พบผลลัพธ์ทั้งหมด 109 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2855/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อัยการไม่มีอำนาจร้องขอให้ศาลสั่งจ่ายสินบนนำจับตาม พ.ร.บ.มาตราชั่งตวงวัด สิทธิเป็นของผู้แจ้งเท่านั้น
พระราชบัญญัติ ญญัติมาตราชั่ง ตวง วัด พ.ศ. 2466 แก้ไขเพิ่มเติมพ.ศ. 2477 มาตรา 3 กำหนดให้ผู้กระทำผิดตามมาตราที่ระบุไว้ เมื่อถูกศาลพิพากษาลงโทษแล้วต้องผูกพันในการจ่ายสินบนนำจับแก่ผู้จับ นำจับ หรือนำความมาแจ้งต่อเจ้าพนักงานด้วย แต่ไม่มีข้อความตอนใดที่ระบุให้อำนาจแก่พนักงานอัยการที่จะร้องขอต่อศาลให้สั่งจำเลยจ่ายเงินสินบนแก่บุคคลดังกล่าวได้ ส่วนมาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติ มาตรา ชั่ง ตวง วัด พ.ศ. 2466 เป็นบทบัญญัติว่าด้วยการฟ้องเพื่อเอาโทษแก่ผู้กระทำผิด แต่การชำระเงินค่าสินบนมิใช่โทษจึงไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 39 ที่ให้อำนาจพนักงานอัยการร้องขอให้บังคับผู้กระทำผิดได้ กรณีเป็นเรื่องที่เป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้จับนำจับ หรือนำความมาแจ้งต่อเจ้าพนักงานเท่านั้นที่จะร้องขอต่อศาลพนักงานอัยการไม่มีอำนาจร้องขอต่อศาลให้สั่งจำเลยจ่ายเงินสินบนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 667/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจอัยการจำกัดเฉพาะคดีผิดสัญญาประกันหลังคดีถึงที่สุด เมื่อไม่มีผิดสัญญา อัยการไม่มีอำนาจฎีกา
ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ปล่อยผู้ต้องหาทั้งสามชั่วคราวระหว่างสอบสวน โดย ฉ. ผู้ประกันได้วางหลักประกันเป็นเงินสด 60,000 บาท และทำสัญญาประกันไว้ต่อศาลชั้นต้นเมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาคดีถึงที่สุดแล้ว ฉ. มาขอหลักประกันคืน ศาลชั้นต้นยกคำร้อง ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้คืนหลักประกันแก่ผู้ประกัน ดังนี้ พนักงานอัยการจะฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไม่ได้ เพราะอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการเกี่ยวกับสัญญาประกันนั้นมีเฉพาะกรณีที่มีการผิดสัญญาประกันแต่เมื่อความรับผิดตามสัญญาประกันของ ฉ. สิ้นสุดลงแล้ว อำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการในส่วนที่เกี่ยวกับการบังคับให้เป็นไปตามสัญญาประกันก็ย่อมเป็นอันสิ้นสุดลงด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 613/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เสรีภาพแสดงความคิดเห็นของรัฐมนตรี – การวิจารณ์การสั่งคดีของอัยการ
การที่จำเลยให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ว่า "การที่อัยการเขต 8(หมายถึง ตัว โจทก์) สั่งกลับคำสั่งของอัยการจังหวัดไม่ให้ฟ้องนาย โสภณกิจประสาน เป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย หากก่อให้เกิดบรรทัดฐานเช่นนี้ จะทำให้เกิดการทุจริตกันอย่างใหญ่โต..."และว่า จำเลยจะสอบสวนกรมอัยการซึ่ง ทุก วันนี้เละเทะจนไม่น่าจะปล่อยปละละเลยอีกต่อไปได้ ประเด็นที่จะสอบคืออัยการพิเศษประจำเขต 8 สั่งไม่ฟ้องนาย โสภณ ไม่รู้ว่าไปสอบสวนเพิ่มเติมจากพนักงานสอบสวนที่ไหนมาสั่งคดีสำคัญ และเรื่องนี้จำเลยจะจัดการสะสาง ทั้งตัว เล็กตัว ใหญ่ และว่า จำเลยรู้ว่ามีการรับเงินรับทองนั้น เป็นการให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับเรื่องที่โจทก์สั่งไม่ฟ้องนาย โสภณกิจประสานแม้โจทก์จะอ้างว่ามีอำนาจสั่งไม่ฟ้องนาย โสภณ แต่ การสั่งไม่ฟ้องมีพฤติการณ์ที่ทำให้น่าสงสัยหลายประการ และจำเลยเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยในขณะนั้นและเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ได้รับการร้องเรียนจากภริยาและมารดาผู้ตายว่า การที่โจทก์มีคำสั่งดังกล่าวเป็นการ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยเห็นว่าพฤติการณ์ในการสั่งไม่ฟ้องเป็นที่น่าสงสัยว่าจะเป็นการไม่ชอบประกอบกับเป็นคดีที่มีอิทธิพลซึ่งประชาชนรวมทั้งสื่อมวลชนให้ความสนใจ เมื่อผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ไปสัมภาษณ์ความเห็นของจำเลยจำเลยก็ให้สัมภาษณ์ไปตาม ความคิดเห็นของตน แม้ถ้อยคำที่ใช้ จะรุนแรงอยู่บ้าง แต่ก็เห็นได้ว่า ได้แสดงความคิดเห็นโดยสุจริตและติ ชมด้วย ความเป็นธรรม อันเป็นวิสัยของจำเลยในฐานะ ที่เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย มีหน้าที่บำบัดทุกข์บำรุงสุขให้แก่ประชาชน และในฐานะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพึงกระทำเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม จึงไม่เป็นความผิดฐาน หมิ่นประมาทและดูหมิ่นเจ้าพนักงานตามที่โจทก์ฟ้อง คดีที่ผู้เสียหายซึ่งเป็นราษฎรเป็นโจทก์ฟ้องเอง และต้องห้ามฎีกาโดย มาตรา 218219 และ 220 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ถ้า อธิบดีกรมอัยการลงลายมือชื่อรับรองฎีกาว่ามีเหตุอันควรที่ศาลสูงสุดจะได้ วินิจฉัยก็รับฎีกาไว้พิจารณาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4390/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเป็นโจทก์ร่วมในคดีจราจร: ราษฎรไม่มีสิทธิเป็นโจทก์ร่วมกับอัยการ
คดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติ จราจรทางบก พ.ศ. 2522 ราษฎรย่อมไม่เป็นผู้เสียหายไม่มีสิทธิเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการ ศาลชั้นต้นอนุญาตให้เข้าเป็นโจทก์ร่วมจึงไม่ชอบ เมื่อคดีขึ้นมาสู่ศาลฎีกาโดยจำเลยเป็นผู้ฎีกา แม้ศาลฎีกาพิพากษายืน ก็ให้ยกคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1739/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดุลพินิจอัยการในการไม่อุทธรณ์คดีอาญาและการแจ้งผลคดี ไม่ถือเป็นการละเมิดต่อผู้เสียหาย
จำเลยที่ 2 เป็นพนักงานอัยการผู้ว่าคดี จำเลยที่ 3 เป็นอัยการจังหวัด การที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ไม่ใช้สิทธิอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นในคดีอาญาที่โจทก์เป็นผู้เสียหาย เป็นการใช้ดุลพินิจในการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ที่ 3 ตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 145 กำหนดให้อำนาจไว้ จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการละเมิดต่อโจทก์ ส่วนการแจ้งผลคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่พิพากษายกฟ้อง และความเห็นที่ไม่อุทธรณ์นั้นก็ไม่มีกฎหมายหรือระเบียบข้อบังคับกำหนดให้พนักงานอัยการต้องแจ้งให้ผู้เสียหายทราบ การที่จำเลยที่ 3 ไม่แจ้งผลคำพิพากษาและความเห็นที่ไม่อุทธรณ์ให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายทราบถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำโดยผิดกฎหมายเช่นกัน
กรมอัยการจำเลยที่ 1 เป็นผู้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 2 ที่ 3 เมื่อจำเลยที่ 2 ที่ 3 ไม่ได้กระทำการอันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 1 ย่อมไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์.
กรมอัยการจำเลยที่ 1 เป็นผู้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 2 ที่ 3 เมื่อจำเลยที่ 2 ที่ 3 ไม่ได้กระทำการอันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 1 ย่อมไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1739/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดุลพินิจพนักงานอัยการในการไม่อุทธรณ์คดีอาญา ไม่ถือเป็นการละเมิดต่อผู้เสียหาย
จำเลยที่ 2 เป็นพนักงานอัยการผู้ว่าคดี จำเลยที่ 3 เป็นอัยการจังหวัด การที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ไม่ใช้สิทธิอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นในคดีอาญาที่โจทก์เป็นผู้เสียหาย เป็นการใช้ดุลพินิจ ในการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ที่ 3 ตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 145 กำหนดให้อำนาจไว้จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการละเมิดต่อโจทก์ส่วนการแจ้งผลคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่พิพากษายกฟ้อง และความเห็นที่ไม่อุทธรณ์นั้นก็ไม่มีกฎหมายหรือระเบียบข้อบังคับกำหนดให้พนักงานอัยการต้องแจ้งให้ผู้เสียหายทราบ การที่จำเลยที่ 3 ไม่แจ้งผลคำพิพากษาและความเห็นที่ไม่อุทธรณ์ให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายทราบ ถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำโดยผิดกฎหมายเช่นกัน กรมอัยการจำเลยที่ 1 เป็นผู้ บังคับบัญชาของจำเลยที่ 2 ที่ 3เมื่อจำเลยที่ 2 ที่ 3 ไม่ได้กระทำการอันเป็นการละเมิดต่อโจทก์จำเลยที่ 1 ย่อมไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1739/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดุลพินิจอัยการไม่ฟ้องอุทธรณ์คดีอาญา ไม่ถือเป็นการละเมิดต่อผู้เสียหาย
จำเลยที่ 2 เป็นพนักงานอัยการผู้ว่าคดี จำเลยที่ 3 เป็นอัยการจังหวัด การที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ไม่ใช้สิทธิอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นในคดีอาญาที่โจทก์เป็นผู้เสียหาย เป็นการใช้ดุลพินิจในการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ที่ 3 ตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 145 กำหนดให้อำนาจไว้ จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการละเมิดต่อโจทก์ ส่วนการแจ้งผลคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่พิพากษายกฟ้อง และความเห็นที่ไม่อุทธรณ์นั้นก็ไม่มีกฎหมายหรือระเบียบข้อบังคับกำหนดให้พนักงานอัยการต้องแจ้งให้ผู้เสียหายทราบ การที่จำเลยที่ 3 ไม่แจ้งผลคำพิพากษาและความเห็นที่ไม่อุทธรณ์ให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายทราบถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำโดยผิดกฎหมายเช่นกัน
กรมอัยการจำเลยที่ 1 เป็นผู้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 2 ที่ 3เมื่อจำเลยที่ 2 ที่ 3 ไม่ได้กระทำการอันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 1 ย่อมไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์.
กรมอัยการจำเลยที่ 1 เป็นผู้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 2 ที่ 3เมื่อจำเลยที่ 2 ที่ 3 ไม่ได้กระทำการอันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 1 ย่อมไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1438/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิฟ้องคดีอาญาของผู้เสียหายระงับเมื่ออัยการฟ้องและมีคำพิพากษาแล้ว
ผู้เสียหายเป็นโจทก์ฟ้องเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2525ขอให้ลงโทษจำเลยตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295ศาลนัดไต่สวนมูลฟ้องวันที่ 12 กรกฎาคม 2525 ครั้นวันที่ 10มิถุนายน 2525 อัยการฟ้องจำเลยในความผิดกรรมเดียวกัน แต่ขอให้ลงโทษตาม มาตรา 391 จำเลยให้การรับสารภาพศาลชั้นต้นพิพากษาปรับจำเลย การที่ศาลจะใช้ดุลพินิจสั่งให้รวมพิจารณาเป็นคดีเดียวกันหรือไม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 33 ก็ต่อเมื่อปรากฏต่อศาลโดยศาลรู้เองหรือโดยโจทก์ยื่นคำร้องในระยะใดก่อนมีคำพิพากษาว่าอัยการและผู้เสียหายต่างฟ้องเรื่องเดียวกันหรือต่างศาลกัน เมื่อศาลไม่รู้ดังกล่าว และการกระทำความผิดของจำเลยตามที่ผู้เสียหายฟ้องได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดแล้วในคดีที่อัยการเป็นโจทก์ สิทธิของผู้เสียหายที่เป็นโจทก์ในการนำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2292/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีอาญาความผิดที่มิใช่ความผิดต่อส่วนตัว แม้ผู้เสียหายถอนฟ้อง ก็ไม่ตัดสิทธิอัยการ
ในคดีที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343และตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2511 ซึ่งมิใช่ความผิดต่อส่วนตัว แม้ผู้เสียหายขอถอนคำร้องทุกข์ ก็ไม่ตัดสิทธิพนักงานอัยการที่จะฟ้องคดีนั้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 126 วรรคสอง สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงไม่ระงับไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3833/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการแก้ฟ้องของโจทก์ร่วมที่ดำเนินคดีโดยอาศัยฟ้องของอัยการ และผลต่อการพิจารณาคดี
โจทก์ร่วมเข้ามาดำเนินคดีแก่จำเลยโดยอาศัยสิทธิตามฟ้องของพนักงานอัยการ จึงไม่มีอำนาจขอแก้และเพิ่มเติมฟ้องให้นอกเหนือไปจากฟ้องของพนักงานอัยการ หากศาลชั้นต้นสั่งนัดไต่สวนมูลฟ้องส่วนที่โจทก์ร่วมขอแก้และเพิ่มเติมฟ้องไว้ก็มีอำนาจสั่งงดเสียได้
เมื่อศาลมิได้อนุญาตให้แก้และเพิ่มเติมฟ้องตามคำร้องของโจทก์ร่วม จึงลงโทษจำเลยตามบทมาตราที่ขอแก้และเพิ่มเติมฟ้องนั้นไม่ได้
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้จำคุกจำเลย 1 เดือนปรับ 500 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา218
เมื่อศาลมิได้อนุญาตให้แก้และเพิ่มเติมฟ้องตามคำร้องของโจทก์ร่วม จึงลงโทษจำเลยตามบทมาตราที่ขอแก้และเพิ่มเติมฟ้องนั้นไม่ได้
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้จำคุกจำเลย 1 เดือนปรับ 500 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา218