คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
อันตรายสาหัส

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 116 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4585/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุมทำร้ายร่างกายจนเป็นอันตรายสาหัส: ศาลยืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์
การที่จำเลยกับพวกรวมเจ็ดคนใช้ไม้หน้า 3 ยาวประมาณ 1 เมตรเป็นอาวุธทำร้ายร่างกายผู้เสียหายหลายครั้งจนได้รับอันตรายสาหัส ลักษณะการกระทำดังกล่าวเป็นการรุมทำร้ายผู้เสียหายโดยไม่เคารพยำเกรงต่อกฎหมายพฤติการณ์การกระทำเป็นภัยร้ายแรงต่อสังคม ที่จำเลยอ้างว่าหลังเกิดเหตุได้พยายามช่วยออกค่ารักษาพยาบาลบางส่วนและยินดีชดใช้ค่าเสียหายแต่ผู้เสียหายเรียกร้องสูงเกินไปนั้น ไม่ปรากฏหลักฐานใด ๆ ในสำนวนว่าจำเลยได้ช่วยค่ารักษาพยาบาล ชดใช้หรือเสนอที่จะชดใช้ค่าเสียหายอันเป็นการบรรเทาผลร้ายหรือความเสียหายให้แก่ผู้เสียหายแต่ประการใด แม้ขณะเกิดเหตุจำเลยเป็นนักศึกษาและขณะนี้สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ก็ยังไม่มีเหตุผลเพียงพอที่จะรอการกำหนดโทษหรือรอการลงโทษให้แก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1094/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทำร้ายร่างกายจนหน้าเสียโฉม ถือเป็นอันตรายสาหัส จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
จำเลยทั้งสามเป็นคนร้ายร่วมกับพวกกระทำผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้เสียหายทั้งสอง ตามเอกสารใบชันสูตรบาดแผลของแพทย์ระบุว่า ผู้เสียหายที่ 2มีบาดแผลฉีกขาดที่ใบหน้าและศีรษะ สำหรับบาดแผลที่ใบหน้ามีบาดแผลฉีกขาดที่แก้มซ้ายขนาดยาว 6 เซนติเมตร และขนาดยาว 5 เซนติเมตร บาดแผลที่ใบหน้าของผู้เสียหายที่ 2 ถูกขวดเบียร์แตกที่ก้นขวดแทง ต้องเย็บถึง 100 เข็ม หลังเกิดเหตุ 20 วันก็ยังสามารถมองเห็นบาดแผลดังกล่าวได้ชัดในระยะ 5 เมตร แม้จะทำศัลยกรรมตบแต่งบนใบหน้าก็ไม่สามารถทำให้หายเป็นเนื้อปกติได้ แต่จะจางลง และในวันที่ศาลชั้นต้นดูรอยแผลเป็นของผู้เสียหายที่ 2 เป็นวันที่ผู้เสียหายที่ 2 มาเบิกความห่างจากวันเกิดเหตุประมาณ 8 เดือนเศษ ก็ยังปรากฏรอยแผลเป็นให้เห็นได้ชัดย่อมฟังได้ว่า แผลที่ใบหน้าด้านซ้ายของผู้เสียหายที่ 2 ทำให้หน้าเสียโฉมอย่างติดตัวเป็นอันตรายสาหัสตาม มาตรา 297 (4) แล้ว จำเลยทั้งสามจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 295, 297 (4) และให้ลงโทษจำเลยทั้งสามตาม ป.อ. มาตรา 297 (4) ประกอบ มาตรา 83 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตามมาตรา 90

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1094/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อันตรายสาหัสจากการทำร้ายร่างกายจนหน้าเสียโฉม ถือเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 297(4)
ผู้เสียหายทั้งสองถูกจำเลยทั้งสามกับพวกร่วมกันใช้มีด ขวดเบียร์ และไม้ ฟันแทง ตี จนได้รับบาดเจ็บ ผู้เสียหายที่ 2 มีบาดแผลฉีกขาดที่ใบหน้าและศีรษะสำหรับที่ใบหน้ามีบาดแผลฉีกขาดที่แก้มซ้ายขนาดยาว 6 เซนติเมตร และยาว 5 เซนติเมตรต้องเย็บถึง 100 เข็ม ซึ่งบาดแผลดังกล่าวหลังเกิดเหตุ 20 วัน สามารถมองเห็นได้ชัดในระยะ 5 เมตร แม้จะทำศัลยกรรมตบแต่งบนใบหน้าก็ไม่สามารถทำให้หายเป็นปกติได้แต่จะจางลง วันที่ผู้เสียหายที่ 2 มาเบิกความเป็นพยานโจทก์ห่างจากวันเกิดเหตุประมาณ8 เดือนเศษ ก็ยังปรากฏรอยแผลเป็นให้เห็นได้ชัดทำให้หน้าเสียโฉมอย่างติดตัว เป็นอันตรายสาหัสตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297(4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1094/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทำร้ายร่างกายจนหน้าเสียโฉม ถือเป็นอันตรายสาหัสตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297(4)
จำเลยทั้งสามเป็นคนร้ายร่วมกับพวกกระทำผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้เสียหายทั้งสอง ตามเอกสารใบชันสูตรบาดแผลของแพทย์ระบุว่า ผู้เสียหายที่ 2 มีบาดแผลฉีกขาดที่ใบหน้าและศีรษะ สำหรับบาดแผลที่ใบหน้ามีบาดแผลฉีกขาดที่แก้มซ้ายขนาดยาว 6 เซนติเมตร และขนาดยาว 5 เซนติเมตร บาดแผลที่ใบหน้าของผู้เสียหายที่ 2 ถูกขวดเบียร์แตกที่ก้นขวดแทง ต้องเย็บถึง 100 เข็ม หลังเกิดเหตุ 20 วัน ก็ยังสามารถมองเห็นบาดแผลดังกล่าวได้ชัดในระยะ 5 เมตร แม้จะทำศัลยกรรมตบแต่งบนใบหน้าก็ไม่สามารถทำให้หายเป็นเนื้อปกติได้ แต่จะจางลง และในวันที่ศาลชั้นต้นดูรอยแผลเป็นของผู้เสียหายที่ 2 เป็นวันที่ผู้เสียหายที่ 2 มาเบิกความห่างจากวันเกิดเหตุประมาณ 8 เดือนเศษ ก็ยังปรากฏรอยแผลเป็นให้เห็นได้ชัดย่อมฟังได้ว่า แผลที่ใบหน้าด้านซ้ายของผู้เสียหายที่ 2 ทำให้หน้าเสียโฉมอย่างติดตัวเป็นอันตรายสาหัสตาม มาตรา 297(4) แล้ว จำเลยทั้งสามจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83,295,297(4) และให้ลงโทษจำเลยทั้งสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297(4) ประกอบ มาตรา 83 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตามมาตรา 90

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3315/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวผิดหลายบท: ประมาทขับรถในขณะเมาสุรา ทำให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส ศาลลงโทษตามบทหนัก
การที่จำเลยขับรถในขณะเมาสุราอันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43 (2), 160 วรรคสาม กับการที่จำเลยขับรถยนต์ฝ่าฝืนกฎจราจรย้อนทางลงทางด่วนขึ้นไปในขณะเมาสุรา ซึ่งเป็นสาเหตุส่วนหนึ่งของการกระทำโดยประมาท เป็นเหตุให้รถยนต์ของจำเลยไปชนรถยนต์ของผู้เสียหายและทำให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัส อันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 300 และพ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43 (4), 157 เมื่อเป็นการกระทำที่เกี่ยวเนื่องกันและเป็นผลโดยตรงที่ทำให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัส จึงเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียว ต้องลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 300 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3315/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวผิดหลายบท: ประมาทขับรถขณะเมาสุรา ชนผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส
การที่จำเลยขับรถในขณะเมาสุราอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43(2),160 วรรคสาม กับการที่จำเลยขับรถยนต์ฝ่าฝืนกฎจราจรย้อนทางลงทางด่วนขึ้นไปในขณะเมาสุรา ซึ่งเป็นสาเหตุส่วนหนึ่งของการกระทำโดยประมาท เป็นเหตุให้รถยนต์ของจำเลยไปชนรถยนต์ของผู้เสียหายและทำให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัส อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 300 และพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43(4),157 เมื่อเป็นการกระทำที่เกี่ยวเนื่องกันและเป็นผลโดยตรงที่ทำให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัสจึงเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียว ต้องลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 300 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1673/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การต่อสู้คดีอาญา: จำเลยปฏิเสธฟ้องมีผลเท่ากับการยกข้อต่อสู้ และประเด็นอันตรายสาหัส
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยขับรถจักรยานยนต์โดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส จำเลยให้การปฏิเสธแม้ในทางนำสืบของจำเลยจะมิได้ยกขึ้นต่อสู้ว่าไม่มีผู้ใดได้รับอันตรายสาหัส แต่คำให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ของจำเลยมีผลเท่ากับจำเลยยกขึ้นต่อสู้ว่าไม่มีผู้ใดได้รับอันตรายสาหัสด้วยแล้ว ถือว่าจำเลยได้ยกปัญหาข้อนี้ขึ้นต่อสู้ จึงเป็นข้อที่จำเลยได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 225 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 15 ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ต้องวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5830/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทำร้ายร่างกายจนเกิดอันตรายสาหัส: การพิจารณาอาการบาดเจ็บและระยะเวลาพักรักษา
จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันทำร้ายผู้เสียหาย โดยใช้ก้อนหินทุบกรามผู้เสียหาย ผู้เสียหายได้ไปให้แพทย์ที่คลินิครักษาบาดแผล หลังจากผู้เสียหายไปให้แพทย์ที่คลินิครักษาบาดแผลแล้วไปแจ้งต่อพนักงานสอบสวน ปรากฏว่าพนักงานสอบสวนได้ส่งตัวผู้เสียหายไปให้แพทย์โรงพยาบาลตรวจรักษาอีกครั้ง แสดงให้เห็นว่าผู้เสียหายมีอาการได้รับบาดเจ็บมาก แพทย์โรงพยาบาลได้ตรวจร่างกายผู้เสียหายด้วยวิธีเอกซเรย์พบว่า กระดูกแก้มขวาแตกมีเลือดออกในโพรงกระดูก และมีความเห็นว่า ตามปกติต้องใช้เวลารักษาประมาณ 3 เดือน ผู้เสียหายเองก็เบิกความยืนยันว่า ได้รับบาดเจ็บกรามหัก เคี้ยวอาหารไม่ได้ตามปกติ รักษาอยู่ประมาณ25 วันจึงหาย จึงรับฟังได้ว่า ผู้เสียหายป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่ายี่สิบวันและประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่ายี่สิบวันอันเป็นอันตรายสาหัสตาม ป.อ.มาตรา 297 (8)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5830/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทำร้ายร่างกายจนเป็นอันตรายสาหัส: การพิเคราะห์อาการบาดเจ็บและระยะเวลาพักรักษาเพื่อประกอบการพิจารณาความผิด
จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันทำร้ายผู้เสียหาย โดยใช้ก้อนหินทุบกราม ผู้เสียหาย ผู้เสียหายได้ไปให้แพทย์ที่คลินิก รักษาบาดแผล หลังจากผู้เสียหายไปให้แพทย์ที่คลินิก รักษาบาดแผลแล้วไปแจ้งต่อพนักงานสอบสวนปรากฏว่าพนักงานสอบสวนได้ส่งตัวผู้เสียหายไปให้แพทย์โรงพยาบาลตรวจรักษาอีกครั้ง แสดงให้เห็นว่าผู้เสียหายมีอาการได้รับบาดเจ็บมาก แพทย์โรงพยาบาลได้ตรวจร่างกายผู้เสียหายด้วยวิธีเอกซเรย์ พบว่า กระดูกแก้มขวาแตกมีเลือดออกในโพรงกระดูก และมีความเห็นว่า ตามปกติต้องใช้เวลารักษาประมาณ 3 เดือน ผู้เสียหายเองก็เบิกความยืนยันว่า ได้รับบาดเจ็บกราม หัก เคี้ยวอาหารไม่ได้ตามปกติ รักษาอยู่ประมาณ 25 วันจึงหาย จึงรับฟังได้ว่าผู้เสียหายป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่ายี่สิบวันและประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่ายี่สิบวันอันเป็นอันตรายสาหัสตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297(8)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 190/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การป้องกันตัวเกินสมควรแก่เหตุ แม้ถูกทำร้ายก่อน ยิงด้วยอาวุธร้ายแรงจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส
จำเลยเจตนายิงผู้เสียหายที่ 1 เนื่องจาก จำเลยถูกผู้เสียหายที่ 1 กับพวก เข้ามา กลุ้ม รุม ทำร้าย จำเลยก่อน จำเลยย่อมมีสิทธิป้องกันตัวเองเพื่อ มิให้ถูกทำร้ายแต่การที่จำเลยใช้ปืนซึ่งเป็นอาวุธร้ายแรง ยิงผู้เสียหายที่ 1 หลายนัด โดยผู้เสียหายที่ 1 มีเพียงก้อนหินและไม่ปรากฏว่าพวกผู้เสียหายที่ 1 มีอาวุธ กระสุนปืนที่จำเลยยิงถูกผู้เสียหายที่ 1 ที่บั้นเอวด้านซ้าย สะโพกด้าน ซ้ายและด้านขวา จนผู้เสียหายที่ 1 ได้รับอันตรายสาหัสถ้าผู้เสียหายที่ 1 ไม่ได้รับการรักษาทันท่วงทีอาจถึงแก่ความตายได้ นอกจากนี้กระสุนปืนยังพลาดไปถูกผู้เสียหายที่ 2และที่ 3 จนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายของผู้เสียหาย ที่ 2 และที่ 3 ดังนี้ นับว่าเป็นการกระทำเกินกว่า กรณีแห่งการจำต้องกระทำเพื่อป้องกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดข้อหาพยายามฆ่าผู้อื่นโดยป้องกันตัวเกินสมควรแก่เหตุ ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 299 ต้องเป็นกรณีชุลมุนต่อสู้กันระหว่างบุคคลตั้งแต่สามคนขึ้นไปและมีบุคคลได้รับอันตรายสาหัส ซึ่งหมายถึงกรณีที่ไม่ทราบว่าผู้ใดหรือผู้ใดร่วมกับใครทำร้ายจนได้รับอันตรายสาหัส
of 12