พบผลลัพธ์ทั้งหมด 15 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 839/2491
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษจำเลยในคดีอาญาอัตราโทษสูง แม้รับสารภาพ ศาลต้องฟังพยานโจทก์จนพอใจว่าจำเลยกระทำผิดจริง
คดีอาญาที่มีอัตราโทษอย่างสูงตั้งแต่ 10 ปี ขึ้นไป เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพ ศาลต้องฟังพยานโจทก์จนกว่าจะพอใจว่า จำเลยได้กระทำผิดจริง เมื่อศาลฟังพยานโจทก์ได้ความว่า การกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันเกินแก่เหตุศาลย่อมลงโทษเท่าที่จำเลยได้กระทำผิดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 423/2491
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสารภาพในคดีอัตราโทษสูง: พยานประกอบต้องน่าเชื่อถือว่าจำเลยรับสารภาพตามจริง
ในคดีที่จำเลยรับสารภาพแต่เพราะเป็นคดีมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงถึง 10 ปี ศาลจึงต้องฟังพยานโจทก์ต่อไปจนกว่าจะเป็นที่พอใจว่าจำเลยกระทำผิดจริงนั้นพยานที่ศาลจะต้องฟังนี้ ไม่จำเป็นที่จะต้องถึงขนาดที่จะใช้ลงโทษได้อย่างในคดีที่จำเลยปฏิเสธเพียงแต่มีเหตุผลแวดล้อมให้เป็นที่พอใจศาลว่าจำเลยให้การรับสารภาพตามความจริง ไม่มีเหตุสงสัยว่าจะรับแทนผู้อื่นแล้วก็พอฟังลงโทษจำเลยได้ เพราะมีคำรับของจำเลยเป็นหลักอยู่แล้ว
โจทก์มีพยานเห็นจำเลยกับผู้ตายและผู้อื่นเกิดทุ่มเถียงกันในวงเสพสุราต่อมาในเวลาใกล้ชิดกันนั้น มีผู้พบศพผู้ตายในวงเสพสุรานั้นเมื่อจำเลยรับสารภาพโดยดีว่าได้เป็นผู้ทำร้ายผู้ตายตาย ศาลฟังว่าจำเลยทำร้ายผู้ตายตายดังคำรับสารภาพได้
โจทก์มีพยานเห็นจำเลยกับผู้ตายและผู้อื่นเกิดทุ่มเถียงกันในวงเสพสุราต่อมาในเวลาใกล้ชิดกันนั้น มีผู้พบศพผู้ตายในวงเสพสุรานั้นเมื่อจำเลยรับสารภาพโดยดีว่าได้เป็นผู้ทำร้ายผู้ตายตาย ศาลฟังว่าจำเลยทำร้ายผู้ตายตายดังคำรับสารภาพได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1119/2482
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทนายความมีหน้าที่ช่วยเหลือผู้ต้องหาอัตราโทษสูง แม้ไม่ยากจน การปฏิเสธถือเป็นผิดมรรยาท
ศาลขอแรงจำเลยผู้เป็นทนายให้ช่วยแก้ต่างจำเลยในคดีที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไปได้โดยไม่จำต้องปรากฎว่าจำเลยนั้นเป็นคนยากไร้หรือไม่ถ้าจำเลยขัดขืนหลีกเลี่ยงเป็นการผิดข้อบังคับมรรยาททนายความ พ.ศ.2458 ข้อ 12 จำเลยจึงมีผิด พ.ร.บ. ทนายความ 2477 มาตรา 12 ข้อ 4
พนักงานอัยยการที่อธิบดีกรมอัยยการแต่งตั้งเพื่อการผิดมรรยาททนายความนี้มีอำนาจขอให้ดำเนินการไต่สวนพิจารณาการประพฤติผิดมรรยาททนายความได้
พนักงานอัยยการที่อธิบดีกรมอัยยการแต่งตั้งเพื่อการผิดมรรยาททนายความนี้มีอำนาจขอให้ดำเนินการไต่สวนพิจารณาการประพฤติผิดมรรยาททนายความได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1086/2481
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ความผิดอาญาอัตราโทษสูง แม้จำเลยรับสารภาพ ศาลต้องฟังพยานโจทก์ก่อน
+อาญาที่มีอัตราโทษอย่าง+ตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป แม้จำเลยให้การรับสารภาพ+โจทก์ไม่นำพะยานมาสืบให้ศาลเห็นว่ากระทำผิดแล้วศาลพิพากษายกฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 298/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องไม่สมบูรณ์เนื่องจากไม่มีลายมือชื่อโจทก์ ศาลสั่งแก้ไขฟ้องได้ แม้คดีมีอัตราโทษสูง
แม้อุทธรณ์ของโจทก์จะเป็นการขอให้ศาลวินิจฉัยในปัญหาข้อกฎหมายว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ แต่ก่อนที่ศาลจะวินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวได้นั้น ศาลจำต้องวินิจฉัยในปัญหาข้อเท็จจริงเสียก่อนว่า ตราที่โจทก์ประทับในฟ้องเป็นตราประทับที่โจทก์ยื่นขอจดทะเบียนไว้ตามข้อบังคับของโจทก์หรือไม่ อุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้นเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายที่โจทก์ยกขึ้นอ้าง จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อข้อหาความผิดตาม ป.อ. มาตรา 352, 353 มีอัตราโทษอย่างสูงให้จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ จึงต้องห้ามมิให้โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 22 ทั้งไม่ปรากฏว่าอุทธรณ์ของโจทก์ได้รับอนุญาตหรือรับรองให้อุทธรณ์ ตามมาตรา 22 ทวิ การที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยจึงไม่ชอบ ถือเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ จำเลยจะฎีกาในปัญหาดังกล่าวไม่ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 252 และ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงฯ มาตรา 4 ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย และต้องฟังข้อเท็จจริงเป็นยุติตามศาลชั้นต้นว่าโจทก์ไม่ได้ลงลายมือชื่อในฟ้อง เป็นฟ้องที่ไม่ชอบ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (7) ซึ่ง ป.วิ.อ. มาตรา 161 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ถ้าฟ้องไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ให้ศาลสั่งโจทก์แก้ฟ้องให้ถูกต้อง หรือยกฟ้อง หรือไม่ประทับฟ้อง ดังนั้น เมื่อฟ้องโจทก์ไม่ปรากฏลายมือชื่อโจทก์อันเป็นฟ้องที่ไม่ถูกต้อง จึงเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยที่สามารถแก้ไขให้ถูกต้องได้ โดยเฉพาะศาลชั้นต้นยังไม่ได้วินิจฉัยเนื้อหาแห่งคดี และการสั่งโจทก์แก้ฟ้องให้ถูกต้องดังกล่าวไม่ได้กำหนดระยะเวลาสิ้นสุดไว้ เช่นนี้ศาลชั้นต้นชอบที่จะสั่งให้โจทก์แก้ฟ้องโดยให้โจทก์ลงลายมือชื่อในคำฟ้องให้ถูกต้องได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 และ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงฯ มาตรา 4