คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
หุ้นส่วนจำกัดความรับผิด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 35 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1497/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนจำกัดความรับผิดร่วมรับผิดในหนี้ของห้างหุ้นส่วนจากการทำหนังสือรับสภาพหนี้และการจัดการงาน
จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ร่วมกันเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันกับธนาคารโจทก์ ใช้ชื่อบัญชีว่า นาย ส. คือจำเลยที่ 4 โดยใช้เช็คเบิกเงินจากบัญชีมีเงื่อนไขในการสั่งจ่ายเงินว่า สองในสามของจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ลงชื่อร่วมกัน ต่อมาจำเลยที่ 2 ที่ 3และที่ 4 ได้ร่วมกันจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด ร. จำเลยที่ 1ขึ้นโดยมีจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ จำเลยที่ 3 และที่ 4เป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิด แล้วแจ้งโจทก์ขอเปลี่ยนชื่อบัญชีจากชื่อจำเลยที่ 4 เป็นชื่อห้างจำเลยที่ 1 เงื่อนไขในการสั่งจ่ายเงินจากบัญชีคงให้สองในสามคนของหุ้นส่วน คือจำเลยที่ 2ที่ 3 และที่ 4 ลงชื่อร่วมกันและประทับตราของจำเลยที่ 1 หลังจากนั้นจำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้ลงชื่อร่วมกันออกเช็คประทับตราของห้างจำเลยที่ 1 หลายครั้งอันเป็นการเดินสะพัดทางบัญชีเรื่อยมา จนกระทั่งบัญชีของห้างจำเลยที่ 1 หยุดเคลื่อนไหว จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4ได้ร่วมกันทำหนังสือรับสภาพหนี้ของห้างจำเลยที่ 1 โดยยอมร่วมรับผิดกับห้างจำเลยที่ 1 พฤติการณ์ดังกล่าวย่อมถือได้ว่า จำเลยที่ 3ซึ่งเป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดสอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของห้างจำเลยที่ 1 ตลอดมา จำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดร่วมกันในหนี้ของห้างจำเลยที่ 1 โดยไม่จำกัดจำนวน แม้การเบิกเงินเกินบัญชีของห้างจำเลยที่ 1 กับโจทก์จะหยุดเคลื่อนไหวและได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้กันไว้ก็ตาม แต่หนังสือรับสภาพหนี้ได้ระบุชัดเจนว่าจำเลยทั้งสี่จะนำเงินมาผ่อนชำระเข้าบัญชีของห้างจำเลยที่ 1 ทุก ๆ เดือน เพื่อลดต้นเงินและดอกเบี้ยไปจนกว่าจะชำระหนี้เบิกเงินเกินบัญชีหมดสิ้น และตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยทบต้นต่อไป ถือได้ว่าเป็นการตกลงให้มีการเดินสะพัดทางบัญชีกันต่อไปโดยไม่มีกำหนดระยะเวลา ดังนั้นคู่สัญญาจะบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัด และให้หักทอนบัญชีกันเสียในเวลาใด ๆ ก็ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1422/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ชื่อหุ้นส่วนจำกัดความรับผิดในชื่อห้างหุ้นส่วนจำกัด การรับผิดชอบหนี้สิน
คำว่า "ชื่อ" ในบทบัญญัติ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1081,1082 หมายถึง ชื่อตัว ชื่อรอง หรือชื่อสกุล อันเป็นชื่อเต็มของผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดมิใช่ส่วนหนึ่งส่วนใดของชื่อ หรือพยางค์หนึ่งของชื่อ เว้นแต่เป็นที่รู้กันทั่วไปว่าชื่อบางส่วนหรือพยางค์หนึ่งของชื่อนั้นเป็นคำที่เรียกขานเป็นชื่อของผู้เป็นหุ้นส่วนดังกล่าว จำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนจำกัดความผิดของห้างจำเลยที่ 1มีชื่อว่า "วิริยะ" เพียงแต่ยอมให้ห้างจำเลยที่ 1 ใช้คำว่า"วิ" มาระคนเป็นชื่อห้าง โดยไม่ต้องปรากฏข้อเท็จจริงชัดแจ้งว่า คำว่า "วิ" นั้นเป็นที่รู้กันทั่วไปว่าหมายถึงชื่อของจำเลยที่ 4 จึงยังไม่ต้องด้วยบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว จำเลยที่ 4จึงไม่ต้องร่วมกับจำเลยอื่นรับผิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1422/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ชื่อหุ้นส่วนจำกัดความรับผิดในชื่อห้างหุ้นส่วน - การใช้เพียงพยางค์ชื่อไม่ถือเป็นการยินยอมตามกฎหมาย
คำว่า ชื่อ ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1081,1082หมายถึง ชื่อตัว ชื่อรอง หรือชื่อสกุล อันเป็นชื่อเต็มของผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิด มิใช่ส่วนหนึ่งส่วนใดของชื่อหรือเป็นเพียงพยางค์หนึ่งของชื่อ เว้นแต่เป็นที่รู้กันทั่วไปว่าชื่อบางส่วนหรือพยางค์หนึ่งของชื่อนั้นเป็นคำที่เรียกขานเป็นชื่อของผู้เป็นหุ้นส่วนดังกล่าว จำเลยที่ 4 เพียงแต่ยอมให้ห้างจำเลยที่ 1 ใช้คำว่า "วิ"ซึ่งเป็นพยางค์แรกของชื่อจำเลยที่ 4 ที่ชื่อว่า "วิริยะ"มาระคนเป็นชื่อ ทั้งไม่ปรากฏข้อเท็จจริงชัดแจ้งว่า คำว่า"วิ" นั้น เป็นที่รู้กันทั่วไปหมายถึงชื่อของจำเลยที่ 4 การกระทำของจำเลยที่ 4 ดังกล่าวจึงยังไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1081 และมาตรา 1082 วรรคแรกจำเลยที่ 4 จึงไม่ต้องร่วมกับจำเลยอื่นรับผิดต่อโจทก์เพราะเหตุที่ได้ยอมให้ใช้คำว่า "วิ" มาระคนเป็นชื่อห้างจำเลยที่ 1 แต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2019/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนจำกัดความรับผิดเข้าทำสัญญาแทนห้างหุ้นส่วนจำกัด และการรับผิดในหนี้สินตามมาตรา 1088
ห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 ยินยอมให้จำเลยที่ 3หุ้นส่วนจำกัดความรับผิดเข้าทำสัญญาว่าจ้างโจทก์แทนจำเลยที่ 1โดยจำเลยที่ 3 เป็นผู้ตัดสินใจต่อรองราคาได้เอง รวมทั้งเพิ่มงานบางส่วนเองโดยจำเลยที่ 3 ไม่มีหน้าที่ ถือได้ว่าจำเลยที่ 3สอดเข้าเกี่ยวข้องกับการจัดการงานของจำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 3ต้องรับผิดในบรรดาหนี้สินของจำเลยที่ 1 โดยไม่จำกัดจำนวนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1088.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5949/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนจำกัดความรับผิดต้องรับผิดร่วมกับห้างหุ้นส่วนในหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนและหลังเข้าร่วมเป็นหุ้นส่วน
หุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด ต้องรับผิดในหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัดที่ก่อให้เกิดขึ้นก่อนที่ตนเข้ามาเป็นหุ้นส่วนและแม้ผู้เป็นหุ้นส่วนจะออกจากหุ้นส่วนไปแล้ว ก็ยังคงต้องรับผิดในหนี้ซึ่งห้างหุ้นส่วนได้ก่อให้เกิดขึ้นก่อนที่ตนจะได้ออกจากหุ้นส่วนไป ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1051,1052 โจทก์มิได้ส่งสำเนาเอกสารแก่จำเลยที่ 4 ก่อน 3 วัน แต่เมื่อเอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลย่อมใช้ดุลพินิจรับฟังเอกสารดังกล่าวได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87(2).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2253/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของหุ้นส่วนจำกัดความรับผิดในหนี้ของห้างหุ้นส่วนที่ถูกพิทักษ์ทรัพย์สิทธิเรียกร้องหนี้ดอกเบี้ยหลังศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์
หนี้ที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้เป็นหนี้ของห้างฯ จำเลยที่ 1 มิใช่เป็นหนี้ของจำเลยที่ 2 เป็นส่วนตัว จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดต้องรับผิดร่วมกับห้างฯ จำเลยที่ 1 ในหนี้ที่ห้างฯ จำเลยที่ 1 เป็นหนี้เท่านั้น เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ห้างฯ จำเลยที่ 1 เด็ดขาด วันที่ 10 กรกฎาคม 2528 เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้ค่าดอกเบี้ยภายหลังวันที่ 10 กรกฎาคม 2528 ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 100

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1286/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ชื่อสกุลในชื่อห้าง ทำให้หุ้นส่วนจำกัดความรับผิดต้องรับผิดเสมือนหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิด
คำว่า"ชื่อ" ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1081 และ1082 ย่อมหมายถึง ชื่อสกุลด้วย เมื่อจำเลยที่ 4 ที่ 5 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดยอมให้ใช้ชื่อสกุลของตนระคนเป็นชื่อห้าง จำเลยที่ 4 ที่ 5 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเสมือนเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1286/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนจำกัดความรับผิดยินยอมใช้ชื่อสกุลเป็นชื่อห้าง ต้องรับผิดเสมือนหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิด
หุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดยินยอมให้ใช้ชื่อสกุลของตนเป็นชื่อห้างผู้เป็นหุ้นส่วนนั้นต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกเสมือนเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด เพราะคำว่า'ชื่อ' ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1081 และมาตรา 1082หมายถึงชื่อสกุลด้วย.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1286/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ชื่อสกุลเป็นชื่อห้างทำให้หุ้นส่วนจำกัดความรับผิดต้องรับผิดเหมือนหุ้นส่วนไม่จำกัด
คำว่า "ชื่อ" ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1081และ 1082 ย่อมหมายถึงชื่อสกุลด้วย เมื่อจำเลยที่ 4 ที่ 5ซึ่งเป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดยอมให้ใช้ชื่อสกุลของตนระคนเป็นชื่อห้าง จำเลยที่ 4 ที่ 5 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเสมือนเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1286/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนจำกัดความรับผิดใช้ชื่อสกุลในชื่อห้างฯ ต้องรับผิดเสมือนหุ้นส่วนไม่จำกัด
คำว่า"ชื่อ"ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1081 และ1082 ย่อมหมายถึง ชื่อสกุลด้วย เมื่อจำเลยที่ 4 ที่ 5 ซึ่ง เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดยอมให้ใช้ ชื่อสกุลของตน ระคนเป็นชื่อ ห้าง จำเลยที่ 4 ที่ 5 จึงต้อง รับผิดต่อ โจทก์ซึ่ง เป็นบุคคลภายนอกเสมือนเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด.
of 4