พบผลลัพธ์ทั้งหมด 124 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1092/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นส่วนผู้จัดการรับผิดหนี้ห้างหุ้นส่วนจำกัด: ศาลมีอำนาจบังคับคดีได้โดยไม่ต้องบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินของห้างก่อน
เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์ได้แจ้งการประเมินให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด ว. ชำระภาษีโรงเรือนและที่ดินแก่โจทก์ ส่วนจำเลยในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างดังกล่าวมิใช่ผู้ที่ถูกประเมินจึงไม่มีเหตุที่เจ้าพนักงานประเมินจะแจ้ง การประเมินให้แก่จำเลย ดังนั้นโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง จำเลยซึ่งหุ้นส่วนผู้จัดการ ของห้างหุ้นส่วนจำกัด ว. ให้ชำระหนี้ดังกล่าว ซึ่งเป็นหนี้ของห้างได้โดย ไม่ต้องแจ้งการประเมินให้จำเลยก่อน
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1071 ประกอบมาตรา 1080ให้อำนาจศาลใช้ดุลพินิจในการบังคับคดีโดยจะให้บังคับเอาแก่ทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนจำกัดก่อน หรือจะให้บังคับชำระหนี้เอาแก่จำเลยซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดซึ่งเป็นลูกหนี้ก็ได้ ซึ่งแตกต่างกับกรณีเป็นผู้ค้ำประกันที่ผู้ค้ำประกันสามารถจะใช้สิทธิเรียกร้องให้เจ้าหนี้บังคับคดีแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้ก่อนตามมาตรา 688 อีกทั้งไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายใด ห้ามโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัดมิให้ฟ้องร้องหุ้นส่วนผู้จัดการ โดยต้องไปบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนจำกัดก่อนการที่โจทก์ฟ้องจำเลยจึงเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1071 ประกอบมาตรา 1080ให้อำนาจศาลใช้ดุลพินิจในการบังคับคดีโดยจะให้บังคับเอาแก่ทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนจำกัดก่อน หรือจะให้บังคับชำระหนี้เอาแก่จำเลยซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดซึ่งเป็นลูกหนี้ก็ได้ ซึ่งแตกต่างกับกรณีเป็นผู้ค้ำประกันที่ผู้ค้ำประกันสามารถจะใช้สิทธิเรียกร้องให้เจ้าหนี้บังคับคดีแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้ก่อนตามมาตรา 688 อีกทั้งไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายใด ห้ามโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัดมิให้ฟ้องร้องหุ้นส่วนผู้จัดการ โดยต้องไปบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนจำกัดก่อนการที่โจทก์ฟ้องจำเลยจึงเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8840/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของหุ้นส่วนผู้จัดการในห้างหุ้นส่วนจำกัดตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด มีจำเลยที่ 2เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการมีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อในเช็คพิพาทและประทับตราสำคัญของจำเลยที่ 1 ส่งมอบให้แก่โจทก์เพื่อชำระหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1และคำขอท้ายฟ้องระบุให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินแก่โจทก์เท่ากับโจทก์มีคำขอบังคับให้จำเลยทั้งสองรับผิดแล้ว ส่วนการที่จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อโจทก์ในฐานะส่วนตัวนั้น เป็นผลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1077 และ 1087
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6882/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษานอกฟ้อง: ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยประเด็นนอกเหนือคำฟ้องเดิม
โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดในฐานะที่เป็นนายจ้างของผู้ขับรถยนต์บรรทุกซึ่งกระทำไปในทางการที่จ้างของจำเลย และในฐานะที่จำเลยเป็นเจ้าของผู้ครอบครองและผู้ใช้ประโยชน์ในรถยนต์บรรทุกคันดังกล่าวที่ทำให้ทรัพย์สินของโจทก์เสียหาย และตามคำฟ้องของโจทก์ไม่มีข้อความตอนใดระบุให้จำเลยรับผิดในฐานะเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัด ซึ่งเป็นนายจ้างของผู้ขับรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุ การที่ศาลอุทธรณ์ยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยให้จำเลยในฐานะผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดรับผิดต่อโจทก์ จึงเป็นการพิพากษานอกฟ้องหรือเกินไปกว่าที่ปรากฏในคำฟ้อง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยมาตรา 246
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5483/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีตามมาตรา 71 กรณีผู้เสียภาษีไม่ยื่นรายการภายในกำหนด และการรับผิดของหุ้นส่วนผู้จัดการ
เมื่อลูกหนี้ที่ 1 ไม่ได้ยื่นรายการซึ่งจำเป็นต้องใช้ในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลภายใน 150 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีตามมาตรา 69 แห่งประมวลรัษฎากรฯ เจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจประเมินภาษีในอัตราร้อยละ 5 ของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ หรือยอดขายก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ของรอบระยะเวลาบัญชีแล้วแต่อย่างใดจะมากกว่าได้ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 71 แห่งประมวลรัษฎากรฯ การที่ลูกหนี้ที่ 1 ส่งมอบบัญชีและเอกสารต่าง ๆ มาให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบภายหลังจากพ้นกำหนดระยะเวลาตามที่กฎหมายกำหนดแล้วไม่ทำให้การยื่นเอกสารรายการดังกล่าวกลับเป็นการยื่นภายในกำหนดเวลาได้ ดังนั้นการที่เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์ทำการประเมินภาษีในอัตราร้อยละ 5 ของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ของรอบระยะเวลาบัญชีตามมาตรา 71 แห่งประมวลรัษฎากรฯ จึงเป็นการกระทำที่ชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4473/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของหุ้นส่วนผู้จัดการในหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัดและการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1077(2) และ 1087 ระบุว่าผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดต้องร่วมรับผิดในบรรดาหนี้ของห้างโดยไม่จำกัดจำนวน และผู้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการในห้างหุ้นส่วนจำกัดจะมีได้เฉพาะหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดเท่านั้น ดังนั้น เมื่อหนี้ที่เจ้าหนี้นำมาขอรับชำระเป็นหนี้ของลูกหนี้ที่ 1 ซึ่งลูกหนี้ที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการต้องร่วมรับผิดในบรรดาหนี้ของลูกหนี้ที่ 1 โดยไม่จำกัดจำนวน อีกทั้งเมื่อเจ้าหนี้นำมูลหนี้ตามคดีแพ่งมาฟ้องให้ลูกหนี้ทั้งสองล้มละลาย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และพิพากษาให้ล้มละลายแล้ว เจ้าหนี้จึงนำมูลหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวมาขอรับชำระหนี้จากทั้งลูกหนี้ที่ 1 และลูกหนี้ที่ 2 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 290/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดจากรถเสีย - ความรับผิดของลูกจ้าง-นายจ้าง-หุ้นส่วนผู้จัดการ
จำเลยที่ 1 จอดรถบรรทุกซึ่งเพลาขาดไว้ที่ไหล่ถนน โดยมีส่วนท้ายของรถล้ำเข้าไปในช่องทางจราจรประมาณ 70 เซนติเมตร แล้วจำเลยที่ 1 ออกไปโทรศัพท์แจ้งจำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 1 ไม่ได้ให้สัญญาณใด ๆ ว่ามีรถจอดล้ำอยู่บนถนนดังกล่าว เป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 56 วรรคสอง ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อจะปกป้องบุคคลอื่น ๆ ให้พ้นภยันตรายจากสิ่งกีดขวางบนถนน จึงต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่า การที่รถจักรยานยนต์ของผู้ตายชนท้ายรถบรรทุกคันดังกล่าวจนเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตายนั้น จำเลยที่ 1 เป็นผู้ผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 422
จำเลยที่ 1 กระทำละเมิดต่อโจทก์ขณะเป็นลูกจ้างและกระทำไปในทางการที่จ้างของห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ซึ่งห้างหุ้นส่วนจำกัดดังกล่าวต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ในผลแห่งละเมิดนั้นด้วย สำหรับจำเลยที่ 2 แม้จะมิใช่เจ้าของรถคันเกิดเหตุหรือเป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 ก็ตาม แต่จำเลยที่ 2 ก็เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดดังกล่าวโดยเป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดซึ่งต้องรับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1077 (2) และมาตรา 1087 อยู่แล้ว ดังนั้นแม้โจทก์จะฟ้องจำเลยที่ 2 โดยบรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 2 เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 ก็ตาม แต่ก็เห็นได้ว่าโจทก์ฟ้องเพื่อให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดในหนี้ละเมิดที่จำเลยที่ 1 ก่อขึ้นมาในทางการที่จ้างของห้างหุ้นส่วนดังกล่าวซึ่งเป็นนายจ้างอันเป็นหนี้ที่ห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้นต้องรับผิด และจำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการต้องร่วมรับผิดกับห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้นด้วยโดยไม่จำกัดจำนวน โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ได้
จำเลยที่ 1 กระทำละเมิดต่อโจทก์ขณะเป็นลูกจ้างและกระทำไปในทางการที่จ้างของห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ซึ่งห้างหุ้นส่วนจำกัดดังกล่าวต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ในผลแห่งละเมิดนั้นด้วย สำหรับจำเลยที่ 2 แม้จะมิใช่เจ้าของรถคันเกิดเหตุหรือเป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 ก็ตาม แต่จำเลยที่ 2 ก็เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดดังกล่าวโดยเป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดซึ่งต้องรับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1077 (2) และมาตรา 1087 อยู่แล้ว ดังนั้นแม้โจทก์จะฟ้องจำเลยที่ 2 โดยบรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 2 เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 ก็ตาม แต่ก็เห็นได้ว่าโจทก์ฟ้องเพื่อให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดในหนี้ละเมิดที่จำเลยที่ 1 ก่อขึ้นมาในทางการที่จ้างของห้างหุ้นส่วนดังกล่าวซึ่งเป็นนายจ้างอันเป็นหนี้ที่ห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้นต้องรับผิด และจำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการต้องร่วมรับผิดกับห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้นด้วยโดยไม่จำกัดจำนวน โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2189/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของหุ้นส่วนผู้จัดการในเช็คและการบรรยายฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยเป็นผู้ลงลายมือชื่อในเช็คพิพาท ย่อมจะต้อง รับผิดตาม เนื้อความในเช็คนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 900 แม้จำเลยจะได้ลงลายมือชื่อในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ป. ก็หาทำให้จำเลยหลุดพ้นความรับผิดไปไม่เพราะจำเลยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการและเป็นหุ้นส่วนจำพวก ไม่จำกัดความรับผิด จึงต้องร่วมรับผิดในหนี้ซึ่งห้างหุ้นส่วนจำกัด ป. ได้ก่อให้เกิดขึ้นด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1087 มาตรา 1080และมาตรา 1050 โจทก์ในฐานะผู้ทรงจึงมีอำนาจฟ้องจำเลย ให้รับผิดตามเนื้อความในเช็คพิพาทเป็นการส่วนตัวได้ โจทก์บรรยายฟ้องโดยแจ้งชัดถึงสภาพแห่งข้อหา และคำขอบังคับของโจทก์แล้วว่าโจทก์ได้รับเช็คพิพาทมาอย่างไรจำเลยเป็นผู้ลงลายมือชื่อในช่องผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาท เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน จึงขอให้บังคับจำเลยรับผิด ตามเนื้อความในเช็คพิพาทนั้นแม้จะมิได้บรรยายหรือมีคำขอ ท้ายฟ้องให้เห็นว่าโจทก์มุ่งจะบังคับให้จำเลยต้องร่วมรับผิด ในบรรดาหนี้สินของห้างหุ้นส่วนจำกัดในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการ ซึ่งเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดก็ตาม ก็ถือได้ว่า เป็นการบรรยายฟ้องที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 วรรคสองแล้ว คำให้การของจำเลยที่อ้างว่าได้ลงลายมือชื่อในเช็คพิพาท ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการจึงไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัวนั้น เป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยยกขึ้นกล่าวอ้างเพื่อปฏิเสธความรับผิดของจำเลย ภาระการพิสูจน์หรือหน้าที่นำสืบ ข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงตกอยู่แก่จำเลยการที่ศาลชั้นต้น กำหนดให้จำเลยมีหน้าที่นำสืบก่อนจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5126/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงข้อต่อสู้และประเด็นข้อพิพาทในชั้นฎีกา และการวินิจฉัยความรับผิดของหุ้นส่วนผู้จัดการ
เมื่อข้อเท็จจริงที่จำเลยอ้างในฎีกาเพื่อนำไปสู่ข้อกฎหมายเรื่องอำนาจฟ้องไม่ตรงกับที่จำเลยได้ให้การไว้จึงมิได้เป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาโดยชอบในศาลล่างทั้งสองจำเลยยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกา จึงเป็นการฝ่าฝืนต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ แม้โจทก์จะมิได้ระบุในฟ้องว่าจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 2รับว่าเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 และอ้างว่ากระทำแทนจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดและคดีมีประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยที่ 2 จะต้องรับผิดต่อโจทก์ ร่วมกับจำเลยที่ 1 หรือไม่ เพียงใด เช่นนี้ การที่ศาลอุทธรณ์ หยิบยกประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1087มาวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ จึงเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด ซึ่งต้องร่วมรับผิดในหนี้ของจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1077 จึงเป็นการนำข้อเท็จจริงที่ปรากฏจากคำให้การของจำเลยมาวินิจฉัยตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวซึ่งเป็น บทบังคับเด็ดขาดว่าหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดจะต้องเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด เพื่อวินิจฉัย ถึงความรับผิดของจำเลยที่ 2 ตามประเด็นข้อพิพาทที่กำหนดไว้ย่อมไม่เป็นการรับฟังข้อเท็จจริงนอกประเด็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3989/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของหุ้นส่วนผู้จัดการต่อภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกประเมินต่อบริษัท และสิทธิในการโต้แย้งการประเมิน
เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม เบี้ยปรับและเงินเพิ่มจากจำเลยที่ 1 ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 88 (3) กรณีเช่นนี้ จำเลยที่ 1 ผู้ต้องเสียภาษีเท่านั้นที่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์การประเมินและผูกพันจำเลยที่ 1ให้ต้องชำระค่าภาษีตามการประเมิน แต่จะนำหนี้ของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวมาใช้ยันแก่จำเลยที่ 2 ซึ่งมิได้ถูกประเมินด้วยหาได้ไม่ การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินจึงไม่ผูกพันจำเลยที่ 2 เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ซึ่งเคยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ให้ร่วมรับผิดในหนี้ของจำเลยที่ 1 ด้วย จำเลยที่ 2 จึงมีสิทธิโต้แย้งได้ว่าการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินไม่ถูกต้อง และหากฟังได้ว่าจำเลยที่ 1มีภาษีซื้อในเดือนภาษีกุมภาพันธ์และมีนาคม 2538 ก็ย่อมมีสิทธินำมาหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มที่จำเลยที่ 2 จะต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ได้
จำเลยที่ 2 ให้การว่าฟ้องของโจทก์เคลือบคลุมโดยอ้างว่าโจทก์ไม่บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ถูกต้องอย่างไร ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มให้โจทก์เท่าใด ไม่ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มเพราะเหตุใด ทั้งไม่ได้บรรยายถึงขั้นตอนการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่จำเลยที่ 2 อุทธรณ์ว่าฟ้องของโจทก์เคลือบคลุม เพราะโจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่าจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมิน เจ้าพนักงานประเมินจึงประเมินให้จำเลยที่ 1 ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มโดยไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 เกี่ยวข้องกับภาษีมูลค่าเพิ่มที่ไม่ถูกต้องอย่างไรได้มีการแจ้งผลการประเมินให้จำเลยที่ 2 ทราบเพื่อให้ใช้สิทธิอุทธรณ์การประเมินหรือไม่ ข้ออุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลาง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคหนึ่งประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528มาตรา 29 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยที่ 2 ให้การว่าฟ้องของโจทก์เคลือบคลุมโดยอ้างว่าโจทก์ไม่บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ถูกต้องอย่างไร ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มให้โจทก์เท่าใด ไม่ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มเพราะเหตุใด ทั้งไม่ได้บรรยายถึงขั้นตอนการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่จำเลยที่ 2 อุทธรณ์ว่าฟ้องของโจทก์เคลือบคลุม เพราะโจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่าจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมิน เจ้าพนักงานประเมินจึงประเมินให้จำเลยที่ 1 ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มโดยไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 เกี่ยวข้องกับภาษีมูลค่าเพิ่มที่ไม่ถูกต้องอย่างไรได้มีการแจ้งผลการประเมินให้จำเลยที่ 2 ทราบเพื่อให้ใช้สิทธิอุทธรณ์การประเมินหรือไม่ ข้ออุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลาง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคหนึ่งประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528มาตรา 29 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3989/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของหุ้นส่วนผู้จัดการต่อภาษีค้างชำระของบริษัท และสิทธิในการโต้แย้งการประเมินภาษี
เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเบี้ยปรับ และเงินเพิ่มจากจำเลยที่ 1 ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 88(3) กรณีเช่นนี้ จำเลยที่ 1 ผู้ต้องเสียภาษีเท่านั้นที่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์การประเมินและผูกพันจำเลยที่ 1 ให้ต้องชำระค่าภาษีตามการประเมิน แต่จะนำหนี้ของจำเลยที่ 1ดังกล่าวมาใช้ยันแก่จำเลยที่ 2 ซึ่งมิได้ถูกประเมินด้วยหาได้ไม่ การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินจึงไม่ผูกพันจำเลยที่ 2 เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ซึ่งเคยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ให้ร่วมรับผิดในหนี้ของจำเลยที่ 1ด้วย จำเลยที่ 2 จึงมีสิทธิโต้แย้งได้ว่าการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินไม่ถูกต้อง และหากฟังได้ว่าจำเลยที่ 1มีภาษีซื้อในเดือนภาษีกุมภาพันธ์และมีนาคม 2538 ก็ย่อมมีสิทธินำมาหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มที่จำเลยที่ 2 จะต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ได้ จำเลยที่ 2 ให้การว่าฟ้องของโจทก์เคลือบคลุมโดยอ้างว่า โจทก์ไม่บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ถูกต้องอย่างไร ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มให้โจทก์เท่าใดไม่ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มเพราะเหตุใด ทั้งไม่ได้บรรยายถึงขั้นตอนการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่จำเลยที่ 2 อุทธรณ์ว่าฟ้องของโจทก์ เคลือบคลุม เพราะโจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่าจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมิน เจ้าพนักงาน ประเมินจึงประเมินให้จำเลยที่ 1 ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มโดยไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 เกี่ยวข้องกับภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่ไม่ถูกต้องอย่างไรได้มีการแจ้งผลการประเมินให้จำเลยที่ 2ทราบเพื่อให้ใช้สิทธิอุทธรณ์การประเมินหรือไม่ ข้ออุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลาง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่งประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 29 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย