คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ห้างหุ้นส่วน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 230 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2066/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของหุ้นส่วนจำกัดที่เกี่ยวข้องจัดการงานของห้างหุ้นส่วนเกินขอบเขต ทำให้ต้องรับผิดร่วมกับหุ้นส่วนผู้จัดการและห้างหุ้นส่วน
จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการต้องรับผิดร่วมกับห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 ส่วนจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดแต่เป็นผู้ติดต่อส่งสินค้าไปยังต่างประเทศและได้รับมอบอำนาจจากจำเลยที่ 1 ให้สั่งจ่ายเช็คได้ทั้งจำเลยที่ 3 ยังได้ทำบันทึกความเข้าใจ พร้อมประทับตราสำคัญของจำเลยที่ 1ด้วย โดยทำในนามของจำเลยที่ 1 ถือได้ว่าจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดสอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 3จึงต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ต่อโจทก์โดยไม่จำกัดจำนวนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1088 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 622/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วน/บริษัทเป็นมรดก: ศาลต้องสืบพยานเพื่อพิสูจน์สิทธิของทายาท
เมื่อ พ. ถึงแก่ความตาย สิทธิหน้าที่และความรับผิดอันเป็นทรัพย์สินที่ พ. มีอยู่ ในกิจการห้างหุ้นส่วนจำกัด ล. บริษัท ท. และกิจการของบริษัท ด. อันได้แก่เงินลงหุ้น ค่าหุ้น ผลกำไร และเงินปันผลเป็นต้น ย่อมเป็นมรดก
แม้โจทก์ได้บรรยายฟ้องขอให้แบ่งกิจการของห้างหุ้นส่วนจำกัดและบริษัทจำกัดทั้งสองดังกล่าวก็ตาม แต่ตามคำฟ้องโจทก์ก็ได้บรรยายฟ้องระบุว่า เงินที่ใช้ลงทุนในการก่อสร้างกิจการเป็นของ พ. เจ้ามรดก ดังนี้ถือได้ว่า โจทก์ฟ้องขอให้แบ่งมรดกที่เป็นสิทธิอันเป็นทรัพย์สินของ พ. ที่มีอยู่ในห้างหุ้นส่วนจำกัด และบริษัทจำกัดทั้งสองนั้นเอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5417/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิหุ้นส่วนและการกระทบสิทธิบุคคลภายนอก: หุ้นส่วนยังไม่เลิกห้าง สิทธิเรียกร้องเงินลงทุนยังไม่มีผลกระทบต่อผู้รับจำนอง
โจทก์กับจำเลยยังเป็นหุ้นส่วนกัน เมื่อหุ้นส่วนยังไม่เลิกกันโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องเงินที่ร่วมลงทุนในห้างหุ้นส่วนจากคนอื่นๆ ได้ ตามป.พ.พ.มาตรา 1055, 1056 และ 1057
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ใส่ชื่อโจทก์เข้าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) โดยปลอดจำนอง เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะไปกระทบสิทธิของผู้รับจำนองซึ่งมิได้เข้ามาเป็นคู่ความในคดีด้วย ศาลจึงไม่อาจพิพากษาให้กระทบกระเทือนสิทธิของผู้รับจำนองซึ่งเป็นบุคคลภายนอกคดีได้ ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5)ประกอบมาตรา 246

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3199/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ห้างหุ้นส่วนประกันภัย: ความรับผิดร่วมกันของผู้รับประกันภัยและการรับผิดของตัวการ-ตัวแทน
โจทก์และผู้รับประกันภัยรายอื่นรวม 12 ราย ตกลงเข้ารับประกันภัยการขนส่งสินค้าร่วมกันโดยระบุชื่อและกำหนดสัดส่วนความรับผิดชอบของแต่ละคนไว้แน่นอน โดยมุ่งหวังแบ่งปันกำไรอันพึงได้ตามสัดส่วนดังกล่าวจากการรับประกันภัยรายนี้ ย่อมเข้าลักษณะเป็นสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญ ตาม ป.พ.พ. ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนมิได้ตกลงกันไว้ในกระบวนจัดการห้างหุ้นส่วน ผู้เป็นหุ้นส่วนย่อมจัดการห้างหุ้นส่วนนั้นได้ทุกคน ดังนั้น โจทก์ซึ่งเป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งย่อมมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายทั้งหมดเพื่อประโยชน์แก่ผู้รับประกันภัยรายอื่น ซึ่งเป็นหุ้นส่วนทุกคนด้วยโดยไม่ต้องคำนึงว่าผู้รับประกันภัยรายอื่นจะทำหนังสือมอบสิทธิของตนให้แก่โจทก์หรือไม่ เมื่อปรากฏชื่อโจทก์ในกรมธรรม์ประกันภัย โจทก์ย่อมใช้สิทธิแทนผู้รับประกันภัยทุกคนมาฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายของสินค้าได้เต็มจำนวนค่าสินไหมทดแทนที่ได้จ่ายให้แก่ผู้ซื้อไป
จำเลยที่ 1 เป็นผู้ขนส่ง ในขณะที่ส่งมอบตู้คอนเทนเนอร์ให้แก่จำเลยที่ 4 สินค้ายังไม่เกิดความเสียหายแต่ได้เกิดความเสียหายในระหว่างการเคลื่อนย้ายตู้คอนเทนเนอร์จากหน้าท่าเรือไปยังโรงพักสินค้าที่ 17 สินค้าไม่ได้เกิดความเสียหายในระหว่างที่อยู่ในความดูแลของผู้ขนส่ง จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดชอบในความเสียหายของสินค้า
จำเลยที่ 4 (การท่าเรือแห่งประเทศไทย)มีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องดูแลและรับผิดชอบสินค้าที่ถูกขนส่งทางเรือและถูกขนถ่ายลงจากเรือมาที่หน้าท่า การขนถ่ายเคลื่อนย้ายตู้คอนเทนเนอร์บรรจุสินค้าจากบริเวณหน้าท่าไปยังโรงพักสินค้า ย่อมเป็นกระบวนการซึ่งอยู่ในหน้าที่และความรับผิดชอบของจำเลยที่ 4 แม้การขนย้ายตู้สินค้ารายนี้จะกระทำโดยรถบรรทุกที่จำเลยที่ 3เป็นผู้จัดหามา แต่ก็โดยการอนุญาตของจำเลยที่ 4 การดำเนินการของจำเลยที่ 3 เท่ากับเป็นการกระทำแทนจำเลยที่ 4 จำเลยที่ 4 ในฐานะตัวการจึงต้องรับผิดชอบในการกระทำของจำเลยที่ 3 เช่นเดียวกับการกระทำของตนเองเมื่อตู้คอนเทนเนอร์ที่บรรจุสินค้ารายนี้เกิดตกหล่นจากรถบรรทุกในระหว่างการขนย้ายจากหน้าท่าไปยังโรงพักสินค้าที่ 17 ทำให้สินค้าได้รับความเสียหาย จำเลยที่ 4 จึงต้องเป็นผู้รับผิดชอบ ส่วนจำเลยที่ 3 เป็นเพียงตัวแทนและเป็นผู้จัดหารถบรรทุกมาทำหน้าที่แทนจำเลยที่ 4 จึงไม่ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5889/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แก้ไขคำฟ้องนอกเหนือจากประเด็นเดิมและไม่สมบูรณ์ ทำให้ไม่สามารถรวมการพิจารณาได้
ตามคำฟ้องและคำขอแก้ไขคำฟ้องเดิมของโจทก์ สภาพแห่งข้อหาคือ จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกค้าของโจทก์ได้ร่วมกับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 และบุคคลอื่นเข้าหุ้นกัน มีลักษณะเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน จำเลยที่ 1 เป็นผู้ขอเปิดบัญชีทดรองจ่ายเงินเพื่อซื้อขายหลักทรัพย์ด้วยเงินสดตามบัญชีทดรองจ่ายเลขที่ 1146555-1 โดยมีจำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 เป็นผู้ค้ำประกันรับผิดร่วมหรือยินยอมชำระหนี้สินแทนทุกประเภทของจำเลยที่ 1 นอกจากนี้สภาพแห่งข้อหาของโจทก์ยังฟ้องเน้นหนักถึงความรับผิดของจำเลยที่ 1 ที่จะต้องรับผิดแก่โจทก์โดยการที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ได้มอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 และ/หรือจำเลยที่ 3เป็นผู้มีอำนาจสั่งให้โจทก์ดำเนินการซื้อขายหลักทรัพย์ตามบัญชีทดรองจ่ายของจำเลยที่ 1 ต่อมาจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ได้สั่งให้โจทก์ซื้อหลักทรัพย์ (หุ้น) การที่โจทก์ขอแก้ไขคำฟ้องครั้งที่ 2 โดยเพิ่มข้อความว่าระหว่างวันที่ 9 พฤศจิกายน 2535ถึงวันที่ 12 พฤศจิกายน 2535 กับระหว่างวันที่ 29 ตุลาคม 2535 ถึงวันที่ 24พฤศจิกายน 2535 จำเลยที่ 2 ได้สั่งให้โจทก์ซื้อหุ้นของสามบริษัท ตามบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์เลขที่ 1146888-1 ของจำเลยที่ 2 และเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2535จำเลยที่ 3 ได้ทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 2 โดยค้ำประกันเต็มมูลหนี้และยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ส่วนบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์เลขที่ 1146012-1ของจำเลยที่ 3 นั้น วันที่ 5 พฤศจิกายน 2535 จำเลยที่ 3 สั่งซื้อหุ้นโดยมีจำเลยที่ 2ทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 3 ดังนี้ ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแห่งคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องครั้งที่ 2 นี้จึงไม่เกี่ยวกับความรับผิดของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 4 ถึงที่ 8 ตามที่โจทก์ตั้งฟ้องมา และข้อหาของโจทก์ตามคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องครั้งที่ 2 จะขอบังคับให้จำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 4 ถึงที่ 8 ต้องร่วมรับผิดไม่ได้ ทั้งมีผลทำให้ประเด็นแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไป การกระทำของจำเลยที่ 2ที่ 3 ตามบัญชีซื้อขายหุ้นดังกล่าวไม่มีลักษณะเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญกับจำเลยอื่น ๆเห็นได้ประจักษ์ว่าความเป็นลูกหนี้ของจำเลยที่ 2 ที่ 3 และความรับผิดเต็มตามมูลหนี้ ในบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์เลขที่ 1146888-1 ของจำเลยที่ 2 กับหนี้ในบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์เลขที่ 1146012-1 ของจำเลยที่ 3 เป็นจำนวนหนี้นอกเหนือจากสัญญาขอเปิดบัญชีทดรองจ่ายเงินเพื่อซื้อขายหลักทรัพย์ด้วยเงินสดที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ ข้อความที่ขอแก้ไขคำฟ้องครั้งที่ 2จึงไม่เกี่ยวข้องกับฟ้องเดิมและไม่ใช่การเพิ่มเติมข้อเท็จจริงในฟ้องเดิมให้สมบูรณ์ย่อมไม่อาจรวมการพิจารณาด้วยกันได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 179

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4146/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตฟ้องแย้ง-ความรับผิดจำกัด ห้างหุ้นส่วน/ผู้จัดการ-สัญญาซื้อขาย-กรรมสิทธิ์วัสดุ
จำเลยทั้งสองยื่นคำให้การและฟ้องแย้ง โดยฟ้องแย้งกล่าวไว้ในข้อ 7 และข้อ 8 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับคำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสองแล้วต่อมาในวันนัดชี้สองสถานศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งที่รับฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสองและมีคำสั่งใหม่เป็นไม่รับฟ้องแย้ง แม้คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวในตอนต้นจะกล่าวว่าฟ้องแย้งข้อ 8 ไม่เกี่ยวข้องกับฟ้องเดิม แต่ศาลชั้นต้นก็มิได้มีคำสั่งเพิกถอนเฉพาะคำสั่งรับฟ้องแย้งข้อ 8 และคืนค่าขึ้นศาลเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับฟ้องแย้งข้อ 8 ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งรับฟ้องแย้ง แล้วมีคำสั่งไม่รับฟ้องแย้งทั้งหมด และคืนค่าขึ้นศาลในส่วนฟ้องแย้งให้จำเลยทั้งสอง จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งรับฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสองในข้อ 7 ด้วยแล้ว
จำเลยที่ 1 เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด เป็นบุคคลต่างหากจากผู้เป็นหุ้นส่วน โดยมีสิทธิหน้าที่และความรับผิดตลอดจนทรัพย์สินหนี้สินต่างหากจากผู้เป็นหุ้นส่วนคดีนี้คงพิพาทกันเฉพาะจำเลยที่ 1 ฝ่ายเดียวเท่านั้นที่ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างจากโจทก์ ดังนั้นจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 จึงไม่อาจฟ้องแย้งเรียกร้องให้โจทก์รับผิดต่อจำเลยที่ 2 เป็นการส่วนตัวได้
แม้จำเลยที่ 1 จะทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างกับโจทก์ที่ 1 และทำสัญญาซื้อขายวัสดุอุปกรณ์กับโจทก์ที่ 2 โดยวัสดุอุปกรณ์ดังกล่าวนำไปใช้ในการก่อสร้างตามสัญญาของโจทก์ที่ 1 ก็ตาม แต่เมื่อกรรมสิทธิ์ของวัสดุอุปกรณ์ที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญาซื้อขายกับโจทก์ที่ 2 ยังไม่ตกเป็นของจำเลยที่ 1 จนกว่าจะได้มีการชำระเงินค่าวัสดุอุปกรณ์ให้แก่โจทก์ที่ 2 ครบถ้วน และจำเลยที่ 1 ยังมิได้ชำระเงินค่าวัสดุอุปกรณ์ให้แก่โจทก์ที่ 2 หากมีวัสดุอุปกรณ์ที่โจทก์ที่ 2 ส่งมอบให้โจทก์ที่ 1ใช้ในการก่อสร้างไม่ได้มาตรฐานและไม่ครบถ้วน จำเลยที่ 1 คงมีสิทธิเพียงไม่ชำระเงินค่าวัสดุอุปกรณ์เฉพาะที่ไม่ได้มาตรฐานและไม่ครบถ้วนดังกล่าวเท่านั้นแต่จำเลยที่ 1 จะฟ้องแย้งให้โจทก์ที่ 2 ร่วมรับผิดกับโจทก์ที่ 1 ชำระค่าเสียหายในความชำรุดบกพร่องของบ้านซึ่งโจทก์ที่ 2 ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องเป็นคู่สัญญาในสัญญาจะซื้อขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างด้วยไม่ได้ เพราะโจทก์ที่ 2 มิได้โต้แย้งสิทธิจำเลยที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3369/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์อำนาจหุ้นส่วนผู้จัดการในคดีล้มละลาย และความรับผิดชอบในหนี้สินของห้างหุ้นส่วน
การเป็นนิติบุคคลและอำนาจของผู้แทนนิติบุคคล นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจะต้องแต่งย่อรายการส่งไปลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือราชกิจจานุเบกษาและถือเป็นอันรู้แก่บุคคลทั้งปวงตาม ป.พ.พ.มาตรา 1021 และ 1022 หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลที่ระบุว่าจำเลยที่ 1 เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด มีจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ จึงเป็นเอกสารมหาชน ซึ่ง ป.วิ.พ.มาตรา 127 อันนำมาใช้บังคับโดยอนุโลมแก่คดีล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา153 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้อง เมื่อจำเลยที่ 2 อ้างว่ามิได้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 ย่อมเป็นหน้าที่ของจำเลยที่ 2ที่ถูกเอกสารนั้นมายัน ต้องนำสืบถึงความไม่บริสุทธิ์หรือความไม่ถูกต้องแห่งเอกสารเมื่อพยานหลักฐานที่จำเลยที่ 2 นำสืบไม่มีน้ำหนักหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายดังกล่าว ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่า จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 1 โดยชอบด้วยกฎหมาย
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 1 เด็ดขาดแล้วโจทก์ย่อมขอให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 1 และเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดล้มละลายได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 โดยไม่ต้องคำนึงว่าหนี้สินของจำเลยที่ 1 เป็นหนี้สินของจำเลยที่ 2 หรือไม่ และไม่ต้องคำนึงด้วยว่ากรณีของจำเลยที่ 2 ต้องด้วย พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 8 (9)ที่ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าจำเลยที่ 2 มีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่ เพราะเมื่อจำเลยที่ 1ผิดนัดชำระหนี้ จำเลยที่ 2 ย่อมต้องรับผิดในหนี้สินดังกล่าวโดยไม่จำกัดจำนวนตามป.พ.พ.มาตรา 1070 และ 1077

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3369/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนผู้จัดการ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ล้มละลาย: เอกสารมหาชน, ความรับผิดไม่จำกัด, พิทักษ์ทรัพย์
การเป็นนิติบุคคลและอำนาจของผู้แทนนิติบุคคลนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจะต้องแต่งย่อรายการส่งไปลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือราชกิจจานุเบกษาและถือเป็นอันรู้แก่บุคคลทั้งปวงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1021 และ 1022หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลที่ระบุว่า จำเลยที่ 1เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด มีจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจึงเป็นเอกสารมหาชน ซึ่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 127 อันนำมาใช้บังคับโดยอนุโลมแก่คดีล้มละลายตามพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้อง เมื่อจำเลยที่ 2อ้างว่ามิได้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1ย่อมเป็นหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ที่ถูกเอกสารนั้นมายันต้องนำสืบถึงความไม่บริสุทธิ์หรือความไม่ถูกต้องแห่งเอกสาร เมื่อพยานหลักฐานที่จำเลยที่ 2 นำสืบไม่มีน้ำหนักหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายดังกล่าวข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่า จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 1 โดยชอบด้วยกฎหมาย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 เด็ดขาดแล้ว โจทก์ย่อมขอให้จำเลยที่ 2ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 1 และเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดล้มละลายได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 โดยไม่ต้องคำนึงว่าหนี้สินของจำเลยที่ 1 เป็นหนี้สินของจำเลยที่ 2 หรือไม่และไม่ต้องคำนึงด้วยว่ากรณีของจำเลยที่ 2 ต้องด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 8(9)ที่ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าจำเลยที่ 2 มีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่เพราะเมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้จำเลยที่ 2ย่อมต้องรับผิดในหนี้สินดังกล่าวโดยไม่จำกัดจำนวนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1070 และ 1077

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2569/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิของผู้ค้ำประกันในการยกอายุความหนี้ของห้างหุ้นส่วน แม้มีข้อตกลงเป็นลูกหนี้ร่วม
แม้ ป.พ.พ.มาตรา 1272 บัญญัติห้ามมิให้ฟ้องเรียกหนี้สินเฉพาะที่ห้างหุ้นส่วนหรือผู้เป็นหุ้นส่วนเป็นลูกหนี้อยู่ในฐานเช่นนั้นเมื่อพ้นกำหนด 2 ปี นับแต่วันถึงที่สุดแห่งการชำระบัญชีก็ตาม แต่มาตรา 694 ก็ได้บัญญัติไว้อีกว่า นอกจากข้อต่อสู้ซึ่งผู้ค้ำประกันหรือจำเลยมีต่อเจ้าหนี้หรือโจทก์นั้นท่านว่าผู้ค้ำประกันอาจยกข้อต่อสู้ทั้งหลายซึ่งลูกหนี้หรือห้างดังกล่าวมีต่อเจ้าหนี้ขึ้นต่อสู้ได้ด้วย ดังนั้น ข้อสัญญาตามหนังสือค้ำประกันที่ระบุว่าจำเลยผู้ค้ำประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกับห้างซึ่งเป็นลูกหนี้ในหนี้สินที่ลูกหนี้ยังคงมีอยู่ต่อธนาคารโจทก์ ย่อมหาทำให้จำเลยผู้ค้ำประกันเปลี่ยนฐานะเป็นลูกหนี้ชั้นต้นและหมดสิทธิที่จะยกข้อต่อสู้ซึ่งห้างลูกหนี้มีต่อโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ขึ้นต่อสู้โจทก์ตามมาตรา 694 ไม่ จำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันหนี้ของห้างจึงชอบที่จะยกอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1272 ขึ้นต่อสู้โจทก์ได้ และเมื่อนับแต่วันอันเป็นวันถึงที่สุดแห่งการชำระบัญชีของห้างจนถึงวันฟ้อง เกินกำหนด2 ปี แล้ว ฟ้องโจทก์เกี่ยวกับจำเลยจึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2390/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สภาพนิติบุคคลห้างหุ้นส่วนเลิกแล้ว การชำระบัญชีไม่เสร็จ โจทก์มีอำนาจฟ้องได้
แม้ห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 จดทะเบียนเลิกห้างต่อนายทะเบียนไว้แล้วก่อนจะถูกโจทก์ฟ้องให้ล้มละลายแต่การชำระบัญชีก็ยังไม่เสร็จ ถือได้ว่าสภาพนิติบุคคลของจำเลยที่ 1 ยังคงมีอยู่ต่อไป โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ได้ โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายที่ว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 หรือไม่โดยตรงต่อศาลฎีกา แม้ศาลฎีกาจะวินิจฉัยว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 แต่ข้อที่ว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่ เป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นยังไม่ได้วินิจฉัย ย่อมต้องห้าม อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา เพื่อให้คดีเป็นไปตามลำดับชั้นศาลศาลฎีกาให้ศาลชั้นต้นพิจารณาใหม่เฉพาะเกี่ยวกับจำเลยที่ 1
of 23