต้องบอกกล่าวล่วงหน้าหรือขอความยินยอมลูกหนี้เสียก่อนการที่ธนาคารหักหนี้ดังกล่าวจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยได้กระทำหรือยินยอมให้ธนาคารผู้คัดค้านกระทำการโอนบัญชีและหักหนี้ในระหว่างระยะเวลา3เดือนก่อนมีการขอให้ล้มละลายโดยมุ่งหมายให้ธนาคารผู้คัดค้านได้เปรียบเจ้าหนี้อื่นตามพ.ร.บ.ล้มละลายฯมาตรา115เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะขอให้เพิกถอนการโอนไม่ได้(อ้างคำพิพากษาศาลฎีกาที่2453/2527).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 557/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิไล่เบี้ยของผู้ค้ำประกันเมื่อถูกหักบัญชีเงินฝากชำระหนี้แทนลูกหนี้
ผู้ค้ำประกันถูกธนาคารเจ้าหนี้หักบัญชีเงินฝากประจำใช้หนี้แทนลูกหนี้ ทำให้ผู้ค้ำประกันสูญเสียเงินต้นและดอกเบี้ยที่ควรจะได้รับตามบัญชีเงินฝากประจำตั้งแต่วันที่ธนาคารเจ้าหนี้หักบัญชี ผู้ค้ำประกันย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยเอาจากลูกหนี้เพื่อการสูญเสียดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 693

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5035/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คลงลายมือชื่อปลอมและแท้จริงร่วมกัน จำเลยไม่มีสิทธินำเงินที่จ่ายไปหักบัญชีได้
ข้อสัญญาเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันระหว่างโจทก์จำเลยมีว่า การสั่งจ่ายเช็คต้องลงลายมือชื่อสั่งจ่ายโดย ฉ. และ จ. ร่วมกัน พร้อมทั้งประทับตราบริษัทโจทก์เป็นสำคัญ เช็คพิพาททั้งสองฉบับปรากฏว่า ลายมือชื่อ จ. เป็นลายมือปลอม เช็คนั้นจึงเป็นอันใช้ไม่ได้เลย เพราะมีแต่ ฉ. ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายแต่ผู้เดียวจำเลยจ่ายเงินตามเช็ค ดังกล่าวย่อมไม่ทำให้เช็คนั้นหลุดพ้นและยังเป็นการผิดสัญญา เปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันดังกล่าวด้วย การที่ ฉ. ลง ลายมือชื่อแท้จริงในเช็คไว้ก็ไม่ทำให้โจทก์อยู่ในฐานเป็น ผู้ต้องตัดบทมิให้ยกข้อลายมือชื่อปลอมขึ้นเป็นข้อต่อสู้ทั้งกรณีไม่ต้องด้วย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1006 การที่จำเลยจ่ายเงินตามเช็ค ที่มีลายมือชื่อโจทก์ผู้สั่งจ่ายปลอม โดยที่จำเลยไม่นำสืบพิสูจน์ให้เห็นได้ว่า โจทก์ได้ทำปลอมหรือได้ร่วมกระทำปลอมแล้ว จำเลยจึงไม่มีสิทธินำจำนวนเงินที่จ่ายไปตามเช็คมาลงบัญชีเงินฝากกระแสรายวันว่าโจทก์ เป็นลูกหนี้จำเลยและโจทก์มีสิทธิให้จำเลยเพิกถอนรายการนั้นเสียได้
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันและให้ จำเลยคืนเงินที่จำเลยจ่ายไปตามเช็คซึ่งลายมือชื่อโจทก์ผู้สั่งจ่ายเป็น ลายมือชื่อปลอม แล้วนำจำนวนเงินนั้นมาลงบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน แสดงว่าโจทก์เป็นลูกหนี้ กรณีดังกล่าวไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น อายุความจึงมีกำหนดสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 โจทก์ทราบเรื่องเมื่อเดือนธันวาคม 2518 และฟ้องคดีนี้ เมื่อเดือนพฤษภาคม 2525 คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3260/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอายัดเช็คหลังการหักบัญชีสำเร็จ และความรับผิดของธนาคารต่อการจ่ายเงินตามเช็ค
ผู้สั่งจ่ายขออายัดเช็คหมาย จ.3 หลังจากธนาคารจำเลยที่ 2 ทำการหักโอนเงินจากบัญชีของผู้สั่งจ่ายเข้าบัญชีของโจทก์เสร็จสิ้นแล้ว อันถือได้ว่ามีการจ่ายเงินตามเช็คนั้นแล้ว ธนาคารจำเลยที่ 2 จึงไม่สมควรรับการอายัดของผู้สั่งจ่าย เมื่อจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้จัดการธนาคารจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 รับการอายัดของผู้สั่งจ่าย แล้วโอนเงินจากบัญชีของโจทก์กลับคืนไปยังบัญชีของผู้สั่งจ่ายย่อมเป็นการกระทำที่มิชอบด้วยกฎหมาย
ประมวลระเบียบปฏิบัติงานธนาคารจำเลยที่ 2 เป็นระเบียบภายในของธนาคารจำเลย ใช้ยันบุคคลภายนอกไม่ได้ ส่วนกรณีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 992 เป็นเรื่องที่ธนาคารยังมิได้มีการใช้เงินตามเช็คหรือหักโอนบัญชีตามเช็คจึงใช้บังคับกับคดีนี้ไม่ได้ ทั้งกรณีตามคดีนี้ไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่งมาตรา 991 ด้วย และเมื่อโจทก์ไม่ได้รับเงินตามเช็คหมาย จ.3 แม้ผู้สั่งจ่ายได้ออกเช็คหมาย จ.19 ให้โจทก์อีกแต่ก็ปรากฏว่าเรียกเก็บเงินตามเช็คหมาย จ.19 ไม่ได้ โจทก์ย่อมเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองรับผิดกรณีตามเช็คหมาย จ.3 ได้ ถือไม่ได้ว่าโจทก์ยอมให้ผู้สั่งจ่ายแลกเปลี่ยนเช็คจากเช็คหมายจ.3 มาเป็นเช็คหมาย จ.19 แล้ว
โจทก์ทราบดีว่าได้จ่ายเงินเกินยอดเงินตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีหรือบัญชีของโจทก์ไม่มีเงินพอจ่ายแล้วแต่โจทก์ก็ยังสั่งจ่ายเช็คอีก เมื่อธนาคารจำเลยที่ 2 ปฏิเสธการจ่ายเงินเพราะยอดเงินตามบัญชีของโจทก์สูงเกินวงเงินเบิกเกินบัญชีตามสัญญา โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินจากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3518/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดเมื่อไม่ต่ออายุ การคิดดอกเบี้ยทบต้นจำกัดเฉพาะระยะเวลาสัญญา
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและการต่ออายุสัญญาทั้งสี่ครั้งได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้แน่นอนในวันสุดท้ายของอายุสัญญาทุกครั้ง เมื่อครบกำหนดอายุสัญญาครั้งสุดท้ายแล้วจำเลยมิได้เบิกเงินหรือนำเงินเข้าบัญชีอีก พฤติการณ์ของคู่กรณีที่ปฏิบัติต่อกันแสดงให้เห็นว่าเจตนาได้ว่า หากไม่มีการต่ออายุสัญญาออกไป ก็ให้ถือว่าให้เลิกสัญญากันเมื่อสิ้นสุดอายุสัญญาโดยไม่จำต้องมีการบอกเลิกสัญญาอีก จึงต้องหักทอนบัญชีเมื่อครบกำหนดอายุสัญญาครั้งสุดท้ายโจทก์จะคิดดอกเบี้ยทบต้นต่อไปมิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2523/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ธนาคารพาณิชย์ไม่ใช่ผู้จัดการทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 353 การหักบัญชีผิดไม่ใช่ความผิดฐานยักยอก
จำเลยเป็นธนาคารพาณิชย์ประกอบธุรกิจประเภทรับฝากเงินที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถาม หรือเมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้ และมีสิทธิ ใช้ประโยชน์เงินนั้นในทางหนึ่งหรือหลายทางได้ ตามที่บัญญัติไว้ใน พระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 มาตรา 4 ดังนั้นความสัมพันธ์ ระหว่างโจทก์ซึ่งเป็นผู้ฝากเงิน กับจำเลยซึ่งเป็นผู้รับฝากเงินจึงเป็นไป ตามพระราชบัญญัติ การธนาคารพาณิชย์ โดยจำเลยมีฐานะเป็นเพียง ผู้รับฝากเงิน ของโจทก์อย่างธนาคารพาณิชย์เท่านั้น จำเลยหาได้รับ มอบหมาย ให้จัดการทรัพย์สินของโจทก์ตามความหมายที่บัญญัติไว้ ในมาตรา 353 แห่งประมวลกฎหมายอาญาแต่อย่างใดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 81/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บัญชีเดินสะพัด: การซื้อขายปลาและการหักบัญชีระหว่างนายทุนกับผู้ทำการประมง
การที่นาย ซ. ได้ออกเงินและสิ่งของให้นาง ก. ทำการประมง เมื่อได้ปลามาส่งให้แก่นาย ซ.แล้ว นายซ. ก็รับขนส่งไปให้นางบุญแถมขาย นางบุญแถมจะหักเงินค่าขายปลาของนางบุญแถมไว้ 5 เปอร์เซ็นต์และอีก 5 เปอร์เซ็นต์เป็นค่าบำเหน็จของนาย ซ. เพราะนาย ซ.ออกทุนให้นาง ก. แล้วส่งบิลและเงินค่าขายปลาให้นาย ซ. นาย ซ.ลงบัญชีไว้แล้วมอบบิลให้นาง ก. ไปลงบัญชีของตนเพื่อจะได้ตรวจสอบคิดหักบัญชีกัน ทำให้รู้ได้ว่าฝ่ายใดยังเป็นเจ้าหนี้ลูกหนี้กันจำนวนเงินเท่าใด โดยมีสมุดบัญชีเบิกเงินรายวัน สมุดบัญชีน้ำมัน(ที่ใช้ในการเดินเรือ) สมุดบัญชีขายปลา เป็นพยานหลักฐาน เช่นนี้ นิติสัมพันธ์ระหว่างนาง ก. กับนาย ซ. เข้าลักษณะบัญชีเดินสะพัดตามมาตรา 856 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 874/2477

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายสินค้าเชื่อและการหักบัญชีราคาสินค้า ไม่ถือเป็นการกู้ยืมเงิน
อย่างไรไม่เรียกว่าเป็นการ+

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 20338/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้แทนบุคคลอื่นโดยมีเงื่อนไข การหักบัญชีหนี้ที่ถูกต้องตามกฎหมาย
การที่โจทก์สั่งจ่ายเช็ค 13 ฉบับ ระบุชำระหนี้เงินต้นแทน ส. และเช็คทุกฉบับเรียกเก็บเงินได้แล้ว โดยจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิเสธการชำระหนี้ดังกล่าวทั้งที่อาจปฏิเสธได้เพราะเป็นการชำระหนี้แตกต่างจากที่ ป.พ.พ. มาตรา 329 กำหนด จึงต้องถือว่าจำเลยที่ 1 ยอมรับว่าจะนำเงินจำนวนตามเช็คไปหักชำระหนี้ของ ส. เฉพาะเงินต้นเท่านั้น จำเลยที่ 1 จึงนำไปหักชำระหนี้ค่าดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมอื่น ๆ ก่อนมิได้
of 3