พบผลลัพธ์ทั้งหมด 52 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9759/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมกรณีสามีภริยาแยกยื่นภาษี: สิทธิของแต่ละฝ่ายและความถูกต้องของการประเมิน
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 57 ตรี หลักในการเก็บภาษีเงินได้จากสามีและภริยา ถ้าสามีและภริยาอยู่ร่วมกันตลอดปีภาษีที่ล่วงมา กฎหมายถือเอาเงินได้พึงประเมินของภริยาเป็นเงินได้ของสามี โดยสามีมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการยื่นรายการและเสียภาษี เว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้น ดังบัญญัติไว้ในมาตรา 57 เบญจ
แม้โจทก์จะเคยเสียภาษีมาในฐานะคนโสดแต่ภายหลังมีภริยาและต้องเสียภาษีในฐานะมีคู่สมรสมิใช่ในฐานะคนโสดอีกต่อไป ทั้งภริยาของโจทก์มีเงินได้ซึ่งเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(1) ได้แยกยื่นรายการและเสียภาษีต่างหากจากโจทก์ จึงไม่ถือว่าเงินได้ของภริยาโจทก์นั้นเป็นเงินได้ของโจทก์ด้วยตามมาตรา 57 เบญจ โจทก์และภริยาจึงต่างฝ่ายต่างมีสิทธิหักค่าลดหย่อนสำหรับดอกเบี้ยเงินกู้ยืมตามมาตรา 47(1)(ซ)กึ่งหนึ่ง ตามบทบัญญัติของมาตรา 57 เบญจ (6) ส่วนจำนวนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมตามมาตรา 47(1)(ซ) ประมวลรัษฎากรให้หักค่าลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10,000 บาท แต่วิธีการหักต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรีและประกาศในราชกิจจานุเบกษา ประกาศของอธิบดีกรมสรรพากรนี้ต้องอยู่ภายใต้บังคับของมาตรา 57 เบญจ (6) ซึ่งให้สิทธิภริยาหักค่าลดหย่อนสำหรับดอกเบี้ยเงินกู้ยืมตามมาตรา 47(1)(ซ) กึ่งหนึ่ง ในการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี ภริยาโจทก์เป็นผู้มีเงินได้ตามมาตรา 40(1) และได้แยกยื่นรายการเพื่อเสียภาษีต่างหากจากโจทก์ มิใช่กรณีที่ถือว่าเงินได้ของภริยาเป็นเงินได้ของสามี ภริยาโจทก์จึงมีสิทธิหักค่าลดหย่อนสำหรับดอกเบี้ยเงินกู้ยืม แม้หากในการยื่นรายการเพื่อเสียภาษีภริยาของโจทก์มิได้หักค่าลดหย่อนส่วนนี้ไว้ ทำให้ต้องเสียภาษีเกินไป ก็มีสิทธิขอคืนได้และกรมสรรพากรก็มีหน้าที่ต้องคืนให้โจทก์จึงมีสิทธิหักลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมได้เพียง 5,000 บาท
แม้โจทก์จะเคยเสียภาษีมาในฐานะคนโสดแต่ภายหลังมีภริยาและต้องเสียภาษีในฐานะมีคู่สมรสมิใช่ในฐานะคนโสดอีกต่อไป ทั้งภริยาของโจทก์มีเงินได้ซึ่งเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(1) ได้แยกยื่นรายการและเสียภาษีต่างหากจากโจทก์ จึงไม่ถือว่าเงินได้ของภริยาโจทก์นั้นเป็นเงินได้ของโจทก์ด้วยตามมาตรา 57 เบญจ โจทก์และภริยาจึงต่างฝ่ายต่างมีสิทธิหักค่าลดหย่อนสำหรับดอกเบี้ยเงินกู้ยืมตามมาตรา 47(1)(ซ)กึ่งหนึ่ง ตามบทบัญญัติของมาตรา 57 เบญจ (6) ส่วนจำนวนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมตามมาตรา 47(1)(ซ) ประมวลรัษฎากรให้หักค่าลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10,000 บาท แต่วิธีการหักต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรีและประกาศในราชกิจจานุเบกษา ประกาศของอธิบดีกรมสรรพากรนี้ต้องอยู่ภายใต้บังคับของมาตรา 57 เบญจ (6) ซึ่งให้สิทธิภริยาหักค่าลดหย่อนสำหรับดอกเบี้ยเงินกู้ยืมตามมาตรา 47(1)(ซ) กึ่งหนึ่ง ในการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี ภริยาโจทก์เป็นผู้มีเงินได้ตามมาตรา 40(1) และได้แยกยื่นรายการเพื่อเสียภาษีต่างหากจากโจทก์ มิใช่กรณีที่ถือว่าเงินได้ของภริยาเป็นเงินได้ของสามี ภริยาโจทก์จึงมีสิทธิหักค่าลดหย่อนสำหรับดอกเบี้ยเงินกู้ยืม แม้หากในการยื่นรายการเพื่อเสียภาษีภริยาของโจทก์มิได้หักค่าลดหย่อนส่วนนี้ไว้ ทำให้ต้องเสียภาษีเกินไป ก็มีสิทธิขอคืนได้และกรมสรรพากรก็มีหน้าที่ต้องคืนให้โจทก์จึงมีสิทธิหักลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมได้เพียง 5,000 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2167/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รายจ่ายลงทุนซื้อที่ดินและดอกเบี้ยกู้ยืม: การหักลดหย่อนภาษีและการงดลดเบี้ยปรับ
ตาม ป.รัษฎากร 65 ตรี (5) ไม่ยอมให้นำรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ การที่โจทก์กู้ยืมเงินมาเพื่อซื้อที่ดินนั้น ที่ดินที่โจทก์ซื้อมาย่อมตกเป็นทรัพย์สินของโจทก์ ซึ่งเป็นทุนรอนของโจทก์เพื่อใช้ประโยชน์ในการประกอบกิจการของโจทก์ต่อไป เงินกู้ยืมที่โจทก์จ่ายเป็นค่าซื้อที่ดิน จึงเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนต้องตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 65 ตรี(5) เพราะเป็นรายจ่ายที่ทำให้โจทก์ได้ที่ดินมาโดยตรง ส่วนดอกเบี้ยอันเกิดจากเงินกู้ยืมดังกล่าว แม้จะไม่ใช่รายจ่ายที่ทำให้โจทก์ได้ที่ดินมาโดยตรง แต่ดอกเบี้ยนั้นก็เกิดจากการกู้ยืมเงินมาซื้อที่ดิน ซึ่งโจทก์มีหน้าที่ต้องจ่ายค่าดอกเบี้ยตั้งแต่แรกที่กู้ยืมเงินมาจนกว่าจะชำระต้นเงินเสร็จ ดอกเบี้ยดังกล่าวจึงเป็นผลโดยตรงที่ต่อเนื่องจากการกู้ยืมเงินของโจทก์ จึงเป็นส่วนหนึ่งของค่าซื้อที่ดินอันเป็นต้นทุน ดังนั้นดอกเบี้ยซึ่งเกิดจากการกู้ยืมเงินของโจทก์มาซื้อที่ดินเพื่อนำไปให้ผู้อื่นเช่าจึงเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนเช่นเดียวกับเงินกู้ยืมที่โจทก์นำไปซื้อที่ดิน
แม้ตาม ป.รัษฎากรจะให้อำนาจแก่อธิบดีกรมสรรพากรวางระเบียบในการงดหรือลดเบี้ยปรับได้ ระเบียบดังกล่าวก็เป็นเพียงข้อกำหนดที่ให้เจ้าพนักงานประเมินยึดถือปฏิบัติตามเท่านั้น หาได้มีบทกฎหมายใดให้ศาลจำต้องถือตามไม่ ดังนั้นหากศาลเห็นว่าผู้ถูกประเมินให้เสียภาษีมีเหตุสมควรตามกฎหมายที่จะไม่ต้องเสียเบี้ยปรับหรือเสียเบี้ยปรับน้อยลง ศาลย่อมมีอำนาจที่จะงดหรือลดเบี้ยปรับนั้นได้ คดีนี้ โจทก์ได้ให้ความร่วมมืออย่างดีในการตรวจสอบภาษี ประกอบกับกรณีเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่มีความเห็นขัดแย้งกันอยู่ อีกทั้งการที่โจทก์ตีความข้อกฎหมายดังกล่าวก็เป็นไปตามหลักการบัญชีซึ่งเป็นที่ยอมรับทั่วไปและมาตรฐานการบัญชีของสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย จะถือว่าโจทก์มีเจตนาหลีกเลี่ยงเสียภาษีนั้น ยังฟังได้ไม่ถนัดที่ศาลภาษีอากรกลางพิพากษาลดเบี้ยปรับให้โจทก์ร้อยละ 50 ของเบี้ยปรับตามกฎหมายย่อมเหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งคดีแล้วไม่มีเหตุที่เปลี่ยนแปลงแก้ไขอีก ส่วนเงินเพิ่มนั้นเกิดขึ้นจากโจทก์เสียภาษีไม่ถูกต้องตามประมวลรัษฎากร มาตรา 27 ซึ่งได้กำหนดอัตราไว้แน่นอนแล้วไม่อาจที่จะงดหรือลดลงได้ ศาลจึงไม่งดหรือลดเงินเพิ่มส่วนนี้ให้
แม้ตาม ป.รัษฎากรจะให้อำนาจแก่อธิบดีกรมสรรพากรวางระเบียบในการงดหรือลดเบี้ยปรับได้ ระเบียบดังกล่าวก็เป็นเพียงข้อกำหนดที่ให้เจ้าพนักงานประเมินยึดถือปฏิบัติตามเท่านั้น หาได้มีบทกฎหมายใดให้ศาลจำต้องถือตามไม่ ดังนั้นหากศาลเห็นว่าผู้ถูกประเมินให้เสียภาษีมีเหตุสมควรตามกฎหมายที่จะไม่ต้องเสียเบี้ยปรับหรือเสียเบี้ยปรับน้อยลง ศาลย่อมมีอำนาจที่จะงดหรือลดเบี้ยปรับนั้นได้ คดีนี้ โจทก์ได้ให้ความร่วมมืออย่างดีในการตรวจสอบภาษี ประกอบกับกรณีเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่มีความเห็นขัดแย้งกันอยู่ อีกทั้งการที่โจทก์ตีความข้อกฎหมายดังกล่าวก็เป็นไปตามหลักการบัญชีซึ่งเป็นที่ยอมรับทั่วไปและมาตรฐานการบัญชีของสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย จะถือว่าโจทก์มีเจตนาหลีกเลี่ยงเสียภาษีนั้น ยังฟังได้ไม่ถนัดที่ศาลภาษีอากรกลางพิพากษาลดเบี้ยปรับให้โจทก์ร้อยละ 50 ของเบี้ยปรับตามกฎหมายย่อมเหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งคดีแล้วไม่มีเหตุที่เปลี่ยนแปลงแก้ไขอีก ส่วนเงินเพิ่มนั้นเกิดขึ้นจากโจทก์เสียภาษีไม่ถูกต้องตามประมวลรัษฎากร มาตรา 27 ซึ่งได้กำหนดอัตราไว้แน่นอนแล้วไม่อาจที่จะงดหรือลดลงได้ ศาลจึงไม่งดหรือลดเงินเพิ่มส่วนนี้ให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1815/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าใช้จ่ายต้องห้ามทางภาษี: การพิสูจน์ผู้รับเงินสำคัญต่อการหักลดหย่อน
โจทก์พิสูจน์ไม่ได้ว่าใครเป็นผู้รับเงินตามสำเนาใบกำกับภาษีและบิลเงินสดพิพาท จึงต้องฟังว่ารายจ่ายดังกล่าวเป็นรายจ่ายต้องห้ามตาม ป.รัษฎากรมาตรา 65 ตรี (18)
ส่วนที่โจทก์อุทธรณ์ของให้ลดหรืองดเบี้ยปรับและเงินเพิ่มแก่โจทก์นั้นเมื่อโจทก์มิได้ยกปัญหาดังกล่าวเป็นข้ออ้างเพื่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาทไว้ในคำฟ้อง จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลาง จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรกลางและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร มาตรา 29 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ส่วนที่โจทก์อุทธรณ์ของให้ลดหรืองดเบี้ยปรับและเงินเพิ่มแก่โจทก์นั้นเมื่อโจทก์มิได้ยกปัญหาดังกล่าวเป็นข้ออ้างเพื่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาทไว้ในคำฟ้อง จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลาง จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรกลางและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร มาตรา 29 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6704/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายหุ้นในเครือเพื่อช่วยเหลือผู้ถือหุ้นและผลกระทบทางภาษี: ผลขาดทุนจากการขายหุ้นไม่สามารถนำมาหักลดหย่อนได้
บริษัทส. และโจทก์เป็นบริษัทในเครือเดียวกันมีผู้ถือหุ้นและกรรมการชุดเดียวกัน ขณะซื้อขายแลกเปลี่ยนหุ้น บริษัทส.ขาดทุนสะสมมากมายจนทำให้หุ้นของบริษัทส.ไม่มีมูลค่าหุ้นแล้ว แต่โจทก์ก็ยังยอมรับซื้อในราคาหุ้นละ 50 บาท และวิธีการซื้อหุ้นจากผู้ถือหุ้นในบริษัท ส.ก็กระทำโดยขายหุ้นของโจทก์เป็นการตอบแทนให้แล้ว การซื้อขายหุ้นของโจทก์ ดังกล่าวมีจุดมุ่งหมายเพียงเพื่อช่วยเหลือผู้ถือหุ้นของบริษัทส. ให้ได้รับเงินลงทุนคืน เพราะบริษัทโจทก์ดำเนินกิจการมีกำไร ทำให้ผู้ถือหุ้นของบริษัทส.ซึ่งเปลี่ยนมาถือหุ้นของบริษัทโจทก์มีโอกาสได้รับเงินปันผลเป็นการตอบแทนเพื่อชดเชย การลงทุนที่ขาดทุนในบริษัทส. ส่วนบริษัทโจทก์นั้นก็มิได้ชำระเงินค่าหุ้นให้แก่ผู้ถือหุ้นของบริษัทส. เพราะโจทก์ได้ตอบแทนค่าหุ้นเป็นหุ้นของบริษัทโจทก์ และโจทก์ก็มีกำไร จากการซื้อขายหุ้นโดยซื้อในราคา 50 บาท และขายในราคา 100 บาท ทั้งโจทก์ยังคาดว่าโจทก์จะนำยอดเงินที่อ้างว่า ขาดทุนจากการขายหุ้นที่ซื้อมาให้แก่บริษัทส.มาหักเป็นค่าใช้จ่ายของโจทก์ในการคำนวณกำไรสุทธิของโจทก์ ทำให้ โจทก์กำไรน้อยลงอันมีผลทำให้โจทก์เสียภาษีเงินได้น้อยลงไป โจทก์ไม่ได้มีจุดมุ่งหมายที่จะซื้อหุ้นของบริษัทส.เพื่อฟื้นฟูกิจการของบริษัทส.ให้ก้าวหน้าและมีผลกำไรทั้งมิได้มุ่งหากำไรจากมูลค่าของหุ้นหรือจากการดำเนินกิจการ ของบริษัทส. โจทก์คงมีความมุ่งหมายเพียงเพื่อจะช่วยเหลือผู้ถือหุ้นของบริษัทส. และในเวลาเดียวกันก็จะนำผลขาดทุนมาหักเป็นรายจ่ายของโจทก์ ดังนั้น การที่โจทก์ ขายหุ้นที่ซื้อมาให้บริษัทอ. ซึ่งโจทก์ตั้งขึ้นมาใหม่ในปีเดียวกับที่โจทก์ซื้อหุ้นมาจากบริษัทส.โดยบริษัทอ.ประกอบกิจการและมีวัตถุประสงค์เช่นเดียวกับบริษัทส. ทั้งยังตั้งอยู่ในบริเวณเดียวกันด้วย แม้การขายหุ้นให้แก่บริษัทอ.ดังกล่าวทำให้ขาดทุนจริง ผลขาดทุนดังกล่าวก็มิใช่รายจ่ายเพื่อหากำไรหรือกิจการโดยเฉพาะ ต้องห้ามมิให้ถือ เป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตาม ประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี(13) ที่โจทก์อุทธรณ์รายจ่ายค่าหุ้นที่โจทก์ซื้อเป็นต้นทุนในรอบระยะ เวลาบัญชีปี 2527 มิใช่รอบระยะเวลาบัญชีปี 2531 นั้น แม้โจทก์จะกล่าวอ้างไว้ในคำฟ้อง แต่เมื่อศาลภาษีอากรมิได้กำหนด ประเด็นพิพาทข้อดังกล่าวไว้ในชั้นชี้สองสถานและโจทก์มิได้ โต้แย้งคำสั่งกำหนดประเด็นพิพาทของศาลภาษีอากรดังกล่าวไว้ จึงต้องถือว่าโจทก์ได้สละประเด็นพิพาทในข้อนี้แล้ว อุทธรณ์ ข้อนี้ของโจทก์จึงเป็นข้อที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและ วิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 29 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย โจทก์ใช้วิธีการและชั้นเชิงอันแยบยล ในการช่วยเหลือ ผู้ถือหุ้นของบริษัทส.และในเวลาเดียวกันก็พยายามทำให้กำไรสุทธิของโจทก์ลดลงเพื่อจะได้เสียภาษีเงินได้ น้อยลง แม้กระนั้นคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก็ยังลดเบี้ยปรับให้โจทก์คงเรียกเก็บเพียงร้อยละ 50ของเบี้ยปรับตามกฎหมาย นับได้ว่าเป็นคุณ แก่โจทก์มากอยู่แล้ว และแม้ต่อมาในภายหลังโจทก์จะได้ให้ความช่วยเหลือในการตรวจสอบไต่สวนก็ตามก็ไม่สมควรที่จะงดหรือลดเบี้ยปรับให้ลดลงอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2959/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักภาษีซื้อ: หลักเกณฑ์ใบกำกับภาษีถูกต้องตามกฎหมาย แม้มีข้อผิดพลาดเล็กน้อย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 มิได้ตรวจสอบพิจารณาใบกำกับภาษีของโจทก์ให้ครบถ้วนตามความจริง โดยตรวจสอบเพียงบางส่วน หากพิจารณาใบกำกับภาษีของโจทก์แล้วจะเห็นได้ว่าการยื่นแบบรายการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มของโจทก์ถูกต้อง โจทก์หาจำต้องระบุรายละเอียดว่ามีใบกำกับภาษีฉบับใดบ้างที่ไม่ได้หยิบยกขึ้นมาพิจารณา เพราะเป็นเรื่องที่โจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ ทั้งปรากฏว่าใบกำกับภาษีดังกล่าวก็อยู่ในครอบครองของจำเลยทั้งห้า ซึ่งจำเลยทั้งห้าตรวจสอบได้เองอยู่แล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
ระเบียบของอธิบดีกรมสรรพากรจำเลยที่ 1 ที่กำหนดหลักเกณฑ์การยกเลิกใบกำกับภาษีฉบับเดิมแล้วออกฉบับใหม่ เป็นเพียงระเบียบภายใน ย่อมไม่มีผลผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกให้ต้องถือปฏิบัติตาม ทั้งใบกำกับภาษีพิพาทก็ได้ระบุไว้แล้วว่าออกแทนฉบับเดิม ย่อมมีความหมายอยู่ในตัวว่าเป็นการยกเลิกใบกำกับภาษีฉบับเดิมนั่นเอง ใบกำกับภาษีบางฉบับแม้มีข้อความไม่ครบถ้วนตามที่อธิบดีกรมสรรพากรได้วางหลักเกณฑ์ไว้ตามหนังสือดังกล่าว แต่ข้อความที่ปรากฏในช่องหมายเหตุในใบกำกับภาษีข้างต้นก็คงมีความหมายให้เข้าใจว่าเป็นการยกเลิกใบกำกับภาษีฉบับเดิมเช่นกันส่วนใบกำกับภาษีที่ไม่ได้นำค่าขนส่งรวมเข้ากับมูลค่าของสินค้าเพื่อนำมาคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ใบกำกับภาษีฉบับดังกล่าว ได้มีการแยกมูลค่าของสินค้าและค่าขนส่งออกจากกันอย่างชัดแจ้ง และได้ระบุเฉพาะจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มของสินค้าที่โจทก์จะขอเครดิตภาษีเท่านั้น ซึ่งรายการต่าง ๆ ที่ระบุไว้ในใบกำกับภาษีฉบับดังกล่าวมีข้อความครบถ้วนตามที่มาตรา 86/4 แห่ง ป.รัษฎากรได้บัญญัติไว้ กรณีเช่นนี้ไม่ทำให้ใบกำกับภาษีข้างต้นมีข้อความไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ในส่วนที่เป็นสาระสำคัญ ตามมาตรา 82/5 (2) เมื่อปรากฏว่าใบกำกับภาษีดังกล่าวทั้งหมดมีรายการครบถ้วนตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 86/4 ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีดังกล่าวจึงไม่ต้องห้ามมิให้นำมาหักในการคำนวณภาษีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 82/5 โจทก์จึงนำภาษีซื้อมาหักในการคำนวณภาษีตาม มาตรา 82/3 ได้
ใบกำกับภาษีซึ่งระบุที่อยู่ของโจทก์ไม่ถูกต้องนั้น มีข้อผิดพลาดเฉพาะตัวเลขที่บ้านที่อยู่ด้านหน้าเท่านั้น ส่วนข้อความอื่นตรงกันทั้งหมด ข้อผิดพลาดดังกล่าวเป็นเรื่องเล็กน้อย ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีดังกล่าวจึงไม่ต้องห้ามมิให้นำมาหักในการคำนวณภาษีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 82/5 โจทก์จึงนำภาษีซื้อมาหักในการคำนวณภาษีได้ตามมาตรา 82/3
ระเบียบของอธิบดีกรมสรรพากรจำเลยที่ 1 ที่กำหนดหลักเกณฑ์การยกเลิกใบกำกับภาษีฉบับเดิมแล้วออกฉบับใหม่ เป็นเพียงระเบียบภายใน ย่อมไม่มีผลผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกให้ต้องถือปฏิบัติตาม ทั้งใบกำกับภาษีพิพาทก็ได้ระบุไว้แล้วว่าออกแทนฉบับเดิม ย่อมมีความหมายอยู่ในตัวว่าเป็นการยกเลิกใบกำกับภาษีฉบับเดิมนั่นเอง ใบกำกับภาษีบางฉบับแม้มีข้อความไม่ครบถ้วนตามที่อธิบดีกรมสรรพากรได้วางหลักเกณฑ์ไว้ตามหนังสือดังกล่าว แต่ข้อความที่ปรากฏในช่องหมายเหตุในใบกำกับภาษีข้างต้นก็คงมีความหมายให้เข้าใจว่าเป็นการยกเลิกใบกำกับภาษีฉบับเดิมเช่นกันส่วนใบกำกับภาษีที่ไม่ได้นำค่าขนส่งรวมเข้ากับมูลค่าของสินค้าเพื่อนำมาคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ใบกำกับภาษีฉบับดังกล่าว ได้มีการแยกมูลค่าของสินค้าและค่าขนส่งออกจากกันอย่างชัดแจ้ง และได้ระบุเฉพาะจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มของสินค้าที่โจทก์จะขอเครดิตภาษีเท่านั้น ซึ่งรายการต่าง ๆ ที่ระบุไว้ในใบกำกับภาษีฉบับดังกล่าวมีข้อความครบถ้วนตามที่มาตรา 86/4 แห่ง ป.รัษฎากรได้บัญญัติไว้ กรณีเช่นนี้ไม่ทำให้ใบกำกับภาษีข้างต้นมีข้อความไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ในส่วนที่เป็นสาระสำคัญ ตามมาตรา 82/5 (2) เมื่อปรากฏว่าใบกำกับภาษีดังกล่าวทั้งหมดมีรายการครบถ้วนตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 86/4 ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีดังกล่าวจึงไม่ต้องห้ามมิให้นำมาหักในการคำนวณภาษีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 82/5 โจทก์จึงนำภาษีซื้อมาหักในการคำนวณภาษีตาม มาตรา 82/3 ได้
ใบกำกับภาษีซึ่งระบุที่อยู่ของโจทก์ไม่ถูกต้องนั้น มีข้อผิดพลาดเฉพาะตัวเลขที่บ้านที่อยู่ด้านหน้าเท่านั้น ส่วนข้อความอื่นตรงกันทั้งหมด ข้อผิดพลาดดังกล่าวเป็นเรื่องเล็กน้อย ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีดังกล่าวจึงไม่ต้องห้ามมิให้นำมาหักในการคำนวณภาษีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 82/5 โจทก์จึงนำภาษีซื้อมาหักในการคำนวณภาษีได้ตามมาตรา 82/3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2959/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยความถูกต้องของใบกำกับภาษี และขอบเขตการนำภาษีซื้อมาหักลดหย่อนตามประมวลรัษฎากร
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 3 ถึงที 5 มิได้ตรวจสอบพิจารณาใบกำกับภาษีของโจทก์ให้ครบถ้วนตามความจริง โดยตรวจสอบ เพียงบางส่วน หากพิจารณาใบกำกับภาษีของโจทก์แล้วจะเห็นได้ว่า การยื่นแบบรายการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มของโจทก์ถูกต้อง โจทก์ หาจำต้องระบุรายละเอียดว่ามีใบกำกับภาษีฉบับใดบ้างที่ไม่ได้ หยิบยกขึ้นมาพิจารณา เพราะเป็นเรื่องที่โจทก์สามารถนำสืบ ในชั้นพิจารณาได้ ทั้งปรากฏว่าใบกำกับภาษีดังกล่าวก็อยู่ในครอบครองของจำเลยทั้งห้า ซึ่งจำเลยทั้งห้าตรวจสอบได้เองอยู่แล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม ระเบียบของอธิบดีกรมสรรพากรจำเลยที่ 1 ที่กำหนดหลักเกณฑ์การยกเลิกใบกำกับภาษีฉบับเดิมแล้วออกฉบับใหม่เป็นเพียงระเบียบภายใน ย่อมไม่มีผลผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกให้ต้องถือปฏิบัติตาม ทั้งใบกำกับภาษีพิพาท ก็ได้ระบุไว้แล้วว่าออกแทนฉบับเดิม ย่อมมีความหมายอยู่ ในตัวว่าเป็นการยกเลิกใบกำกับภาษีฉบับเดิมนั่นเอง ใบกำกับภาษีบางฉบับแม้มีข้อความไม่ครบถ้วนตามที่อธิบดีกรมสรรพากรได้วางหลักเกณฑ์ไว้ตามหนังสือดังกล่าว แต่ข้อความที่ปรากฏใน ช่องหมายเหตุในใบกำกับภาษีข้างต้นก็คงมีความหมายให้เข้าใจว่าเป็นการยกเลิกใบกำกับภาษีฉบับเดิมเช่นกันส่วนใบกำกับภาษีที่ไม่ได้นำค่าขนส่งรวมเข้ากับมูลค่าของสินค้าเพื่อนำมาคำนวณ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ใบกำกับภาษีฉบับดังกล่าว ได้มีการแยกมูลค่า ของสินค้าและค่าขนส่งออกจากกันอย่างชัดแจ้ง และได้ระบุ เฉพาะจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มของสินค้าที่โจทก์จะขอเครดิตภาษี เท่านั้น ซึ่งรายการต่าง ๆ ที่ระบุไว้ในใบกำกับภาษีฉบับดังกล่าวมีข้อความครบถ้วนตามที่มาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากรได้บัญญัติไว้ กรณีเช่นนี้ไม่ทำให้ใบกำกับภาษีข้างต้นมีข้อความไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ในส่วนที่เป็นสาระสำคัญตามมาตรา 82/5(2) เมื่อปรากฏว่าใบกำกับภาษีดังกล่าวทั้งหมดมีรายการครบถ้วนตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 86/4 ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีดังกล่าวจึงไม่ต้องห้ามมิให้นำมาหักในการคำนวณภาษีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 82/5 โจทก์จึงนำภาษีซื้อมาหักในการคำนวณภาษีตาม มาตรา 82/3 ได้ ใบกำกับภาษีซึ่งระบุที่อยู่ของโจทก์ไม่ถูกต้องนั้นมีข้อผิดพลาดเฉพาะตัวเลขที่บ้านที่อยู่ด้านหน้าเท่านั้นส่วนข้อความอื่นตรงกันทั้งหมด ข้อผิดพลาดดังกล่าวเป็นเรื่องเล็กน้อย ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีดังกล่าวจึงไม่ต้องห้ามมิให้นำมาหักในการคำนวณภาษีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 82/5 โจทก์จึงนำภาษีซื้อมาหักในการคำนวณภาษีได้ตามมาตรา 82/3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 162/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักลดหย่อนผลขาดทุนสะสมทางบัญชีกับการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล: ผลขาดทุนสะสมทางบัญชีมิใช่ผลขาดทุนสุทธิทางภาษีอากร
ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 65 ตรี (12) ที่บัญญัติให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนำผลขาดทุนสุทธิยกมาไม่เกิน 5 ปี ก่อนรอบระยะเวลาบัญชีปีปัจจุบันมาหักเป็นรายจ่ายได้นั้น ตามแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล(ภ.ง.ด.50) ของโจทก์ ปรากฏว่าผลขาดทุนสุทธิยกมาไม่เกิน 5 ปี ตาม ป.รัษฎากรมาตรา 65 ตรี (12) อยู่ในรายการที่ 5 (47) ว่าด้วยรายได้ รายจ่ายและกำไรหรือขาดทุนสุทธิ แต่ผลขาดทุนสะสมจำนวน 11,849,473.86 บาท ที่เจ้าพนักงานของจำเลยนำมาถือเป็นผลขาดทุนสุทธิยกมาไม่เกิน 5 ปี นำมาปรับปรุงหักเป็นรายจ่ายให้แก่โจทก์ในการคำนวณกำไรขาดทุนสุทธิของรอบระยะเวลาบัญชีปี 2528นั้นอยู่ในรายการที่ 6 (13) ว่าด้วยหนี้สินและทุน จึงเห็นได้ว่าเป็นการแยกต่างหากออกจากกันคนละรายการและเป็นคนละเรื่อง ทั้งในรายการที่ 5 (47) ก็ระบุเฉพาะแต่ผลขาดทุนสุทธิเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ต่างกับรายการที่ 6 (13)ได้ระบุถึงผลกำไรสะสมหรือขาดทุนสะสมคือมีทั้งกำไรหรือขาดทุน รายการที่ 6(13) นี้จึงเป็นเรื่องหนี้สินและทุนที่ยกมาทางบัญชี ผลขาดทุนสะสมตามรายการที่ 6(13) จึงมิใช่ผลขาดทุนสุทธิทางภาษีอากร เพราะผลขาดทุนสุทธิทางภาษีอากรนั้นต้องคำนวณตาม ป.รัษฎากร มาตรา 65 ทวิ และ 65 ตรี ซึ่งตามแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภ.ง.ด.50) ของรอบระยะเวลาบัญชีปี 2527ของโจทก์ก็ระบุว่าโจทก์มีผลขาดทุนสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2527 จำนวน18,571,825.52 บาท อันเป็นผลขาดทุนสุทธิทางภาษีอากร ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยนำยอดเงินจำนวน 11,849,473.86 บาทที่โจทก์ระบุในรายการที่ 6 (13) อันเป็นผลขาดทุนสะสมทางบัญชีมาถือเป็นผลขาดทุนสุทธิยกมาไม่เกิน 5 ปี และนำมาปรับปรุงหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรขาดทุนสุทธิของรอบระยะเวลาบัญชีปี 2528 ของโจทก์นั้นจึงเป็นการไม่ถูกต้องและไม่ชอบด้วยกฎหมาย
แม้ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 50 (1) โจทก์จะมีหน้าที่หักภาษีณ ที่จ่ายเมื่อมีการจ่ายเงินได้พึงประเมินให้พนักงาน แต่กฎหมายดังกล่าวก็มิได้บังคับให้โจทก์มีหน้าที่ขอหลักฐานการชำระเบี้ยประกันชีวิตและดอกเบี้ยดังกล่าวจากพนักงานเพื่อนำมาแสดงต่อจำเลย อีกทั้งหลักฐานการชำระเบี้ยประกันชีวิตและดอกเบี้ยดังกล่าวเป็นหลักฐานที่บุคคลภายนอกออกให้แก่พนักงานโจทก์เพื่อเก็บไว้ใช้อ้างอิง มิใช่หลักฐานที่ออกให้แก่โจทก์ โจทก์จึงไม่มีหน้าที่เก็บหลักฐานดังกล่าวไว้แสดงต่อจำเลย หากจำเลยสงสัยว่าหลักฐานดังกล่าวมีอยู่จริงหรือไม่จำเลยก็สามารถเรียกพนักงานโจทก์มาสอบปากคำหรือทำการตรวจสอบแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่พนักงานโจทก์ยื่นไว้แล้วต่อจำเลยได้
แม้ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 50 (1) โจทก์จะมีหน้าที่หักภาษีณ ที่จ่ายเมื่อมีการจ่ายเงินได้พึงประเมินให้พนักงาน แต่กฎหมายดังกล่าวก็มิได้บังคับให้โจทก์มีหน้าที่ขอหลักฐานการชำระเบี้ยประกันชีวิตและดอกเบี้ยดังกล่าวจากพนักงานเพื่อนำมาแสดงต่อจำเลย อีกทั้งหลักฐานการชำระเบี้ยประกันชีวิตและดอกเบี้ยดังกล่าวเป็นหลักฐานที่บุคคลภายนอกออกให้แก่พนักงานโจทก์เพื่อเก็บไว้ใช้อ้างอิง มิใช่หลักฐานที่ออกให้แก่โจทก์ โจทก์จึงไม่มีหน้าที่เก็บหลักฐานดังกล่าวไว้แสดงต่อจำเลย หากจำเลยสงสัยว่าหลักฐานดังกล่าวมีอยู่จริงหรือไม่จำเลยก็สามารถเรียกพนักงานโจทก์มาสอบปากคำหรือทำการตรวจสอบแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่พนักงานโจทก์ยื่นไว้แล้วต่อจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4842/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าบริการวิจัยและพัฒนา (R&D) และค่าพาหนะเหมาจ่าย ไม่สามารถนำมาหักลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีได้
โจทก์และบริษัท อ. มิได้ทำสัญญาว่าจ้างให้บริการใด ๆ ต่อกันการว่าจ้างให้บริการทางวิชาชีพที่โจทก์ต้องจ่ายค่าบริการนี้มีการทำสัญญาระหว่างบริษัท อ. กับบริษัท อี โจทก์เพียงแต่ได้รับประโยชน์จากการขยายผลของสัญญาและยอมผูกพันตามสัญญาที่ทั้งสองบริษัททำต่อกันเท่านั้น ทั้งนี้ ในฐานะที่โจทก์เป็นบริษัทในเครือเดียวกับบริษัท อ. และในการจ่ายเงินค่าบริการทางวิชาชีพ โจทก์ก็มิได้จ่ายให้แก่บริษัท อี ผู้ให้บริการโดยตรงแต่จ่ายผ่านบริษัท อ. โดยคิดค่าบริการเป็นสัดส่วนกับยอดขายสินค้าของบริษัทในเครือที่ได้รับการขยายผลตามสัญญาดังกล่าวด้วยกันเช่นเดียวกับโจทก์ หากบริษัทในเครือบริษัทใดขายสินค้าได้มากก็ต้องจ่ายค่าบริการทางวิชาชีพสูงกว่าบริษัทในเครือที่ขายสินค้าได้น้อยกว่า ส่วนบริษัท อ. คู่สัญญากับบริษัท อี กลับไม่ต้องรับผิดจ่ายค่าบริการทางวิชาชีพหรือค่าป่วยการใด ๆ ให้แก่บริษัท อี การที่บริษัท อ. ซึ่งเป็นผู้ผลิตสินค้าส่งให้บริษัทในเครือของตนเองจำหน่ายแก่ลูกค้ามีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาศึกษาค้นคว้าเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อใช้ในการผลิตสินค้าได้ว่าจ้างให้บริษัท อี ทำการค้นคว้า วิจัย และพัฒนาในด้านการผลิตสินค้าปิโตรเลียมและเคมีภัณฑ์ โดยบริษัท อ. ไม่ต้องจ่ายค่าบริการอันเป็นสินจ้าง แต่ผลักภาระการจ่ายค่าบริการดังกล่าวมาให้แก่บริษัทในเครือซึ่งมิใช่ผู้ผลิต เป็นเพียงแต่ผู้สั่งสินค้ามาจำหน่ายต่อให้แก่ลูกค้า โดยกำหนดให้บริษัทในเครือจ่ายค่าบริการมากน้อยตามสัดส่วนของรายได้จากการจำหน่ายสินค้าเช่นนี้ ผู้ที่ได้รับประโยชน์โดยตรงจากสัญญาจ้างดังกล่าวข้างต้นและสมควรมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าบริการหรือสินจ้างคือบริษัท อ. ซึ่งเป็นทั้งผู้ว่าจ้าง ผู้ผลิตและคู่สัญญากับบริษัท อี หาใช่บริษัทในเครือที่เป็นเพียงผู้จำหน่ายสินค้าที่ผลิตไม่ เพราะคุณภาพหรือคุณลักษณะของสินค้าที่จะนำมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิผลมากน้อยเพียงใดส่วนหนึ่งย่อมขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิตที่ผู้ผลิตจักต้องแสดงให้ประจักษ์แก่ลูกค้า หรือผู้แทนจำหน่ายเพื่อประโยชน์ในการแข่งขันทางการค้าในตลาด โจทก์เป็นบริษัทในเครือของบริษัท อ. มิใช่ผู้ผลิต เป็นเพียงผู้สั่งสินค้าที่บริษัท อ. ผลิตเข้ามาจำหน่าย แม้บางครั้งบริษัทผู้ผลิตจะได้แจ้งคุณลักษณะของสินค้าที่ได้จากรายงานการศึกษาค้นคว้ามาให้โจทก์ทราบเพื่อประโยชน์ของลูกค้าที่ซื้อสินค้าไปจากโจทก์ก็ตาม โจทก์ก็จะนำส่วนเฉลี่ยของค่าบริการทางวิชาชีพที่บริษัท อ. ผู้ผลิตจะต้องจ่ายให้แก่บริษัท อี ดังกล่าวมาถือเป็นรายจ่ายเพื่อกิจการในประเทศไทยโดยเฉพาะหาได้ไม่ เพราะรายจ่ายดังกล่าวมีลักษณะเป็นรายจ่ายโดยเฉพาะของบริษัท อ. ค่าบริการทางวิชาชีพที่โจทก์จ่ายให้แก่บริษัท อ. จึงเป็นรายจ่ายต้องห้ามไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิของโจทก์ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี(14)
ค่าพาหนะที่จะได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากร มาตรา 42(1) นั้น ต้องเป็นค่าพาหนะซึ่งลูกจ้างหรือพนักงานผู้นั้นได้จ่ายไปจริงโดยสุจริตตามความจำเป็นเฉพาะในการที่ต้องปฏิบัติตามหน้าที่ของตน และได้จ่ายไปทั้งหมดในการนั้น ค่าพาหนะที่นายจ้างเหมาจ่ายให้แก่ลูกจ้างหาใช่ค่าพาหนะที่ได้รับยกเว้นดังกล่าวไม่ เมื่อค่าพาหนะที่โจทก์จ่ายให้แก่พนักงานของโจทก์ในการออกไปปฏิบัติงานคำนวณโดยโจทก์เหมาจ่ายให้แก่พนักงานตามระยะทางที่พนักงานออกไปปฏิบัติงานโดยไม่คำนึงถึงว่าพนักงานจะได้ใช้จ่ายไปตามนั้นจริงหรือไม่ ย่อมเป็นค่าพาหนะที่นายจ้างเหมาจ่ายให้แก่ลูกจ้าง จึงไม่อยู่ในความหมายของมาตรา 42(1) และเป็นเงินได้ที่ต้องนำไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ของพนักงานโดยไม่ได้รับยกเว้นดังที่บัญญัติไว้ในมาตรานั้น โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องนำไปรวมคำนวณแล้วหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ และนำส่งตามมาตรา 50 และ 52 แห่งประมวลรัษฎากร เมื่อโจทก์มิได้กระทำจึงต้องร่วมรับผิดด้วยตามมาตรา 54
ค่าพาหนะที่จะได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากร มาตรา 42(1) นั้น ต้องเป็นค่าพาหนะซึ่งลูกจ้างหรือพนักงานผู้นั้นได้จ่ายไปจริงโดยสุจริตตามความจำเป็นเฉพาะในการที่ต้องปฏิบัติตามหน้าที่ของตน และได้จ่ายไปทั้งหมดในการนั้น ค่าพาหนะที่นายจ้างเหมาจ่ายให้แก่ลูกจ้างหาใช่ค่าพาหนะที่ได้รับยกเว้นดังกล่าวไม่ เมื่อค่าพาหนะที่โจทก์จ่ายให้แก่พนักงานของโจทก์ในการออกไปปฏิบัติงานคำนวณโดยโจทก์เหมาจ่ายให้แก่พนักงานตามระยะทางที่พนักงานออกไปปฏิบัติงานโดยไม่คำนึงถึงว่าพนักงานจะได้ใช้จ่ายไปตามนั้นจริงหรือไม่ ย่อมเป็นค่าพาหนะที่นายจ้างเหมาจ่ายให้แก่ลูกจ้าง จึงไม่อยู่ในความหมายของมาตรา 42(1) และเป็นเงินได้ที่ต้องนำไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ของพนักงานโดยไม่ได้รับยกเว้นดังที่บัญญัติไว้ในมาตรานั้น โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องนำไปรวมคำนวณแล้วหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ และนำส่งตามมาตรา 50 และ 52 แห่งประมวลรัษฎากร เมื่อโจทก์มิได้กระทำจึงต้องร่วมรับผิดด้วยตามมาตรา 54
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2948/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีเงินได้นิติบุคคล: การหักรายจ่ายสินค้าคงเหลือ, แผนกท่องเที่ยว, ดอกเบี้ยเงินกู้ และการจำแนกเงินได้ของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
เงินส่วนที่นำเข้าฝากในบัญชีสมทบทุนเป็นเงินที่หักจากเงินเดือนของพนักงานแต่ละคน อันบริษัทโจทก์ได้จ่ายให้พนักงานแล้วเพียงแต่ให้สิทธิโจทก์หักเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามระเบียบที่กำหนดไว้เพื่อประโยชน์แก่พนักงานเมื่อออกจากงานเท่านั้นเงินเดือนที่โจทก์จ่ายให้พนักงานแต่ละคน รวมทั้งเงินที่ถูกหักเข้ากองทุนในบัญชีสมทบทุนนี้เป็นรายจ่ายในหมวดเงินเดือนของโจทก์อันนำมาหักเพื่อคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากรมาตรา 65 ได้โดยโจทก์ต้องหักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากเงินเดือนทั้งหมดของพนักงานไว้ตามมาตรา 50 แล้วนำส่ง ณ ที่ว่าการอำเภอตามมาตรา 52 จึงเป็นเงินที่จ่ายขาดจากโจทก์แล้ว เงินส่วนที่หักจากเงินเดือนนำฝากเข้าบัญชีสมทบทุนนี้จึงเป็นเงินได้ของพนักงานนับแต่นั้น ดอกเบี้ยอันเกิดจากเงินฝากนี้จึงเป็นเงินได้ของพนักงาน หาใช่เงินได้ของโจทก์ไม่ โจทก์ไม่ต้องเสียภาษีในส่วนนี้ การคำนวณราคาสินค้าคงเหลือตามราคาตลาดที่โจทก์นำสืบเป็นเพียงวิธีการในการคำนวณราคาสินค้าอย่างกว้าง ๆ โดยไม่มีรายละเอียดว่าเป็นสินค้าอะไรบ้างที่โจทก์ได้คำนวณตามราคาตลาดอันเป็นราคาที่ต่ำกว่าราคาทุน ทั้งโจทก์ได้วางแนวทางให้ปฏิบัติในการบันทึกรายการสินค้าคงเหลือโดยอาศัยระยะเวลาที่ได้รับสินค้ามาครอบครองไว้เป็นเกณฑ์ซึ่งปรากฏว่าตามหลักเกณฑ์การตัดค่าเสื่อมราคา และการตัดบัญชีดังกล่าวมีแนวปฏิบัติ เช่น สินค้าที่เสียง่ายหากคงเหลือถึง 18 เดือนจะตัดค่าเสื่อมราคาลงร้อยละ 50หากคงเหลือถึง 2 ปี จะตัดออกจากบัญชีหมดหลักเกณฑ์ดังกล่าวเป็นการตัดค่าเสื่อมราคาสินค้าคงเหลือ มิใช่เป็นการคำนวณราคาสินค้าคงเหลือตามราคาตลาดที่แท้จริงตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ(6) เมื่อเจ้าพนักงานประเมินได้ตรวจสอบไต่สวนพยานหลักฐานตามที่โจทก์นำมามอบให้แล้วแจ้งประเมินภายในเวลาสองปีนับแต่วันที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 8 ใช้บังคับแล้ว จึงเป็นการประเมินที่ชอบหากโจทก์มีข้อโต้แย้งในรายละเอียดเกี่ยวกับเอกสารอย่างไรชอบที่โจทก์จะชี้แจงให้เจ้าพนักงานประเมินทราบหรืออุทธรณ์การประเมินไปยังคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์หรือนำสืบในชั้นศาลได้ เหตุดังกล่าวหาทำให้การประเมินเป็นไปโดยมิชอบไม่ โจทก์คำนวณราคาสินค้าคงเหลือโดยการกำหนดกฎเกณฑ์เอาเองตามหลักเกณฑ์การตัดค่าเสื่อมราคาและการตัดบัญชี อันมิใช่ราคาตลาดเพื่อให้ต่ำกว่าราคาทุน เป็นเหตุให้มีรายรับน้อยลงและทำให้เสียภาษีเงินได้น้อยลงไปด้วย มีเจตนาหลีกเลี่ยงการเสียภาษีในตัวส่วนรายจ่ายในแผนกท่องเที่ยว โจทก์ทำใบสำคัญการจ่ายขึ้นเองแล้วเอาอากรแสตมป์มาปิด โดยไม่มีรายละเอียดถึงเหตุที่ต้องจ่ายเงินว่าเป็นการจ่ายเพื่อกิจการอย่างไร ชื่อที่อยู่ของผู้รับเงินก็ไม่ชัดแจ้ง มีพฤติการณ์ว่าโจทก์มีเจตนาหลีกเลี่ยงการเสียภาษีไม่มีเหตุสมควรงดหรืองดเงินเพิ่ม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6425/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าใช้จ่ายสำนักงานใหญ่ต่างประเทศ: หักลดหย่อนภาษีได้เฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับกิจการในไทยโดยตรง
รายจ่ายซึ่งมิใช่รายจ่ายเพื่อกิจการในประเทศไทยโดยเฉพาะจะนำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิไม่ได้
รายจ่ายอันเป็นเงินเดือน เบี้ยเลี้ยงพนักงานโจทก์สำนักงานใหญ่ค่าใช้จ่ายของสำนักงานใหญ่ ค่าเครื่องเขียน แบบพิมพ์ ค่าตอบแทนกรรมการและผู้ตรวจสอบบัญชีของสำนักงานใหญ่ ซึ่งตั้งอยู่ที่ฮ่องกง เป็นรายจ่ายที่โจทก์ใช้จ่ายเพื่อประโยชน์แก่สาขาต่าง ๆ ทั่วโลก โจทก์คิดเฉลี่ยรายจ่ายดังกล่าวให้สาขาต่าง ๆทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย โดยอาศัยการคำนวณเฉลี่ยรายจ่ายของสาขาทั่วโลกตามรายได้ของแต่ละสาขา รวมทั้งสาขาในประเทศไทยด้วย จึงไม่ใช่รายจ่ายเพื่อกิจการในประเทศไทยโดยเฉพาะ เพียงแต่อาจจะมีส่วนหนึ่งที่เป็นรายจ่ายเพื่อกิจการในประเทศไทยโดยเฉพาะ เมื่อโจทก์ไม่สามารถพิสูจน์หรือแยกให้เห็นว่า รายจ่ายส่วนใดบ้างที่เป็นรายจ่ายเพื่อกิจการในประเทศไทยโดยเฉพาะ โจทก์จะเหมาเป็นราย-จ่ายเพื่อกิจการในประเทศไทยทั้งหมดและนำมาหักค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิหาได้ไม่
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 22 ถ้าผู้เสียภาษีหลีก-เลี่ยงหรือเสียไม่ถูกต้อง เมื่อทำการประเมินผู้เสียภาษีต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มตามมาตรา 22 เมื่อประเมินแล้วไม่เสียภายในกำหนดก็ต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20ตามมาตรา 27 อีก
รายจ่ายอันเป็นเงินเดือน เบี้ยเลี้ยงพนักงานโจทก์สำนักงานใหญ่ค่าใช้จ่ายของสำนักงานใหญ่ ค่าเครื่องเขียน แบบพิมพ์ ค่าตอบแทนกรรมการและผู้ตรวจสอบบัญชีของสำนักงานใหญ่ ซึ่งตั้งอยู่ที่ฮ่องกง เป็นรายจ่ายที่โจทก์ใช้จ่ายเพื่อประโยชน์แก่สาขาต่าง ๆ ทั่วโลก โจทก์คิดเฉลี่ยรายจ่ายดังกล่าวให้สาขาต่าง ๆทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย โดยอาศัยการคำนวณเฉลี่ยรายจ่ายของสาขาทั่วโลกตามรายได้ของแต่ละสาขา รวมทั้งสาขาในประเทศไทยด้วย จึงไม่ใช่รายจ่ายเพื่อกิจการในประเทศไทยโดยเฉพาะ เพียงแต่อาจจะมีส่วนหนึ่งที่เป็นรายจ่ายเพื่อกิจการในประเทศไทยโดยเฉพาะ เมื่อโจทก์ไม่สามารถพิสูจน์หรือแยกให้เห็นว่า รายจ่ายส่วนใดบ้างที่เป็นรายจ่ายเพื่อกิจการในประเทศไทยโดยเฉพาะ โจทก์จะเหมาเป็นราย-จ่ายเพื่อกิจการในประเทศไทยทั้งหมดและนำมาหักค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิหาได้ไม่
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 22 ถ้าผู้เสียภาษีหลีก-เลี่ยงหรือเสียไม่ถูกต้อง เมื่อทำการประเมินผู้เสียภาษีต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มตามมาตรา 22 เมื่อประเมินแล้วไม่เสียภายในกำหนดก็ต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20ตามมาตรา 27 อีก