พบผลลัพธ์ทั้งหมด 44 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1465/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณเงินเพิ่มอากรขาเข้า: เศษของเดือนให้นับเป็นหนึ่งเดือนตามกฎหมายศุลกากร
พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 112 จัตวาซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 329ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 ข้อ 15 บัญญัติว่า เมื่อผู้นำเข้าหรือผู้ส่งของออกนำเงินมาชำระค่าอากรที่ต้องเสียหรือเสียเพิ่ม ให้เรียกเก็บเงินเพิ่มในอัตราร้อยละหนึ่งต่อเดือนของค่าอากร ที่นำมาชำระโดยไม่คิดทบต้น นับแต่วันที่ได้ส่งมอบหรือส่งของออก ถึงวันที่นำเงินมาชำระ ฯลฯ และวรรคสามของมาตราดังกล่าวระบุไว้อย่างชัดแจ้งว่าในการคำนวณเงินเพิ่มตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง เศษของเดือนให้นับเป็นหนึ่งเดือนและเงินเพิ่มนั้นให้ถือเป็น เงินอากร ดังนั้น ในการคำนวณเงินเพิ่มนั้นเศษของเดือนจึงต้อง นับเป็นหนึ่งเดือนด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1465/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณเงินเพิ่มอากรขาเข้า: เศษของเดือนให้นับเป็นหนึ่งเดือนตามกฎหมาย
พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 112 จัตวาซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 329ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 ข้อ 15 บัญญัติว่า เมื่อผู้นำเข้าหรือผู้ส่งของออกนำเงินมาชำระค่าอากรที่ต้องเสียหรือเสียเพิ่ม ให้เรียกเก็บเงินเพิ่มในอัตราร้อยละหนึ่งต่อเดือนของค่าอากรที่นำมาชำระโดย ไม่คิดทบต้น นับแต่วันที่ได้ส่งมอบหรือส่งของออกจนถึง วันที่นำเงินมาชำระ ฯลฯ และวรรคสามของมาตราดังกล่าว ระบุไว้อย่างชัดแจ้งว่าในการคำนวณเงินเพิ่มตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง เศษของเดือนให้นับเป็นหนึ่งเดือนและเงินเพิ่มนั้นให้ถือเป็นเงินอากร ดังนั้น ในการคำนวณเงินเพิ่มนั้นเศษของเดือนจึงต้องนับเป็นหนึ่งเดือนด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1465/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณเงินเพิ่มอากรขาเข้า: เศษของเดือนให้นับเป็นหนึ่งเดือนตามกฎหมาย
พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 112 จัตวาซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 329ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 ข้อ 15 บัญญัติว่า เมื่อผู้นำเข้าหรือผู้ส่งของออกนำเงินมาชำระค่าอากรที่ต้องเสียหรือเสียเพิ่มให้เรียกเก็บเงินเพิ่มในอัตราร้อยละหนึ่งต่อเดือนของค่าอากรที่นำมาชำระโดยไม่คิดทบต้น นับแต่วันที่ได้ส่งมอบหรือส่งของออกจนถึงวันที่นำเงินมาชำระ ฯลฯ และวรรคสามของมาตราดังกล่าวระบุไว้อย่างชัดแจ้งว่าในการคำนวณเงินเพิ่มตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง เศษของเดือนให้นับเป็นหนึ่งเดือนและเงินเพิ่มนั้นให้ถือเป็นเงินอากร ดังนั้นในการคำนวณเงินเพิ่มนั้นเศษของเดือนจึงต้องนับเป็นหนึ่งเดือนด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 631/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนอากรขาเข้าเกินและดอกเบี้ย: กรณีศุลกากรประเมินราคาผิดพลาด ผู้เสียภาษีมีสิทธิขอคืน
กรณีของโจทก์เป็นเรื่องพนักงานเจ้าหน้าที่ของกรมศุลกากรจำเลยไม่พอใจราคาสินค้าที่โจทก์สำแดง จึงให้โจทก์ชำระอากรตามสำแดงและให้วางเงินประกันค่าอากรอีกส่วนหนึ่ง ได้มีการส่งมอบสินค้าให้โจทก์รับไปแล้วต่อมาพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้ประเมินให้โจทก์ชำระอากรขาเข้าเพิ่มโจทก์ได้ชำระอากรเพิ่มตามที่ได้รับแบบแจ้งการประเมินการชำระเงินค่าอากรเพิ่มกรณีเป็นการชำระหลังจากได้รับมอบสินค้าแล้ว จึงไม่ต้องด้วย พ.ร.บ.ศุลกากรพ.ศ.2469 มาตรา 10 วรรคห้า การที่โจทก์ได้ชำระอากรขาเข้าให้แก่จำเลยตามที่จำเลยเรียกเก็บโดยอาศัยอำนาจตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ แม้โจทก์มิได้แจ้งความไว้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือสงวนสิทธิในการฟ้องร้องหรือเรียกร้องเงินจำนวนนี้คืน และมิได้บอกกล่าวให้จำเลยคืนเงินตามฟ้องก่อนนั้น ก็มิได้ตัดสิทธิในการฟ้องคดี เมื่อจำเลยไม่มีสิทธิอย่างใดในเงินอากรขาเข้าที่เรียกเก็บตามฟ้องนั้น จำเลยก็ย่อมมีหน้าที่จะต้องคืนเงินจำนวนเท่ากับที่โจทก์ได้ชำระไปให้แก่โจทก์ตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 112 จัตวา วรรคท้าย คดีนี้โจทก์ขอเรียกดอกเบี้ยมาในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของจำนวนเงินที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้เรียกไว้เกินจำนวนอันจะพึงต้องเสียนับแต่วันที่โจทก์ชำระให้แก่จำเลยแต่ละครั้งจนกว่าจะชำระเสร็จ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอคืนอากรและดอกเบี้ยจากจำเลยได้
ราคาสินค้าที่โจทก์สำแดงไว้ในใบขนสินค้านั้น โจทก์มีทั้งพยานบุคคลและพยานเอกสารมานำสืบว่าเป็นราคาที่โจทก์ได้ตกลงซื้อขายกับบริษัทผู้จำหน่ายในต่างประเทศจริง และได้มีการชำระเงินกันโดยผ่านทางธนาคาร จำเลยมิได้นำสืบให้เห็นว่าราคาของที่โจทก์สำแดงไว้ในใบขนสินค้านั้นโจทก์และบริษัทผู้จำหน่ายในต่างประเทศได้สมยอมกันกำหนดราคาให้ต่ำกว่าที่เป็นจริง อีกทั้งจำเลยก็มิได้มีพยานหลักฐานใดมาแสดงให้เห็นว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาดของสินค้าพิพาทเป็นราคาเท่าใด คงเพียงแต่อาศัยราคาที่จำเลยอ้างว่าโจทก์เคยนำเข้าสินค้ามาเป็นเกณฑ์ประเมินราคาอันแท้จริงในท้องตลาดเพียงอย่างเดียว ซึ่งราคาดังกล่าวเป็นราคาที่ผู้จำหน่ายในต่างประเทศได้พิมพ์ผิดพลาดและการประเมินเพิ่มอาศัยหลักการตามที่จำเลยวางระเบียบและคำสั่งราชการให้ใช้ราคานำเข้าสูงสุดครั้งก่อนรายที่พิจารณาเป็นเกณฑ์ในการประเมินราคานั้นระเบียบและคำสั่งของจำเลยเป็นเพียงแนวทางให้เจ้าพนักงานของจำเลยใช้สำหรับพิจารณาราคาอันแท้จริงในท้องตลาดโดยการเปรียบเทียบกับผู้นำเข้าครั้งก่อนเท่านั้นจะถือเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดยังไม่ได้ อีกทั้งปรากฏว่าราคาสินค้าที่โจทก์นำเข้าครั้งก่อนมีการพิมพ์ผิดพลาดไม่อาจนำมาเปรียบเทียบได้ ดังนั้น ราคาของที่เจ้าพนักงานของจำเลยประเมินเพิ่มขึ้นจึงไม่อาจถือว่าเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาด
ราคาสินค้าที่โจทก์สำแดงไว้ในใบขนสินค้านั้น โจทก์มีทั้งพยานบุคคลและพยานเอกสารมานำสืบว่าเป็นราคาที่โจทก์ได้ตกลงซื้อขายกับบริษัทผู้จำหน่ายในต่างประเทศจริง และได้มีการชำระเงินกันโดยผ่านทางธนาคาร จำเลยมิได้นำสืบให้เห็นว่าราคาของที่โจทก์สำแดงไว้ในใบขนสินค้านั้นโจทก์และบริษัทผู้จำหน่ายในต่างประเทศได้สมยอมกันกำหนดราคาให้ต่ำกว่าที่เป็นจริง อีกทั้งจำเลยก็มิได้มีพยานหลักฐานใดมาแสดงให้เห็นว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาดของสินค้าพิพาทเป็นราคาเท่าใด คงเพียงแต่อาศัยราคาที่จำเลยอ้างว่าโจทก์เคยนำเข้าสินค้ามาเป็นเกณฑ์ประเมินราคาอันแท้จริงในท้องตลาดเพียงอย่างเดียว ซึ่งราคาดังกล่าวเป็นราคาที่ผู้จำหน่ายในต่างประเทศได้พิมพ์ผิดพลาดและการประเมินเพิ่มอาศัยหลักการตามที่จำเลยวางระเบียบและคำสั่งราชการให้ใช้ราคานำเข้าสูงสุดครั้งก่อนรายที่พิจารณาเป็นเกณฑ์ในการประเมินราคานั้นระเบียบและคำสั่งของจำเลยเป็นเพียงแนวทางให้เจ้าพนักงานของจำเลยใช้สำหรับพิจารณาราคาอันแท้จริงในท้องตลาดโดยการเปรียบเทียบกับผู้นำเข้าครั้งก่อนเท่านั้นจะถือเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดยังไม่ได้ อีกทั้งปรากฏว่าราคาสินค้าที่โจทก์นำเข้าครั้งก่อนมีการพิมพ์ผิดพลาดไม่อาจนำมาเปรียบเทียบได้ ดังนั้น ราคาของที่เจ้าพนักงานของจำเลยประเมินเพิ่มขึ้นจึงไม่อาจถือว่าเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5877/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินอากรขาเข้า, การอุทธรณ์, อายุความ, และฟ้องซ้ำ: กรณีพิพาทเกี่ยวกับพิกัดอัตราศุลกากรและการประเมินภาษี
รถยนต์พิพาทที่จำเลยนำเข้ามา ภายนอกตัวรถด้านซ้ายมีกันสาดติดตั้งไว้ซึ่งสามารถพับเก็บแนบติดกับขอบหลังคารถได้ สภาพภายในตัวรถมีลักษณะเหมือนห้องโถง ไม่มีการกั้นแยกส่วนระหว่างที่นั่งคนขับและส่วนที่เป็นโถง มีเก้าอี้นั้น 2 ตัว มีส่วนที่กั้นเป็นห้องน้ำซึ่งภายในติดตั้งอ่างล้างหน้าและฝักบัว มีตู้ชั้นลอยติดตั้งอยู่เหนือส่วนที่ระบุว่าเป็น "WORKTOP" ระหว่างประตูทางขึ้นด้านข้างของตัวรถกับส่วนที่เป็นห้องน้ำติดตั้งตู้ซึ่งมีลักษณะคล้ายตู้ใส่เสื้อผ้า นอกจากนี้ยังมีเครื่องดูดควันติดตั้งอยู่ใต้ตู้ชั้นลอยเหนือส่วนที่ระบุว่า "WORKTOP" และบริเวณใต้หลังคารถเหนือศีรษะคนขับมีลักษณะเป็นชั้นลอยวางฟูกสำหรับปูนอนสำหรับส่วนที่เป็นเก้าอี้โซฟายาวซึ่งจำเลยอ้างว่าใช้เป็นเตียงคนไข้นั้น ความจริงก็คือมีเก้าอี้โซฟาที่ปรับเป็นเตียงนอนได้นั่นเอง รถยนต์พิพาทจึงมีลักษณะและมีอุปกรณ์ใช้สอยที่ติดตั้งไว้เหมือนกับบ้านที่เคลื่อนที่หาใช่มีลักษณะเป็นรถพยาบาลหรือเป็นรถตู้มีที่นั่ง12 ที่นั่งไม่ และตามพระราชกฤษฎีกาพิกัดอัตราศุลกากรพ.ศ. 2503 ประเภทที่ 87.02 ค. นั้น รถยนต์ที่จัดอยู่ในประเภทพิกัดที่ 87.02 ค. แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือรถบรรทุกประเภทหนึ่งและรถนั่งแบบจิ๊ปอีกประเภทหนึ่งในกรณีของรถบรรทุกย่อมมีความหมายถึงรถที่ใช้บรรทุกสิ่งของเป็นสำคัญ แต่รถยนต์พิพาทมีลักษณะการออกแบบและประโยชน์ใช้สอยสำหรับใช้นั่งหรือนอน ไม่ใช่สำหรับใช้บรรทุกสิ่งของส่วนกรณีรถนั่งแบบจี๊ปก็ต้องมีลักษณะเป็นรถที่สมบุกสมบันขับเคลื่อน 4 ล้อ และมีกำลังส่งใช้ภายนอกได้ ตามที่โจทก์ที่ 1 กำหนดโดย ว.อ.92/2508 แต่รถยนต์พิพาทไม่มีลักษณะดังกล่าวไม่อาจถือว่าเป็นรถที่มีลักษณะคล้ายกับรถดังกล่าวอันจะจัดเข้าในประเภทพิกัดที่ 87.02 ค. ได้กรณีจึงต้องจัดรถยนต์พิพาทเข้าในประเภทรถอื่น ๆ ตามประเภทพิกัดที่ 87.02 ง.(2) รถยนต์พิพาทในขณะนำเข้ามีลักษณะเป็นรถยนต์นั่งที่ติดตั้งอุปกรณ์อำนวยความสะดวกสบายเหมือนบ้านเคลื่อนที่โดยในส่วนขวางรถยนต์มีที่นั่งภายในไม่เกิน 10 ที่นั่ง และลักษณะของที่นั่งก็ต่างจากที่นั่งที่ใช้ในรถยนต์โดยสารทั่วไป รถยนต์พิพาทจึงไม่ใช่รถยนต์โดยสารหรือเป็นรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งเกิน 10 คน ส่วนที่กองทะเบียนกรมตำรวจรับจดทะเบียนให้ในประเภทดังกล่าวนั้น เป็นการพิจารณาสภาพที่นำเข้าคนละขั้นตอนกันและวัตถุประสงค์เป็นคนละอย่างกัน ดังนั้น การรับจดทะเบียนของกรมตำรวจไม่เป็นข้อผูกมัดโจทก์ที่ 1 แต่อย่างใด เมื่อโจทก์ที่ 1 แจ้งการประเมินไปยังจำเลยให้ชำระภาษีอากรเพิ่มเติม กรณีย่อมถือได้ว่ามีการประเมินภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากร มาตรา 87(2) แล้ว หากจำเลยเห็นว่าไม่ถูกต้องอย่างไร ก็ชอบที่จำเลยจะใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากรมาตรา 30 เสียก่อน เมื่อจำเลยเพียงแต่อุทธรณ์ต่อโจทก์ที่ 1ซึ่งมิใช่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 30 จึงไม่เป็นการอุทธรณ์ตามที่กฎหมายกำหนดไว้จำเลยย่อมหมดสิทธิโต้แย้งคัดค้านการประเมินของเจ้าพนักงานโจทก์ที่ 1 ในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลอีกต่อไป ทั้งนี้ไม่ว่าโดยวิธีฟ้องร้องหรือให้การต่อสู้คดีในศาลเพื่อไม่ให้ตนต้องชำระค่าภาษีตามที่เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินนั้น คดีนี้โจทก์ที่ 1 ใช้สิทธิเรียกร้องเงินอากรเพราะเหตุอันเกี่ยวกับอัตราศุลกากรสำหรับรถยนต์พิพาทที่จำเลยนำเข้ามาว่าจะใช้อัตราใด จึงมีอายุความสิบปี นับจากวันที่จำเลยนำของ หาใช่ในเหตุที่ได้คำนวณจำนวนเงินอากรผิดอันจักมีอายุความ 2 ปีไม่ คดีก่อนโจทก์ที่ 1 ฟ้อง ส. ให้ใช้ค่าเสียหายในข้อหาละเมิด เนื่องจากปฏิบัติหน้าที่โดยขาดความระมัดระวังทำให้โจทก์ที่ 1 เสียรายได้จากการจัดเก็บภาษีอากรรถยนต์พิพาท ซึ่งคดีดังกล่าวยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาส่วนคดีนี้โจทก์ที่ 1 ฟ้องให้จำเลยชำระภาษีอากรที่ค้างชำระนอกจากจะเป็นคู่ความคนละคนแล้ว มูลเหตุแห่งการฟ้องก็เป็นคนละเหตุ ฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 125/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องขอคืนอากรขาเข้าเริ่มนับแต่วันชำระเงิน การแสดงเจตนาสำคัญผิดเป็นโมฆะ
คดีนี้พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้แจ้งการประเมินราคาสินค้าให้โจทก์ชำระภาษีอากรเพิ่มสำหรับใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าทั้งสองฉบับโจทก์ได้ชำระอากรขาเข้าภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลเพิ่มให้แก่จำเลยแล้วแต่โจทก์มิได้อุทธรณ์การประเมินในส่วนภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์การประเมินเรียกเก็บภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลเพิ่มดังกล่าวถือเป็นการประเมินตามประมวลรัษฎากรมาตรา87(เดิม)ซึ่งอยู่ในบังคับที่จะต้องอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามมาตรา30ก่อนจึงจะฟ้องคดีเรียกภาษีอากรที่ชำระเกินไปคืนได้ หลังจากโจทก์ทำหนังสืออุทธรณ์การประเมินต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยพิจารณาแล้วมีคำสั่งยืนตามราคาประเมินและโจทก์มิได้ยื่นอุทธรณ์ต่อจำเลยอีกแต่มีผู้ทำเอกสารปลอมลายมือชื่อกรรมการผู้มีอำนาจของโจทก์และรอยประทับตราของโจทก์ยื่นอุทธรณ์ต่อจำเลยในนามของโจทก์เป็นเหตุให้จำเลยหลงเชื่อว่าเป็นอุทธรณ์ของโจทก์จริงและนำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์และปัญหาราคาและคณะกรรมการดังกล่าววินิจฉัยให้เปลี่ยนแปลงราคาประเมินกับมีหนังสือแจ้งผลการพิจารณาให้โจทก์ทราบเพื่อดำเนินการขอคืนค่าภาษีอากรดังนั้นอุทธรณ์ฉบับที่สองที่ยื่นต่อจำเลยในนามของโจทก์ซึ่งมีผู้ทำปลอมขึ้นโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายมิใช่อุทธรณ์ของโจทก์แม้คณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์และปัญหาราคาจะรับวินิจฉัยให้ก็หามีผลทำให้อุทธรณ์นั้นเป็นอุทธรณ์ที่ชอบด้วยกฎหมายขึ้นมาไม่ถือเท่ากับไม่มีการอุทธรณ์ดังกล่าวคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์และปัญหาราคาจึงไม่มีอำนาจวินิจฉัยให้คืนอากรให้แก่โจทก์ดังนั้นการที่จำเลยมีหนังสือแจ้งผลการพิจารณาให้โจทก์ทราบเพื่อดำเนินการขอคืนค่าภาษีอากรจึงเป็นการแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดว่าโจทก์เป็นผู้ยื่นอุทธรณ์ฉบับที่สองเป็นการแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมกล่าวคือสำคัญผิดในตัวบุคคลซึ่งเป็นคู่กรณีแห่งนิติกรรมจึงเป็นโมฆะหนังสือแจ้งผลการพิจารณาให้โจทก์ทราบดังกล่าวถือไม่ได้ว่าเป็นการรับสภาพหนี้ เมื่อโจทก์ชำระอากรขาเข้าเพิ่มเติมภายหลังจากโจทก์นำของออกจากอารักขาของศุลกากรแล้วไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความ10ปีนับแต่เมื่อโจทก์ชำระภาษีอากรเพิ่มเติมที่ได้รับแจ้งตามพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ.2469มาตรา112ทวิวรรคหนึ่งและวรรคสองเมื่อโจทก์ชำระภาษีอากรเพิ่มเติมตามที่ได้รับแจ้งการประเมินตามสำเนาใบเสร็จรับเงินซึ่งระบุว่าจำเลยได้รับชำระอากรแล้วเมื่อวันที่10กันยายน2527สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในการขอคืนอากรขาเข้าที่ชำระเกินไปจึงเริ่มนับแต่วันดังกล่าวโจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่30สิงหาคม2538พ้นกำหนด10ปีแล้วคดีโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1220/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอคืนอากรขาเข้ากรณีของเสียหายจากเพลิงไหม้ และการปฏิบัติตามเงื่อนไขการส่งออก
โจทก์นำของเข้ามาในราชอาณาจักรโดยแสดงความจำนงต่อจำเลยทั้งสองว่าจะใช้ของที่นำเข้ามานั้นในการผลิตหรือผสมหรือประกอบหรือบรรจุเพื่อการส่งออกไปยังเมืองต่างประเทศภายในกำหนด 1 ปี เพื่อขอคืนเงินอากรขาเข้า ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 19 ทวิ แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ.2482 และโจทก์มิได้ชำระอากรขาเข้าเพราะได้รับอนุญาตจากจำเลยที่ 1 ให้วางหนังสือค้ำประกันของธนาคารแทนการชำระภาษีอากรที่จะต้องเสีย ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 19 ตรี แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว ดังนี้ การคืนเงินภาษีอากรที่ได้ชำระแล้วหรือการคืนประกันโดยถือเสมือนว่าเป็นการคืนเงินค่าภาษีอากรนั้น มาตรา 19 ทวิบัญญัติไว้เพียงกรณีเดียว คือ เมื่อได้พิสูจน์ให้เป็นที่พอใจอธิบดีกรมศุลกากรหรือผู้ที่อธิบดีกรมศุลกากรมอบหมายว่าของที่ส่งออกไปยังเมืองต่างประเทศนั้น ได้ผลิตหรือผสมหรือประกอบหรือบรรจุด้วยของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร ทั้งจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามมาตรา 19 ทวิ (ก)- (จ) ด้วย เมื่อปรากฏว่าโจทก์มิได้ส่งของที่ผลิตด้วยเส้นด้ายใยยาวสังเคราะห์ทำด้วยโปลีเอสเตอร์และผ้าทอโปลีเอสเตอร์ใยสั้นที่ได้นำเข้า ออกไปยังเมืองต่างประเทศภายในกำหนด1 ปี จึงไม่อาจขอคืนเงินค่าภาษีอากรที่ได้ชำระหรือขอคืนหนังสือค้ำประกันของธนาคารตามมาตรา 19 ทวิ
แม้ว่าของที่โจทก์นำเข้าทั้งที่ยังมีสภาพเป็นวัตถุดิบและที่นำมาผลิตเป็นสินค้าแล้วอยู่ในขั้นเตรียมการเพื่อส่งออกไปยังเมืองต่างประเทศได้ถูกเพลิงไหม้เสียหายทั้งหมดขณะที่เก็บไว้ในโรงงานของโจทก์ก็ตาม แต่ก็ไม่มีบทกฎหมายใดที่ให้สิทธิแก่โจทก์ที่จะฟ้องเรียกค่าภาษีอากรที่ได้ชำระแล้วหรือเรียกหนังสือค้ำประกันคืนจากจำเลยในก่อนนี้ได้
ตามมาตรา 95 แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 เป็นบทบัญญัติในหมวด 10 ว่าด้วยการเก็บของในคลังสินค้า ซึ่งบัญญัติให้อำนาจอธิบดี-กรมศุลกากรในอันที่จะยกเว้นค่าภาษีที่จะต้องเสียหรือคืนค่าภาษีที่ได้เสียแล้วสำหรับของที่เก็บในคลังสินค้า หรือที่ยื่นใบขนเพื่อเก็บในคลังสินค้าหรือที่ยื่นใบขนเพื่อรับมอบไปจากคลังสินค้าแล้วเกิดการสูญหายหรือถูกทำลายโดยอุบัติเหตุอันมิอาจหลีกเลี่ยงเสียได้ ในขณะที่อยู่บนเรือหรือในเวลาย้ายถอนขนขึ้น ในเวลารับเข้าเก็บในคลังสินค้า หรือเวลาที่เก็บอยู่ในคลังสินค้า แต่โรงงานของโจทก์ซึ่งเป็นสถานที่เก็บของที่นำเข้าดังกล่าว มิได้เป็นคลังสินค้า ฉะนั้น แม้เพลิงจะได้ไหม้ของที่โจทก์นำเข้าทั้งที่นำมาผลิตเป็นสินค้าแล้วและที่ยังอยู่ในสภาพเป็นวัตถุดิบที่เก็บรักษาในอาคารโรงงานของโจทก์จนเสียหายไปทั้งหมด ไม่ว่าการที่เกิดเพลิงไหม้เป็นเพราะเหตุสุดวิสัยหรืออุบัติเหตุอันมิอาจหลีกเลี่ยงเสียได้ อธิบดีกรมศุลกากรก็ไม่มีอำนาจที่จะยกเว้นค่าภาษีที่จะต้องเสียหรือคืนค่าภาษีที่ได้เสียแล้วสำหรับของนั้นให้แก่โจทก์
ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า ศาลภาษีอากรกลางไม่ได้วินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทที่กำหนดไว้ว่า การที่โจทก์ไม่สามารถผลิตสินค้าและส่งสินค้าออกภายในกำหนด 1 ปี มิใช่ความผิดของโจทก์ จึงไม่ต้องรับผิดชอบในค่าภาษีอากรตามฟ้องและสมควรได้รับอากรขาเข้าคืน ตาม พ.ร.บ.ศุลกากร มาตรา 19 ทวิ หรือไม่เป็นการไม่ชอบนั้น เมื่อปรากฏว่าศาลภาษีอากรกลางได้วินิจฉัยว่า การที่ของที่โจทก์นำเข้ามาในราชอาณาจักรตามฟ้อง ทั้งที่นำมาผลิตเป็นสินค้าแล้วและที่ยังอยู่ในสภาพเป็นวัตถุดิบซึ่งโจทก์เก็บรักษาไว้ที่โรงงานของโจทก์ถูกเพลิงไหม้เสียหายหมด ทำให้โจทก์ไม่สามารถส่งสินค้าที่ผลิตหรือประกอบหรือผสมหรือบรรจุด้วยของที่นำเข้า ออกไปยังเมืองต่างประเทศ แม้จะเป็นเหตุสุดวิสัย โจทก์ก็ไม่มีสิทธิตามกฎหมายที่จะได้รับค่าภาษีอากรที่ได้ชำระไว้แล้วคืนจากจำเลยทั้งสอง เป็นการวินิจฉัยว่าการที่โจทก์ไม่สามารถผลิตและส่งสินค้าที่ผลิตด้วยของที่นำเข้าไปยังเมืองต่างประเทศภายในกำหนด 1 ปี แม้จะมิใช่ความผิดของโจทก์ โจทก์ก็ไม่มีสิทธิได้รับค่าภาษีอากรที่ได้เสียไปแล้วคืน จึงเป็นการวินิจฉัยในประเด็นข้อพิพาทแล้ว
แม้ว่าของที่โจทก์นำเข้าทั้งที่ยังมีสภาพเป็นวัตถุดิบและที่นำมาผลิตเป็นสินค้าแล้วอยู่ในขั้นเตรียมการเพื่อส่งออกไปยังเมืองต่างประเทศได้ถูกเพลิงไหม้เสียหายทั้งหมดขณะที่เก็บไว้ในโรงงานของโจทก์ก็ตาม แต่ก็ไม่มีบทกฎหมายใดที่ให้สิทธิแก่โจทก์ที่จะฟ้องเรียกค่าภาษีอากรที่ได้ชำระแล้วหรือเรียกหนังสือค้ำประกันคืนจากจำเลยในก่อนนี้ได้
ตามมาตรา 95 แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 เป็นบทบัญญัติในหมวด 10 ว่าด้วยการเก็บของในคลังสินค้า ซึ่งบัญญัติให้อำนาจอธิบดี-กรมศุลกากรในอันที่จะยกเว้นค่าภาษีที่จะต้องเสียหรือคืนค่าภาษีที่ได้เสียแล้วสำหรับของที่เก็บในคลังสินค้า หรือที่ยื่นใบขนเพื่อเก็บในคลังสินค้าหรือที่ยื่นใบขนเพื่อรับมอบไปจากคลังสินค้าแล้วเกิดการสูญหายหรือถูกทำลายโดยอุบัติเหตุอันมิอาจหลีกเลี่ยงเสียได้ ในขณะที่อยู่บนเรือหรือในเวลาย้ายถอนขนขึ้น ในเวลารับเข้าเก็บในคลังสินค้า หรือเวลาที่เก็บอยู่ในคลังสินค้า แต่โรงงานของโจทก์ซึ่งเป็นสถานที่เก็บของที่นำเข้าดังกล่าว มิได้เป็นคลังสินค้า ฉะนั้น แม้เพลิงจะได้ไหม้ของที่โจทก์นำเข้าทั้งที่นำมาผลิตเป็นสินค้าแล้วและที่ยังอยู่ในสภาพเป็นวัตถุดิบที่เก็บรักษาในอาคารโรงงานของโจทก์จนเสียหายไปทั้งหมด ไม่ว่าการที่เกิดเพลิงไหม้เป็นเพราะเหตุสุดวิสัยหรืออุบัติเหตุอันมิอาจหลีกเลี่ยงเสียได้ อธิบดีกรมศุลกากรก็ไม่มีอำนาจที่จะยกเว้นค่าภาษีที่จะต้องเสียหรือคืนค่าภาษีที่ได้เสียแล้วสำหรับของนั้นให้แก่โจทก์
ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า ศาลภาษีอากรกลางไม่ได้วินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทที่กำหนดไว้ว่า การที่โจทก์ไม่สามารถผลิตสินค้าและส่งสินค้าออกภายในกำหนด 1 ปี มิใช่ความผิดของโจทก์ จึงไม่ต้องรับผิดชอบในค่าภาษีอากรตามฟ้องและสมควรได้รับอากรขาเข้าคืน ตาม พ.ร.บ.ศุลกากร มาตรา 19 ทวิ หรือไม่เป็นการไม่ชอบนั้น เมื่อปรากฏว่าศาลภาษีอากรกลางได้วินิจฉัยว่า การที่ของที่โจทก์นำเข้ามาในราชอาณาจักรตามฟ้อง ทั้งที่นำมาผลิตเป็นสินค้าแล้วและที่ยังอยู่ในสภาพเป็นวัตถุดิบซึ่งโจทก์เก็บรักษาไว้ที่โรงงานของโจทก์ถูกเพลิงไหม้เสียหายหมด ทำให้โจทก์ไม่สามารถส่งสินค้าที่ผลิตหรือประกอบหรือผสมหรือบรรจุด้วยของที่นำเข้า ออกไปยังเมืองต่างประเทศ แม้จะเป็นเหตุสุดวิสัย โจทก์ก็ไม่มีสิทธิตามกฎหมายที่จะได้รับค่าภาษีอากรที่ได้ชำระไว้แล้วคืนจากจำเลยทั้งสอง เป็นการวินิจฉัยว่าการที่โจทก์ไม่สามารถผลิตและส่งสินค้าที่ผลิตด้วยของที่นำเข้าไปยังเมืองต่างประเทศภายในกำหนด 1 ปี แม้จะมิใช่ความผิดของโจทก์ โจทก์ก็ไม่มีสิทธิได้รับค่าภาษีอากรที่ได้เสียไปแล้วคืน จึงเป็นการวินิจฉัยในประเด็นข้อพิพาทแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 54/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการคืนอากรขาเข้า และการประเมินราคาตามดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ศุลกากร
กำหนดเวลา2ปีตามมาตรา10วรรค5แห่งพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ.2469นั้นใช้กับกรณีการเรียกร้องขอคืนเงินอากรที่ได้เสียไปแล้วก่อนนำของออกจากอารักขาของศุลกากรตามมาตรา40ไม่รวมถึงกรณีการเรียกร้องขอคืนเงินอากรที่ถูกประเมินเรียกเก็บเพิ่มเติมภายหลังจากนำของออกจากอารักขาของศุลกากรแล้วตามมาตรา112,112ทวิทั้งนี้จะเห็นได้จากบทบัญญัติในมาตรา10วรรค5ดังกล่าวที่ให้นับกำหนดเวลา2ปีตั้งแต่วันนำของเข้าและมิให้รับพิจารณาการเรียกร้องขอคืนเงินอากรหลังจากที่ได้เสียอากรและของนั้นๆได้ส่งมอบแล้วเว้นแต่ในกรณีที่ผู้นำเข้าได้แจ้งความไว้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนการส่งมอบว่าจะยื่นคำเรียกร้องดังกล่าวซึ่งหากเป็นกรณีตามมาตรา112,112ทวิแล้วจะไม่อาจใช้ระยะเวลา2ปีนับจากวันที่นำของเข้าและไม่อาจแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนการส่งมอบของว่าจะยื่นคำเรียกร้องดังกล่าวได้การที่โจทก์เรียกอากรขาเข้าตามที่ถูกประเมินให้ชำระเพิ่มเติมในกรณีนี้มิใช่กรณีใช้สิทธิในการเรียกร้องขอคืนเงินอากรขาเข้าเพราะเหตุที่ได้เสียไว้เกินจำนวนที่พึงต้องเสียจริงก่อนนำของออกจากอารักขาของศุลกากรสิทธิของโจทก์ที่จะเรียกเงินอากรขาเข้านี้คืนจึงมิได้เป็นอันสิ้นไปเมื่อครบกำหนด2ปีนับจากวันที่นำของเข้าตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติ ศุลกากรพ.ศ.2469มาตรา10วรรค5แต่กรณีนี้พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยประเมินและแจ้งให้โจทก์ชำระค่าอากรขาเข้าเพิ่มเติมภายหลังจากโจทก์นำของออกจากอารักขาของศุลกากรแล้วซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ10ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1527/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเรียกเก็บอากรขาเข้าเพิ่มตามมาตรา 112 ตรี ไม่ครอบคลุมกรณีผิดเงื่อนไขการค้ำประกันตามมาตรา 19 ทวิ/19 ตรี
การที่จะเรียกอากรขาเข้าเพิ่มอีกร้อยละยี่สิบตามพระราชบัญญัติศุลกากรฯมาตรา112ตรีนั้นมีได้2กรณีคือกรณีที่มิได้ชำระเงินอากรครบถ้วนตามมาตรา112ทวิกับกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามระเบียบหรือเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนดตามมาตรา40เท่านั้นไม่รวมถึงกรณีที่ปฏิบัติผิดเงื่อนไขตามมาตรา19ตรีทั้งสาระสำคัญของมาตรา40กับมาตรา19ตรีก็แตกต่างกันกล่าวคือตามมาตรา40นั้นกำหนดเงื่อนไขในการที่ผู้นำเข้าจะนำของออกจากอารักขาของศุลกากรทั่วๆไปแต่มาตรา19ตรีเป็นเรื่องการค้ำประกันการนำเข้าที่เกี่ยวเนื่องกับมาตรา19ทวิที่เกี่ยวกับสิทธิในการขอคืนอากรขาเข้าและเป็นกรณีสำหรับเฉพาะสินค้าหรือสิ่งของบางประการหรือบางกรณีดังนั้นบทบัญญัติตามมาตรา40จึงมิได้ใช้บังคับกรณีตามมาตรา19ทวิและ19ตรีเมื่อการจะเรียกอากรขาเข้าเพิ่มตามมาตรา112ตรีมิได้ระบุถึงกรณีตามมาตรา19ทวิและ19ตรีจึงไม่อยู่ในข่ายที่จะเรียกอากรขาเข้าเพิ่มตามมาตรา112ตรีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6800/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินอากรขาเข้า: ศาลใช้ราคาออกจากโรงงานผู้ผลิตเป็นเกณฑ์ หากราคาสำแดงและประเมินเดิมไม่สมเหตุสมผล
จำเลยให้การปฏิเสธว่าโจทก์ได้สำแดงราคาสินค้าต่ำกว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาด จำเลยจึงได้ประเมินราคาใหม่ตามราคาแท้จริงในท้องตลาดประเด็นสำคัญจึงอยู่ที่ว่าสินค้าของโจทก์มีราคาอันแท้จริงในท้องตลาดเท่าใด แม้จำเลยจะให้การไว้ว่าได้ประเมินราคาใหม่โดยเปรียบเทียบราคาสินค้าของโจทก์กับบัญชีราคาสินค้า ซึ่งถือเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดก็ตาม จำเลยก็สามารถนำสืบหักล้างพยานโจทก์ให้เห็นว่าราคาที่โจทก์สำแดงนั้นไม่ใช่ราคาอันแท้จริงในท้องตลาด เนื่องจากราคาสินค้าของโจทก์มีราคาที่ออกจากโรงงานผู้ผลิตตามเอกสารหมาย ล.1 แผ่นที่ 71 สูงกว่าราคาที่โจทก์สำแดงไว้ได้ เมื่อศาลเห็นว่าราคาที่โจทก์สำแดงไว้และราคาที่จำเลยได้ประเมินใหม่ตามคำให้การมิใช่ราคาอันแท้จริงในท้องตลาด แต่ราคาอันแท้จริงในท้องตลาดมีราคาตามที่ออกจากโรงงานผู้ผลิตซึ่งมีราคาสูงกว่าที่โจทก์สำแดงและต่ำกว่าที่จำเลยประเมินใหม่เป็นประโยชน์แก่โจทก์ ศาลก็ย่อมรับฟังราคาอันแท้จริงในท้องตลาดตามเอกสารหมาย ล.1 แผ่นที่ 71 มาเป็นราคากำหนดในการประเมินอากรขาเข้าให้ถูกต้องได้ เพราะเป็นการวินิจฉัยถึงราคาอันแท้จริงในท้องตลาดตามประเด็นที่โจทก์จำเลยโต้แย้งกันนั่นเองเมื่อจำเลยประเมินอากรขาเข้าของสินค้าโจทก์เกินกว่าที่โจทก์ต้องชำระ ศาลก็ย่อมพิพากษาเพิกถอนส่วนที่ประเมินเกินไปนั้น และกำหนดให้ประเมินอากรขาเข้าในส่วนที่โจทก์จะต้องชำระให้ถูกต้องได้ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกคำให้การ