พบผลลัพธ์ทั้งหมด 346 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5417/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิหุ้นส่วนและการกระทบสิทธิบุคคลภายนอก: หุ้นส่วนยังไม่เลิกห้าง สิทธิเรียกร้องเงินลงทุนยังไม่มีผลกระทบต่อผู้รับจำนอง
โจทก์กับจำเลยยังเป็นหุ้นส่วนกัน เมื่อหุ้นส่วนยังไม่เลิกกันโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องเงินที่ร่วมลงทุนในห้างหุ้นส่วนจากคนอื่นๆ ได้ ตามป.พ.พ.มาตรา 1055, 1056 และ 1057
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ใส่ชื่อโจทก์เข้าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) โดยปลอดจำนอง เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะไปกระทบสิทธิของผู้รับจำนองซึ่งมิได้เข้ามาเป็นคู่ความในคดีด้วย ศาลจึงไม่อาจพิพากษาให้กระทบกระเทือนสิทธิของผู้รับจำนองซึ่งเป็นบุคคลภายนอกคดีได้ ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5)ประกอบมาตรา 246
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ใส่ชื่อโจทก์เข้าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) โดยปลอดจำนอง เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะไปกระทบสิทธิของผู้รับจำนองซึ่งมิได้เข้ามาเป็นคู่ความในคดีด้วย ศาลจึงไม่อาจพิพากษาให้กระทบกระเทือนสิทธิของผู้รับจำนองซึ่งเป็นบุคคลภายนอกคดีได้ ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5)ประกอบมาตรา 246
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5417/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นส่วนยังไม่เลิกสัญญา สิทธิเรียกร้องเงินลงทุนในห้างหุ้นส่วนเป็นไปตามกฎหมาย และผลกระทบต่อสิทธิผู้รับจำนอง
โจทก์กับจำเลยยังเป็นหุ้นส่วนกัน เมื่อหุ้นส่วนยังไม่เลิกกันโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องเงินที่ร่วมลงทุนในห้างหุ้นส่วนจากคนอื่นๆได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1055,1056 และ 1057
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ใส่ชื่อโจทก์เข้าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) โดยปลอดจำนอง เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะไปกระทบสิทธิของผู้รับจำนองซึ่งมิได้เข้ามาเป็นคู่ความในคดีด้วย ศาลจึงไม่อาจพิพากษาให้กระทบกระเทือนสิทธิของผู้รับจำนองซึ่งเป็นบุคคลภายนอกคดีได้ ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 142(5) ประกอบมาตรา 246
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ใส่ชื่อโจทก์เข้าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) โดยปลอดจำนอง เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะไปกระทบสิทธิของผู้รับจำนองซึ่งมิได้เข้ามาเป็นคู่ความในคดีด้วย ศาลจึงไม่อาจพิพากษาให้กระทบกระเทือนสิทธิของผู้รับจำนองซึ่งเป็นบุคคลภายนอกคดีได้ ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 142(5) ประกอบมาตรา 246
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2708/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งทรัพย์สินหลังเลิกหุ้นส่วน-การชำระเงินทดรองค่าที่ดิน-อำนาจศาล-ข้อเท็จจริงไม่เพียงพอ
แม้ว่าศาลอุทธรณ์ภาค 2 จะมีอำนาจพิพากษาให้โจทก์ผู้เป็นตัวการชดใช้เงินที่จำเลยทั้งสองผู้เป็นตัวแทนออกเงินทดรองหรือค่าใช้จ่ายไปดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 816 ได้ โดยที่จำเลยทั้งสองไม่ได้ฟ้องแย้งมาด้วยก็ตาม แต่ในคดีนี้ ข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาไม่ได้ความว่าจำเลยทั้งสองได้ออกเงินทดรองชำระราคาที่ดินแทนในส่วนของโจทก์เป็นเงินจำนวนเท่าใด อีกทั้งอุทธรณ์ของโจทก์ก็ได้ความเพียงว่า "สำหรับที่ดินพิพาททั้งสิบสองโฉนด จำเลยทั้งสองออกเงินทดรองจ่ายเป็นค่าที่ดินรวม 4 โฉนด ไปจำนวนเท่าใด ก็สามารถเรียกเก็บจากโจทก์ได้ตามส่วน" เท่านั้น การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาให้โจทก์ชดใช้เงินค่าทดรองจ่ายจำนวนโฉนดละ 70,000 บาท รวม 4 โฉนด แก่จำเลยทั้งสองก่อนรับแบ่งที่ดิน จึงหาชอบด้วยข้อเท็จจริงไม่ จำเลยทั้งสองจะมีสิทธิเรียกร้องเงินที่ทดรองจ่ายไปสำหรับที่ดินพิพาทอย่างไรก็ชอบที่จะไปว่ากล่าวเอาแก่โจทก์เป็นอีกคดีหนึ่งต่างหาก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1982/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงข้อสัญญาหุ้นส่วนโดยไม่ยินยอมขัดต่อกฎหมาย และผลกระทบต่อการชำระบัญชีหุ้นส่วน
โจทก์จำเลยตกลงทำสัญญาเข้าร่วมทุนเป็นหุ้นส่วนกันในการตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญเพื่อดำเนินกิจการเปิด ร้านอาหารโดยมีวัตถุประสงค์หาผลกำไรแบ่งกัน ซึ่งในการร่วมทุนกันนั้นโจทก์เป็นผู้ลงหุ้นเป็นเงิน ส่วนจำเลยลงหุ้น เป็นแรงงาน เมื่อตามสัญญากำหนดให้โจทก์เป็นผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับการเงินของร้านอาหารเพียงผู้เดียวซึ่งถือได้ว่าเป็นสาระสำคัญในการตกลงเข้าหุ้นทำกิจการร่วมกันในฐานะที่โจทก์เป็นผู้ลงทุนเป็นเงินทั้งหมด ข้อสัญญาดังกล่าวนี้จำเลยผู้เป็นหุ้นส่วนเพียงคนเดียวจะเปลี่ยนแปลงไม่ได้ เว้นแต่โจทก์หุ้นส่วนอีกคนหนึ่งจะยินยอมด้วย การที่จำเลยปิด ร้านอาหารแล้วเปิดดำเนินกิจการใหม่ในวันรุ่งขึ้น โดยห้ามโจทก์เข้าเกี่ยวข้องในกิจการร้านอาหารนั้น ก็หมายความว่าจำเลยเป็นผู้เข้ารับผิดชอบเกี่ยวกับการเงินในการจัดเก็บรายได้และรายจ่ายในการดำเนินกิจการของร้านอาหารทั้งหมดแทนโจทก์ อันเป็นหน้าที่ของโจทก์ตามสัญญา จึงถือได้ว่าจำเลยได้เปลี่ยนแปลงข้อสัญญาที่ทำกันไว้โดยที่โจทก์ไม่ได้ยินยอมด้วย เป็นการขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา 1032 การกระทำของจำเลยดังกล่าวย่อมเป็นการปฏิบัติผิดสัญญาเข้าหุ้นส่วนกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7148/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คสั่งจ่ายเงินมีผลผูกพันทางกฎหมาย แม้จะอ้างเป็นหุ้นส่วนค้าทอง แต่ขาดหลักฐานสนับสนุน
ผู้เป็นหุ้นส่วนมีสิทธิได้รับส่วนกำไรอันเกิดจากกิจการที่ทำนั้น หากไม่ได้รับส่วนแบ่งในผลกำไรแต่ได้รับเป็นอย่างอื่น ไม่ถือว่าเป็นหุ้นส่วน ปรากฏว่าระหว่างโจทก์กับจำเลยมีการแบ่งผลประโยชน์ให้กันทุกเดือน เดือนละ 2 เปอร์เซ็นต์ ของเงินลงทุน โดยไม่ต้องคำนึงถึงผลกำไรหรือขาดทุน แสดงว่าโจทก์ได้รับผลประโยชน์จากเงินที่ลงทุนทุกเดือนโดย ไม่ได้รอผลกำไรจากกิจการแต่อย่างใด จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นหุ้นส่วนกับจำเลยเพื่อ ทำกิจการซื้อขายทองรูปพรรณ แต่เป็นกรณีที่จำเลยให้ค่าตอบแทนแก่โจทก์จากการที่โจทก์ให้เงินจำเลยไปลงทุนทำกิจการเกี่ยวกับทองรูปพรรณอันเป็นกิจการของจำเลยเองจำเลยประกอบธุรกิจค้าขายทองมาเป็นเวลาเกือบ 30 ปี ย่อมรู้ดีว่าการลงลายมือชื่อในเช็คสั่งจ่ายเงินให้บุคคลอื่นต้องผูกพันตนเองอย่างไร จึงไม่น่าเชื่อว่าจำเลยจะยอมสั่งจ่าย เช็คพิพาทให้โจทก์โดยที่ไม่มีมูลหนี้ต่อกัน เมื่อโจทก์ยืนยันว่ามูลเหตุที่จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาท ให้โจทก์มาจากการที่จำเลยกู้เงินโจทก์หลายครั้งรวมยอดหนี้ได้ 1,000,000 บาท จำเลย จึงสั่งจ่ายเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ เมื่อเช็คพิพาทถึงกำหนดนำไปเรียกเก็บเงิน แต่ธนาคารได้ปฏิเสธการจ่ายเงิน จำเลยซึ่งเป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทจึงต้องรับผิดชำระเงินตามเช็คพิพาทให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3740-3741/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์รวมในที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง หุ้นส่วนจำหน่ายส่วนของตนได้ ไม่ถือเป็นการผิดสัญญา
การเอาทรัพย์สินมาลงหุ้นของโจทก์และจำเลยนั้นมิได้เอาทรัพย์สินมาเป็นกรรมสิทธิ์ของห้างหุ้นส่วน เป็นแต่เพียงเอามาใช้ในกิจการของห้างหุ้นส่วน จำเลยและโจทก์จึงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทซึ่ง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1361 วรรคหนึ่ง เจ้าของรวมแต่ละคนสามารถจำหน่ายส่วนของตนหรือจำนองหรือก่อให้เกิดภาระติดพันก็ได้ ฉะนั้นการที่จำเลยจำหน่ายกรรมสิทธิ์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างโดยจำหน่ายเฉพาะส่วนของตน จึงเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมาย ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ ทั้งไม่อาจถือได้ว่าเป็นการชักนำบุคคลอื่นเข้ามาเป็นหุ้นส่วนโดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกัน เพราะการเป็นหุ้นส่วนต้องเกิดขึ้นโดยความตกลงระหว่าง ผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกัน เมื่อโจทก์ยังมิได้ตกลงให้ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเฉพาะส่วนของจำเลย เข้ามาเป็นหุ้นส่วน ผู้รับโอนก็หากลายมาเป็นหุ้นส่วนไม่ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการผิดสัญญาหุ้นส่วน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1945/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นส่วนลงทุนซื้อที่ดินผิดสัญญา ศาลอนุญาตฟ้องเรียกเงินลงทุนคืนได้ แม้มีข้อตกลงห้ามเรียกคืน
โจทก์และจำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 ทำสัญญาเข้าหุ้นส่วนกันเพื่อซื้อที่ดินมาค้าหากำไรโดยมีข้อสัญญาว่าเมื่อซื้อที่ดินมาแล้วหุ้นส่วนทุกคนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้นร่วมกัน และหุ้นส่วนทุกฝ่ายตกลงกันว่าจะไม่มีการเรียก เงินลงทุนคืนระหว่างดำเนินการ ต่อมาเมื่อรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินจากผู้ขายแล้ว จำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 ไม่ใส่ชื่อโจทก์ในโฉนดที่ดินแปลงดังกล่าว แต่กลับใส่ชื่อจำเลยที่ 7 ถึงที่ 10 แทนที่โจทก์ แล้วนำที่ดินแปลงดังกล่าวจำนอง โดยอ้างว่าโจทก์ไม่ชำระเงินลงหุ้นให้ครบและไม่ยอมจำนองที่ดินพิพาท เท่ากับเป็นการปฏิเสธว่าโจทก์ไม่ได้เป็นหุ้นส่วนอีกต่อไป โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องเรียกเงินลงหุ้นหรือเงินลงทุนคืนได้
กิจการของหุ้นส่วนในคดีนี้มีเพียงอย่างเดียวคือ ให้ผู้เป็นหุ้นส่วนลงทุนเพื่อซื้อที่ดินแปลงหนึ่งมาค้าหากำไร ไม่ปรากฎว่ามีทรัพย์สินอื่นนอกจากเงินลงหุ้นและไม่ปรากฏหนี้สินแต่อย่างใด การที่จะให้ไปดำเนินการฟ้องขอให้ เลิกห้างหุ้นส่วนและชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนเสียก่อน ย่อมไม่เป็นประโยชน์แก่ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกฝ่าย ศาลย่อมพิพากษาให้คืนเงินลงหุ้นไปได้เลย
กิจการของหุ้นส่วนในคดีนี้มีเพียงอย่างเดียวคือ ให้ผู้เป็นหุ้นส่วนลงทุนเพื่อซื้อที่ดินแปลงหนึ่งมาค้าหากำไร ไม่ปรากฎว่ามีทรัพย์สินอื่นนอกจากเงินลงหุ้นและไม่ปรากฏหนี้สินแต่อย่างใด การที่จะให้ไปดำเนินการฟ้องขอให้ เลิกห้างหุ้นส่วนและชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนเสียก่อน ย่อมไม่เป็นประโยชน์แก่ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกฝ่าย ศาลย่อมพิพากษาให้คืนเงินลงหุ้นไปได้เลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7094/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การว่าจ้างทำของและหุ้นส่วนทางธุรกิจ ศาลไม่ถือว่าวินิจฉัยนอกฟ้องหากเชื่อมโยงกับการว่าจ้าง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งห้าว่าจ้างโจทก์ทำอุปกรณ์บรรจุเทปเพลง ซึ่งเป็นลิขสิทธิ์ของจำเลยที่ 1 ให้ร่วมกันรับผิดตามสัญญาจ้างทำของ ประเด็นข้อพิพาทมีว่าจำเลยที่ 1 ได้ว่าจ้างโจทก์ทำสินค้าตามฟ้องหรือไม่ โจทก์ได้นำสืบถึงความเป็นมาแห่งคดีและได้แสดงเอกสารและวัตถุพยานเกี่ยวกับการว่าจ้างรายนี้ ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 เป็นหุ้นส่วนกับจำเลยที่ 2 เนื่องจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ตกลงเข้ากันเพื่อกระทำกิจการร่วมกันด้วยประสงค์จะแบ่งปันกำไรอันจะพึงได้แก่กิจการที่ทำนั้น เป็นการเข้าหุ้นส่วนกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1012 ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกคำฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5831/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทหุ้นส่วนรับเหมา: ไม่เป็นความผิดอาญาฐานยักยอก แต่เป็นผิดสัญญา
เดิมจำเลยที่ 2 เป็นคู่สัญญากับจังหวัดเพื่อขุดลอกหนองน้ำตามสัญญาจ้าง ต่อมาจำเลยที่ 2 ว่าจ้างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ให้รับช่วงงานขุดลอกหนองน้ำดังกล่าว โจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงตกลงเข้าเป็นหุ้นส่วนกันรับงานนั้นเพื่อประสงค์จะแบ่งกำไรกัน โดยโจทก์ให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการดำเนินงาน งานที่รับช่วงมีมูลค่าประมาณ 3,100,000 บาท แม้ต่อมาจำเลยที่ 1 โอนงานงวดสุดท้ายประมาณ 1,300,000 บาท ให้แก่จำเลยที่ 4 รับทำแทน และโจทก์ยังไม่ได้รับส่วนแบ่งจากการเป็นหุ้นส่วนกับจำเลยที่ 1 ก็ตาม แต่มูลเหตุเป็นเรื่องที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 ทำสัญญาเข้าหุ้นกันรับช่วงงานขุดลอกหนองน้ำต่อจากจำเลยที่ 2โดยโจทก์มอบให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการดำเนินการขุดลอกหนองน้ำ จำเลยที่ 1ทำงานแล้วไม่ยอมแบ่งเงินให้แก่โจทก์ ซึ่งโจทก์มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งจากการเป็นหุ้นส่วนอยู่ครึ่งหนึ่ง กรณีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงมิใช่เรื่องที่จำเลยที่ 1ทำผิดหน้าที่ในการจัดการทรัพย์สินของโจทก์โดยทุจริต แต่เป็นเรื่องผิดสัญญาทางแพ่งเรื่องหุ้นส่วนเท่านั้น คดีของโจทก์ย่อมไม่มีมูลเป็นความผิดอาญาฐานยักยอกตาม ป.อ.อาญา มาตรา 353 เมื่อการกระทำของจำเลยที่ 1 ไม่เป็นความผิด จำเลยที่ 2ถึงที่ 4 จึงไม่อาจเป็นตัวการร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 1 ดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5831/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นส่วนรับช่วงงานแล้วไม่แบ่งกำไร ไม่เป็นความผิดอาญาฐานยักยอก เป็นเรื่องผิดสัญญา
เดิมจำเลยที่ 2 เป็นคู่สัญญากับจังหวัดเพื่อขุดลอกหนองน้ำตามสัญญาจ้าง ต่อมาจำเลยที่ 2 ว่าจ้างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ให้รับช่วงงานขุดลอกหนองน้ำดังกล่าว โจทก์กับ จำเลยที่ 1 จึงตกลงเข้าเป็นหุ้นส่วนกันรับงานนั้นเพื่อ ประสงค์จะแบ่งกำไรกัน โดยโจทก์ให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการ ดำเนินงาน งานที่รับช่วงมีมูลค่าประมาณ 3,100,000 บาท แม้ต่อมาจำเลยที่ 1 โอนงานงวดสุดท้ายประมาณ 1,300,000 บาท ให้แก่จำเลยที่ 4 รับทำแทน และโจทก์ยังไม่ได้รับส่วนแบ่งจากการเป็นหุ้นส่วนกับจำเลยที่ 1 ก็ตาม แต่มูลเหตุเป็นเรื่องที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 ทำสัญญาเข้าหุ้นกันรับ ช่วงงานขุดลอกหนองน้ำต่อจากจำเลยที่ 2 โดยโจทก์มอบให้ จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการดำเนินการขุดลอกหนองน้ำ จำเลยที่ 1 ทำงานแล้วไม่ยอมแบ่งเงินให้แก่โจทก์ ซึ่งโจทก์มีสิทธิได้รับ ส่วนแบ่งจากการเป็นหุ้นส่วนอยู่ครึ่งหนึ่ง กรณีระหว่างโจทก์ กับจำเลยที่ 1 จึงมิใช่เรื่องที่จำเลยที่ 1 ทำผิดหน้าที่ ในการจัดการทรัพย์สินของโจทก์โดยทุจริต แต่เป็นเรื่อง ผิดสัญญาทางแพ่งเรื่องหุ้นส่วนเท่านั้น คดีของโจทก์ย่อม ไม่มีมูลเป็นความผิดอาญาฐานยักยอกตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 353 เมื่อการกระทำของจำเลยที่ 1 ไม่เป็นความผิด จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จึงไม่อาจเป็นตัวการ ร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 1 ดังกล่าวได้