พบผลลัพธ์ทั้งหมด 33 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5167/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาชี้การประเมินภาษีโรงเรือนสูงเกินควร และการคืนเงินภาษีที่ประเมินเกินจริง รวมถึงอำนาจหน้าที่ของผู้ว่าฯ กทม.
การลดค่ารายปีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พุทธศักราช 2475 เป็นวิธีการที่กฎหมายกำหนดหลักเกณฑ์ในการคำนวณภาษีกรณีโรงเรือนถูกทำลาย และยังมิได้ทำขึ้นใหม่เท่านั้น จะตีความเลยไปว่ากฎหมายได้วางหลักเกณฑ์ถึงกำหนดการยื่นรายการเพื่อชำระภาษีด้วยไม่ได้ เพราะตามบทบัญญัติของกฎหมายข้างต้นกรณีทรัพย์ถูกทำลายแล้ว ซ่อมเสร็จในทันใดก็จะลดค่ารายปีลง ดังนั้นการยื่นแบบรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินในปีใดก็เพื่อเสียภาษีในปีนั้น เมื่อปรากฏว่าโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างที่โจทก์ปิดไว้และงดใช้ประโยชน์ตลอดปีภาษีและโรงเรือนที่โจทก์รื้อถอนไปแล้วก่อนปีภาษี โจทก์ย่อมได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินดังที่พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พุทธศักราช 2475 มาตรา 9(5ป บัญญัติไว้การประเมินให้โจทก์เสียภาษีสำหรับโรงเรือนดังกล่าวจึงเป็นการประเมินที่ไม่ชอบ
โรงเรือนที่ใช้เป็นโรงงานในการประกอบอุตสาหกรรมโดยเฉพาะการกำหนดค่ารายปีจึงไม่อาจนำดัชนีค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจซึ่งเป็นค่าเช่าบ้านที่อยู่อาศัยมาเทียบเคียงได้เพราะเป็นโรงเรือนคนละประเภท เมื่อไม่ได้ความว่า จำเลยกำหนดค่ารายปีโดยไม่ได้คำนึงถึงค่ารายปีของปีที่ล่วงมาแล้วเป็นหลักในการคำนวณค่าภาษีซึ่งต้องเสียในปี ต่อมา ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พุทธศักราช 2475 แล้ว การกำหนดค่ารายปีตลอดจนการคำนวณภาษีของจำเลยจึงชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะชี้ขาดการประเมิน เมื่อผู้รับประเมินยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินนั้นใหม่ การที่จำเลยที่ 2 ชี้ขาดว่าการประเมินชอบแล้วให้โจทก์ชำระภาษีตามที่มีการประเมินจึงเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายและเมื่อ ไม่ได้ความว่าจำเลยที่ 2 แกล้งชี้ขาดให้โจทก์ต้องรับผิดต่อจำเลยที่ 1 ค่าภาษีที่โจทก์ชำระก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้รับไดว้ จึงไม่มีเหตุตามกฎหมายที่โจทก์จะฟ้องให้จำเลยที่ 2 ร่วมกับกรุงเทพมหานคร จำเลยที่ 1 รับผิดคืนภาษีที่จำเลยที่ 1 รับชำระไว้ต่อโจทก์ได้
โรงเรือนที่ใช้เป็นโรงงานในการประกอบอุตสาหกรรมโดยเฉพาะการกำหนดค่ารายปีจึงไม่อาจนำดัชนีค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจซึ่งเป็นค่าเช่าบ้านที่อยู่อาศัยมาเทียบเคียงได้เพราะเป็นโรงเรือนคนละประเภท เมื่อไม่ได้ความว่า จำเลยกำหนดค่ารายปีโดยไม่ได้คำนึงถึงค่ารายปีของปีที่ล่วงมาแล้วเป็นหลักในการคำนวณค่าภาษีซึ่งต้องเสียในปี ต่อมา ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พุทธศักราช 2475 แล้ว การกำหนดค่ารายปีตลอดจนการคำนวณภาษีของจำเลยจึงชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะชี้ขาดการประเมิน เมื่อผู้รับประเมินยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินนั้นใหม่ การที่จำเลยที่ 2 ชี้ขาดว่าการประเมินชอบแล้วให้โจทก์ชำระภาษีตามที่มีการประเมินจึงเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายและเมื่อ ไม่ได้ความว่าจำเลยที่ 2 แกล้งชี้ขาดให้โจทก์ต้องรับผิดต่อจำเลยที่ 1 ค่าภาษีที่โจทก์ชำระก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้รับไดว้ จึงไม่มีเหตุตามกฎหมายที่โจทก์จะฟ้องให้จำเลยที่ 2 ร่วมกับกรุงเทพมหานคร จำเลยที่ 1 รับผิดคืนภาษีที่จำเลยที่ 1 รับชำระไว้ต่อโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3361/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกเว้นภาษีการค้าตาม พรฎ.ฉบับ 54 พ.ศ.2517 ต้องเป็นไปตามบัญชีอัตราภาษีที่กำหนด แม้ไม่มีข้อจำกัดเส้นผ่าศูนย์กลางก็ต้องเสียภาษี
พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นภาษีการค้า (ฉบับที่ 54) พ.ศ. 2517 มิใช่บทบัญญัติที่ให้อำนาจเจ้าพนักงานที่จะใช้ดุลพินิจเรียกเก็บหรือไม่เรียกเก็บภาษีการค้าจากสินค้าประเภทที่นอกเหนือไปจากที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกา การขายสินค้าที่จะได้รับยกเว้นภาษีการค้าตามพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าว มาตรา 5(8) จะต้องเป็นการขายสินค้า ตามประเภทการค้าที่ 1 ชนิด 1 ก. ของบัญชีอัตราภาษีการค้าเฉพาะที่ผลิตในราชอาณาจักรและมิได้ระบุในบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกา เมื่อ "เหล็กเส้น" เป็นสินค้าในบัญชีที่ 1 หมวด 4 วัตถุก่อสร้างและเครื่องเรือน (4)ท้ายพระราชกฤษฎีกาโดยบัญชีดังกล่าวมิได้กำหนดว่าเหล็กเส้นนั้นจะต้องมีเส้นผ่าศูนย์กลางเท่าไร ดังนั้น แม้เหล็กเส้นที่โจทก์ผลิตจำหน่ายจะมีเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 1 นิ้วขึ้นไป โจทก์ก็มิได้รับยกเว้นภาษีการค้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2402/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานบริการอาบน้ำนวด/อบตัว: การประเมินภาษีการค้าตามบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภท 4 ชนิด 2
โจทก์ประกอบกิจการเปิดบริการลูกค้ารวม 5 ประเภท ได้แก่การบริหารร่างกาย อบ ตัวด้วยไอน้ำแบบซาวน่า กระชับกล้ามเนื้อด้วยไฟฟ้าเรียกว่า เอส.ซี. ลดตะโพกด้วยเครื่องสั่นและลดหน้าท้องเรียกว่า อาร์.ซี. และนวด ในสถานที่แห่งเดียวกันโดยคิดค่าบริการรวมกันตามจำนวนครั้งที่มารับบริการ กิจการของโจทก์ถือได้ว่าเป็นการให้บริการในสถานอาบน้ำ นวด หรืออบ ตัวตามกฎหมายว่าด้วยสถานบริการหรือสถานนวด หรืออบ ตัวอย่างอื่นตามความหมายในบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 4 ชนิด 2 โจทก์จะต้องเสียภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 10ของรายรับ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2224/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินเพื่อขายต่อเข้าข่ายค้าอสังหาริมทรัพย์ ต้องเสียภาษีการค้าตามอัตราที่กำหนด
การที่โจทก์ซึ่งเป็นบริษัทเงินทุนได้ซื้อที่ดินที่ตน รับจำนองไว้จากลูกค้าจากการขายทอดตลาดในราคา 3,500,000 บาท โดยทราบดีว่าต้องขายต่อ และหลังจากนั้นเพียง 8 วันโจทก์ได้ขายต่อให้บริษัทในเครือในราคาถึง 7,000,000 บาท ถือได้ว่าโจทก์ขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร เข้าลักษณะเป็นการประกอบการค้าตามประเภทการค้า 11 การค้าอสังหาริมทรัพย์ แห่งบัญชีอัตราภาษีการค้าตามป.รัษฎากร โจทก์จึงต้องนำรายรับมาเสียภาษีการค้าในอัตราร้อยละ3.5 ของรายรับ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2297/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีภาษีอากรเกิดเมื่อมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับอัตราภาษีและประเภทสินค้าที่ต้องเสียภาษี
โจทก์นำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรไทยโจทก์ยื่น รายการเสียภาษีการค้าตามใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้า สำหรับสินค้ารายพิพาทในอัตราร้อยละ 1.5 ของรายรับ โดยขอวางหลักประกันภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 7.0 ของรายรับและ ทำหนังสือขอให้นำเรื่องเสนอต่อ คณะเจ้าหน้าที่ประสานงานภาษีการค้าพิจารณาเกี่ยวกับอัตราภาษีการค้า ถ้าโจทก์ไม่วางหลักประกันจำเลยที่ 1 ก็ไม่ยอมปล่อยให้โจทก์นำเข้าซึ่งสินค้ารายพิพาทเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ได้เขียนสั่งการไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้า ของโจทก์ให้โจทก์วางหลักประกันภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 7.0 แล้วส่งเรื่องให้คณะเจ้าหน้าที่ประสานงานภาษีการค้าพิจารณาดังนี้ถือได้ว่ามีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับภาษีการค้าสำหรับสินค้า รายพิพาทเกิดขึ้นแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 โจทก์มีอำนาจฟ้อง
กระดาษลายน้ำมีตรานกวายุภักษ์ในวงกลมและพิมพ์ข้อความเป็นภาษาอังกฤษว่า THAI LOTTERY เป็นกระดาษลายน้ำมิใช่เอกสารหรือสิ่งตีพิมพ์ต้องเสียภาษีการค้าอัตราร้อยละ 7.0 ของรายรับตามบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 1 ชนิด 1 แห่ง ประมวลรัษฎากรหาใช่เสียภาษีการค้าอัตราร้อยละ 1.5 ของรายรับ ตามบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 1 ชนิด 6 ไม่
กระดาษลายน้ำมีตรานกวายุภักษ์ในวงกลมและพิมพ์ข้อความเป็นภาษาอังกฤษว่า THAI LOTTERY เป็นกระดาษลายน้ำมิใช่เอกสารหรือสิ่งตีพิมพ์ต้องเสียภาษีการค้าอัตราร้อยละ 7.0 ของรายรับตามบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 1 ชนิด 1 แห่ง ประมวลรัษฎากรหาใช่เสียภาษีการค้าอัตราร้อยละ 1.5 ของรายรับ ตามบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 1 ชนิด 6 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2297/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีภาษี: การโต้แย้งอัตราภาษีและการวางหลักประกันก่อนมีคำชี้ขาด
โจทก์นำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรไทยโจทก์ยื่น รายการเสียภาษีการค้าตามใบขนสินค้าขาเข้าและ แบบแสดงรายการการค้า สำหรับสินค้ารายพิพาทในอัตราร้อยละ 1.5 ของรายรับ โดยขอ วางหลักประกันภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 7.0 ของรายรับและ ทำหนังสือขอให้นำเรื่องเสนอต่อ คณะเจ้าหน้าที่ประสานงานภาษีการค้าพิจารณาเกี่ยวกับอัตราภาษีการค้าถ้าโจทก์ไม่วางหลักประกันจำเลยที่ 1 ก็ไม่ยอมปล่อยให้โจทก์นำเข้าซึ่งสินค้ารายพิพาทเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ได้เขียนสั่งการไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้า ของโจทก์ให้โจทก์วางหลักประกันภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 7.0 แล้วส่งเรื่องให้คณะเจ้าหน้าที่ประสานงานภาษีการค้าพิจารณาดังนี้ถือได้ว่ามีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับภาษีการค้าสำหรับสินค้า รายพิพาทเกิดขึ้นแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 โจทก์มีอำนาจฟ้อง
กระดาษลายน้ำมีตรานกวายุภักษ์ในวงกลมและพิมพ์ข้อความเป็นภาษาอังกฤษว่า THAILOTTERY เป็นกระดาษลายน้ำมิใช่เอกสารหรือสิ่งตีพิมพ์ต้องเสียภาษีการค้าอัตราร้อยละ 7.0 ของรายรับตามบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 1 ชนิด 1 แห่ง ประมวลรัษฎากรหาใช่เสียภาษีการค้าอัตราร้อยละ 1.5 ของ รายรับ ตามบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 1 ชนิด 6 ไม่
กระดาษลายน้ำมีตรานกวายุภักษ์ในวงกลมและพิมพ์ข้อความเป็นภาษาอังกฤษว่า THAILOTTERY เป็นกระดาษลายน้ำมิใช่เอกสารหรือสิ่งตีพิมพ์ต้องเสียภาษีการค้าอัตราร้อยละ 7.0 ของรายรับตามบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 1 ชนิด 1 แห่ง ประมวลรัษฎากรหาใช่เสียภาษีการค้าอัตราร้อยละ 1.5 ของ รายรับ ตามบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 1 ชนิด 6 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1753/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีการค้า: กิจการโรงงานทอถุงเท้าถือเป็นการผลิต ต้องเสียภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 7
ห้างโจทก์มีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการตั้ง โรงงานอุตสาหกรรมประเภทต่างๆ รวมทั้งโรงงานทำถุงเท้า โรงงานทำรองเท้า และโรงงานทำสิ่งถักทอทุกชนิดจำหน่ายถุงเท้า รองเท้าและอื่นๆ การขอจดทะเบียนการค้าตามประมวลรัษฎากร โจทก์ก็ระบุว่าเป็นการขายของชนิด 1(ก) สินค้าและการค้า ส่วนใหญ่เป็นจำพวกถุงเท้าและโจทก์ได้ยื่น แบบแสดงรายการการค้าตามมาตรา 84แห่งประมวลรัษฎากรแสดงว่า โจทก์ประกอบการค้า ประเภท 1การขายของชนิด 1(ก) ผลิต ถุงเท้าจำหน่าย ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้า ว่า โจทก์ประกอบการค้าประเภท 4การรับจ้างทำของเลย ดังนั้นเมื่อโจทก์ประกอบการค้าจัดส่งถุงเท้าให้กรมพลาธิการทหารบก โดยทำสัญญากับกองทัพบกเป็นสัญญาจ้างทำถุงเท้าบ้าง สัญญาซื้อขายถุงเท้าบ้าง และคุณลักษณะเฉพาะของถุงเท้า รูปแบบถุงเท้าตามที่กำหนดไว้ ท้ายสัญญาจ้างหรือสัญญาซื้อขายถุงเท้าระหว่าง กองทัพบกกับห้างโจทก์ ก็ใช้คุณลักษณะเฉพาะแสดงว่า กองทัพบกมีวัตถุประสงค์ที่จะได้กรรมสิทธิ์ในถุงเท้าที่มี คุณภาพและคุณลักษณะตามที่กำหนดไว้ในสัญญาเท่านั้น ถึง แม้จะระบุชื่อว่าเป็นสัญญาจ้างหรือสัญญาซื้อขายก็ไม่สำคัญเห็นได้ว่าโจทก์ประกอบกิจการโรงงานทอถุงเท้าจำหน่ายและได้ จำหน่ายให้กองทัพบก โดยโจทก์ได้รับมูลค่าของถุงเท้าเป็น ค่าตอบแทน โจทก์จึงเป็นผู้ทำให้ มีขึ้นซึ่งสินค้า ถุงเท้า ถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ผลิต ตามมาตรา 77แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่เสียภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 7ของรายรับในประเภท 1 การขายของ ชนิด 1(ก) ตาม บัญชีอัตราภาษีการค้าแห่งประมวลรัษฎากร หมวด 4
โจทก์เคยชำระภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 7 ของรายรับ โดยยอมรับว่าเป็นผู้ผลิตถุงเท้าจำหน่ายมาก่อนแล้ว ต่อมา จึงได้ชำระภาษีเป็นร้อยละ 2 โดยแสดงลักษณะของการค้าว่า ผลิตถุงเท้าจำหน่ายเช่นกัน ดังนี้ ย่อมทำให้จำนวนภาษีที่โจทก์ชำระลดน้อยลงกว่าที่ควรต้องเสีย แสดงว่าโจทก์มี เจตนาหลีกเลี่ยงภาษี กรณีจึงไม่มีเหตุอันสมควรที่ศาลจะลดเบี้ยปรับให้
โจทก์เคยชำระภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 7 ของรายรับ โดยยอมรับว่าเป็นผู้ผลิตถุงเท้าจำหน่ายมาก่อนแล้ว ต่อมา จึงได้ชำระภาษีเป็นร้อยละ 2 โดยแสดงลักษณะของการค้าว่า ผลิตถุงเท้าจำหน่ายเช่นกัน ดังนี้ ย่อมทำให้จำนวนภาษีที่โจทก์ชำระลดน้อยลงกว่าที่ควรต้องเสีย แสดงว่าโจทก์มี เจตนาหลีกเลี่ยงภาษี กรณีจึงไม่มีเหตุอันสมควรที่ศาลจะลดเบี้ยปรับให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1293/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความ 'บรรจุภาชนะหรือหีบห่อผนึก' ในการจัดเก็บภาษีการค้า สินค้าที่บรรจุเพื่อเก็บรักษาไม่ใช่สินค้าที่ต้องเสียภาษีตามอัตราพิเศษ
สินค้าที่บรรจุภาชนะหรือหีบห่อผนึก ตามบัญชี 1 หมวด1 ท้ายพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่ 21)พ.ศ.2509 หมายความโดยตรงถึงการจำหน่ายสินค้าในรูปลักษณะบรรจุไว้ในภาชนะหรือในหีบห่อผนึก หาใช่หมายความถึงการนำสินค้าบรรจุภาชนะหรือหีบห่อผนึกเพื่อการเก็บรักษาสินค้าไม่ ดังนั้น การที่โจทก์เก็บลูกกวาด ซึ่งทำด้วยน้ำตาลไม่มีกระดาษห่อหุ้มไว้ในปีบ.เพื่อมิให้ถูกอากาศชื้นเสียหาย จึงเป็นการเก็บรักษาสินค้า และเมื่อโจทก์จำหน่ายสินค้า โจทก์ก็นำลูกกวาดออกจากปีมาชั่งขาย มิได้จำหน่ายไปทั้งภาชนะหรือหีบห่อผนึก สินค้าของโจทก์จึงไม่เข้าลักษณะสินค้าที่บรรจุภาชนะหรือหีบห่อผนึกตามบัญชี 1 หมวด 1(4) ท้ายพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว แต่เป็นสินค้าที่ไม่ได้ระบุไว้ตามบัญชีที่ 1 ซึ่งตามมาตรา 4(3) แห่งพระราชกฤษฎีกานั้นให้เรียกเก็บภาษีการค้าร้อยละ1.5ของรายรับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 810/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ซิเมนต์ผงขายให้บริษัทในเครือเพื่อผลิตต่อ ไม่เป็นสินค้าสำเร็จรูป เสียภาษีตามอัตราวัตถุดิบ
ซิเมนต์ผงที่โจทก์ขายให้แก่บริษัทในเครือของตนเพื่อใช้เป็นวัสดุสำหรับผลิตเป็นสินค้าอย่างอื่นขาย มิได้นำไปจำหน่ายโดยตรง ไม่ใช่สินค้าสำเร็จรูปตามความหมายในประมวลรัษฎากร มาตรา 77 จึงต้องเสียภาษีตามบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภท 1 การขายของชนิด 9 (ก) อัตราร้อยละ 1.5 ของรายรับ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 85/2512)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 810/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ซิเมนต์ผงขายให้บริษัทในเครือเพื่อผลิตต่อ ไม่ใช่สินค้าสำเร็จรูป เสียภาษีตามอัตราวัสดุ
ซิเมนต์ผงที่โจทก์ขายให้แก่บริษัทในเครือของตนเพื่อใช้เป็นวัสดุสำหรับผลิตเป็นสินค้าอย่างอื่นขาย มิใช่สินค้าสำเร็จรูป จึงเสียภาษีการค้าตามบัญชีอัตราภาษีการค้า ประเภท 1 การขายของชนิด 9(ก)อัตราร้อยละ 1.5 ของรายรับ