พบผลลัพธ์ทั้งหมด 53 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1465/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณเงินเพิ่มค่าอากร: เศษเดือนนับเป็นหนึ่งเดือน และเป็นเงินอากร
พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 112 จัตวา ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 329 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 ข้อ 15บัญญัติว่า เมื่อผู้นำเข้าหรือผู้ส่งของออกนำเงินมาชำระค่าอากรที่ต้องเสียหรือเสียเพิ่มให้เรียกเก็บเงินเพิ่มในอัตราร้อยละหนึ่งต่อเดือนของค่าอากรที่นำมาชำระโดยไม่คิดทบต้น นับแต่วันที่ได้ส่งมอบหรือส่งของออกจนถึงวันที่นำเงินมาชำระ ฯลฯ และวรรคสามของมาตราดังกล่าวระบุไว้อย่างชัดแจ้งว่าในการคำนวณเงินเพิ่มตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง เศษของเดือนให้นับเป็นหนึ่งเดือนและเงินเพิ่มนั้นให้ถือเป็นเงินอากร ดังนั้นในการคำนวณเงินเพิ่มนั้นเศษของเดือนจึงต้องนับเป็นหนึ่งเดือนด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5481/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกคืนเงินอากรหลังนำของออกจากอารักขา: ไม่เข้าข่าย 2 ปีตาม พ.ร.บ.ศุลกากร แต่มีอายุความ 10 ปี
พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 10 วรรคห้า เป็นการเรียกร้องขอคืนเงินอากรที่ได้เสียไปแล้วก่อนนำของออกจากอารักขาของศุลกากรตามมาตรา 40ไม่รวมถึงการเรียกร้องขอคืนเงินอากรที่ถูกประเมินเรียกเก็บเพิ่มเติมภายหลังจากนำของออกจากอารักขาของศุลกากรแล้วตามมาตรา 112 และ 112 ทวิ เห็นได้จากมาตรา 10วรรคห้า ให้นับกำหนดเวลา 2 ปี นับจากวันที่นำของเข้า และมิให้รับพิจารณาการเรียกร้องขอคืนเงินอากร หลังจากที่ได้เสียอากรและของนั้น ๆ ได้ส่งมอบหรือส่งออกไปแล้ว เว้นแต่ในกรณีที่ผู้นำเข้าได้แจ้งความไว้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนการส่งมอบว่าจะยื่นคำเรียกร้องดังกล่าว ซึ่งถ้าเป็นกรณีตามมาตรา 112 และ 112 ทวิ จะไม่อาจใช้ระยะเวลา 2 ปี นับจากวันที่นำของเข้าและไม่อาจแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนการส่งมอบของว่าจะยื่นคำเรียกร้อง การที่โจทก์ฟ้องเรียกคืนเงินอากรขาเข้าตามที่ถูกประเมินให้ชำระเพิ่มเติมมิใช่กรณีใช้สิทธิในการเรียกร้องขอคืนเงินอากรขาเข้าเพราะเหตุที่ได้เสียไว้เกินจำนวนที่พึงต้องเสียจริงก่อนนำของออกจากอารักขาของศุลกากร สิทธิของโจทก์จึงไม่สิ้นไปเมื่อครบกำหนด 2 ปี นับจากวันที่นำของเข้าตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ. 2469 มาตรา 10 วรรคห้า แต่เป็นกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยประเมินและแจ้งให้โจทก์ชำระอากรขาเข้าเพิ่มเติมภายหลังจากโจทก์นำของออกจากอารักขาของศุลกากรแล้ว ซึ่งไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1744/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิขอคืนอากรหลังชำระเพิ่ม-การประเมินราคาศุลกากรไม่ชอบด้วยกฎหมาย-อายุความ 10 ปี
ตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 10 วรรคห้ากรณีที่โจทก์จะต้องโต้แย้งหรือแจ้งความไว้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนการส่งมอบว่าจะยื่นคำเรียกร้องขอคืนอากรก็ต่อเมื่อโจทก์ชำระค่าภาษีอากรเพิ่มตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยเรียกให้ชำระเพิ่มในวันนำเข้านั้นเอง แต่ในคดีนี้ที่โจทก์ได้ชำระภาษีอากรเฉพาะตามจำนวนที่ได้สำแดงไว้เท่านั้น ส่วนจำนวนที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยเรียกให้โจทก์ชำระเพิ่ม โจทก์ยังมิได้ชำระแต่ได้วางหนังสือค้ำประกันของธนาคารเป็นประกันค่าอากรที่อาจต้องชำระเพิ่มเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยประเมินเพิ่มในภายหลัง อันเป็นการดำเนินการเพื่อให้สินค้าออกจากอารักของจำเลยตามที่ พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 112 ได้บัญญัติไว้ต่อมาพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้ประเมินให้โจทก์ชำระอากรเพิ่ม โจทก์ได้ชำระอากรเพิ่มตามที่ได้รับแบบแจ้งการประเมิน การชำระอากรเพิ่มเป็นการชำระหลังจากได้รับมอบสินค้าแล้ว จึงไม่ต้องด้วย พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469มาตรา 10 วรรคห้า การที่โจทก์ชำระอากรเพิ่มให้จำเลยตามที่เรียกเก็บเช่นนี้แม้โจทก์จะทราบดีอยู่ก่อนยื่นใบขนสินค้าแล้วว่าอาจต้องถูกประเมินราคาสินค้าเพิ่มขึ้นและต้องชำระอากรเพิ่มขึ้นและมิได้โต้แย้งหรือได้แจ้งความไว้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ว่าจะเรียกร้องเงินจำนวนนี้คืนก็มิได้ตัดสิทธิโจทก์ในการฟ้องคดี โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
เมื่อการขอคืนอากรของโจทก์ไม่ต้องด้วย พ.ร.บ.ศุลกากรพ.ศ.2469 มาตรา 10 วรรคห้า โจทก์จึงไม่สิ้นสิทธิในการเรียกร้องขอคืนเงินอากรที่เสียเพิ่มภายหลังแม้จะมิได้ฟ้องขอคืนภายในกำหนด 2 ปี นับจากวันที่นำของเข้า และตาม พ.ร.บ.ศุลกากรดังกล่าวมิได้บัญญัติเกี่ยวกับกำหนดอายุความในเรื่องนี้ไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164 เดิม และมาตรา 193/30 ใหม่ แห่ง ป.พ.พ.
การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยประเมินราคาสินค้าของโจทก์โดยอาศัยเปรียบเทียบกับราคาสินค้าชนิดเดียวกัน โดยใช้ราคาสูงสุดที่มีผู้นำเข้าก่อนรายของโจทก์ภายในระยะเวลาไม่เกิน 3 เดือนนั้น แม้จะเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในคำสั่งทั่วไปของจำเลยที่ 8/2530 และ 47/2531 แต่หลักเกณฑ์ตามคำสั่งดังกล่าวก็เป็นเพียงระเบียบปฏิบัติภายในของจำเลยเพื่อหาราคาอันแท้จริงในท้องตลาดเท่านั้นหาเป็นเกณฑ์ตายตัวว่าราคาสินค้าที่นำเข้าจะต้องมีราคาอันแท้จริงตามนั้นไม่ ในระยะเวลา 3 เดือนดังกล่าวราคาสินค้าอาจเปลี่ยนแปลงไปในทางต่ำลงก็ได้ แต่จำเลยกลับถือเอาราคาสูงสุดเป็นเกณฑ์ประเมิน ราคาที่จำเลยนำมาเปรียบเทียบและประเมินตามคำสั่งดังกล่าวจึงมิใช่ราคาอันแท้จริงในท้องตลาด ตามความหมายแห่งราคาอันแท้จริงในท้องตลาดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 2
เมื่อการขอคืนอากรของโจทก์ไม่ต้องด้วย พ.ร.บ.ศุลกากรพ.ศ.2469 มาตรา 10 วรรคห้า โจทก์จึงไม่สิ้นสิทธิในการเรียกร้องขอคืนเงินอากรที่เสียเพิ่มภายหลังแม้จะมิได้ฟ้องขอคืนภายในกำหนด 2 ปี นับจากวันที่นำของเข้า และตาม พ.ร.บ.ศุลกากรดังกล่าวมิได้บัญญัติเกี่ยวกับกำหนดอายุความในเรื่องนี้ไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164 เดิม และมาตรา 193/30 ใหม่ แห่ง ป.พ.พ.
การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยประเมินราคาสินค้าของโจทก์โดยอาศัยเปรียบเทียบกับราคาสินค้าชนิดเดียวกัน โดยใช้ราคาสูงสุดที่มีผู้นำเข้าก่อนรายของโจทก์ภายในระยะเวลาไม่เกิน 3 เดือนนั้น แม้จะเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในคำสั่งทั่วไปของจำเลยที่ 8/2530 และ 47/2531 แต่หลักเกณฑ์ตามคำสั่งดังกล่าวก็เป็นเพียงระเบียบปฏิบัติภายในของจำเลยเพื่อหาราคาอันแท้จริงในท้องตลาดเท่านั้นหาเป็นเกณฑ์ตายตัวว่าราคาสินค้าที่นำเข้าจะต้องมีราคาอันแท้จริงตามนั้นไม่ ในระยะเวลา 3 เดือนดังกล่าวราคาสินค้าอาจเปลี่ยนแปลงไปในทางต่ำลงก็ได้ แต่จำเลยกลับถือเอาราคาสูงสุดเป็นเกณฑ์ประเมิน ราคาที่จำเลยนำมาเปรียบเทียบและประเมินตามคำสั่งดังกล่าวจึงมิใช่ราคาอันแท้จริงในท้องตลาด ตามความหมายแห่งราคาอันแท้จริงในท้องตลาดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1197/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคืนอากร-ดอกเบี้ย-ภาษีอื่น และประเด็นศาลต้องชี้ขาดทุกประเด็นข้อพิพาท
ตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 10 วรรคห้าให้สิทธิในการเรียกร้องหรือในการฟ้องคดีเพื่อเรียกคืนเงินอากรเพราะเหตุที่ได้เสียไว้เกินจำนวนที่พึงต้องเสียภายใน 2 ปี นับแต่วันนำของเข้า เมื่อโจทก์ฟ้องคดีเกินกว่า 2 ปี นับแต่วันนำของเข้า แม้โจทก์จะยื่นคำขอคืนเงินอากรที่ได้เสียไว้ก่อนนั้นต่ออธิบดีกรมศุลกากรภายใน 2 ปี ก็ขาดอายุความ โจทก์ฟ้องขอคืนเงินอากรขาเข้าตาม พ.ร.บ.ศุลกากรพ.ศ.2469 และขอคืนเงินภาษีการค้า ภาษีบำรุงเทศบาล และค่าธรรมเนียมพิเศษ ตาม ป.รัษฎากร พ.ร.บ.รายได้เทศบาล พ.ศ.2497 และ พ.ร.บ.การส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า พ.ศ.2522 ตามลำดับจำเลยยกอายุความเฉพาะตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 10 วรรคห้าขึ้นเป็นข้อต่อสู้ ดังนั้น แม้คดีของโจทก์เกี่ยวกับสิทธิในการเรียกร้องขอคืนเงินอากรขาเข้าขาดอายุความตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 10 วรรคห้า แล้วศาลภาษีอากรกลางก็ยังต้องวินิจฉัยว่าจำเลยต้องคืนเงินภาษีการค้า ภาษีบำรุงเทศบาลและค่าธรรมเนียมพิเศษพร้อมค่าเสียหายให้แก่โจทก์อีกหรือไม่ต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 791/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวผิดหลายบท – การปรับตาม พ.ร.บ.ศุลกากร ต้องคิดเฉพาะค่าอากร ไม่รวมภาษีอื่น
จำเลยรับเอาบุหรี่อันตนรู้ว่าเป็นของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากรไว้ในครอบครองเพื่อขายโดยมิได้ปิดแสตมป์ยาสูบเป็นการกระทำครั้งเดียวในเวลาเดียวกัน แม้ผู้นำเข้าอาจนำเข้าโดยเจตนาหลีกเลี่ยงค่าภาษีศุลกากร แต่มิได้นำเข้ามาเพื่อขายก็ไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติยาสูบ พ.ศ. 2509 หรือนำเข้ามาโดยถูกต้องแต่มีไว้เพื่อขายโดยมิได้ปิดแสตมป์ยาสูบก็เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติยาสูบฯ เพราะเป็นความผิดที่ผิดแผกแตกต่างกันและเป็นความผิดต่อกฎหมายคนละฉบับกันก็ตาม แต่จำเลยรับเอาไว้เพื่อขายอันเป็นความผิดทั้งสองข้อหาดังกล่าว จำเลยมีเจตนาในผลอย่างเดียวกัน คือหลีกเลี่ยงที่จะไม่ต้องเสียภาษีอากรตามกฎหมาย การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท หาใช่หลายกรรมต่างกันไม่ ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ทวิ ที่ให้ปรับเป็นเงิน 4 เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยนั้นหมายถึงค่าอากรตามกฎหมายภาษีศุลกากร หาได้หมายรวมถึงค่าภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากรและภาษีเทศบาลตามพระราชบัญญัติรายได้เทศบาลไม่ที่ศาลล่างทั้งสองลงโทษปรับโดยรวมค่าภาษีทั้งสองประเภทดังกล่าวมาด้วยจึงไม่ถูกต้อง ปัญหาข้อนี้แม้จะไม่มีฝ่ายใดยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นฎีกา แต่เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5307/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำเข้าของขวัญและเครื่องมือช่างโดยไม่ผ่านศุลกากร การตีความข้อยกเว้นอากร และเจตนาฉ้อภาษี
การประกอบอาชีพค้าเพชรเพียงแต่อาศัยความรู้ความชำนาญในเรื่องเพชรเช่นเดียวกับการประกอบอาชีพอื่นธรรมดาทั่วไป ถือไม่ได้ว่าเป็นการประกอบวิชาชีพ เครื่องชั่งเพชรที่จำเลยนำเข้ามาจึงมิใช่เป็นของส่วนตัวที่จำเลยนำเข้ามาพร้อมกับตนสำหรับใช้ในวิชาชีพอันจะได้รับยกเว้นอากร การยกเว้นอากรตาม พ.ร.ก. พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2503ภาค 4 ประเภทที่ 5 ยกเว้นให้เฉพาะของส่วนตัว สำหรับผู้นำเข้าใช้เอง เมื่อเป็นบทบัญญัติที่เป็นข้อยกเว้น จึงต้องตีความโดยเคร่งครัดจำกัดเฉพาะของส่วนตัวสำหรับผู้นำเข้าใช้เอง ไม่อาจตีความขยายออกไปให้ครอบคลุมถึงของที่ผู้นำเข้าได้นำเข้ามาเป็นของขวัญแก่ผู้อื่นว่ามีผลเท่ากับผู้นำเข้าใช้เอง ดังนั้น ไข่มุก ที่จำเลยนำเข้ามาเพื่อฝากคนรักของจำเลยจึงมิใช่ของส่วนตัวที่จำเลยนำเข้าพร้อมกับตนสำหรับใช้เอง แม้เพชรและพลอยของกลางจะเป็นของที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีอากรในการนำเข้า แต่เจตนาฉ้อ ภาษีของ รัฐบาล อันเป็นองค์ประกอบความผิดเกี่ยวกับเจตนาพิเศษของมาตรา 27 แห่ง พ.ร.บ. ศุลกากรพ.ศ. 2469 นั้น เป็นองค์ประกอบความผิดสำหรับความผิดบางฐานเท่านั้นเฉพาะความผิดฐานนำของที่ยังมิได้ผ่านศุลกากรโดยถูกต้องเข้ามาในราชอาณาจักรนี้ แม้จำเลยจะมิได้มีเจตนาพิเศษที่จะฉ้อ ค่าภาษีของ รัฐบาล ก็เป็นความผิดได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5307/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำเข้าของข้ามแดน การตีความข้อยกเว้นอากร และองค์ประกอบความผิดฐานหลีกเลี่ยงศุลกากร
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการศุลกากร มิได้นิยามความหมายของคำว่า "วิชาชีพ" เอาไว้ จึงต้องถือตามความหมายที่ยอมรับกันโดยทั่วไป ซึ่งตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้ความหมายไว้ว่า "อาชีพที่ต้องอาศัยวิชาความรู้ความชำนาญ" ตามความหมายดังกล่าวจะเห็นได้ว่า การประกอบอาชีพใดจะถือว่าเป็นการประกอบวิชาชีพก็ต่อเมื่อจะต้องอาศัยหลักวิชาการแขนงใดแขนงหนึ่งเช่น วิชาชีพกฎหมาย การประกอบโรคศิลป วิศวกรรม ฯลฯ หรือวิชาชีพอื่นอันมีลักษณะทำนองเดียวกันนี้ การประกอบอาชีพค้าเพชร ผู้ประกอบอาชีพนี้เพียงแต่อาศัยความรู้ความชำนาญในเรื่องเพชรเช่นเดียวกับการประกอบอาชีพอื่นธรรมดาทั่วไปเท่านั้น หาจำต้องอาศัยหลักวิชาการเฉพาะทางแขนงใดแขนงหนึ่งดังเช่นวิชาชีพต่าง ๆ ที่กล่าวมาข้างต้นการประกอบอาชีพค้าเพชรจึงถือไม่ได้ว่าเป็นการประกอบวิชาชีพเครื่องชั่งเพชรที่จำเลยนำเข้ามาในราชอาณาจักรจึงมิใช่เป็นของส่วนตัวที่จำเลยนำเข้ามาพร้อมกับตนสำหรับใช้ในวิชาชีพ อันจะได้รับยกเว้นอากรตามพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2503 ภาค 4ประเภทที่ 5 การยกเว้นอากรตามพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2503ภาค 4 ประเภทที่ 5 กฎหมายยกเว้นให้แก่ของส่วนตัวที่เจ้าของนำเข้าพร้อมกับตนสำหรับใช้เอง ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่เป็นข้อยกเว้นจึงต้องตีความโดยเคร่งครัด จำกัดเฉพาะของส่วนตัวสำหรับผู้นำเข้าใช้เอง ไม่อาจตีความขยายออกไปให้ครอบคลุมถึงของที่ผู้นำเข้าได้นำเข้ามาฝากเป็นของขวัญแก่ผู้อื่นว่ามีผลเท่ากับผู้นำเข้าใช้เองได้ ดังนั้น ไข่มุกที่จำเลยนำเข้ามาเพื่อฝากคนรักของจำเลยจึงมิใช่ของส่วนตัวที่จำเลยนำเข้ามาพร้อมกับตนสำหรับใช้เอง อันจะได้รับยกเว้นอากรตามบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้น เจตนาฉ้อค่าภาษีของรัฐบาลอันเป็นองค์ประกอบความผิดเกี่ยวกับเจตนาพิเศษของพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 นั้น เป็นองค์ประกอบความผิดสำหรับความผิดบางฐานเท่านั้น เฉพาะความผิดฐานนำของที่ยังมิได้ผ่านศุลกากรโดยถูกต้องเข้ามาในราชอาณาจักรแม้จำเลยจะมิได้มีเจตนาพิเศษที่จะฉ้อค่าภาษีของรัฐบาลก็เป็นความผิดตามมาตราดังกล่าวได้ โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยลักลอกนำเพชรและพลอยที่ตกแต่งแล้วอันเป็นของที่มีถิ่นกำเนิดในต่างประเทศ ซึ่งได้รับการยกเว้นอากรเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ผ่านด่านศุลกากรโดยถูกต้อง อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ฟ้องของโจทก์ดังกล่าวได้บรรยายถึงการกระทำของจำเลยที่นำเอาเพชรและพลอยเข้ามาในราชอาณาจักรและบรรยายด้วยว่า แม้เพชรและพลอยจะได้รับยกเว้นอากร แต่ต้องผ่านศุลกากรตามวิธีการศุลกากรเพื่อการควบคุมเงินตราและวิธีการนำเข้าของประเภทนี้กับบรรยายว่าจำเลยไม่ได้นำผ่านศุลกากรเสียให้ถูกต้อง จำเลยจึงมีความผิดในเจตนาที่จะหลีกเลี่ยงข้อห้ามเกี่ยวกับเพชรและพลอยที่นำเข้านั้น ฟ้องของโจทก์จึงบรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดพอสมควร เท่าที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว ฟ้องของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย ปัญหาว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยจะไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น จำเลยก็ฎีกาในปัญหาข้อนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3721/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความพิกัดอัตราศุลกากร: สินค้ามีคุณสมบัติป้องกันสนิมและอื่น ๆ ต้องเสียอากรตามพิกัด 'อื่น ๆ'
สินค้าพิพาทเป็นผลิตภัณฑ์เคมีตามพิกัดอัตราอากรแนบท้ายพระราชกำหนด พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2503 ประเภท 38.14 ซึ่งนอกจากจะมีคุณสมบัติป้องกันการเป็นสนิมแล้ว ยังมีคุณสมบัติป้องกัน การรวมตัวของออกซิเจนและป้องกันการกัดกร่อน ผิวโลหะจึงมิใช่สินค้าในรายการ "เฉพาะสิ่งปรุงแต่งที่ใช้สำหรับกันการเป็นสนิม"ตามบัญชีท้ายประกาศกระทรวงการคลังที่ ศก.10/2527(อซ.19)ลงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2527 ซึ่งได้รับการลดอัตราอากรลงเหลือร้อยละ 60 ของอัตราที่เรียกเก็บหรือเสียอากรขาเข้าร้อยละ 18 ของราคาของที่นำเข้า แต่เป็นสินค้าในรายการ "อื่น ๆ" ตามบัญชี ท้ายประกาศฉบับเดียวกันซึ่งได้รับการลดอัตราอากรลงเหลือร้อยละ80 หรือต้องเสียอากรขาเข้าร้อยละ 24 ของราคาของที่นำเข้า.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3320/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือค้ำประกันที่ชำระอากรแล้วรับฟังเป็นพยานได้ การอนุญาตชำระอากรระหว่างพิจารณาไม่เป็นเหตุฎีกา
ระหว่างพิจารณาโจทก์ส่งหนังสือค้ำประกันซึ่งติดอากรแสตมป์ไม่ครบถ้วนเป็นพยานแต่ก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา โจทก์ได้นำไปดำเนินการเสียเงินอากรและเงินเพิ่มอากรโดยชอบแล้วถือว่าหนังสือค้ำประกันเป็นตราสารที่ปิดอากรแสตมป์บริบูรณ์ ย่อมรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ ปัญหาว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์นำเอกสารไปเสียภาษีอากรและเงินเพิ่มโดยมิได้สอบถามจำเลยก่อนเป็นการไม่ชอบ จำเลยมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นศาลอุทธรณ์ และไม่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249ประกอบ พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 119/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาศุลกากร การระงับคดีอาญา และการวางประกันค่าอากร
โจทก์นำสินค้าเข้า พนักงานของจำเลยเห็นว่าโจทก์สำแดงราคาสินค้าต่ำไปและสำแดงรายการสินค้าเท็จ จึงให้โจทก์นำเงินสดหรือหนังสือค้ำประกันมาวางโจทก์นำหนังสือสัญญาค้ำประกันของธนาคารมาวางประกันในวงเงิน 400,000 บาท และ 783,000 บาท ตามลำดับพนักงานของจำเลยจึงตรวจปล่อยสินค้าให้โจทก์ ต่อมาเจ้าพนักงานของจำเลยได้มีหนังสือเรียกโจทก์ไปตกลงระงับคดี แต่โจทก์ไม่ปฏิบัติตาม จึงได้ส่งเรื่องให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดี อันเป็นการปฏิบัติตามขั้นตอนที่ พ.ร.บ. ศุลกากรฯ กำหนดไว้ ดังนี้ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนข้อกล่าวหาหรือคำสั่งของจำเลยได้ และเมื่อยังโต้เถียง จำนวนค่าภาษีอากรกันอยู่ โจทก์ก็ไม่มีสิทธิบังคับให้จำเลยคืนหลักประกัน ในกรณีพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยตรวจพบว่าโจทก์กระทำผิดเกี่ยวกับ พ.ร.บ. ศุลกากรฯ ถ้า โจทก์ยอมเสียค่าปรับตามคำเปรียบเทียบก็ทำให้คดีอาญาระงับได้ตามมาตรา 102 และ 102 ทวิสินค้าที่โจทก์นำเข้าได้ระบุว่าเป็นกระบอกสูบเครื่องยนต์เครื่องหมายการค้า เอ็น.พี.อาร์. แต่ในตัวสินค้ามีเครื่องหมายรถยนต์ ฮีโน่ โตโยต้า และนิสสัน พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยจึงถือเอาราคาตามที่บริษัทรถยนต์ฮีโน่ โตโยต้า และนิสสัน นำเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นราคาเทียบเคียง โดยลดให้ร้อยละห้า และถือเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาด เพื่อนำไปคำนวณหาอากรที่ขาด กำหนดเป็นเกณฑ์ให้โจทก์เสียค่าปรับอันจะได้ระงับคดีอาญา ดังนี้เป็นการปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมายโดยชอบ.