คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
อนุญาต

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 931 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3248/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอนุญาตฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงต้องเป็นไปตามความประสงค์จำเลย ผู้พิพากษาที่จำเลยระบุเท่านั้นจึงจะชอบ
ป.วิ.อ. มาตรา 221 ไม่ได้กำหนดขั้นตอนในการปฏิบัติหรือวางหลักเกณฑ์ในการยื่นคำร้องขออนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงไว้โดยเฉพาะ จึงต้องนำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคท้าย มาใช้บังคับโดยอนุโลม ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 15 คือ จำเลยต้องยื่นคำร้องพร้อมคำฟ้องฎีกาต่อศาลชั้นต้นขอให้ผู้พิพากษาคนใดซึ่งพิจารณา หรือลงชื่อในคำพิพากษาหรือทำความเห็นแย้งในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ภาค 2 อนุญาตให้จำเลยฎีกาในปัญหา ข้อเท็จจริงได้ ซึ่งตามคำร้องฉบับลงวันที่ 22 กันยายน 2547 จำเลยระบุชื่อขอให้นาย อ. ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นเพียงคนเดียวเป็นผู้พิจารณาอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง โดยมิได้ระบุถึง ผู้พิพากษาอื่นอีก การที่นาย อ. ไม่สั่งคำร้องดังกล่าว แต่กลับส่งคำร้องพร้อมสำนวนไปให้นาย ท. ผู้พิพากษาเจ้าของสำนวน ซึ่งมิใช่ผู้พิพากษาที่จำเลยระบุในคำร้องเป็นผู้พิจารณา ดังนั้นแม้นาย ท. จะพิจารณาแล้วมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงก็หามีผลให้เข้าข้อยกเว้นตาม ป.วิ.อ. มาตรา 221 ที่จำเลยจะฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงได้ไม่ เพราะไม่ต้องด้วยความประสงค์ของจำเลยที่ขอให้นาย อ. เท่านั้นเป็นผู้พิจารณาอนุญาตให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้รับฎีกาของจำเลยจึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2959/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินคดีอนาถาชั้นอุทธรณ์: จำเป็นต้องสาบานตัวใหม่ แม้เคยได้รับอนุญาตในชั้นต้น
โจทก์ยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาชั้นอุทธรณ์ แต่โจทก์มิได้สาบานตัว ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งยกคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถา โจทก์อุทธรณ์คำสั่ง ศาลอุทธรณ์ภาค 9 วินิจฉัยว่าโจทก์ขอดำเนินคดีชั้นอุทธรณ์อย่างคนอนาถา โจทก์จึงต้องสาบานตัวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคหนึ่ง คำสั่งของศาลชั้นต้นชอบแล้ว ให้ยกคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของโจทก์ คำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 9 เป็นคำสั่งยกคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ จึงเป็นที่สุดตามมาตรา 156 วรรคท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2095/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งศาลล้มละลายเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการ การอุทธรณ์ต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดีผู้พิพากษา
การที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้ยกคำร้องของผู้ร้องที่ขอให้ยกเลิกการประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาคำขอแก้ไขแผน ถือว่าเป็นคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดคดีของศาลในส่วนที่เกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการ เมื่อผู้ร้องมิได้รับอนุญาตให้อุทธรณ์เป็นหนังสือจากอธิบดีผู้พิพากษาศาลล้มละลายกลาง จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/79 (เดิม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2019/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่อุทธรณ์โทษที่หนักขึ้นตาม ม.336 ทวิ และการพิจารณาคำร้องขออนุญาตฎีกาที่ไม่ชอบ
ป.อ. มาตรา 336 ทวิ เป็นบทบัญญัติถึงเหตุที่จะทำให้ผู้กระทำความผิดตามมาตรา 335 ต้อระวางโทษหนักกว่าที่บัญญัติไว้ในมาตรานั้นๆ กึ่งหนึ่งหาใช่เป็นความผิดอีกบทหนึ่งต่างหากไม่ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 แก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยไม่ได้ใช้อัตราโทษตามที่มาตรา 336 ทวิ กำหนดไว้แต่ยังคงพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 335 (1) (3) (7) (8) วรรคสอง ตามที่ศาลชั้นต้นยกขึ้นปรับบทจึงเป็นการแก้ไขเล็กน้อย และให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปี จำเลยจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
คำร้องของจำเลยใช้คำว่าขอให้ "ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์" อนุญาตให้ฎีกาโดยมิได้ระบุชื่อผู้พิพากษา ถือได้ว่าจำเลยประสงค์ให้ผู้พิพากษาซึ่งลงลายมือชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 9 เป็นผู้พิจารณาอนุญาตให้จำเลยฎีกาแต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งคำร้องขออนุญาตฎีกาของจำเลยว่า กรณีคดีไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ให้ยกคำร้องและมีคำสั่งรับฎีกาของจำเลยนั้น เป็นการสั่งโดยผิดหลงและเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ ถือว่าไม่ได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาคดี ศาลฎีกามีอำนาจเพิกถอนคำสั่งและการดำเนินการของศาลชั้นต้นที่ไม่ชอบได้ และสั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้ถูกต้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (2) ประกอบด้วยมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8971/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้อง, คำฟ้องเคลือบคลุม, และการดัดแปลงอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต: ประเด็นสำคัญในการพิจารณาคดี
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (2) ฟ้องต้องมีคดีระหว่างผู้ใดโจทก์ผู้ใดจำเลย กรณีจำเลยเป็นนิติบุคคล ในคำฟ้องช่องคู่ความเพียงระบุชื่อนิติบุคคลซึ่งเป็นจำเลยและโดยผู้แทนนิติบุคคลจำเลยคนใดคนหนึ่งที่มีอำนาจทำการแทนได้ หาจำต้องระบุผู้แทนนิติบุคคลหรือกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนหมดทุกคนไม่ โจทก์ระบุในช่องคู่ความว่า ระหว่างพนักงานอัยการจังหวัดสกลนคร โจทก์ บริษัทสกลนคร เอ็ม.เจ. (1996) จำกัด โดย ก. กรรมการผู้จัดการ จำเลย ไม่จำต้องระบุ ว. กรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนอีกคนด้วยเพราะ ก. และ ว. คนใดคนหนึ่งมีอำนาจทำการแทนจำเลยได้โดยลำพัง ฟ้องโจทก์จึงมีผู้ใดโจทก์ผู้ใดจำเลย ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (2) แล้ว
โจทก์ฟ้องโดยระบุวันกระทำผิดฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นแล้ว ส่วนวันทราบคำสั่งแม้ไม่ระบุว่าเป็นวันใด แต่ก็ระบุว่าจำเลยทราบคำสั่งแล้ว วันทราบคำสั่งไม่ใช่วันกระทำความผิดโดยตรง และเป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์นำสืบในชั้นพิจารณาได้ ส่วนฟ้องที่บรรยายว่าจำเลยดัดแปลงอาคาร เป็นการบรรยายการกระทำอันเป็นองค์ประกอบความผิดที่ฟ้อง แม้ไม่ตรงกับคำเบิกความของพยานและเอกสารของโจทก์ชั้นพิจารณาตามที่จำเลยฎีกา ก็เป็นเรื่องว่าข้อเท็จจริงในทางพิจารณาต่างกับฟ้องหรือไม่ เป็นคนละเรื่องกัน ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8648/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การขออนุญาตฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามกฎหมาย
จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องพร้อมคำฟ้องฎีกาต่อศาลชั้นต้น ขอเฉพาะผู้พิพากษาสองคนที่ลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้น โดยระบุชื่อให้อนุญาตให้จำเลยทั้งสองฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง โดยมิได้ระบุถึงผู้พิพากษาคนอื่นที่ลงชื่อในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 เมื่อผู้พิพากษาทั้งสองคนที่ลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยทั้งสองฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงแล้ว ก็ชอบที่ศาลชั้นต้นจะต้องมีคำสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยทั้งสอง ส่วนการที่ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 คนหนึ่งที่ลงชื่อในคำพิพากษามีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยทั้งสองฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงโดยลำพัง หามีผลให้เข้าข้อยกเว้นตาม ป.วิ.อ. มาตรา 221 อันจะส่งผลตามกฎหมายให้จำเลยทั้งสองฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้ไม่ เพราะไม่ต้องด้วยความประสงค์ของจำเลยทั้งสองในการที่จะขอให้ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 คนนั้นเป็นผู้อนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตลอดทั้งไม่ได้ผ่านหลักเกณฑ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคท้าย ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ที่บัญญัติไว้ คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้รับฎีกาของจำเลยทั้งสองจึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8648/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องได้รับอนุญาตจากผู้พิพากษาที่เกี่ยวข้อง หรืออธิบดีอัยการ มิฉะนั้น ศาลฎีกาจะไม่รับวินิจฉัย
คดีของจำเลยทั้งสองต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง หากจำเลยทั้งสองประสงค์จะฎีกาในปัญหาดังกล่าวจะต้องให้ผู้พิพากษาคนใดซึ่งพิจารณา หรือลงชื่อในคำพิพากษา หรือทำความเห็นแย้งในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์อนุญาต หรืออธิบดีกรมอัยการลงลายมือชื่อรับรองให้จำเลยทั้งสองฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ฯลฯ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 221 ขั้นตอนในการปฏิบัติดังกล่าว ป.วิ.อ. มิได้บัญญัติวางหลักเกณฑ์ไว้โดยเฉพาะ จึงต้องนำบทบัญญัติใน ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคท้าย มาใช้บังคับโดยอนุโลมตาม ป.วิ.อ. มาตรา 15 กล่าวคือ จำเลยทั้งสองต้องยื่นคำร้องพร้อมกับคำฟ้องฎีกาต่อศาลชั้นต้นขอให้ผู้พิพากษาคนใดซึ่งพิจารณา หรือลงชื่อในคำพิพากษา หรือทำความเห็นแย้งในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ภาค 7 อนุญาตให้จำเลยทั้งสองฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้ จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องพร้อมกับคำฟ้องฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง แต่ตามคำร้องคงเพียงขอเฉพาะผู้พิพากษาสองคนที่ลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยระบุชื่อให้อนุญาตให้จำเลยทั้งสองฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง โดยมิได้ระบุถึงผู้พิพากษาคนอื่นที่ลงชื่อในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 ดังนี้ เมื่อผู้พิพากษาทั้งสองคนที่ลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยทั้งสองฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงแล้ว ก็ชอบที่ศาลชั้นต้นจะต้องมีคำสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยทั้งสอง ส่วนการที่ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 คนหนึ่งที่ลงชื่อในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 มีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยทั้งสองฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงโดยลำพัง หามีผลตาม ป.วิ.อ. มาตรา 221 ให้จำเลยทั้งสองฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้ไม่ เพราะมิได้ต้องด้วยความประสงค์ของจำเลยทั้งสองในการที่จะขอให้ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 คนนั้นเป็นผู้อนุญาตให้จำเลยทั้งสองฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตลอดทั้งมิได้ผ่านหลักเกณฑ์ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้รับฎีกาของจำเลยทั้งสองจึงไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7546/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คดีเยาวชนที่ศาลชั้นต้นเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวไปฝึกอบรม และการพิจารณาคำร้องขออนุญาตอุทธรณ์ที่ถูกต้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุกจำเลยแต่เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวไปฝึกและอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนมีกำหนดขั้นต่ำ 4 ปี ขั้นสูงไม่เกิน 6 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษา จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 121 (2) แต่จำเลยมีสิทธิขอให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวหรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวอนุญาตให้อุทธรณ์ตามมาตรา 122 ซึ่งจำเลยได้ใช้สิทธิยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลชั้นต้นแผนกคดีเยาวชนและ ครอบครัวอนุญาตแล้ว การที่ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลชั้นต้นแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวมีคำสั่งว่า คดีไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ ไม่จำต้องขออนุญาต ให้ยกคำร้องแล้วมีคำสั่งรับอุทธรณ์ จึงเป็นการไม่ถูกต้อง คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวจึงไม่ชอบ จำเลยไม่มีสิทธิฎีกา ศาลฎีกาจึงให้ยกฎีกา ยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัว และยกคำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งรับอุทธรณ์ของจำเลย ให้ศาลชั้นต้นส่งคำร้องขออนุญาตอุทธรณ์ของจำเลยและสำนวนคดีให้ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลชั้นต้นแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวพิจารณาแล้วให้ ศาลชั้นต้นพิจารณาสั่งอุทธรณ์ของจำเลยต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 670/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคำร้องขออนุญาตฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นขัดต่อกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
คดีของจำเลยต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จำเลยย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นรับรองว่า ข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาอันควรสู่ศาลสูงสุดและอนุญาตให้ฎีกา ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นมีหน้าที่พิจารณาเพียงว่า ข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลสูงสุดหรือไม่เท่านั้นตาม ป.วิ.อ. มาตรา 221 การที่ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าคดีไม่ต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงเป็นการสั่งคดีโดยผิดหลงและเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ ถือว่าไม่ได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาคดี ศาลฎีกามีอำนาจที่จะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยโดยให้เพิกถอนคำสั่งและการดำเนินการดังกล่าวของศาลชั้นต้นที่ไม่ชอบเสียได้ และสั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้ถูกต้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (2) ประกอบด้วยมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5002/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานปรับคลื่นวิทยุสื่อสารโดยไม่ได้รับอนุญาต ถือเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันตามจำนวนเครื่อง
การที่จำเลยลักลอบปรับคลื่นวิทยุคมนาคมของโทรศัพท์เคลื่อนที่ของบุคคลอื่นที่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาตแล้วนำออกให้บริการแก่บุคคลทั่วไปโดยเรียกเงินค่าตอบแทนนั้น แม้จำเลยจะกระทำในวันเวลาเดียวกัน แต่ก็เป็นการกระทำที่สามารถแยกจากกันเป็นราย ๆ ตามจำนวนเครื่องวิทยุคมนาคมที่จำเลยใช้ลักลอบปรับคลื่นและนำออกให้บริการแก่บุคคลทั่วไปโดยเรียกเงินค่าตอบแทนได้
จำเลยนำเครื่องวิทยุคมนาคมที่จำเลยมีไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตจำนวน 3 เครื่อง มาปรับแต่งคลื่นความถี่ให้ใช้ได้กับคลื่นความถี่ของ ย. ซึ่งได้รับอนุญาตจากการสื่อสารแห่งประเทศไทยให้เช่าใช้บริการแต่ผู้เดียว จำเลยมีเจตนากระทำความผิดแยกเป็นราย ๆ ไป ตามจำนวนเครื่องวิทยุคมนาคมที่จำเลยใช้ลักลอบปรับคลื่นวิทยุคมนาคม การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันรวม 3 กระทง
of 94