คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ห้างหุ้นส่วนสามัญ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 59 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 605/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลเมื่อหุ้นส่วนตาย และการมีอำนาจร้องขอตั้งผู้ชำระบัญชี
หุ้นส่วนผู้จัดการในห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลตายหุ้นส่วนอื่นที่คงเหลืออยู่เพียงแต่ได้แสดงเจตนาจะขอซื้อหุ้นของหุ้นส่วนดังกล่าว กรณียังไม่เป็นการรับซื้อหุ้นของหุ้นส่วนที่ตาย ตามบทบัญญัติ ป.พ.พ. มาตรา1060 ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลจึงเป็นอันเลิกกันและต้องมีการชำระบัญชีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 1069,1055(5) ผู้จัดการมรดกของผู้เป็นหุ้นส่วนที่ตาย เป็นผู้มีส่วนได้เสียในการชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1251 วรรคสอง มีอำนาจร้องขอให้ศาลตั้งผู้ชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนนั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2838/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความขัดแย้งระหว่างหุ้นส่วนและการเลิกห้างหุ้นส่วนสามัญ
โจทก์จำเลยตกลงเข้าหุ้นประกอบกิจการโรงกลึงเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน การที่โจทก์จำเลยขัดแย้งกันโดยจำเลยไม่ให้โจทก์มีสิทธิสั่งจ่ายเงินและไม่แบ่งผลกำไรให้โจทก์ แต่กลับนำเงินไปจ่ายล่วงหน้าสำหรับรถยนต์ที่จำเลยซื้อ และจำเลยไม่ได้ทำบัญชีรายรับรายจ่ายของกิจการโรงกลึงไว้ทั้งยังปฏิเสธว่าโจทก์มิใช่หุ้นส่วนกับจำเลย เช่นนี้ ถือได้ว่าผู้เป็นหุ้นส่วนไม่ปรองดองกันเหลือวิสัยที่ห้างหุ้นส่วนจะดำรงคงอยู่ต่อไปได้ จึงมีเหตุที่ศาลจะพิพากษาให้เลิกห้างหุ้นส่วนตามที่โจทก์ฟ้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2838/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกห้างหุ้นส่วนสามัญจากเหตุหุ้นส่วนไม่ปรองดองและขาดการจัดการที่เหมาะสม
โจทก์จำเลยตกลงเข้าหุ้นประกอบกิจการโรงกลึงเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน การที่โจทก์จำเลยขัดแย้งกันโดยจำเลยไม่ให้โจทก์มีสิทธิสั่งจ่ายเงินและไม่แบ่งผลกำไรให้โจทก์ แต่กลับนำเงินไปจ่ายล่วงหน้าสำหรับรถยนต์ที่จำเลยซื้อ และจำเลยไม่ได้ทำบัญชีรายรับรายจ่ายของกิจการโรงกลึงไว้ทั้งยังปฏิเสธว่าโจทก์มิใช่หุ้นส่วนกับจำเลย เช่นนี้ ถือได้ว่าผู้เป็นหุ้นส่วนไม่ปรองดองกันเหลือวิสัยที่ห้างหุ้นส่วนจะดำรงคงอยู่ต่อไปได้จึงมีเหตุที่ศาลจะพิพากษาให้เลิกห้างหุ้นส่วนตามที่โจทก์ฟ้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5317/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดร่วมกันของห้างหุ้นส่วนสามัญและตัวแทนในการขนส่งสินค้าที่เกิดความเสียหาย
สายเดินเรือเมอสก์สาขากรุงเทพฯกับบริษัทเมอสก์ไลน์(สิงคโปร์) พีทีอี จำกัด ใช้ชื่อประกอบกิจการเป็นภาษาอังกฤษมีรูปลักษณะตัวอักษรว่า เมอสก์ไลน์ (MAERSKLINE) มีสัญลักษณ์เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสสีฟ้ามีดาว7แฉก สีขาวอยู่ภายในเหมือนกันใบตราส่งที่ใช้ก็เหมือนกัน บริษัท ต.จ้างบริษัทเมอสก์ไลน์(สิงคโปร์) พีทีอี จำกัด ขนสินค้าจากสิงคโปร์มากรุงเทพฯ โดยทางเรือ สายเดินเรือเมอสก์ สาขากรุงเทพฯเป็นผู้ติดต่อเจ้าหน้าที่นำร่อง เจ้าหน้าที่ศุลกากร เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองและเจ้าหน้าที่การท่าเรือแห่งประเทศไทย เพื่อให้เรือบรรทุกสินค้าเข้าเทียบท่า ทั้งแจ้งวันเรือเข้าให้ผู้รับตราส่งทราบ ถือได้ว่าสายเดินเรือเมอสก์สาขากรุงเทพฯร่วมกับบริษัทเมอสก์ไลน์(สิงคโปร์) จำกัด ขนส่งสินค้าโดยแบ่งหน้าที่กันทำ เมื่อสินค้าเสียหายจากการขนส่ง จำเลยทั้งสองในฐานะหุ้นส่วนของสายเดินเรือเมอสก์ สาขากรุงเทพฯ ซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนจึงต้องร่วมรับผิดด้วย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1711/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกห้างหุ้นส่วนสามัญและการบังคับชำระหนี้ขาดทุนโดยไม่ต้องชำระบัญชี
การที่โจทก์ผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญฟ้องผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกันเป็นจำเลยให้รับผิดในส่วนที่ขาดทุน โดยที่ยังไม่มีการเลิกห้างและชำระบัญชีนั้น แม้ในคำฟ้องของโจทก์จะมิได้มีคำขอให้ศาลสั่งเลิกห้างหุ้นส่วนสามัญ แต่เมื่อตาม คำฟ้องมีคำขอให้บังคับจำเลยรับผิดในส่วนที่ขาดทุนครึ่งหนึ่งพร้อมด้วย ดอกเบี้ยแสดงให้เห็นความประสงค์ของโจทก์ว่าต้องการให้ศาลสั่งเลิกห้างหุ้นส่วนสามัญด้วย ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าไม่มีตัวบุคคลที่จะช่วย ให้การประกอบกิจการของห้างหุ้นส่วนดำเนินต่อไปได้ อีกแล้ว ถือว่ามีเหตุทำให้ห้างหุ้นส่วนเหลือวิสัยที่จะดำรง คงอยู่ต่อไปได้ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1057(3)ศาลย่อมสั่งให้ห้างหุ้นส่วนสามัญนั้นเลิกกันได้ เมื่อห้างหุ้นส่วนสามัญเลิกกันแล้ว จะต้อง มีการชำระบัญชีกันก่อนเพื่อทราบกำไรขาดทุน แต่ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนไม่มีเจ้าหนี้ไม่มี คงมีแต่ เพียงลูกหนี้ที่ไม่สามารถติดตาม เรียกร้องให้ชำระหนี้ได้ ส่วนที่ขาดทุนคือเงินทดรองซื้อ สินค้า ดังนั้น การที่จะให้ไปดำเนินการชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนเสียก่อนย่อมไม่เป็นประโยชน์ แม้โจทก์จะขอให้บังคับจำเลยรับผิดในส่วนที่ขาดทุนโดย มิได้ขอให้ชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนเสียก่อน ศาลก็ย่อมพิพากษาบังคับให้จำเลยรับผิดในส่วนที่ขาดทุนได้โดย มิต้องให้มีการชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนนั้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3848/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน การรับผิดทางละเมิด และความรับผิดของบริษัทประกันภัย
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 กับบริษัท ด. และบริษัท อ. ได้จดทะเบียนการค้าสำหรับงานก่อสร้างสะพานไว้กับกรมสรรพากรว่า "สาธรบริดจ์ จอยเวนเจอร์" โดยมี อ. เป็นผู้มีอำนาจทำการแทน เช่นนี้ย่อมเป็นที่เห็นได้ว่ากิจการ " สาธรบริดจ์ จอยเวนเจอร์" ก็คือห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลซึ่งจำเลยที่ 1 กับบริษัทในต่างประเทศอีกสองบริษัทร่วมกันกระทำในประเทศไทยนั่นเอง ดังนั้นเมื่อรถยนต์บรรทุกของโจทก์ตกลงไปในหลุมที่ "สาธรบริดจ์ จอยเวนเจอร์" ขุดไว้อันเป็นการละเมิดตามฟ้อง เกิดขึ้นในกิจการที่เป็นธรรมดาของ "สาธรบริดจ์ จอยเวนเจอร์" จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดโดยไม่จำกัดจำนวน ในการชำระหนี้ที่เกิดขึ้นจากการละเมิดนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1050 โจทก์จึงฟ้องจำเลยที่ 1 ได้ ทั้งการที่จำเลยที่ 3 รับประกันภัยค้ำจุน "สาธรบริดจ์ จอยเวนเจอร์" สัญญาประกันภัยก็ผูกพันจำเลยที่ 1 ด้วย เมื่อจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชอบต่อวินาศภัยที่เกิดขึ้นตามฟ้อง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 3 ให้ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3848/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน, ละเมิดจากการก่อสร้าง, ความรับผิดของผู้รับประกันภัย
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 กับบริษัท ด. และบริษัท อ. ได้จดทะเบียนการค้าสำหรับงานก่อสร้างสะพานไว้กับกรมสรรพากรว่า "สาธรบริดจ์จอยเวนเจอร์"โดยมีอ. เป็นผู้มีอำนาจทำการแทน เช่นนี้ย่อมเป็นที่เห็นได้ว่ากิจการ"สาธรบริดจ์จอยเวนเจอร์" ก็คือห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลซึ่งจำเลยที่ 1 กับบริษัทในต่างประเทศอีกสองบริษัทร่วมกันกระทำในประเทศไทยนั่นเอง ดังนั้นเมื่อรถยนต์บรรทุกของโจทก์ตกลงไปในหลุมที่ "สาธรบริดจ์จอยเวนเจอร์" ขุดไว้อันเป็นการละเมิดตามฟ้อง เกิดขึ้นในกิจการที่เป็นธรรมดาของ"สาธรบริดจ์จอยเวนเจอร์" จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดโดยไม่จำกัดจำนวนในการชำระหนี้ที่เกิดขึ้นจากการละเมิดนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1050 โจทก์จึงฟ้องจำเลยที่ 1ได้ ทั้งการที่จำเลยที่ 3 รับประกันภัยค้ำจุน"สาธรบริดจ์จอยเวนเจอร์" สัญญาประกันภัยก็ผูกพันจำเลยที่ 1 ด้วยเมื่อจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชอบต่อวินาศภัยที่เกิดขึ้นตามฟ้องโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 3 ให้ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5674/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียนพาณิชย์ ไม่มีอำนาจฟ้องคดีเอง ต้องเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล
ผู้ที่จะฟ้องหรือถูกฟ้องเป็นจำเลยในศาลจะต้องเป็นบุคคล ดังบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1 (11) และคำว่าบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้แก่บุคคลธรรมดา และนิติบุคคลห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เพียงแต่จดทะเบียนพาณิชย์ไว้เพื่อ ทำการค้าเท่านั้น มิใช่บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล ฟ้องคดีต่อศาลไม่ได้ และจะมอบอำนาจให้บุคคลอื่นฟ้องและดำเนินคดีแทนก็ไม่ได้
ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นเรื่องอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ของประชาชน แม้จะไม่ใช่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้ว ในศาลชั้นต้น จำเลยก็มีสิทธิอุทธรณ์เป็นประเด็นขึ้นมาได้ ในชั้นอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์ ก็มีอำนาจวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5674/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ห้างหุ้นส่วนสามัญมิได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ไม่มีอำนาจฟ้องคดี
ผู้ที่จะฟ้องหรือถูกฟ้องเป็นจำเลยในศาลจะต้องเป็นบุคคล ดังบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1(11) และคำว่าบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้แก่บุคคลธรรมดา และนิติบุคคลห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เพียงแต่จดทะเบียนพาณิชย์ไว้เพื่อ ทำการค้าเท่านั้น มิใช่บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล ฟ้องคดีต่อศาลไม่ได้ และจะมอบอำนาจให้บุคคลอื่นฟ้องและดำเนินคดีแทนก็ไม่ได้
ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นเรื่องอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ของประชาชน แม้จะไม่ใช่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้ว ในศาลชั้นต้น จำเลยก็มีสิทธิอุทธรณ์เป็นประเด็นขึ้นมาได้ ในชั้นอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์ ก็มีอำนาจวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2512/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกห้างหุ้นส่วนสามัญ: ผู้ร้องเลือกฟ้องแบบมีข้อพิพาทหรือไม่มีข้อพิพาทก็ได้ หากมีผู้คัดค้าน ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาแบบมีข้อพิพาท
การขอให้ศาลสั่งเลิกห้างหุ้นส่วนสามัญตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1057 นั้น ผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งจะฟ้องร้องเป็นคดีมีข้อพิพาทก็ได้ หรือจะเริ่มต้นด้วยการร้องขออย่างคดีไม่มีข้อพิพาทก็ได้และในกรณีหลังนี้ หากมีหุ้นส่วนอื่นไม่เห็นพ้องด้วย ย่อมมีสิทธิร้องคัดค้านเข้ามาเกี่ยวข้อง ในคดีได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 188 และศาลต้องดำเนินคดีต่อไปอย่างคดีมีข้อพิพาท
of 6