พบผลลัพธ์ทั้งหมด 399 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5095/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจไม่ครบอากรแสตมป์ ทำให้ไม่มีอำนาจฟ้อง คดีจึงต้องยก
ปัญหาว่าหนังสือมอบอำนาจปิดอากรแสตมป์ครบถ้วนหรือไม่ แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในศาลแรงงานกลาง และเพิ่งยกขึ้นโต้แย้งคัดค้านในชั้นอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาก็ตาม แต่ปัญหาดังกล่าวเกี่ยวกับอำนาจฟ้องของโจทก์จึงเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยมีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31
บัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายหมวด 6 ของ ป.รัษฎากรฯ ข้อ 7 กำหนดว่ากรณี (ข) มอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวหรือหลายคนร่วมกันกระทำการมากกว่าครั้งเดียวต้องเสียค่าอากรแสตมป์ 30 บาท และกรณี (ค) มอบอำนาจให้กระทำการมากกว่าครั้งเดียวโดยให้บุคคลหลายคนต่างคนต่างกระทำกิจการแยกกันได้คิดตามรายตัวบุคคลที่รับมอบคนละ 30 บาท การที่โจทก์มอบอำนาจและแต่งตั้งให้ ล. และ/หรือ ส. เป็นผู้มีอำนาจดำเนินคดีทั้งทางแพ่งและอาญากับจำเลย... ย่อมมีความหมายว่า ล. และ ส. จะร่วมกันกระทำการในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ด้วยกันก็ได้ หรืออีกกรณีหนึ่ง ล. หรือ ส. เพียงคนใดคนหนึ่งก็มีอำนาจกระทำการในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ได้เช่นเดียวกัน และการมอบอำนาจดังกล่าวเป็นการมอบอำนาจให้กระทำการมากกว่าครั้งเดียวโดยผู้รับมอบอำนาจทั้งสองจะกระทำการร่วมกันหรือต่างคนต่างกระทำการแยกกันได้ ค่าอากรแสตมป์สำหรับหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวจึงต้องเสียคนละ 30 บาท รวม 60 บาท ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ข้อ 7 (ค) ท้าย ป.รัษฎากรฯ แต่โจทก์ปิดอากรแสตมป์ในหนังสือมอบอำนาจเพียง 30 บาท ซึ่งไม่ครบถ้วนถูกต้องตามกฎหมายหนังสือมอบอำนาจดังกล่าว จึงไม่อาจใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีนี้ได้ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.รัษฎากรฯ มาตรา 118
บัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายหมวด 6 ของ ป.รัษฎากรฯ ข้อ 7 กำหนดว่ากรณี (ข) มอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวหรือหลายคนร่วมกันกระทำการมากกว่าครั้งเดียวต้องเสียค่าอากรแสตมป์ 30 บาท และกรณี (ค) มอบอำนาจให้กระทำการมากกว่าครั้งเดียวโดยให้บุคคลหลายคนต่างคนต่างกระทำกิจการแยกกันได้คิดตามรายตัวบุคคลที่รับมอบคนละ 30 บาท การที่โจทก์มอบอำนาจและแต่งตั้งให้ ล. และ/หรือ ส. เป็นผู้มีอำนาจดำเนินคดีทั้งทางแพ่งและอาญากับจำเลย... ย่อมมีความหมายว่า ล. และ ส. จะร่วมกันกระทำการในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ด้วยกันก็ได้ หรืออีกกรณีหนึ่ง ล. หรือ ส. เพียงคนใดคนหนึ่งก็มีอำนาจกระทำการในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ได้เช่นเดียวกัน และการมอบอำนาจดังกล่าวเป็นการมอบอำนาจให้กระทำการมากกว่าครั้งเดียวโดยผู้รับมอบอำนาจทั้งสองจะกระทำการร่วมกันหรือต่างคนต่างกระทำการแยกกันได้ ค่าอากรแสตมป์สำหรับหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวจึงต้องเสียคนละ 30 บาท รวม 60 บาท ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ข้อ 7 (ค) ท้าย ป.รัษฎากรฯ แต่โจทก์ปิดอากรแสตมป์ในหนังสือมอบอำนาจเพียง 30 บาท ซึ่งไม่ครบถ้วนถูกต้องตามกฎหมายหนังสือมอบอำนาจดังกล่าว จึงไม่อาจใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีนี้ได้ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.รัษฎากรฯ มาตรา 118
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5095/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจไม่ครบอากรแสตมป์ ทำให้ไม่มีอำนาจฟ้องคดี
ปัญหาที่ว่าหนังสือมอบอำนาจปิดอากรแสตมป์ครบถ้วนหรือไม่ แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในศาลแรงงานกลาง และเพิ่งจะยกขึ้นโต้เถียงคัดค้านในชั้นอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา แต่ปัญหาดังกล่าวเกี่ยวกับอำนาจฟ้องของโจทก์จึงเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยย่อมมีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคสอง ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธิพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
ข้อความในหนังสือมอบอำนาจที่ระบุไว้ว่า "แต่งตั้งให้ ล. และ/หรือ ส. เป็นผู้รับมอบอำนาจ" นั้น มีความหมายว่า ล. และ ส. จะร่วมกันกระทำการในฐานะเป็นผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ด้วยกันก็ได้หรืออีกกรณีหนึ่ง ล. หรือ ส. เพียงคนใดคนหนึ่งก็มีอำนาจกระทำการในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ได้เช่นเดียวกัน และการมอบอำนาจดังกล่าวของโจทก์เป็นการมอบอำนาจให้กระทำการมากกว่าครั้งเดียว โดยผู้รับมอบอำนาจทั้งสองจะกระทำการร่วมกันหรือต่างคนต่างกระทำการแยกจากกันได้ ค่าอากรแสตมป์สำหรับหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวจึงต้องคิดตามรายตัวบุคคลที่รับมอบอำนาจคนละ 30 บาท ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ 7 (ค) ท้ายประมวลรัษฎากรต้องปิดอากรแสตมป์รวม 60 บาท
ข้อความในหนังสือมอบอำนาจที่ระบุไว้ว่า "แต่งตั้งให้ ล. และ/หรือ ส. เป็นผู้รับมอบอำนาจ" นั้น มีความหมายว่า ล. และ ส. จะร่วมกันกระทำการในฐานะเป็นผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ด้วยกันก็ได้หรืออีกกรณีหนึ่ง ล. หรือ ส. เพียงคนใดคนหนึ่งก็มีอำนาจกระทำการในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ได้เช่นเดียวกัน และการมอบอำนาจดังกล่าวของโจทก์เป็นการมอบอำนาจให้กระทำการมากกว่าครั้งเดียว โดยผู้รับมอบอำนาจทั้งสองจะกระทำการร่วมกันหรือต่างคนต่างกระทำการแยกจากกันได้ ค่าอากรแสตมป์สำหรับหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวจึงต้องคิดตามรายตัวบุคคลที่รับมอบอำนาจคนละ 30 บาท ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ 7 (ค) ท้ายประมวลรัษฎากรต้องปิดอากรแสตมป์รวม 60 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1424/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจำนองเป็นหลักฐานการกู้ยืม ไม่ใช่สัญญากู้ยืมโดยตรง จึงไม่ต้องปิดอากรแสตมป์
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยว่า สัญญาจำนองเป็นเพียงหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคหนึ่ง เท่านั้น มิใช่เป็นหนังสือสัญญากู้ยืมเงินระหว่างโจทก์กับจำเลย อันจะถือเป็นตราสารที่ต้องเสียอากรโดยปิดแสตมป์บริบูรณ์ ตามความมุ่งหมายแห่ง ป.รัษฎากรฯ มาตรา 103, 104 และ 118 แม้ไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ก็สามารถใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีได้ เหตุผลเช่นว่านี้ได้กล่าวโดยชัดเจนและชอบด้วยบทบัญญัติของกฎหมายแล้ว ฎีกาของจำเลยไม่อาจเปลี่ยนแปลงผลแห่งคดีได้ ฎีกาของจำเลยในปัญหาข้อกฎหมายเป็นฎีกาในข้อที่เป็นสาระแก่คดีไม่ควรได้รับการวินิจฉัยจากศาลฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยซ้ำอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8880/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อ-ค้ำประกันไม่เสียอากรแสตมป์ ไม่อาจใช้เป็นหลักฐานในคดีแพ่งได้ แม้จำเลยขาดนัด
สัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกันไม่ได้ปิดอากรแสตมป์หรือเสียภาษีอากรแสตมป์เป็นตัวเงิน ป.รัษฎากร มาตรา 118 บัญญัติว่า ตราสารใดไม่ได้ปิดแสตมป์บริบูรณ์จะใช้ต้นฉบับหรือสำเนาเอกสารนั้นเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้ แม้จำเลยที่ 1 จะขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา โจทก์มีหน้าที่ต้องนำสืบว่าจำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าซื้อ เมื่อสัญญาเช่าซื้อไม่อาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ คดีนี้จึงไม่อาจรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าซื้อกับโจทก์ และแม้จำเลยที่ 2 จะให้การรับว่าจำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าซื้อโดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันจริง แต่คำให้การของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวก็หามีผลถึงจำเลยที่ 1 ไม่ เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้ชั้นต้น คดีจึงมีผลถึงจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8880/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อและค้ำประกันที่ไม่ติดอากรแสตมป์ ไม่อาจใช้เป็นหลักฐานในคดีแพ่งได้
สัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกันไม่ได้ปิดอากรแสตมป์หรือเสียภาษีอากรแสตมป์เป็นตัวเงิน ป.รัษฎากร มาตรา 118 บัญญัติว่า ตราสารใดไม่ปิดแสตมป์บริบูรณ์จะใช้ต้นฉบับหรือสำเนาเอกสารนั้นเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้ แม้จำเลยที่ 1 จะขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา โจทก์มีหน้าที่ต้องนำสืบว่าจำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าซื้อ เมื่อสัญญาเช่าซื้อไม่อาจใช้รับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ คดีจึงไม่อาจรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าซื้อกับโจทก์ และแม้จำเลยที่ 2 จะให้การรับว่าจำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าซื้อโดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันจริง แต่คำให้การของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวก็หามีผลถึงจำเลยที่ 1 ไม่ เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้ชั้นต้น คดีจึงมีผลถึงจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8778/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย ทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
หนังสือมอบอำนาจซึ่งปิดอากรแสตมป์ครบถ้วนตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้าย ป.รัษฎากรฯ แต่ไม่มีการขีดฆ่าอากรแสตมป์ย่อมถือว่ายังไม่ปิดแสตมป์บริบูรณ์ดังที่บัญญัติไว้ใน ป. รัษฎากรฯ มาตรา 118 จึงไม่อาจใช้หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานเพื่อรับฟังว่า ก. มอบอำนาจช่วงให้ ส. ฟ้องและดำเนินคดีแทนโจทก์ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะมิได้ให้การไว้จำเลยก็ยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8660/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันการทำงาน การยอมรับของจำเลย และผลของการไม่ปิดอากรแสตมป์
แม้จำเลยที่ 3 จะให้การว่า สัญญาค้ำประกันการทำงานของจำเลยที่ 1 ไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ โจทก์ไม่อาจนำมาฟ้องให้จำเลยที่ 3 รับผิดได้ ทำให้คดีมีประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยที่ 3 เป็นผู้ค้ำประกันการทำงานของจำเลยที่ 1 หรือไม่ แต่ต่อมาในระหว่างการพิจารณาของศาลแรงงานกลาง จำเลยที่ 3 แถลงรับว่าได้ทำสัญญาค้ำประกันการทำงานของจำเลยที่ 1 จริง โดยโจทก์นำแบบพิมพ์สัญญาสำเร็จรูปมาให้จำเลยที่ 3 กรอกข้อความในช่องว่าง ประเด็นข้อพิพาทที่ว่าจำเลยที่ 3 เป็นผู้ค้ำประกันการทำงานของจำเลยที่ 1 หรือไม่ จึงเป็นอันยุติตามคำแถลงรับของจำเลยที่ 3 โจทก์ไม่ต้องนำสืบในประเด็นนี้อีกเพราะจำเลยที่ 3 ยอมรับแล้ว กรณีไม่จำต้องพิจารณาว่าโจทก์มีพยานหลักฐานเรื่องดังกล่าวมาแสดงหรือไม่ ที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าแม้สัญญาค้ำประกันการทำงานของจำเลยที่ 1 จะไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ก็ฟังได้ว่า จำเลยที่ 3 เป็นผู้ค้ำประกันการทำงานของจำเลยที่ 1 จึงถูกต้องแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7592/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างทำของไม่ติดอากรแสตมป์ ไม่เป็นอุปสรรคฟ้องร้องได้ พยานบุคคลใช้แทนเอกสารได้
สัญญาจ้างทำของมิได้ปิดอากรแสตมป์ ตาม ป. รัษฎากร มาตรา 118 จึงต้องห้ามรับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีแต่การจ้างทำของไม่มีกฎหมายบังคับว่าต้องทำเป็นหนังสือหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือจึงจะฟ้องร้องบังคับคดีได้ ดังนั้นจึงรับฟังพยานบุคคลแทนพยานเอกสารได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 992/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือค้ำประกันที่ไม่ติดอากรแสตมป์ใช้เป็นพยานหลักฐานได้ ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดตามสัญญา
หนังสือค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 ทำขึ้นให้ไว้แก่โจทก์มีจำเลยที่ 2 ฝ่ายเดียวลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐาน จึงเป็นเพียงหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 680 วรรคสอง เท่านั้น มิใช่หนังสือสัญญาค้ำประกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 อันจะถือเป็นตราสารที่ต้องปิดอากรแสตมป์บริบูรณ์ตามความมุ่งหมายแห่งประมวลรัษฎากร มาตรา 103,104 และ 118 แม้มิได้ปิดอากรแสตมป์ก็ใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 992/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือค้ำประกันที่ไม่ติดอากรแสตมป์ ใช้เป็นหลักฐานได้ หากเป็นเพียงเอกสารลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกัน
หนังสือค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 ทำให้ไว้แก่โจทก์ จำเลยที่ 2 ฝ่ายเดียวลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐาน จึงเป็นเพียงหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 680 วรรคสอง เท่านั้น มิใช่หนังสือสัญญาค้ำประกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 อันจะถือเป็นตราสารที่ต้องปิดอากรแสตมป์บริบูรณ์ตามความมุ่งหมายแห่ง ประมวลรัษฎากรฯ มาตรา 103,104 และ 118 แต่อย่างใด ดังนั้น แม้หนังสือค้ำประกันดังกล่าวจะมิได้ปิดอากรแสตมป์ก็ใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีได้