พบผลลัพธ์ทั้งหมด 83 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2251/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจของหุ้นส่วนผู้จัดการในการผูกพันห้างหุ้นส่วนจำกัด แม้ไม่มีตราประทับ และความรับผิดของหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิด
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัด การดำเนินกิจการของจำเลยที่ 1 ย่อมต้องอาศัยบุคคลธรรมดาเป็นผู้กระทำ ซึ่งก็คือ จำเลยที่ 2 หุ้นส่วนผู้จัดการ เมื่อจำเลยที่ 2ทำบันทึกข้อตกลงให้แก่โจทก์ในนามของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ได้ชำระหนี้ตามบันทึกข้อตกลงข้ออื่น ๆ ในนามของจำเลยที่ 1 ให้แก่โจทก์บางส่วน ทั้งได้จดทะเบียนถอนโจทก์ออกจากการเป็นผู้ถือหุ้นตามบันทึกข้อตกลงแล้ว เท่ากับจำเลยที่ 1ยอมรับการกระทำของจำเลยที่ 2 เป็นการกระทำของจำเลยที่ 1แม้บันทึกข้อตกลงดังกล่าวจะไม่ได้ประทับตราของจำเลยที่ 1 ตามข้อบังคับก็ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 กระทำการแทนจำเลยที่ 1จึงผูกพันจำเลยที่ 1 ที่ต้องปฏิบัติการชำระหนี้ให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8840/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของหุ้นส่วนผู้จัดการในห้างหุ้นส่วนจำกัดตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด มีจำเลยที่ 2เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการมีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อในเช็คพิพาทและประทับตราสำคัญของจำเลยที่ 1 ส่งมอบให้แก่โจทก์เพื่อชำระหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1และคำขอท้ายฟ้องระบุให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินแก่โจทก์เท่ากับโจทก์มีคำขอบังคับให้จำเลยทั้งสองรับผิดแล้ว ส่วนการที่จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อโจทก์ในฐานะส่วนตัวนั้น เป็นผลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1077 และ 1087
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6882/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษานอกฟ้อง: ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยความรับผิดฐานเป็นผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัดเกินกว่าที่ระบุในคำฟ้อง
โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดในฐานะที่เป็นนายจ้างของผู้ขับรถยนต์บรรทุกซึ่งกระทำไปในทางการที่จ้างของจำเลย และในฐานะที่จำเลยเป็นเจ้าของผู้ครอบครองและผู้ใช้ประโยชน์ในรถยนต์บรรทุกคันดังกล่าวที่ทำให้ทรัพย์สินของโจทก์เสียหาย และตามคำฟ้องของโจทก์ไม่มีข้อความตอนใดระบุให้จำเลยรับผิดในฐานะเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัด ซึ่งเป็นนายจ้างของผู้ขับรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุ การที่ศาลอุทธรณ์ยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยให้จำเลยในฐานะผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดรับผิดต่อโจทก์ จึงเป็นการพิพากษานอกฟ้องหรือเกินไปกว่าที่ปรากฏในคำฟ้อง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยมาตรา 246
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4473/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของหุ้นส่วนผู้จัดการในหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัดและการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1077(2) และ 1087 ระบุว่าผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดต้องร่วมรับผิดในบรรดาหนี้ของห้างโดยไม่จำกัดจำนวน และผู้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการในห้างหุ้นส่วนจำกัดจะมีได้เฉพาะหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดเท่านั้น ดังนั้น เมื่อหนี้ที่เจ้าหนี้นำมาขอรับชำระเป็นหนี้ของลูกหนี้ที่ 1 ซึ่งลูกหนี้ที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการต้องร่วมรับผิดในบรรดาหนี้ของลูกหนี้ที่ 1 โดยไม่จำกัดจำนวน อีกทั้งเมื่อเจ้าหนี้นำมูลหนี้ตามคดีแพ่งมาฟ้องให้ลูกหนี้ทั้งสองล้มละลาย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และพิพากษาให้ล้มละลายแล้ว เจ้าหนี้จึงนำมูลหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวมาขอรับชำระหนี้จากทั้งลูกหนี้ที่ 1 และลูกหนี้ที่ 2 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5417/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องหนี้หลังการชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนจำกัด
นายทะเบียนสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดได้รับจดทะเบียนเสร็จสิ้นการชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2528 ซึ่งในวันนั้นถือว่าเป็นวันถึงที่สุดแห่งการชำระบัญชี แต่โจทก์ฟ้องเรียกหนี้สินจากจำเลยที่ 1จำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 ในฐานะผู้ชำระบัญชีที่โจทก์อ้างว่าเป็นลูกหนี้ในวันที่ 25 มีนาคม 2535 จึงเกิน 2 ปี ย่อมขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1272 ไม่ว่าจำเลยที่ 3 จะได้มีหนังสือส่งคำบอกกล่าวเป็นจดหมายลงทะเบียนแจ้งให้โจทก์ทราบ เพื่อให้โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ยื่นคำทวงหนี้แก่จำเลยที่ 3 ตามมาตรา 1253(2) หรือไม่ก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4961/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแต่งตั้งผู้ชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนจำกัดต้องเป็นไปตามกฎหมาย หากไม่เป็นไปตามบทบัญญัติ ผู้แต่งตั้งไม่มีอำนาจ
กรณีห้างหุ้นส่วนจำกัดจะต้องเลิกกัน เมื่อปรากฏว่าข้อสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัดโจทก์หรือข้อความในหนังสือรับรองการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลของโจทก์ไม่มีข้อกำหนดให้บุคคลอื่นเป็นผู้ทำหน้าที่ชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนจำกัดโจทก์ได้ในกรณีหุ้นส่วนผู้จัดการถึงแก่ความตาย การจัดการชำระบัญชีจึงต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 1251 วรรคสอง ซึ่งบัญญัติไว้โดยเฉพาะซึ่งต้องทำโดยพนักงานอัยการหรือบุคคลอื่นผู้มีส่วนได้เสียในการนี้เท่านั้นที่จะร้องขอต่อศาลให้ตั้งผู้ชำระบัญชี เมื่อปรากฏว่าผู้เป็นหุ้นส่วนของโจทก์และผู้จัดการมรดกของ ช.หุ้นส่วนผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัดโจทก์ประชุมลงคะแนนเสียงตั้ง บ.เป็นผู้ชำระบัญชีของโจทก์เสียเอง จึงเป็นการตั้งผู้ชำระบัญชีโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย บ.จึงไม่ใช่ผู้ชำระบัญชีของโจทก์ที่จะมีอำนาจทำการแทนโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4961/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัดและการตั้งผู้ชำระบัญชีที่ถูกต้องตามกฎหมาย
กรณีห้างหุ้นส่วนจำกัดจะต้องเลิกกันเมื่อปรากฏว่าข้อสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัดโจทก์หรือข้อความในหนังสือรับรองการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลของโจทก์ไม่มีข้อกำหนดให้บุคคลอื่นเป็นผู้ทำหน้าที่ชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนจำกัดโจทก์ได้ในกรณีหุ้นส่วนผู้จัดการถึงแก่ความตายการจัดการชำระบัญชีจึงต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1251วรรคสองซึ่งบัญญัติไว้โดยเฉพาะซึ่งต้องทำโดยพนักงานอัยการหรือบุคคลอื่นผู้มีส่วนได้เสียในการนี้เท่านั้นที่จะร้องขอต่อศาลให้ตั้งผู้ชำระบัญชีเมื่อปรากฏว่าผู้เป็นหุ้นส่วนของโจทก์และผู้จัดการมรดกของช.หุ้นส่วนผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัดโจทก์ประชุมลงคะแนนเสียงตั้งบ. เป็นผู้ชำระบัญชีของโจทก์เสียเองจึงเป็นการตั้งผู้ชำระบัญชีโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายบ. จึงไม่ใช่ผู้ชำระบัญชีของโจทก์ที่จะมีอำนาจทำการแทนโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4214/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดอำนาจหุ้นส่วนผู้จัดการและการผูกพันของห้างหุ้นส่วนจำกัดต่อเช็ค
ข้อบังคับของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 กำหนดว่า การทำนิติกรรมใด ๆต้องมีหุ้นส่วนผู้จัดการสองคนลงลายมือชื่อและประทับตราของจำเลยที่ 1การที่จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อในเช็คพิพาทแต่ผู้เดียวจึงไม่ถูกต้อง ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทอันจะต้องรับผิดต่อโจทก์ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 900 แม้จำเลยที่ 2 จะเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ด้วยคนหนึ่งแต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้เชิดจำเลยที่ 2 ออกเป็นตัวแทน ทั้งมิได้มีการนำเงินที่ได้จากการสั่งจ่ายเช็คพิพาทมาใช้ในกิจการของจำเลยที่ 1 อันจะถือได้ว่าเป็นการให้สัตยาบันแก่การกระทำของจำเลยที่ 2 และมีผลผูกพันจำเลยที่ 1 ดังนี้ จำเลยที่ 1จึงไม่ต้องรับผิดใช้เงินตามเช็คพิพาทต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4095/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างดูแลความปลอดภัยนอกวัตถุประสงค์ของห้างหุ้นส่วนจำกัด ไม่ผูกพันจำเลย
ห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยไม่มีวัตถุประสงค์ ในการรับจ้างดูแลรักษาความปลอดภัยทรัพย์สินและรับฝากรถสัญญาจ้างดูแลทรัพย์สินรวมทั้งความปลอดภัยที่หุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยทำกับเจ้าของคอนโดมีเนี่ยม จึงเป็นการนอกวัตถุประสงค์ของจำเลยไม่ผูกพันจำเลย จำเลยไม่ต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกในเหตุที่รถยนต์ซึ่งจอดอยู่ในคอนโดมีเนียมถูกลักไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6269/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องล้มละลายหุ้นส่วนผู้จัดการ ห้างหุ้นส่วนจำกัด: สิทธิลูกหนี้ร่วมและข้อยกเว้นตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
แม้หนี้ค่าภาษีอากรค้างตามฟ้องโจทก์เป็นหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัดส.แต่จำเลยในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัดส.ซึ่งเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดซึ่งต้องรับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนไม่จำกัดจำนวนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1077(2)และมาตรา1087จำเลยย่อมอยู่ในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วมดังนั้นเมื่อห้างหุ้นส่วนจำกัดส.ผิดนัดไม่ชำระหนี้โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกชำระหนี้จากห้างหุ้นส่วนจำกัดส.หรือจำเลยคนใดคนหนึ่งสิ้นเชิงก็ได้ตามแต่จะเลือกทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา291เมื่อหนี้ดังกล่าวอาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนไม่น้อยกว่า50,000บาทโจทก์จึงฟ้องให้จำเลยล้มละลายได้โดยตรงทันทีมิใช่ว่าต้องขอให้จำเลยล้มละลายร่วมกับห้างหุ้นส่วนจำกัดส.หรือต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา89แต่ทางเดียวไม่