คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ออกจากงาน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 15 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 680/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งความเท็จและการเลิกจ้าง: การออกจากงานโดยสมัครใจไม่ใช่การเลิกจ้าง และสิทธิในเงินโบนัส
กรรมการผู้จัดการของบริษัทนายจ้างแจ้งความกล่าวหาลูกจ้างว่าลักทรัพย์จนลูกจ้างถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับไปคุมขังและถูกฟ้องอาญา แต่ศาลพิพากษาคดีถึงที่สุด ว่าลูกจ้างไม่ได้กระทำความผิด แม้การกล่าวหานั้นจะปราศจากมูลความจริง ลูกจ้างก็ถูกจับและควบคุมไว้ไม่ได้ทำงาน 5 วันไม่ถึง 7 วันทำงานติดต่อกัน เมื่อลูกจ้างมีประกันตัวมาก็ไม่กลับเข้าทำงาน โดยไม่ปรากฏว่านายจ้างไม่ยอมให้ลูกจ้างทำงานหรือกลั่นแกล้งประการอื่น เป็นกรณีที่ลูกจ้างไม่ทำงานกับนายจ้างต่อไปโดยความสมัครใจของลูกจ้างเอง มิใช่เหตุเพราะนายจ้างเลิกจ้าง ลูกจ้างไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยโดยที่ไม่มีระเบียบข้อบังคับกำหนดไว้เป็นหนังสือเกี่ยวกับการจ่ายเงินโบนัส เป็นแต่นายจ้างเคยจ่ายเงินโบนัสให้แก่ลูกจ้างเท่ากับอัตราค่าจ้าง 1 เดือน เมื่อสิ้นปี แสดงว่านายจ้างจะจ่ายเงินโบนัสให้ต่อเมื่อลูกจ้างผู้นั้นยังคงทำงานเป็นลูกจ้างของจำเลยถึงสิ้นปี เมื่อลูกจ้างออกจากงานไปเสียก่อนสิ้นปี ทั้งไม่ปรากฏว่านายจ้างต้องจ่ายเงินโบนัส แม้ลูกจ้างจะออกไปในระหว่างปีโดยคำนวณตามระยะของการทำงานหรือผลงานแล้ว ลูกจ้างก็ไม่มีสิทธิได้รับเงินโบนัสจากนายจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 829/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าสินไหมทดแทนกรณีละเมิดทางร่างกาย ครอบคลุมค่ารักษาพยาบาล ค่าเสียโอกาสในการทำงาน และค่าเสียหายจากการออกจากงาน
ในกรณีทำให้เสียหายแก่ร่างกายนั้น ค่าสินไหมทดแทนได้แก่ค่ารักษาพยาบาลรวมทั้งค่าเสียหายที่ต้องขาดประโยชน์ทำมาหาได้เพราะไม่สามารถประกอบการงาน และค่าเสียหายเพื่อการที่เสียความสามารถประกอบการงานสิ้นเชิงหรือแต่บางส่วนทั้งในปัจจุบันและในเวลาอนาคตด้วย การที่โจทก์ต้องถูกออกจากราชการก่อนถึงกำหนดเกษียณอายุ เพราะเสียความสามารถประกอบการงาน ทำให้เสียอาชีพขาดประโยชน์ทำมาหาได้ตามปกติไป ต้องถือว่าเป็นค่าเสียหายตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ ผู้ละเมิดจำต้องใช้ค่าเสียหายที่ขาดประโยชน์ทำมาหาได้นี้
ค่าสินไหมทดแทนในกรณีละเมิดจะพึงให้ใช้เพียงใด ศาลวินิจฉัยได้ตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9038/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกเว้นภาษีเงินได้จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพกรณีออกจากงานก่อนเกษียณ โดยความตกลงของทั้งสองฝ่าย
แม้ตามข้อบังคับธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการพนักงาน พ.ศ.2532 กำหนดเวลาจ้างแรงงานไว้ในข้อ 26 ว่า พนักงานคนใดมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ ให้พ้นจากตำแหน่งเพราะครบเกษียณอายุเมื่อสิ้นปีงบประมาณก็ตาม แต่ก็ยังสามารถตกลงเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการจ้าง การทำงานและการเลิกจ้างได้ การที่โจทก์ออกจากงานก่อนกำหนดดังกล่าวตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ พ 27/2550 เรื่องการออกจากงานโดยความเห็นชอบร่วมกัน พ.ศ.2550 นั้น เป็นการเลิกสัญญาจ้างกันโดยความตกลงกันของทั้งสองฝ่ายที่เป็นลายลักษณ์อักษรในภายหลัง หาใช่เป็นการทำข้อตกลงให้โจทก์ลาออกในกรณีปกติตามข้อบังคับธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการพนักงาน พ.ศ.2532 ข้อ 19 (2) ไม่ จึงถือว่าโจทก์ออกจากงานเพราะสิ้นกำหนดเวลาทำงานตามสัญญาจ้างแรงงานที่เป็นลายลักษณ์อักษร ตามหลักเกณฑ์กรณีเกษียณอายุในข้อ 1 (1) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 52) ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 151 และ 158) แล้ว เมื่อขณะออกจากงานโจทก์มีอายุ 58 ปี และเข้าเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี เงินได้ที่โจทก์ได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพย่อมได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามข้อ 2 (36) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ.2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร และประกาศอธิบดีเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 52) ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 151 และ 158)
ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 4 ทศ โจทก์มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 1 ต่อเดือน และมีสิทธิเริ่มคิดดอกเบี้ยก่อนฟ้องได้ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 161 (พ.ศ.2526) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการให้ดอกเบี้ยแก่ผู้ได้รับคืนเงินภาษีอากร แต่เมื่อโจทก์ขอให้จำเลยรับผิดใช้ดอกเบี้ยเพียงอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้อง จึงให้เท่าที่โจทก์ขอ แต่ไม่เกินจำนวนเงินภาษีอากรที่โจทก์ได้รับคืนตามมาตรา 4 ทศ วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8238/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกเว้นภาษีเงินได้จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพกรณีเกษียณอายุหรือออกจากงานตามระเบียบ ธปท. ที่ พ 42/2547
ระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ พ 42/2547 เรื่อง การออกจากงานโดยความเห็นชอบร่วมกัน พ.ศ.2547 - 2550 คือข้อกำหนดส่วนหนึ่งในหลักเกณฑ์การเกษียณอายุงาน อันเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์การเกษียณอายุงานเพิ่มเติมจากที่กำหนดให้เกษียณเมื่ออายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ เป็นเกษียณอายุเมื่ออายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ หรือเกษียณอายุงานก่อนอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ได้ เมื่อโจทก์ใช้สิทธิตามระเบียบนี้ ย่อมถือได้ว่าเป็นการเกษียณอายุโดยการออกจากงานเมื่อสิ้นกำหนดเวลาการทำงานตามสัญญาจ้างแรงงาน โจทก์มีอายุไม่ต่ำกว่า 55 ปีบริบูรณ์ และเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเกินกว่า 5 ปี เงินได้ที่ได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพย่อมได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
โจทก์ฟ้องขอคืนเงินค่าภาษีอากรที่ถูกหัก ณ ที่จ่าย เป็นเงิน 1,649,849.07 บาท แต่โจทก์อุทธรณ์ขอให้จำเลยคืนเงินค่าภาษีอากรส่วนที่โจทก์ต้องชำระเพิ่มขึ้นตามอัตราภาษีที่สูงขึ้นเป็นเงิน 482,297 บาท อุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลางตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 29 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8237/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกเว้นภาษีเงินได้จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กรณีออกจากงานก่อนเกษียณตามข้อตกลงร่วม
แม้ตามข้อบังคับธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการพนักงาน พ.ศ.2532 กำหนดเวลาการจ้างแรงงานไว้ในข้อ 26 ว่า พนักงานคนใดมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ ให้พ้นจากตำแหน่งเพราะครบเกษียณอายุเมื่อสิ้นปีงบประมาณ ก็ตาม แต่ก็ยังสามารถตกลงเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการจ้าง การทำงานและการเลิกจ้างได้ การที่โจทก์ออกจากงานก่อนกำหนดดังกล่าวตามข้อบังคับธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการออกจากงานโดยความเห็นชอบร่วมกัน พ.ศ.2544 เป็นการเลิกสัญญาจ้างกันโดยความตกลงกันของทั้งสองฝ่ายที่เป็นลายลักษณ์อักษรในภายหลัง หาใช่เป็นการทำข้อตกลงให้โจทก์ลาออกในกรณีปกติตามข้อบังคับธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการพนักงาน พ.ศ.2532 ข้อ 19 (2) ไม่ จึงถือว่าโจทก์ออกจากงานเพราะสิ้นกำหนดเวลาทำงานตามสัญญาจ้างแรงงานที่เป็นลายลักษณ์อักษร ตามหลักเกณฑ์กรณีเกษียณอายุในข้อ 1 (1) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 52) ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 151 และ 158) แล้ว เมื่อขณะออกจากงานโจทก์มีอายุ 59 ปี และเข้าเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี เงินได้ที่โจทก์ได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพย่อมได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามข้อ 2 (36) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ.2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากรและประกาศอธิบดีเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 52) ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 151 และ 158)
of 2