พบผลลัพธ์ทั้งหมด 34 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3420/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอนุญาตฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงโดยผู้พิพากษาที่รับประเด็น และการพิจารณาว่าการกระทำหลายอย่างเป็นกรรมเดียว
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 11, 69 วรรคสอง (2), 73 วรรคสอง (2) รวม2 กระทง จำคุกกระทงละ 3 ปี รวมจำคุก 6 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้ลงโทษจำคุกกระทงละ 2 ปี รวมจำคุก 4 ปี เป็นเพียงแก้ไขเล็กน้อยซึ่งโทษจำคุกแต่ละกระทงไม่เกิน 5 ปี คู่ความจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคแรก
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 2 มีความผิดตาม ป.อ.มาตรา 157, 160, 162 (1) (4) ตามฟ้องข้อ 2 (ก) (ข) และ (ค) ให้ลงโทษตามมาตรา 157 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดรวม 3 กระทง จำคุกกระทงละ2 ปี รวมจำคุก 6 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยที่ 2 มีความผิดตามป.อ. มาตรา 157, 162 (1) (4) ตามฟ้องข้อ 2 (ข) และมาตรา 157, 160ตามฟ้องข้อ 2 (ค) เป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามมาตรา 157อันเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด จำคุก 2 ปี ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ในข้อหาตาม ป.อ. มาตรา 157, 162 (1) (4) ตามฟ้องข้อ 2 (ก) ดังนั้นเฉพาะความผิดตามฟ้องข้อ 2 (ข) และ (ค) เป็นเพียงแก้ไขเล็กน้อย คู่ความจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคแรก
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 230 ที่ให้อำนาจศาลที่พิจารณาคดีส่งประเด็นให้ศาลอื่นสืบพยานหลักฐานแทนนั้น แม้ตามบทบัญญัติดังกล่าวจะมีข้อความระบุให้ศาลที่รับประเด็นมีอำนาจและหน้าที่ดั่งศาลเดิม และศาลที่รับประเด็นมีอำนาจส่งประเด็นไปยังศาลอื่นอีกต่อหนึ่งได้ก็ตาม ความหมายก็คงจำกัดอยู่ในขอบอำนาจของการสืบพยานหลักฐานแทนตามที่ได้รับมอบหมายให้ลุล่วงไปเท่านั้น และตามป.วิ.อ. มาตรา 221 ที่ให้อำนาจแก่ผู้พิพากษาคนใดซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาหรือทำความเห็นแย้งในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้นั้น ก็โดยมุ่งหมายให้อำนาจแก่ผู้พิพากษาในศาลที่พิจารณาคดีนั้นเอง เพราะเป็นผู้ทราบดีว่าควรจะอนุญาตหรือไม่อนุญาต ส่วนผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาในศาลที่รับประเด็นนั้นเป็นเพียงสืบแทนเฉพาะพยานหลักฐานที่ศาลที่พิจารณาคดีส่งมา หาได้ทราบถึงข้อเท็จจริงทั้งสำนวนไม่ ตลอดทั้งการวินิจฉัยคดีก็มิได้เกี่ยวข้องด้วย การที่จำเลยทั้งสองฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงโดยมีผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาในศาลที่รับประเด็นอนุญาตให้ฎีกานั้น จึงไม่ชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ตามระเบียบปฏิบัติของกรมป่าไม้ การตรวจสอบการทำไม้ซึ่งรวมทั้งการใช้ตราประจำตัวประทับที่ตอไม้และหน้าตัดไม้เป็นขั้นตอนต่อเนื่องกับการนำไม้เคลื่อนที่ออกจากป่า ดังนั้น การที่จำเลยที่ 2 ใช้ตราประจำตัวประทับที่หน้าตัดไม้ซุงหน้าที่ว่าการอำเภอท้องที่โดยละเว้นการตรวจสอบไม้ของกลางตามระเบียบปฏิบัติดังกล่าวกับการที่จำเลยที่ 2 กรอกข้อความอันเป็นเท็จลงในใบเบิกทางนำไม้เคลื่อนที่ซึ่งทำขึ้นในวันเดียวกันก็เพื่ออำพรางให้ถูกต้องตามขั้นตอนของระเบียบปฏิบัติที่ทางราชการวางไว้และเพื่อให้มีการนำไม้เคลื่อนที่ไปยังจุดหมายปลายทางได้สำเร็จลุล่วงไป การกระทำของจำเลยที่ 2 ตามฟ้องข้อ 2 (ข)และ (ค) จึงเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท หาใช่เป็นสองกรรมต่างกันไม่
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 2 มีความผิดตาม ป.อ.มาตรา 157, 160, 162 (1) (4) ตามฟ้องข้อ 2 (ก) (ข) และ (ค) ให้ลงโทษตามมาตรา 157 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดรวม 3 กระทง จำคุกกระทงละ2 ปี รวมจำคุก 6 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยที่ 2 มีความผิดตามป.อ. มาตรา 157, 162 (1) (4) ตามฟ้องข้อ 2 (ข) และมาตรา 157, 160ตามฟ้องข้อ 2 (ค) เป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามมาตรา 157อันเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด จำคุก 2 ปี ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ในข้อหาตาม ป.อ. มาตรา 157, 162 (1) (4) ตามฟ้องข้อ 2 (ก) ดังนั้นเฉพาะความผิดตามฟ้องข้อ 2 (ข) และ (ค) เป็นเพียงแก้ไขเล็กน้อย คู่ความจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคแรก
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 230 ที่ให้อำนาจศาลที่พิจารณาคดีส่งประเด็นให้ศาลอื่นสืบพยานหลักฐานแทนนั้น แม้ตามบทบัญญัติดังกล่าวจะมีข้อความระบุให้ศาลที่รับประเด็นมีอำนาจและหน้าที่ดั่งศาลเดิม และศาลที่รับประเด็นมีอำนาจส่งประเด็นไปยังศาลอื่นอีกต่อหนึ่งได้ก็ตาม ความหมายก็คงจำกัดอยู่ในขอบอำนาจของการสืบพยานหลักฐานแทนตามที่ได้รับมอบหมายให้ลุล่วงไปเท่านั้น และตามป.วิ.อ. มาตรา 221 ที่ให้อำนาจแก่ผู้พิพากษาคนใดซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาหรือทำความเห็นแย้งในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้นั้น ก็โดยมุ่งหมายให้อำนาจแก่ผู้พิพากษาในศาลที่พิจารณาคดีนั้นเอง เพราะเป็นผู้ทราบดีว่าควรจะอนุญาตหรือไม่อนุญาต ส่วนผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาในศาลที่รับประเด็นนั้นเป็นเพียงสืบแทนเฉพาะพยานหลักฐานที่ศาลที่พิจารณาคดีส่งมา หาได้ทราบถึงข้อเท็จจริงทั้งสำนวนไม่ ตลอดทั้งการวินิจฉัยคดีก็มิได้เกี่ยวข้องด้วย การที่จำเลยทั้งสองฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงโดยมีผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาในศาลที่รับประเด็นอนุญาตให้ฎีกานั้น จึงไม่ชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ตามระเบียบปฏิบัติของกรมป่าไม้ การตรวจสอบการทำไม้ซึ่งรวมทั้งการใช้ตราประจำตัวประทับที่ตอไม้และหน้าตัดไม้เป็นขั้นตอนต่อเนื่องกับการนำไม้เคลื่อนที่ออกจากป่า ดังนั้น การที่จำเลยที่ 2 ใช้ตราประจำตัวประทับที่หน้าตัดไม้ซุงหน้าที่ว่าการอำเภอท้องที่โดยละเว้นการตรวจสอบไม้ของกลางตามระเบียบปฏิบัติดังกล่าวกับการที่จำเลยที่ 2 กรอกข้อความอันเป็นเท็จลงในใบเบิกทางนำไม้เคลื่อนที่ซึ่งทำขึ้นในวันเดียวกันก็เพื่ออำพรางให้ถูกต้องตามขั้นตอนของระเบียบปฏิบัติที่ทางราชการวางไว้และเพื่อให้มีการนำไม้เคลื่อนที่ไปยังจุดหมายปลายทางได้สำเร็จลุล่วงไป การกระทำของจำเลยที่ 2 ตามฟ้องข้อ 2 (ข)และ (ค) จึงเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท หาใช่เป็นสองกรรมต่างกันไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3313/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอนุญาตฎีกา: การยื่นคำร้องขออนุญาตฎีกาผ่านผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
คำร้องของโจทก์ได้ขอให้ผู้พิพากษาคนใดคนหนึ่งที่นั่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ฎีกาโดยยื่นพร้อมฎีกาต่อศาลชั้นต้น เป็นการปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคท้าย แล้วศาลชั้นต้นจึงต้องส่งคำร้องพร้อมสำนวนไปยังผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์พิจารณาต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2483/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอนุญาตฎีกาข้อเท็จจริงต้องมีปัญหาสำคัญสู่ศาลสูงสุด มิฉะนั้นเป็นคำรับรองที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นได้รับรองให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงสำหรับข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 391 ว่า "ข้อหา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 391 ศาลอนุญาตให้ฎีกาข้อเท็จจริงได้"เป็นคำรับรองที่ไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 221 เพราะไม่ได้ความว่า ข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาสำคัญควรสู่ศาลสูงสุดและอนุญาตให้ฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 835/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเมื่อปัญหาข้อกฎหมายไม่กระทบผลคำพิพากษาเดิม แม้ได้รับอนุญาตให้ฎีกา
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ยกฟ้องโจทก์เป็นคดีที่ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220 โจทก์ร่วมได้รับอนุญาตจากผู้พิพากษาที่ลงชื่อในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้ฎีกาปัญหาข้อกฎหมาย แต่เมื่อปัญหาข้อกฎหมายนั้นแม้ศาลฎีกาจะวินิจฉัยให้ก็ไม่อาจเปลี่ยนแปลงผลของคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่วินิจฉัยว่าจำเลยไม่มีเจตนาทุจริตซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่ยุติแล้วได้ ดังนี้ ปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวจึงเป็นข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรก ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 750/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามในปัญหาข้อเท็จจริง: การอนุญาตฎีกาต้องมีเหตุตามกฎหมาย
การที่จะรับฎีกาที่ต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 221 นั้น จะต้องปรากฏว่าข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลสูงสุดและอนุญาตให้ฎีกา ฉะนั้นคำสั่งที่ว่า 'พิเคราะห์แล้ว อนุญาตให้ฎีกาได้ รับฎีกาของจำเลย' จึงเป็นเพียงข้อความอนุญาตให้ฎีกาได้เท่านั้น มิได้ยกเหตุตามบทกฎหมายดังกล่าวถือไม่ได้ว่าเป็นการอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงโดยชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3226/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอนุญาตฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงต้องระบุปัญหาสำคัญสู่อันควรแก่การวินิจฉัยของศาลฎีกา และคำว่า 'มารศาสนา' เป็นคำดูหมิ่น
ผู้พิพากษาในศาลชั้นต้นซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาสั่งในคำร้องขอให้รับฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงว่า 'พิเคราะห์แล้ว เห็นว่าเป็นกรณีมีเหตุผลสมควรได้รับการวินิจฉัยจากศาลฎีกาจึงอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้ ' คำสั่งดังกล่าวถือไม่ได้ว่าได้อนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง เพราะในคำสั่งมิได้แสดงว่ามีข้อความใดที่ตัดสินเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลสูงสุดและอนุญาตให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221
คำว่า 'มารศาสนา' ตามความหมายในพจนานุกรม หมายถึงบุคคลผู้มีใจบาปหยาบช้าคอยกีดกันไม่ให้ผู้อื่นทำบุญและกีดกันบุญกุศลที่จะมาถึงตน ซึ่งเป็นบุคคลประเภทที่สาธารณชนย่อมรังเกียจที่จะคบหาสมาคมด้วย จำเลยพูดว่าผู้เสียหายด้วยถ้อยคำดังกล่าวต่อหน้าผู้เสียหาย จึงต้องมีความผิดฐานดูหมิ่นซึ่งหน้าตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 393 โดยโจทก์ไม่ต้องนำสืบอธิบายความหมายอีก เพราะเป็นข้อเท็จจริงที่รู้กันอยู่ทั่วไป
คำว่า 'มารศาสนา' ตามความหมายในพจนานุกรม หมายถึงบุคคลผู้มีใจบาปหยาบช้าคอยกีดกันไม่ให้ผู้อื่นทำบุญและกีดกันบุญกุศลที่จะมาถึงตน ซึ่งเป็นบุคคลประเภทที่สาธารณชนย่อมรังเกียจที่จะคบหาสมาคมด้วย จำเลยพูดว่าผู้เสียหายด้วยถ้อยคำดังกล่าวต่อหน้าผู้เสียหาย จึงต้องมีความผิดฐานดูหมิ่นซึ่งหน้าตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 393 โดยโจทก์ไม่ต้องนำสืบอธิบายความหมายอีก เพราะเป็นข้อเท็จจริงที่รู้กันอยู่ทั่วไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 685/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดุลพินิจอนุญาตฎีกา: อำนาจเด็ดขาดของผู้พิพากษา vs. การพิจารณาของศาลฎีกา
ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221 ที่ว่าข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลสูงสุด นั้นกฎหมายมอบให้เป็นดุลพินิจอันเด็ดขาดของผู้พิพากษาผู้มีคำสั่งอนุญาตให้ฎีกา(วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 1/2523)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 626/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดุลพินิจอนุญาตฎีกา: ศาลฎีกาเคารพดุลพินิจผู้พิพากษาอนุญาตฎีกา แม้ข้อเท็จจริงไม่สำคัญ
ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221กฎหมายมอบให้เป็นดุลพินิจอันเด็ดขาดของผู้พิพากษาผู้มีคำสั่งอนุญาตให้ฎีกา (วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่1/2523)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3213/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอนุญาตฎีกาในคดีอาญา: เหตุผลความสำคัญของปัญหาข้อเท็จจริงต้องชัดเจน
ผู้พิพากษาซึ่งลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นสั่งฎีกาของจำเลยว่า "คดีนี้ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง แต่เมื่อได้พิเคราะห์แล้วเห็นว่า ขณะเจ้าพนักงานขอตรวจใบอนุญาตขับขี่ จำเลยก็ควักให้เจ้าพนักงานตรวจโดยดี หาได้มีการส่อพิรุธอย่างใดไม่ ใบอนุญาตของกลางตามเอกสารหมาย จ. 1 ก็ปรากฏว่า แม้บุคคลธรรมดาก็หาได้รู้ไม่ว่าจะเป็นของปลอมกรณีจำเลยอาจไม่รู้ว่าเป็นของปลอมก็เป็นได้ เห็นสมควรอนุญาตให้ฎีกาได้เพื่อศาลฎีกาจะได้วินิจฉัยเป็นบรรทัดฐานต่อไป สำเนาให้โจทก์แก้" ตามคำสั่งดังกล่าวไม่มีข้อความตอนใดแสดงหรืออนุมานได้ว่าข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญาหาสำคัญอันควรสู่ศาลสูงสุด ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกา จึงไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ไม่ชอบที่ศาลฎีกาจะรับไว้พิจารณาในปัญหาข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3213/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอนุญาตฎีกาต้องมีเหตุผลปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลสูงสุด การอนุญาตฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเป็นไปโดยไม่ถูกต้อง
ผู้พิพากษาซึ่งลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นสั่งฎีกาของจำเลยว่า "คดีนี้ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง แต่เมื่อได้พิเคราะห์แล้วเห็นว่า ขณะเจ้าพนักงานขอตรวจใบอนุญาตขับขี่ จำเลยก็ควักให้เจ้าพนักงานตรวจโดยดี หาได้มีการส่อพิรุธอย่างใดไม่ ใบอนุญาตของกลางตามเอกสารหมาย จ.1. ก็ปรากฏว่า แม้บุคคลธรรมดาก็หาได้รู้ไม่ว่าจะเป็นของปลอม กรณีจำเลยอาจจะไม่รู้ว่าเป็นของปลอมก็เป็นได้ เห็นสมควรอนุญาตให้ฎีกาได้เพื่อศาลฎีกาจะได้วินิจฉัยเป็นบรรทัดฐานต่อไป สำเนาให้โจทก์แก้ " ตามคำสั่งดังกล่าวไม่มีข้อความตอนใดแสดงหรืออนุมานได้ว่าข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลสูงสุด ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกา จึงไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ไม่ชอบที่ศาลฎีกาจะรับไว้พิจารณาในปัญหาข้อเท็จจริง