พบผลลัพธ์ทั้งหมด 22 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1237/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำขอรับชำระหนี้หลังพ้นกำหนดในคดีล้มละลาย ไม่อาจใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาอนุโลม
ผู้ร้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ไปแล้ว จะยื่นคำขอแก้ไขเพิ่มเติมจำนวนหนี้เมื่อล่วงเลยกำหนดระยะเวลา 2 เดือน ตามบทบัญญัติมาตรา 91 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 นั้น หาอาจทำได้ไม่ เพราะบทบัญญัติดังกล่าวได้กำหนดระยะเวลายื่นคำขอรับชำระหนี้ไว้โดยเฉพาะแล้ว จึงไม่อาจนำบทบัญญัติเกี่ยวกับการยื่นฟ้องการแก้ไขเพิ่มเติมตามมาตรา 179,180 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาอนุโลมใช้ได้อีก.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1237/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำขอรับชำระหนี้หลังพ้นกำหนดในคดีล้มละลาย ไม่อาจอ้างอนุโลมมาตรา 179, 180 ป.วิ.พ.
ผู้ร้องยื่นคำขอรับชำระหนี้แล้วจะยื่นคำขอแก้ไขเพิ่มเติมจำนวนหนี้ เมื่อล่วงเลยกำหนดระยะเวลา 2 เดือน ตามบทบัญญัติมาตรา 91 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 หาได้ไม่ เพราะบทบัญญัติดังกล่าวได้กำหนดระยะเวลายื่นคำขอรับชำระหนี้ไว้โดยเฉพาะแล้ว จึงไม่อาจนำบทบัญญัติเกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องตามมาตรา 179,180 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาอนุโลมใช้ได้อีก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 369/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษการกระทำผิดเลือกตั้งสุขาภิบาลต้องมีกฎหมายกำหนดโทษโดยเฉพาะ การนำบทบัญญัติกฎหมายอื่นมาใช้โดยอนุโลมไม่ได้
พระราชบัญญัติสุขาภิบาล พ.ศ. 2495 ไม่มีบทบัญญัติกำหนดโทษผู้กระทำผิดไว้ พระราชบัญญัติดังกล่าว มาตรา 7 วรรคสุดท้ายมีเจตนารมณ์เพียงว่าในการเลือกตั้งกรรมการสุขาภิบาลตามมาตรา 7(4)นั้น ให้นำแต่เฉพาะวิธีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลมาใช้บังคับโดยอนุโลมเท่านั้นมิได้ให้นำบทบัญญัติของพระราชบัญญัติว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลมาใช้บังคับทั้งหมด จึงจะนำเอาบทกำหนดโทษผู้กระทำผิดตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล พ.ศ. 2482 มาตรา 72ซึ่งอยู่ในหมวด 9 อันเป็นเรื่องบทกำหนดโทษมาใช้บังคับโดยอนุโลมด้วยหาได้ไม่ เมื่อมีผู้กระทำผิดการเลือกตั้งกรรมการสุขาภิบาล จึงขอให้ลงโทษผู้กระทำผิดนั้นไม่ได้เพราะไม่มีกฎหมายบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2356-2357/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ดุลพินิจศาลแรงงานในการรับบัญชีระบุพยานหลังจำเลยสืบพยานไปแล้ว และการบังคับใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งโดยอนุโลม
การที่อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางอาศัยอำนาจตามความในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 29 ออกข้อกำหนดศาลแรงงาน ว่าด้วยการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแรงงาน ข้อ 10 นั้น'เป็นกรณีที่ อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานออกข้อกำหนดให้ ศาลแรงงานกลางใช้ ดุลพินิจเลือกดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างหนึ่งอย่างใดก็ได้ตามที่เห็นสมควรเพื่อให้การดำเนินกระบวนพิจารณาบรรลุผลตามเจตนารมณ์ดังกล่าว หาใช่เป็นข้อกำหนดบังคับให้คู่ความถือ ปฏิบัติโดยที่ศาลแรงงานกลาง
มิได้มีคำสั่งไม่ เมื่อศาลแรงงานกลางมิได้มีคำสั่งตามข้อกำหนดดังกล่าว การยื่นบัญชีระบุพยานจำต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งซึ่งนำมาใช้บังคับโดยอนุโลม การที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ ยื่นบัญชีระบุพยาน หลังจากจำเลยซึ่งนำสืบก่อนสืบพยานไปบ้างแล้วนั้น เป็นการใช้ดุลพินิจสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87 (2)
มิได้มีคำสั่งไม่ เมื่อศาลแรงงานกลางมิได้มีคำสั่งตามข้อกำหนดดังกล่าว การยื่นบัญชีระบุพยานจำต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งซึ่งนำมาใช้บังคับโดยอนุโลม การที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ ยื่นบัญชีระบุพยาน หลังจากจำเลยซึ่งนำสืบก่อนสืบพยานไปบ้างแล้วนั้น เป็นการใช้ดุลพินิจสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 180-181/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินสงเคราะห์ผู้ปฏิบัติงานรถไฟ: การอนุโลมพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพและการพิจารณาตามข้อบังคับ
การจ่ายเงินสงเคราะห์จากกองทุนสำหรับจ่ายสงเคราะห์ผู้ปฏิบัติงานในการรถไฟแห่งประเทศไทยนั้นข้อบังคับคณะกรรมการรถไฟแห่งประเทศไทยฯ ให้นำพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการและระเบียบการที่เกี่ยวข้องกับการจ่ายบำนาญทั้งสิ้นมาใช้โดยอนุโลม แต่พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2523เป็นกฎหมายที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 3แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ.2518 จึงไม่อาจนำพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวมาอนุโลมใช้ตามข้อบังคับคณะกรรมการรถไฟได้ และการที่เมื่อมีพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ พ.ศ.2521 ออกใช้บังคับโจทก์ก็ได้รับเงินช่วยค่าครองชีพตามพระราชกฤษฎีกานี้นั้นก็เพราะคณะกรรมการจัดการกองทุนสงเคราะห์ผู้ปฏิบัติงานในการรถไฟแห่งประเทศไทยเห็นสมควรที่จะช่วยเหลืออดีตผู้ปฏิบัติงานในการรถไฟให้ได้รับเงินช่วยค่าครองชีพเช่นเดียวกับข้าราชการบำนาญ จึงได้ให้นำพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวมาถือปฏิบัติด้วยโดยอนุโลม แต่มิได้หมายเลยไปว่า เมื่อมีพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2523 ออกใช้ โจทก์จะได้รับเงินเพิ่มช่วยค่าครองชีพเสมอไปก็หาไม่ ทั้งนี้ย่อมขึ้นอยู่กับคณะกรรมการฯ ผู้มีอำนาจตามข้อบังคับจะพิจารณาเห็นควรนำพระราชกฤษฎีกาฉบับข้างต้นมาอนุโลมใช้หรือไม่เพียงใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3086-3087/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิรับเงินช่วยค่าครองชีพสำหรับผู้รับเงินสงเคราะห์: การตีความขอบเขตการขยายสิทธิโดยอนุโลม
โจทก์เป็นผู้ได้รับเงินสงเคราะห์รายเดือนตามข้อบังคับว่าด้วยกองทุนสำหรับจ่ายสงเคราะห์ผู้ปฏิบัติงานในการรถไฟแห่งประเทศไทยมิใช่ผู้ได้รับบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 4 ทวิ แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ พ.ศ.2521 ซึ่งเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2523 มาตรา 4 โจทก์จึงมิใช่ผู้มีสิทธิได้รับเงินช่วยค่าครองชีพตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1471/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับใช้ประกาศกระทรวงมหาดไทยเกี่ยวกับแรงงานสัมพันธ์โดยอนุโลม การปฏิบัติตามวิธีพิจารณาเพื่อคำวินิจฉัยที่สมบูรณ์
ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการแรงงานสัมพันธ์ ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 75 ให้คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์พิจารณาคำร้องเกี่ยวกับการกระทำอันไม่เป็นธรรมของนายจ้างต่อลูกจ้างโดยให้นำข้อ 15 ข้อ 16 มาใช้บังคับโดยอนุโลม ซึ่งข้อ 15 ให้ผู้ชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานแจ้งเป็นหนังสือกำหนดวันส่งคำชี้แจงเกี่ยวกับแรงงานและวันเวลาและสถานที่ที่จะพิจารณาข้อพิพาทแรงงานให้ทั้งสองฝ่ายทราบ และข้อ 16 ในการพิจารณาข้อพิพาทแรงงานผู้ชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานต้องให้โอกาสทั้งสองฝ่ายชี้แจงแถลงเหตุผลและนำพยานเข้าสืบ การนำมาใช้โดยอนุโลมหมายถึงการนำมาใช้บังคับเท่าที่จะไม่เป็นการขัดขืนต่อการพิจารณาและวินิจฉัยชี้ขาดข้อกล่าวหา คำวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์จะมีผลบังคับคู่กรณีได้ก็ต่อเมื่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ได้ปฏิบัติถูกต้องตามวิธีการที่ประกาศดังกล่าวได้กำหนดไว้แล้ว
การที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 ในฐานะคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์สั่งให้โจทก์ปฏิบัติตามคำวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการ ย่อมเป็นการโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำชี้ขาดของจำเลยได้
การที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 ในฐานะคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์สั่งให้โจทก์ปฏิบัติตามคำวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการ ย่อมเป็นการโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำชี้ขาดของจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1290/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสมบูรณ์ของฟ้องคดีลักทรัพย์ การระบุชื่อเจ้าของทรัพย์ และการอนุโลมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ในคดีลักทรัพย์ ฟ้องโจทก์ย่อมต้องระบุชื่อเจ้าของทรัพย์เพื่อจำเลยจะต่อสู้คดีได้ แต่กฎหมายก็มิได้บังคับเด็ดขาดว่าต้องระบุชื่อเสมอไปคดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องครบถ้วนขาดแต่ชื่อเจ้าของทรัพย์เท่านั้น แต่เมื่ออ่านคำฟ้องโดยตลอดก็พอจะทราบได้ว่าเจ้าของทรัพย์เป็นผู้ใด เพราะในตอนท้ายได้กล่าวไว้ว่าระหว่างสอบสวนจำเลยถูกควบคุมตัวอยู่ตามหมายขังของศาลชั้นต้นในคดีอาญาหมายเลขดำที่ พ.643/2519 ซึ่งพอจะอนุโลมได้ว่าเป็นส่วนประกอบของคำฟ้อง และปรากฏว่าในคดีที่ขอฝากขังดังกล่าวนั้นได้ระบุชื่อเจ้าของทรัพย์ไว้ด้วย จำเลยน่าจะเข้าใจได้ดีว่าทรัพย์ตามที่โจทก์ฟ้องเป็นของผู้ใด ฟ้องของโจทก์จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10840/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญา: การขาดนัดยื่นคำให้การและการใช้บทบัญญัติมาตรา 198 วรรคสองโดยอนุโลม
การดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางต้องใช้ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 และข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2540 เป็นหลัก ส่วนกฎหมายวิธีพิจารณาความฉบับอื่นๆ ที่ใช้กับคดีแพ่งและคดีอาญาโดยทั่วไปจะนำมาใช้ในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางต่อเมื่อไม่มีบทบัญญัติในพระราชบัญญัติและข้อกำหนดดังกล่าวบัญญัติหรือกำหนดไว้โดยเฉพาะ ทั้งการนำมาใช้ก็เป็นการใช้โดยอนุโลมอีกด้วย
กรณีที่จำเลยที่ 3 ไม่ได้ยื่นคำให้การนั้น ข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2540 บัญญัติไว้เพียงข้อเดียว ได้แก่ข้อ 11 ดังกล่าว กล่าวคือ ในคดีของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง จำเลยที่ 3 จะขาดนัดยื่นคำให้การ นอกจากจำเลยที่ 3 มิได้ยื่นคำให้การภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้แล้ว ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางต้องมีคำสั่งแสดงว่าจำเลยที่ 3 ขาดนัดยื่นคำให้การด้วย ต่างกับการขาดนัดยื่นคำให้การในคดีแพ่งทั่วไปที่เป็นการขาดนัดยื่นคำให้การโดยผลของกฎหมาย ศาลไม่ต้องมีคำสั่ง และหลังจากศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งว่าจำเลยที่ 3 ขาดนัดยื่นคำให้การแล้ว ไม่มีข้อกำหนดว่าจะต้องดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างไรต่อไป จึงต้องนำ ป.วิ.พ. มาตรา 198 และมาตราต่อไปมาใช้บังคับโดยอนุโลม เมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางยังไม่ได้มีคำสั่งว่า จำเลยที่ 3 ขาดนัดยื่นคำให้การ จึงจะนำบทบัญญัติมาตรา 198 วรรคสอง มาใช้บังคับยังมิได้
กรณีที่จำเลยที่ 3 ไม่ได้ยื่นคำให้การนั้น ข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2540 บัญญัติไว้เพียงข้อเดียว ได้แก่ข้อ 11 ดังกล่าว กล่าวคือ ในคดีของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง จำเลยที่ 3 จะขาดนัดยื่นคำให้การ นอกจากจำเลยที่ 3 มิได้ยื่นคำให้การภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้แล้ว ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางต้องมีคำสั่งแสดงว่าจำเลยที่ 3 ขาดนัดยื่นคำให้การด้วย ต่างกับการขาดนัดยื่นคำให้การในคดีแพ่งทั่วไปที่เป็นการขาดนัดยื่นคำให้การโดยผลของกฎหมาย ศาลไม่ต้องมีคำสั่ง และหลังจากศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งว่าจำเลยที่ 3 ขาดนัดยื่นคำให้การแล้ว ไม่มีข้อกำหนดว่าจะต้องดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างไรต่อไป จึงต้องนำ ป.วิ.พ. มาตรา 198 และมาตราต่อไปมาใช้บังคับโดยอนุโลม เมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางยังไม่ได้มีคำสั่งว่า จำเลยที่ 3 ขาดนัดยื่นคำให้การ จึงจะนำบทบัญญัติมาตรา 198 วรรคสอง มาใช้บังคับยังมิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10840/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินคดีทรัพย์สินทางปัญญา: การขาดนัดยื่นคำให้การ และการใช้บทบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งโดยอนุโลม
การดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางต้องใช้ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 และข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2540 เป็นหลัก ส่วนกฎหมายวิธีพิจารณาความฉบับอื่น ๆ ที่ใช้กับคดีแพ่งและคดีอาญาโดยทั่วไปจะนำมาใช้ในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางต่อเมื่อไม่มีบทบัญญัติในพระราชบัญญัติและข้อกำหนดดังกล่าวบัญญัติหรือกำหนดไว้โดยเฉพาะ ทั้งการนำมาใช้ก็เป็นการใช้โดยอนุโลมอีกด้วย เมื่อการดำเนินกระบวนพิจารณาในกรณีที่จำเลยที่ 3 ขาดนัดยื่นคำให้การ มีข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2540 ข้อ 11 กำหนดไว้ว่า ในคดีที่จำเลยที่ 3 ขาดนัดยื่นคำให้การ โดยมิได้ยื่นคำให้การภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางต้องมีคำสั่งแสดงว่าจำเลยที่ 3 ขาดนัดยื่นคำให้การด้วย ต่างกับการขาดนัดยื่นคำให้การในคดีแพ่งทั่วไปที่เป็นการขาดนัดยื่นคำให้การโดยผลของกฎหมาย ศาลไม่ต้องมีคำสั่ง และหลังจากศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งว่าจำเลยที่ 3 ขาดนัดยื่นคำให้การแล้ว ไม่มีข้อกำหนดว่าจะต้องดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างไรต่อไป จึงต้องนำ ป.วิ.พ. มาตรา 198 และมาตราต่อไปมาใช้บังคับโดยอนุโลม แต่สำหรับคดีนี้ เนื่องจากศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางยังไม่ได้มีคำสั่งว่า จำเลยที่ 3 ขาดนัดยื่นคำให้การ จึงจะนำบทบัญญัติมาตรา 198 วรรคสอง มาใช้บังคับยังมิได้