คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
หักเงิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 51 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8313/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิธนาคารในการหักเงินจากบัญชีร้านค้าเมื่อได้รับการปฏิเสธการจ่ายเงินจากมาสเตอร์การ์ด
ตามบันทึกข้อตกลงข้อ 9 ระบุว่า ในกรณีที่ธนาคาร (จำเลย)ได้รับเซลส์สลิปและนำเงินเข้าบัญชีของร้านค้า (โจทก์) แล้ว ปรากฏในภายหลังว่าร้านค้าปฏิบัติผิดไปจากข้อตกลง... หรือกรณีอื่นใดอันเป็นผลให้ธนาคารได้รับการปฏิเสธการจ่ายเงินจากสมาชิก... ร้านค้าจะต้องคืนเงินเท่ากับจำนวนที่ธนาคารได้รับปฏิเสธการจ่ายเงินดังกล่าวให้กับธนาคารพร้อมทั้งยอมเสียดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดเท่าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์คิดจากผู้กู้ยืม...โดยให้ธนาคารหักเงินดังกล่าวข้างต้นทั้งหมดจากบัญชีเดินสะพัดตามที่ระบุไว้...เมื่อปรากฏว่าจำเลยได้จ่ายเงินให้แก่โจทก์ เนื่องจากมีผู้นำมาสเตอร์การ์ดที่ออกโดยธนาคารในต่างประเทศซึ่งเป็นสมาชิกมาสเตอร์การ์ดระหว่างประเทศมาซื้อสินค้าจากโจทก์ตามข้อตกลง ครั้นเมื่อจำเลยเรียกเก็บเงินจากธนาคารผู้ออกมาสเตอรการ์ดแล้วได้รับการปฏิเสธการจ่ายเงิน กรณีจึงต้องด้วยข้อตกลงที่ว่า กรณีอื่นใดอันเป็นผลให้จำเลยได้รับการปฏิเสธการจ่ายเงินตามบันทึกข้อตกลงข้อ 9 จำเลยจึงมีสิทธิหักเงินออกจากบัญขีของโจทก์ได้ตามข้อตกลงดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4852/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งสินสมรสหลังหย่า: หักเงินที่ได้รับเกินไปได้ และการบังคับคดีโดยการขายทอดตลาด
โจทก์จำเลยมีสิทธิได้รับเงินสินสมรสคนละครึ่งเมื่อเงินอยู่ที่โจทก์เท่ากับโจทก์ได้รับส่วนของจำเลยเกินไปต้องนำส่วนที่โจทก์ได้รับเกินไปหักออกจากสินสมรสจำนวนอื่นที่โจทก์จะได้รับจากจำเลยต่อไปแม้จำเลยไม่ได้ฟ้องแย้งก็ไม่เป็นการนอกฟ้องและเกินคำขอ การแบ่งสินสมรสระหว่างสามีภริยาที่หย่ากันโดยคำพิพากษาต้องแบ่งตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1533บัญญัติไว้คือแบ่งสินสมรสให้ชายหญิงได้ส่วนเท่ากันซึ่งถ้าการแบ่งไม่อาจตกลงกันได้ก็ให้นำสินสมรสออกขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาแบ่งกันจะแบ่งโดยกำหนดราคาทรัพย์สินสมรสให้จำเลยต้องแบ่งแก่โจทก์หากจำเลยไม่ยอมแบ่งหรือไม่สามารถแบ่งได้ให้นำสินสมรสออกขายทอดตลาดนำเงินมาแบ่งให้แก่โจทก์จนครบหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 903/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักเงินค่าปรับจากค่าจ้างและการไม่เกิดดอกเบี้ยเมื่อศาลลดค่าปรับ
จำเลยปรับโจทก์ตามสัญญาจ้างโดยหักเงินค่าปรับไว้จากเงินค่าจ้างเมื่อศาลพิพากษาลดค่าปรับลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 วรรคแรก ให้จำเลยคืนเงินค่าปรับบางส่วนแก่โจทก์ โจทก์หามีสิทธิได้ดอกเบี้ยจากเงิน ค่าปรับที่ได้รับคืนนั้นไม่ เพราะการที่จำเลยหักเงินค่าปรับไว้ เป็นการใช้สิทธิตามสัญญาจ้าง ซึ่งเป็นสิทธิโดยชอบที่ จำเลยจะกล่าวอ้างได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 903/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าปรับจากสัญญาจ้างก่อสร้างและการไม่เกิดดอกเบี้ยเมื่อมีการหักเงินค่าปรับไว้แล้ว
จำเลยปรับโจทก์ตามสัญญาโดยหักเงินค่าปรับไว้จากเงินค่าจ้างเมื่อศาลพิพากษาลดค่าปรับลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 383 วรรคแรก ให้จำเลยคืนเงินค่าปรับบางส่วนแก่โจทก์โจทก์หามีสิทธิได้ดอกเบี้ยจากเงินค่าปรับที่ได้รับคืนนั้นไม่เพราะการที่จำเลยหักเงินค่าปรับไว้เป็นการใช้สิทธิตามสัญญาจ้างซึ่งเป็นสิทธิโดยชอบที่จำเลยจะกล่าวอ้างได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2794/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักเงินค่าหลักประกันและค่าผลงานออกจากค่าเสียหายจากสัญญาจ้างเหมา
สัญญามีใจความว่า ผู้รับจ้างได้นำหลักประกันเป็นหนังสือสัญญาค้ำประกันธนาคารกรุงเทพ จำกัด เป็นจำนวนร้อยละ 8ของราคาที่จ้าง 1,984,000 บาท มามอบไว้แก่ผู้ว่าจ้างเพื่อเป็นประกันการปฏิบัติตามสัญญาและหลักประกันนี้ ผู้ว่าจ้างจะคืนให้เมื่อผู้รับจ้างพ้นจากข้อผูกพันตามสัญญาแล้ว ถ้าผู้ว่าจ้างบอกเลิกสัญญาแล้ว ผู้รับจ้างยอมให้ผู้ว่าจ้างริบหลักประกันดังกล่าวถือได้ว่าหลักประกันดังกล่าวเป็นการวางไว้ล่วงหน้าเพื่อความเสียหายในกรณีที่มีการผิดสัญญาเข้าลักษณะเบี้ยปรับ ซึ่ง ป.พ.พ. มาตรา380 วรรคสอง บัญญัติว่า ถ้าเจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเพื่อการไม่ชำระหนี้ จะเรียกเอาเบี้ยปรับอันจะพึงริบนั้นในฐานเป็นจำนวนน้อยที่สุดแห่งค่าเสียหายก็ได้ ฉะนั้นเมื่อค่าเสียหายของโจทก์มี 3,047,200 บาท จึงชอบที่จะนำเงินตามสัญญาค้ำประกันซึ่งโจทก์ริบไปแล้วมาหักออกจากค่าเสียหายดังกล่าวได้ คงเหลือค่าเสียหายที่จำเลยต้องชำระแก่โจทก์ 1,063,200 บาท ค่าผลงานที่จำเลยทำไปแล้ว ตามปกติจำเลยมีสิทธิได้รับชดใช้คืนจากโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคสามแต่ตามสัญญามีข้อกำหนดว่า เมื่อผู้ว่าจ้างบอกเลิกสัญญาแล้วบรรดางานที่ผู้รับจ้างทำและสิ่งของต่าง ๆ ที่ได้นำมาไว้ ณ สถานที่ทำงานนั้นโดยเฉพาะเพื่องานจ้างดังกล่าว ผู้รับจ้างยอมให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ว่าจ้าง โดยผู้รับจ้างจะเรียกร้องค่าตอบแทนและค่าเสียหายใด ๆ ไม่ได้เลย ข้อตกลงนี้มีลักษณะเป็นการที่ผู้รับจ้างให้สัญญาว่าจะทำการชำระหนี้อย่างอื่นที่มิใช่จำนวนเงินให้เป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 382 แก่โจทก์ผู้ว่าจ้างและหากเป็นจำนวนพอสมควรโจทก์มีสิทธิรับผลงานนี้ได้โดยไม่ต้องใช้ราคาแก่จำเลยผู้รับจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5652/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยเงินกู้จากบริษัทในเครือถือเป็นรายจ่ายที่นำมาหักคำนวณกำไรสุทธิได้ และการหักเงินภาษีที่ชำระแล้ว
โจทก์กู้เงินจากบริษัทในเครือของโจทก์เพื่อนำเงินมาประกอบกิจการโดยต้องเสียดอกเบี้ยให้บริษัทในเครือจริง จึงเป็นรายจ่ายที่นำมาคำนวณกำไรสุทธิได้ มิใช่รายจ่ายซึ่งโจทก์กำหนดขึ้นเองโดยไม่มีการจ่ายจริงตามประมวลรัษฏากร มาตรา 65 ทวิ (9)
การที่โจทก์ชำระหนี้ค่าภาษีบางส่วนให้แก่จำเลยแล้ว ศาลย่อมมีคำพิพากษาให้นำเงินภาษีบางส่วนที่โจทก์ชำระแล้วมาหักออกจากเงินภาษีที่โจทก์ต้องชำระทั้งหมดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2428/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี: ผลของการสิ้นสุดสัญญาและการหักเงินจากบัญชีประกัน
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเป็นข้อตกลงของคู่สัญญาที่จะให้มีสัญญาบัญชีเดินสะพัดคือการเบิกเงินเกินบัญชีในบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของลูกหนี้ในธนาคารขึ้นอีกชั้นหนึ่ง เมื่อมีการปฏิบัติตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดกันแล้ว การชำระหนี้ย่อมจะต้องปฏิบัติตามวิธีการของสัญญาบัญชีเดินสะพัดคือให้กระทำเมื่อมีการหักทอนบัญชีกัน และเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลือแล้วนั้น ฉะนั้นเมื่อครบกำหนดระยะเวลาที่ระบุไว้ในสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีแล้ว หากคู่สัญญายังคงให้บัญชีเดินสะพัดเดินอยู่ต่อไปก็เห็นได้ว่าคู่สัญญายังไม่ถือว่ามีการผิดนัดจนกว่าจะได้มีการหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลือนั้นแล้ว แต่ถ้าหากบัญชีเดินสะพัดไม่เดินต่อไป แสดงว่าคู่สัญญาให้ถือว่าสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเป็นอันสิ้นสุดลงตามกำหนดระยะเวลาที่ระบุในสัญญา
หลังจากกำหนดระยะเวลาที่ระบุในสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดลงแล้ว ไม่ปรากฏรายการเดินสะพัดในบัญชีอันจะเป็นหลักฐานแสดงว่าโจทก์ได้ยอมให้จำเลยลูกค้าเบิกเงินเกินบัญชีต่อไปอีก แสดงว่าคู่สัญญาให้ถือว่าสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเป็นอันสิ้นสุดลงตามกำหนดระยะเวลาที่ระบุในสัญญาแล้ว
เงินฝากประจำที่จำเลยและ ช.นำมาเป็นประกันการกู้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลย มีข้อตกลงกับโจทก์ว่า หากจำเลยผิดสัญญายินยอมให้โจทก์หักเงินในบัญชีเงินฝากประจำดังกล่าวชำระหนี้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยได้โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า เช่นนี้ เมื่อสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดลงแล้ว จำเลยไม่ชำระหนี้ย่อมเป็นการผิดนัดผิดสัญญา โจทก์ชอบที่จะปฏิบัติตามข้อตกลงโดยหักเงินจากบัญชีเงินฝากประจำของจำเลยและ ช.ชำระหนี้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5034-5039/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงเสาเข็มในสัญญาจ้างก่อสร้าง: เจตนาของสัญญาและการหักเงินค่าจ้าง
การก่อสร้างปรับปรุงขยายการประปาจำเลยตามแบบแปลนและสัญญาต้องมีการเจาะสำรวจชั้นดินก่อน การก่อสร้างจะใช้เสาเข็มขนาดไหน จำนวนเท่าใดขึ้นอยู่กับผลการสำรวจ ตามรายการต่อท้ายสัญญาระบุว่า "การก่อสร้างฐานราก ของอาคารใดต้องใช้เสาเข็มชนิดที่สามารถรับน้ำหนักได้ตามกำหนดในแบบแปลน แต่เสาเข็มนั้นเป็นขนาดเล็กหรือจำนวนน้อยกว่าเกณฑ์ที่ผู้ว่าจ้างกำหนดเป็นมาตรฐานราคากลาง ในการนี้ผู้รับจ้างยินยอมให้ผู้ว่าจ้างหักเงินค่าจัดหารวมค่าตอกเข็มของอาคารนั้นออกเท่ากับจำนวนที่คำนวณได้จากสูตรที่กำหนดในเงื่อนไขการหักค่าเข็ม" ข้อสัญญานี้หมายความว่าถ้าผลสำเร็จในคุณภาพของงานที่จำเลยจะได้รับนั้นเท่าเดิมโดยโจทก์ต้องเสียค่าใช้จ่าย น้อยลงไปในการทำการงานส่วนนี้แล้ว ค่าจ้างจะต้องลดลงตามส่วนโดยคำนวณตามสูตรที่กำหนดไว้ ปรากฏว่าดินในที่ก่อสร้างเป็นดินแข็ง หากใช้เสาเข็มรูปตัวทีตามแบบเดิมเสาเข็มจะหัก โจทก์ต้องใช้เสาเข็มตัน และขนาดใหญ่กว่าแบบเดิม แต่มีจำนวนต้นน้อยกว่าโดยโจทก์จำเลยเห็นชอบแล้ว ทั้งราคาและค่าใช้จ่ายในการตอก เสาเข็มตัน ต่อต้นสูงกว่าเสาเข็มรูปตัวที การเปลี่ยนเสาเข็มดังกล่าวไม่เป็นกรณีทำให้ผลงานของจำเลยลดคุณภาพและทำให้โจทก์ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการ ทำงานน้อยลงไป กรณีจึงไม่อยู่ในเจตนารมณ์ของข้อสัญญาดังกล่าว
สูตรหักค่าเข็มคือ x =y - abel x คือ จำนวนเงินค่าเข็มที่จะหักออก a คือ จำนวนเสาเข็ม b คือ ความยาวเส้นรอบรูป c คือค่าที่กำหนดในตาราง 1 สูตรดังกล่าวต้องอยู่ภายในเงื่อนไข 2 ประการคือ โจทก์ต้องใช้เสาเข็มจำนวนเท่าเดิมและชนิดเดิม แต่ขนาดเล็กกว่าประการหนึ่ง หรือโจทก์ใช้เสาเข็มชนิดและขนาดเท่าเดิม แต่จำนวนต้นน้อยกว่าที่ระบุไว้แต่เดิมในสัญญาอีกประการหนึ่ง กรณีของโจทก์นั้นเสาเข็มที่ใช้เป็นเสาเข็มตัน และขนาดใหญ่กว่า เป็นการแตกต่างกันทั้งชนิดและขนาด เมื่อตอก แล้วจะรับน้ำหนักได้มากกว่าเดิมจากที่กำหนดไว้ในสัญญา จำเลยจึงไม่อาจจะนำเอาข้อกำหนดในรายการต่อท้ายสัญญาและสูตรหักค่าเข็มมาหักเงินค่าจ้างจากโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4099/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฝากเงินเพื่อเป็นประกันหนี้ ไม่ถือเป็นการจำนำ แม้มีข้อตกลงให้หักเงินจากบัญชี
เมื่อจำเลยฝากเงินไว้แก่ผู้ร้อง เงินที่ฝากย่อมตกเป็นของผู้ร้อง ผู้ร้องคงมีหน้าที่ต้องคืนเงินให้ครบจำนวน การที่จำเลยตกลงมอบเงินฝากพร้อมสมุดบัญชีเงินฝากประจำไว้แก่ผู้ร้อง ก็เพียงเพื่อเป็นประกันหนี้ที่จำเลยจะพึงมีต่อผู้ร้องเท่านั้น แม้ในหนังสือยินยอมมอบเงินฝากเป็นประกันจะมีข้อความระบุไว้ว่า เพื่อเป็นหลักประกันการชำระหนี้ การที่จำเลยให้ผู้ร้องมีอำนาจหักเงินจากบัญชีเงินฝากของจำเลยและจำเลยจะไม่ถอนเงินฝากจนกว่าผู้ร้องจะได้รับชำระหนี้โดยครบถ้วนนั้น เป็นเรื่องความตกลงในการฝากเงินเพื่อเป็นประกันนั้นเอง หาทำให้ตัวเงินตามจำนวนในบัญชีเงินฝากยังคงเป็นของจำเลยอันผู้ร้องได้ยึดไว้เป็นประกันการชำระหนี้ไม่ ความตกลงดังกล่าวจึงไม่เป็นการจำนำเงินฝากผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้รายอื่น (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 2611/2522).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2355/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธินายจ้างหักเงินบำเหน็จออกจากค่าชดเชย และดอกเบี้ยค่าชดเชยที่ไม่สามารถหักได้
เงินบำเหน็จเป็นผลประโยชน์นอกเหนือไปจากค่าชดเชยซึ่งกฎหมายกำหนดให้นายจ้างจ่ายเมื่อเลิกจ้าง นายจ้างจึงย่อมมีสิทธิที่จะกำหนดวิธีการจ่ายเงินบำเหน็จได้ตามที่เห็นสมควร ดังนั้น ข้อบังคับของนายจ้างที่ให้หักค่าชดเชยออกจากเงินบำเหน็จ จึงหาขัดต่อกฎหมายคุ้มครองแรงงานไม่ แต่เมื่อข้อบังคับของนายจ้างมิได้กำหนดให้นายจ้างมีสิทธิหักดอกเบี้ยของค่าชดเชยไว้ด้วย นายจ้างจึงไม่มีสิทธิหักดอกเบี้ยของค่าชดเชยออกจากเงินบำเหน็จ
เมื่อไม่ปรากฏว่าลูกจ้างได้ทวงถามให้นายจ้างชำระสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและเงินบำเหน็จแก่ลูกจ้างเมื่อใด จะถือว่านายจ้างผิดนัดแล้วหาได้ไม่ ลูกจ้างมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยจากต้นเงินทั้งสองจำนวนดังกล่าวตั้งแต่วันฟ้อง
of 6