พบผลลัพธ์ทั้งหมด 18 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1185/2493
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจอธิบดีกำหนดวิธีการลงบัญชีโรงสี: การปฏิบัติตามคำสั่งเป็นไปตามกฎหมาย
มาตรา 201 มีความว่าให้ผู้ทำการโรงสีทำบัญชีตามแบบและวิธีการที่อธิบดีกำหนด แสดงรายการปริมาณข้าวซึ่งมีอยู่ได้มาและจำหน่ายไปเป็นรายวัน
อธิบดีจึงกำหนดว่าทุกวันที่มีการรับหรือจำหน่ายข้าวผู้ทำการโรงสีต้องลงรายการรับหรือจำหน่าย ดังนี้ คำสั่งของอธิบดีย่อมเป็นการชอบด้วยกฎหมาย ผู้ทำการโรงสีฝ่าฝืนก็มีความผิด
อธิบดีจึงกำหนดว่าทุกวันที่มีการรับหรือจำหน่ายข้าวผู้ทำการโรงสีต้องลงรายการรับหรือจำหน่าย ดังนี้ คำสั่งของอธิบดีย่อมเป็นการชอบด้วยกฎหมาย ผู้ทำการโรงสีฝ่าฝืนก็มีความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2058/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องฎีกาของอัยการจังหวัด: อธิบดีสั่งได้เฉพาะตัวอัยการ ไม่ใช่ตำแหน่ง
อธิบดีกรมอัยการย่อมสั่งให้บุคคลผู้มีตำแหน่งเป็นพนักงานอัยการประจำในท้องที่จังหวัดหนึ่งไปดำเนินคดีในศาลอีกท้องที่หนึ่งได้ตลอดจนถึงในชั้นศาลฎีกา แต่ไม่มีอำนาจสั่งให้ตำแหน่งอัยการจังหวัดหนึ่งดำเนินคดีที่เกิดขึ้นในเขตจังหวัดอื่น
อัยการผู้ลงชื่อในฟ้องฎีกามีตำแหน่งเป็นอัยการจังหวัดกาญจนบุรีได้ดำเนินคดีที่ศาลจังหวัดกระบี่ โดยระบุว่าพนักงานอัยการจังหวัดกาญจนบุรีเป็นโจทก์ ดังนี้อัยการจังหวัดกาญจนบุรีเป็นโจทก์ฟ้องฎีกาไม่ได้
อัยการผู้ลงชื่อในฟ้องฎีกามีตำแหน่งเป็นอัยการจังหวัดกาญจนบุรีได้ดำเนินคดีที่ศาลจังหวัดกระบี่ โดยระบุว่าพนักงานอัยการจังหวัดกาญจนบุรีเป็นโจทก์ ดังนี้อัยการจังหวัดกาญจนบุรีเป็นโจทก์ฟ้องฎีกาไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1531/2482
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความผิดตาม พ.ร.บ.ภาษีอากรชั้นใน ม.30: การฝ่าฝืนข้อบังคับของอธิบดีกรมพระคลังมหสมบัติ เท่านั้น
กฎข้อบังคับของตระลาการผู้พิจารณาหนังสือใบอนุญาตร้านจำหน่ายสุราลงวันที่ 1 ธันวาคม 2460 ,ประมวลวิธีพิจารณาอาญา ม.192
ม.30 แห่งพ.ร.บ.ภาษีชั้นในนั้นเป็นบทกำหนดความผิดและโทษในการฝ่าฝืนข้อบังคับของอธิบดีกรมพระคลังที่ตั้งขึ้นตาม ม.29 หาใช่เป็นบทกำหนดความผิดและโทษในการฝ่าฝืนข้อบังคับตระลาการใน ม.28 ด้วยไม่.
อ้างฎีกาที่ 647/2481
ม.30 แห่งพ.ร.บ.ภาษีชั้นในนั้นเป็นบทกำหนดความผิดและโทษในการฝ่าฝืนข้อบังคับของอธิบดีกรมพระคลังที่ตั้งขึ้นตาม ม.29 หาใช่เป็นบทกำหนดความผิดและโทษในการฝ่าฝืนข้อบังคับตระลาการใน ม.28 ด้วยไม่.
อ้างฎีกาที่ 647/2481
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 175/2478
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประหารชีวิตผู้ต้องหา: ความเห็นต่างเรื่องการเสนอเรื่องต่ออธิบดี
ประหารชีวิตร์ หมายเหตุศาลล่างลงโทษต้องกัน+ สอาดเห็นว่าควรเสนอให้อธิบดีทราบ แต่เสนีย์ ว่าไม่ต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 938/2472
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนั่งพิจารณาคดีไม่ครบองค์คณะ และอธิบดีผู้พิพากษาเคยพิจารณาคดีเกี่ยวข้อง ศาลฎีกาไม่รับฟังเหตุ
คัดค้านว่าผู้พิพากษาศาลเดิมนั่งพิจารณาไม่ครบคณะ ต้องคัดค้านเสียก่อนที่ศาลเดิมตัดสิน ผู้พิพากษาที่รู้เหตุการณ์พิเศษเพราะเคยนั่งพิจารณาคดีเรื่องหนึ่งแล้วจะมานั่งพิจารณาในคดีนี้อีกก็ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15049/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการบังคับใช้ พ.ร.บ.จราจรทางบก มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง กรณีอธิบดียังมิได้กำหนดประเภทยาเสพติด
พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ห้ามมิให้ผู้ขับขี่เสพยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ หรือเสพวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ทั้งนี้ ตามที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา" ซึ่งคำว่า "ทั้งนี้" ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายไว้ว่า ตามที่กล่าวมานี้ ดังนี้ คำว่า ตามที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาจึงครอบคลุมถึงเสพยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ ซึ่งเป็นข้อความที่กล่าวไว้ก่อนคำว่าตามที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาด้วย เมื่ออธิบดีกรมตำรวจยังไม่ได้ออกข้อกำหนดห้ามมิให้ผู้ขับขี่เสพฝิ่นซึ่งเป็นยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานเป็นผู้ขับขี่เสพยาเสพติดให้โทษตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง, 157/1 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15180/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจงดฟ้องของอธิบดีกรมศุลกากรต้องใช้ก่อนการฟ้องคดี หากฟ้องแล้ว อธิบดีไม่มีอำนาจงดฟ้องได้อีก
จำเลยทั้งสองร่วมกันรับไว้ซึ่งรถยนต์ของกลางโดยรู้อยู่ว่าเป็นของที่มีผู้ลักลอบนำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากร วันรุ่งขึ้นหลังจากจำเลยทั้งสองถูกเจ้าพนักงานจับกุม จำเลยทั้งสองทำหนังสือขอทำความตกลงระงับคดีในชั้นศุลกากร โดยยินยอมยกของกลางให้ตกเป็นของแผ่นดินตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 102 ต่อมาโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองต่อศาลชั้นต้น หลังจากนั้นอธิบดีกรมศุลกากรมีคำสั่งอนุมัติให้ระงับคดี ดังนี้การใช้อำนาจของอธิบดีตามบทมาตราดังกล่าวจะต้องกระทำก่อนที่ผู้กระทำความผิดจะถูกฟ้องร้องต่อศาล เมื่อปรากฏว่าโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองต่อศาลชั้นต้นก่อนที่อธิบดีจะมีคำสั่งอนุมัติให้ระงับคดี คำสั่งดังกล่าวจึงล่วงเลยระยะเวลาที่อธิบดีกรมศุลกากรจะมีอำนาจสั่งให้งดการฟ้องร้องได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 755/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความละเมิด: การนับเริ่มเมื่อผู้แทนของนิติบุคคล (อธิบดี) ทราบเรื่องการละเมิด
โจทก์เป็นนิติบุคคลโดยเป็นกรมในรัฐบาล มีอธิบดีเป็นผู้แทน การนับอายุความละเมิดตามป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่ง ต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่อธิบดีผู้แทนโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน
น. เป็นนายช่างแขวงการทางซึ่งเป็นเพียงข้าราชการในกรมของโจทก์เท่านั้น ไม่ใช่ผู้แทนของโจทก์โดยตรง แม้ น. จะรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนตั้งแต่ปี 2539 แล้ว แต่อธิบดีผู้แทนโจทก์ทราบเรื่องดังกล่าวเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2546 จึงถือได้ว่าโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนวันที่ 26 กันยายน 2546 นับถึงวันที่ 12 มีนาคม 2547 ซึ่งเป็นวันฟ้องยังไม่พ้นกำหนด 1 ปี คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
น. เป็นนายช่างแขวงการทางซึ่งเป็นเพียงข้าราชการในกรมของโจทก์เท่านั้น ไม่ใช่ผู้แทนของโจทก์โดยตรง แม้ น. จะรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนตั้งแต่ปี 2539 แล้ว แต่อธิบดีผู้แทนโจทก์ทราบเรื่องดังกล่าวเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2546 จึงถือได้ว่าโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนวันที่ 26 กันยายน 2546 นับถึงวันที่ 12 มีนาคม 2547 ซึ่งเป็นวันฟ้องยังไม่พ้นกำหนด 1 ปี คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ