คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
อัตราดอกเบี้ย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 317 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 905/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยตามสัญญาไม่เป็นเบี้ยปรับ แม้มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง
ข้อตกลงตามสัญญากู้เงินระบุไว้ชัดเจนว่าผู้กู้ยอมเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี หรือตามอัตราดอกเบี้ยใหม่ ซึ่งผู้ให้กู้อาจเปลี่ยนแปลงสูงขึ้นหรือต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยที่กำหนดไว้ข้างต้นนี้ ดังนั้น โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยทั้งสองในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ตามสัญญาได้อยู่แล้ว ไม่ว่าจำเลยทั้งสองในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ตามสัญญาได้อยู่แล้ว ไม่ว่าจำเลยทั้งสองจะผิดนัดหรือไม่ก็ตาม ข้อตกลงดังกล่าวมิใช่เป็นการกำหนดค่าเสียหายกันไว้ล่วงหน้าหากไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควรจึงไม่ใช่เบี้ยปรับ แม้ทางปฏิบัติโจทก์จะยอมผ่อนผันให้โดยคิดดอกเบี้ยไม่ถึงอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ตามที่ตกลงกันไว้ และต่อมาโจทก์ได้ปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยอีกหลายครั้งจนครั้งสุดท้ายจากอัตราร้อยละ 6 ต่อปี เป็นอัตราร้อยละ 13.5 ต่อปี ก็ไม่ทำให้สิทธิของโจทก์ที่จะเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยทั้งสองในอัตราที่ไม่เกินกว่าที่กำหนดไว้ตามสัญญากลายเป็นเบี้ยปรับไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7290/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับโรงงานน้ำตาล: ความเป็นหนี้ทางแพ่ง, ดุลพินิจการปรับ, อัตราดอกเบี้ยตามกฎหมาย
จำเลยไม่นำเงินค่าธรรมเนียมการขายอ้อยและน้ำตาลทรายจำนวน 972,303.26 บาท ซึ่งได้รับคืนจากกรมสรรพากรเพื่อไปชำระให้แก่กองทุนโจทก์ตามระเบียบคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายฉบับที่ 4 และที่ 5 ว่าด้วยการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจากการขายอ้อยและน้ำตาลทราย อันเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อ 5 (12) ของระเบียบคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายว่าด้วยเบี้ยปรับสำหรับโรงงานน้ำตาลทรายที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศ ระเบียบ หรือ พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ.2527 ฉบับที่ 1 พ.ศ.2528 คณะกรรมการบริหารจึงมีอำนาจสั่งให้จำเลยชำระเบี้ยปรับได้ โดยให้พิจารณาเบี้ยปรับตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในข้อ 7 ซึ่งเบี้ยปรับตามระเบียบดังกล่าวข้อ 3 หมายความว่าเป็นเงินค่าปรับที่คณะกรรมการบริหารกำหนดให้โรงงานซึ่งปฏิบัติฝ่าฝืนระเบียบนี้ชำระให้แก่กองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย ดังนี้เบี้ยปรับจึงไม่ใช่ค่าปรับอันเป็นโทษทางอาญา เพราะเบี้ยปรับดังกล่าวเป็นการกำหนดความรับผิดในทางแพ่งสำหรับโรงงานที่ฝ่าฝืนจะนำไปเปรียบกับค่าปรับทางอาญาไม่ได้ นอกจากนี้ เบี้ยปรับกรณีเช่นนี้ไม่ใช่เบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เพราะเป็นการกระทำโดยคณะกรรมการบริหารอันมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับทางปกครอง มิใช่เบี้ยปรับเพราะเหตุผิดสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ซึ่งเป็นเรื่องของคู่สัญญาซึ่งเป็นเจ้าหนี้กับลูกหนี้ทำสัญญาไว้ต่อกันว่าลูกหนี้จะใช้เงินจำนวนหนึ่งเป็นเบี้ยปรับเมื่อตนไม่ชำระหนี้หรือไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องตามสมควร ดังบัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 379 ถึง 385 และเบี้ยปรับที่คณะกรรมการของโจทก์กำหนดให้จำเลยนำไปชำระถือว่าเป็นหนี้อย่างหนึ่งไม่ว่าโจทก์จะเสียหายจริงหรือไม่ โจทก์ย่อมเรียกเบี้ยปรับได้
ระเบียบคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายว่าด้วยเบี้ยปรับสำหรับโรงงานน้ำตาลทรายที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศ ระเบียบหรือ พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ.2527 ฉบับที่ 1 พ.ศ.2528 ข้อ 6 ข้อ 7 และข้อ 8 ให้คณะกรรมการบริหารพิจารณาและคิดเบี้ยปรับเอาจากโรงงานที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศ ระเบียบหรือ พระราชบัญญัติดังกล่าว คำว่า "พิจารณา" และคำว่า "คิด" มีความหมายให้ใคร่ครวญหรือไตร่ตรองหรือตรวจตราก่อน ดังนั้น จึงเป็นดุลพินิจของคณะกรรมการบริหารที่จะสั่งปรับหรือไม่ปรับก็ได้ ทั้งนี้อยู่ที่ข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ของโรงงานที่ทำการฝ่าฝืนระเบียบเป็นเรื่องๆไป
ดอกเบี้ยตาม พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทรายไม่กำหนดไว้ว่ามีอัตราสูงสุดเท่าใดใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มีเฉพาะกรณีกู้ยืมเงินตามมาตรา 654 เท่านั้นที่ให้คิดดอกเบี้ยได้ไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปี กรณีอื่นๆนอกนั้นไม่มีกำหนดอัตราสูงสุดไว้เลย ดังนั้น อัตราดอกเบี้ยสูงสุดตามกฎหมายจึงเป็นอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6695/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคิดดอกเบี้ยผิดสัญญา: ศาลฎีกาแก้ไขคำพิพากษาให้คิดดอกเบี้ยตามอัตราที่ตกลงกัน แม้จำเลยมิได้อุทธรณ์
ตามคำฟ้องของโจทก์ปรากฏว่า การคิดดอกเบี้ยของโจทก์ตามสัญญาทรัสต์รีซีทและตั๋วแลกเงิน เป็นการคิดในอัตราสินเชื่อผิดนัด แต่อัตราดอกเบี้ยที่ระบุไว้ในสัญญาทรัสต์รีซีทเป็นอัตราดอกเบี้ยไม่ผิดนัด โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ผู้ทำสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตและสัญญาทรัสต์รีซีทกับโจทก์และจากจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ในฐานะผู้ค้ำประกันการชำระหนี้ตามสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตและสัญญาทรัสต์รีซีทในอัตราดอกเบี้ยไม่ผิดนัด การที่โจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ในอัตราสินเชื่อผิดนัดตามประกาศธนาคารโจทก์เอกสารหมาย จ. 58 เป็นการคิดดอกเบี้ยผิดไปจากสัญญาที่ระบุไว้โดยไม่มีสิทธิที่จะคิดได้โดยชอบ จึงเป็นการคิดดอกเบี้ยโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยที่ 1 มิได้อุทธรณ์ แต่ศาลฎีกาแผนกทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขเสียให้ถูกต้อง ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบด้วยมาตรา 26 และ ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5684/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับจากสัญญาเงินกู้, อัตราดอกเบี้ยสูงสุด, และอำนาจศาลในการลดเบี้ยปรับ
ตามหนังสือสัญญากู้เงินระหว่างบริษัทเงินทุนโจทก์กับจำเลยในข้อ 3 วรรคหนึ่ง ระบุว่า ผู้กู้ตกลงชำระดอกเบี้ยให้ผู้ให้กู้ในอัตราร้อยละ 13.25 ต่อปี และวรรคสองระบุว่า อัตราดอกเบี้ยตามวรรคหนึ่ง ผู้ให้กู้มีสิทธิเปลี่ยนแปลงให้สูงขึ้นหรือต่ำลงได้โดยไม่ต้องแจ้งให้ผู้กู้ทราบล่วงหน้า แต่ต้องไม่เกินอัตราดอกเบี้ยที่กฎหมายกำหนดไว้ ข้อ 7 ระบุว่า ในกรณีดังต่อไปนี้ ให้ถือว่าผู้กู้ตกเป็นผู้ผิดนัดชำระหนี้อันเป็นเหตุให้ผู้ให้กู้มีสิทธิดำเนินการตามข้อ 8 และข้อ 8 ระบุว่าในกรณีที่ผู้กู้ตกเป็นผู้ผิดนัดผิดสัญญาดังกล่าวในข้อ 7 ผู้กู้ยินยอมให้ผู้ให้กู้คิดดอกเบี้ยในต้นเงินที่ค้างชำระในอัตราสูงสุดที่ผู้ให้กู้ได้มีประกาศกำหนดให้เรียกเก็บจากผู้กู้ยืมได้ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย นับตั้งแต่วันที่ผู้กู้ตกเป็นผู้ผิดนัดผิดสัญญาข้อตกลงตามข้อ 7 และข้อ 8 มีลักษณะเป็นการกำหนดเพื่อทดแทนค่าเสียหายของโจทก์ล่วงหน้าสำหรับกรณีเมื่อจำเลยตกเป็นผู้ผิดนัดผิดสัญญาที่ไม่ผ่อนชำระเงินกู้ให้แก่โจทก์ จึงมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ มิใช่เป็นกรณีที่โจทก์ใช้สิทธิที่จะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นในกรณีปกติตามที่กำหนดไว้ในข้อ 3 วรรคสอง
จำนองเป็นเพียงอุปกรณ์ของหนี้ที่เป็นประกัน การที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้จะมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยในหนี้ที่มีจำนองนั้นเป็นประกันในอัตราเพียงใด จึงขึ้นอยู่กับหนี้ที่จำนองนั้นเป็นประกันหรือหนี้ประธาน โจทก์จึงไม่อาจนำอัตราดอกเบี้ยตามสัญญาจำนองมาใช้เรียกจำเลยได้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 เพียงแต่กำหนดให้ศาลมีอำนาจลดเบี้ยปรับลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ ถ้าเบี้ยปรับที่ริบนั้นสูงเกินส่วน แต่การที่ศาลชั้นต้นกำหนดเบี้ยปรับให้ลดลงเหลืออัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ตามปกติที่โจทก์มีสิทธิเรียกได้ตามสัญญาคืออัตราร้อยละ 13.25 ต่อปี จึงมีผลเป็นการงดเบี้ยปรับเสียทั้งหมด จึงไม่ชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าว
การที่จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาหาได้มีผลเป็นการยอมรับว่าเป็นหนี้โจทก์ตามฟ้องไม่ โจทก์ยังมีหน้าที่ที่จะนำสืบหรือแสดงพยานหลักฐานให้ศาลเห็นว่าคดีโจทก์มีมูลที่จะเรียกให้จำเลยรับผิดตามฟ้องได้โดยไม่ขัดต่อกฎหมายด้วยและศาลก็ชอบที่จะพิพากษาให้โจทก์ได้รับชำระหนี้ตามจำนวนที่โจทก์พึงมีสิทธิที่จะได้รับชำระจากจำเลยได้ตามกฎหมายเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4918/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงอัตราดอกเบี้ยในสัญญากู้เงิน: ความชอบธรรมและการบังคับใช้ตามประกาศกระทรวงการคลัง
สัญญากู้เงินระบุข้อตกลงว่าผู้กู้ยอมเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปีหรือตามอัตราดอกเบี้ยใหม่ ซึ่งผู้ให้กู้อาจเปลี่ยนแปลงสูงขึ้นหรือต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยที่กำหนดไว้และผู้กู้ยินยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่ผู้ให้กู้ในอัตราดอกเบี้ยใหม่ตามประกาศของธนาคารโจทก์ ข้อตกลงดังกล่าวกำหนดให้โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ในระหว่างสัญญาโดยอนุวัตตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกำหนดสถาบันการเงินและอัตราดอกเบี้ยที่สถาบันการเงินอาจคิดได้จากผู้กู้ยืม (ฉบับที่ 5) ฯ ที่กำหนดให้โจทก์เรียกดอกเบี้ยจากผู้กู้ยืมได้ในอัตราสูงสุดไม่เกินร้อยละ 19 ต่อปี โดยไม่มีข้อกำหนดให้ต้องประกาศกำหนดอัตราดอกเบี้ยแต่ประการใด อัตราดอกเบี้ยตามที่โจทก์และจำเลยตกลงกันตามสัญญากู้เงินไม่เกินกว่าอัตราดอกเบี้ยที่โจทก์มีสิทธิคิดจากจำเลยได้ตามประกาศกระทรวงการคลังดังกล่าว การทำสัญญากู้เงินของโจทก์และจำเลยเป็นไปตามเจตนาของคู่สัญญาและอยู่ในกรอบที่ประกาศกระทรวงการคลังกำหนดจึงไม่ตกเป็นโมฆะ และแม้ขณะทำสัญญากู้เงินดังกล่าวจะมีประกาศของโจทก์เรื่องอัตราดอกเบี้ยเงินกู้กำหนดอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าอัตราที่ระบุไว้ในสัญญากู้เงิน ซึ่งโจทก์จะคิดดอกเบี้ยจากจำเลยเกินกว่าประกาศของโจทก์ไม่ได้ก็ตาม ก็ได้ความว่าในทางปฏิบัติจริงโจทก์คิดดอกเบี้ยและปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยอยู่ภายในกรอบแห่งประกาศธนาคารโจทก์และประกาศกระทรวงการคลัง การคิดดอกเบี้ยของโจทก์จึงไม่ขัดต่อกฎหมายและมีผลบังคับกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4918/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้เงิน, อัตราดอกเบี้ย, การปรับเปลี่ยนดอกเบี้ย, กรอบกฎหมาย, การบังคับชำระหนี้
หนังสือสัญญากู้เงินระบุว่า ผู้กู้ยินยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่ผู้ให้กู้เป็นรายเดือนในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี หรือตามอัตราดอกเบี้ยใหม่ซึ่งผู้ให้กู้อาจเปลี่ยนแปลงสูงขึ้นหรือต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยที่กำหนดไว้ข้างต้นนี้ และผู้กู้ยินยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่ผู้ให้กู้ในอัตราดอกเบี้ยใหม่ตามประกาศธนาคาร สัญญาข้อนี้เป็นขอตกลงให้โจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยได้ในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ในระหว่างสัญญาโดยอนุวัตตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่องการกำหนดสถานบันการเงินและอัตราดอกเบี้ยที่สถาบันการเงินอาจคิดได้จากผู้กู้ยืม (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2535 ที่กำหนดให้ธนาคารโจทก์เรียกดอกเบี้ยจากผู้กู้ได้ในอัตราสูงสุดไม่เกินร้อยละ 19 ต่อปี โดยไม่มีข้อกำหนดให้ต้องประกาศกำหนดอัตราดอกเบี้ย อัตราดอกเบี้ยตามที่โจทก์และจำเลยตกลงกันไม่เกินกว่าอัตราดอกเบี้ยที่โจทก์มีสิทธิคิดจากจำเลยได้ตามประกาศกระทรวงการคลังดังกล่าว จึงไม่ตกเป็นโมฆะและแม้จะมีประกาศของโจทก์เรื่องอัตราดอกเบี้ยเงินกู้กำหนดอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าอัตราที่ระบุไว้ในหนังสือสัญญากู้เงิน ซึ่งโจทก์จะคิดดอกเบี้ยจากจำเลยเกินกว่าประกาศของโจทก์ไม่ได้ แต่ในทางปฏิบัติจริงโจทก์คิดดอกเบี้ยและปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยอยู่ภายในกรอบแห่งประกาศธนาคารโจทก์และประกาศกระทรวงการคลัง การคิดดอกเบี้ยของโจทก์จึงไม่ขัดต่อกฎหมายและมีผลบังคับกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4914-4915/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คชำระดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด ไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เช็ค
เช็คทั้งสองฉบับเป็นเช็คที่จำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 สั่งจ่ายชำระค่าผลประโยชน์หรือดอกเบี้ยจากการที่จำเลยที่ 1 นำเช็คไปแลกเงินสดจากโจทก์ร่วมซึ่งคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3 ต่อเดือน ซึ่ง ป.พ.พ. มาตรา 654 กำหนดให้เรียกดอกเบี้ยเงินกู้ได้ไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปีเท่านั้น จึงเป็นการคิดดอกเบี้ยเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้มีความผิดต่อ พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ มาตรา 3 (ก) การออกเช็คทั้งสองฉบับของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดต่อ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4830/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยค่าชดเชยแรงงาน: ศาลยืนตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน อัตรา 15% ต่อปี แม้โจทก์มิได้ขอ
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง กำหนดให้นายจ้างเสียดอกเบี้ยของจำนวนเงินค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละ 15 ต่อปี ไว้โดยเฉพาะแล้ว จึงนำอัตราดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นกฎหมายทั่วไปมาใช้บังคับไม่ได้ ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยจ่ายดอกเบี้ยของจำนวนเงินค่าชดเชยร้อยละ 15 ต่อปี โดยโจทก์มิได้ขอมาในฟ้อง จึงชอบด้วยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 52 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4830/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยค่าชดเชย: พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 9 บังคับใช้โดยตรง ไม่ต้องอ้างอิงอัตราดอกเบี้ยทั่วไป
พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง ได้กำหนดให้นายจ้างเสียดอกเบี้ยของจำนวนเงิน ค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละ 15 ต่อปี ไว้โดยเฉพาะแล้ว จะนำอัตราดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละ 7.5 ต่อปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคแรก ซึ่งเป็นกฎหมายทั่วไปมาใช้บังคับแก่กรณีนี้ไม่ได้ กรณีจึงไม่ใช่ ไม่มีกฎหมายเปิดช่องให้จ่ายดอกเบี้ยของจำนวนเงินค่าชดเชยร้อยละ 15 ต่อปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 470/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยสัญญาเกินอัตราที่ประกาศ หนี้เดิมยังต้องเสียดอกเบี้ยตามกฎหมาย
เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยแล้วว่าโจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี เพราะเกินกว่าอัตราตามประกาศของโจทก์ แต่กลับพิพากษาให้จำเลยรับผิดชำระเงิน 1,300,031.26 บาท ซึ่งมีดอกเบี้ยจำนวน 300,394.17 บาท ที่ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยแล้วว่าตกเป็นโมฆะรวมอยู่ด้วย คำพิพากษาของศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงไม่ถูกต้องเพราะทำให้จำเลยต้องชำระดอกเบี้ยมากไปกว่าที่ต้องรับผิดตามกฎหมายและเกินคำขอ ดังที่โจทก์ฎีกา ปัญหาดังกล่าวจึงเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 5 ย่อมมีอำนาจยกขึ้นปรับแก่คดีได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 243 (1) และมาตรา 246 การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษายกอุทธรณ์ของโจทก์ไปเสียทั้งหมดจึงไม่ชอบ และศาลฎีกาเห็นสมควรพิจารณาพิพากษาไปโดยไม่จำต้องย้อนสำนวน ส่วนดอกเบี้ยแม้โจทก์จะไม่มีสิทธิบังคับตามสัญญาเพราะตกเป็นโมฆะก็ตาม แต่เมื่อเป็นหนี้เงินจำเลยจึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันผิดนัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
of 32