คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
อายัดทรัพย์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 97 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6632/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอายัดทรัพย์สินจากการกระทำความผิดทางอาญาของบุคคล และการคุ้มครองประโยชน์ประชาชน
ธนาคารแห่งประเทศไทยผู้คัดค้านตรวจสอบพบว่า ร. ขณะเกิดเหตุเป็นที่ปรึกษากรรมการผู้จัดการใหญ่ของธนาคาร ก. ได้ร่วมกับพวกยักยอกทรัพย์ของธนาคารดังกล่าวไปจำนวน 1,657,000,000 บาท เป็นกรณีต้องหาว่ากระทำความผิดอาญาตามที่ระบุไว้ในมาตรา 46 นว (1) แห่งพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 ทั้งเมื่อพนักงานอัยการได้มีคำสั่งฟ้อง ร.กับพวกในข้อหาดังกล่าวแล้วร. ได้หลบหนีไปอยู่ต่างประเทศ การที่ผู้คัดค้านเห็นว่าหากปล่อยเนิ่นช้าไปอาจเกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ของประชาชน ผู้คัดค้านจึงมีคำสั่งอายัดตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทที่ ร.เป็นเจ้าของกับหุ้นของบริษัทฟ.ที่มีร. เป็นเจ้าของ โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 46 ทศ แห่งพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ฯ คำสั่งของผู้คัดค้านดังกล่าวจึงเป็นมาตรการป้องกันมิให้ ร. ยักย้ายถ่ายเททรัพย์สินของตนเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกบังคับยึดทรัพย์หรือขายทอดตลาดนำมาชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ หรือโอนทรัพย์สินหรือสิทธิตามเอกสารสิทธิต่างๆของตนเปลี่ยนมือไปให้แก่บุคคลอื่นโดยมิชอบอันอาจส่งผลให้เจ้าหนี้ทั้งปวงกับธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินอื่น ๆ ที่ ร. เป็นหนี้อยู่ได้รับความเสียหายและถูกกระทบกระเทือน เพราะเหตุการกระทำทุจริตของ ร.ดังนั้นการที่ผู้คัดค้านมีคำสั่งอายัดตั๋วสัญญาใช้เงินกับหุ้นพิพาทดังกล่าวย่อมเป็นคำสั่งที่สั่งโดยชอบด้วยกฎหมายอันเป็นการคุ้มครองประโยชน์ของประชาชน ผู้ร้องยังมิได้ฟ้อง ร.เกี่ยวกับหนี้สินแต่อย่างใดจึงไม่อาจฟังเป็นยุติได้ว่าร.เป็นหนี้ผู้ร้องและมีข้อตกลงระหว่างผู้ร้องกับ ร. ดังที่ผู้ร้องอ้าง คดีไม่จำต้องวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับสิทธิของผู้ร้องอีกต่อไป ผู้ร้องไม่มีสิทธิร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งของผู้คัดค้านที่อายัดทรัพย์สินของ ร. ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2175/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การงดบังคับคดีต้องมีการยึดหรืออายัดทรัพย์สินก่อน หากยังไม่มีการบังคับคดี การขอให้งดบังคับคดีตามมาตรา 293 วรรคหนึ่ง ไม่อาจทำได้
การที่จำเลยขอ งด การบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 293 ได้นั้นจะต้องมีการบังคับคดีโดยการยึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ ตามคำพิพากษาอยู่ก่อนแล้วในขณะที่ขอให้งดการบังคับคดี แต่เมื่อ ปรากฏว่าจำเลยได้ขอให้ศาลแรงงานกลางงดการบังคับคดีโดยที่ยังมิได้มีการยึดหรืออายัดทรัพย์สินของจำเลยแต่อย่างใด ต้องถือว่าคดีนี้ยังไม่มีการบังคับคดี จำเลยจะขอให้งดการ บังคับคดีตามมาตรา 293 วรรคหนึ่ง หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2175/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การงดบังคับคดีต้องมีการยึดหรืออายัดทรัพย์สินก่อน หากยังไม่มีการบังคับคดี การขอ งดบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 293 ย่อมทำไม่ได้
การขอให้งดการบังคับคดีตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 293 จะต้องมีการ บังคับคดีโดยการยึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ตาม คำพิพากษาอยู่ก่อนแล้วในขณะที่ขอให้งดการบังคับคดี เมื่อคดีแรงงานเรื่องนี้ยังไม่มีการบังคับคดี จำเลยจะขอ ให้งดการบังคับคดีตามบทบัญญัติดังกล่าวหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2175/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การงดการบังคับคดีต้องมีการยึดหรืออายัดทรัพย์สินก่อน หากยังไม่มีการบังคับคดี การขอให้งดการบังคับคดีตามมาตรา 293 วรรคหนึ่ง จึงไม่เป็นไปตามกฎหมาย
การขอให้งดการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 293 จะต้องมีการบังคับคดีโดยการยึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาอยู่ก่อนแล้วในขณะที่ขอให้ งดการบังคับคดี เมื่อคดีนี้ยังไม่มีการบังคับคดี จำเลยจะขอให้งดการบังคับคดีตามบทบัญญัติดังกล่าวหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 952/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอายัดทรัพย์ซ้ำและการบังคับคดี: เจ้าหนี้ตามคำพิพากษามีสิทธิอายัดทรัพย์ที่ถูกอายัดไว้ชั่วคราว
แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งอายัดเงินของจำเลยไว้ชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาตามคำร้องของโจทก์ ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยในคดีอื่นก็มีสิทธิที่จะขออายัดทรัพย์นั้นเพื่อบังคับคดีตามคำพิพากษาในคดีของตน เพราะกรณีไม่ต้องด้วยข้อห้ามมิให้อายัดทรัพย์ซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 290 และเมื่อบุคคลภายนอกซึ่งเป็นผู้ครอบครองเงินของจำเลยได้จัดส่งเงินดังกล่าวซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้อายัดไว้ชั่วคราวมาแล้วเมื่อผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในคดีอื่นได้ขอบังคับคดีและเจ้าพนักงานบังคับคดีได้บังคับคดีโดยมีหนังสือขออายัดเงินจำนวนดังกล่าวแล้ว การอายัดเงินดังกล่าวของจำเลยไว้ชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาตามคำร้องของโจทก์ย่อมสิ้นผลไปโดยปริยาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 753/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอายัดทรัพย์มรดก แม้ไม่มีชื่อเจ้ามรดกในบัญชี หากมีเหตุเชื่อว่าเป็นทรัพย์มรดกและมีเหตุสมควร
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยส่งมอบทรัพย์สินที่จำเลยครอบครองอยู่เข้ากองมรดกเพื่อแบ่งปันให้ทายาท คำฟ้องดังกล่าวย่อมครอบคลุมรวมทั้งทรัพย์มรดกที่มีชื่อและไม่มีชื่อเจ้ามรดกด้วย มิใช่จำกัดเฉพาะทรัพย์ที่มีชื่อเจ้ามรดกปรากฏอยู่โจทก์ขออายัดเงินฝากที่ธนาคารไว้ชั่วคราวก่อนพิพากษา แม้ไม่มีชื่อเจ้ามรดกในบัญชีเงินฝาก แต่หากมีเหตุน่าเชื่อว่าเป็นทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกและเข้าหลักเกณฑ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 255 โจทก์ย่อมมีสิทธิขออายัดได้
เจ้ามรดกมีบุตรรวม 6 คน รวมทั้งจำเลยและ บ.ด้วยระหว่างเจ้ามรดกมีชีวิตอยู่ได้มอบให้จำเลยกับ บ.ดูแลทรัพย์สินแทนก่อนเจ้ามรดกถึงแก่ความตายได้มีการถอนเงินจากบัญชีเงินฝากชื่อจำเลยร่วมกับเจ้ามรดก และนำฝากเข้าบัญชีเงินฝากของจำเลยโดยการถอนและการฝากกระทำในวันเดียวกันรวมทั้งสิ้น 14 ครั้ง ครั้นเจ้ามรดกถึงแก่ความตายแล้วยังได้มีการนำใบถอนเงินซึ่งมีลายมือชื่อเจ้ามรดกลงชื่อร่วมกับจำเลยในช่องเจ้าของบัญชีและในช่องผู้รับเงินมาถอนเงิน และปิดบัญชี อีกทั้งภายหลังโจทก์ฟ้องคดีนี้แล้ว จำเลยยังได้ถอนเงินออกจากบัญชีของจำเลย กรณีมีเหตุน่าเชื่อว่าเจ้ามรดกให้ความรักและเชื่อถือจำเลยโดยลงลายมือชื่อในใบถอนเงินมอบให้จำเลยไว้ดำเนินการเกี่ยวกับการเงิน แต่คดีนี้ยังมีประเด็นต้องวินิจฉัยในชั้นพิจารณาว่าเงินในบัญชีของจำเลย เป็นเงินที่เจ้ามรดกยกให้จำเลยหรือเพียงให้จำเลยจัดการแทน ดังนี้ พฤติการณ์แห่งคดีมีเหตุให้เห็นได้ว่าจำเลยอาจโอนเงินดังกล่าวไปให้พ้นจากอำนาจศาลเพื่อขัดขวางต่อการบังคับคดีตามคำฟ้อง และโอกาสที่โจทก์ยื่นคำร้องขอนั้นมีเหตุสมควรและเพียงพอที่จะนำวิธีคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 255 วรรค 2 (ข)มาใช้แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7332/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โกงเจ้าหนี้, บังคับคดี, การอายัดทรัพย์: ศาลฎีกามีอำนาจกำหนดโทษแม้ศาลอุทธรณ์ไม่กำหนด
สัญญากู้ตามฟ้องจำเลยลงชื่อเป็นผู้ให้กู้ กับมี ภ. กับ น. ลงลายมือชื่อในฐานะผู้กู้จริง สัญญากู้ดังกล่าวจึงเป็นเอกสารของจำเลย และเมื่อจำเลยไม่ได้ปลอมว่าเป็นเอกสารของผู้ใด สัญญากู้นั้นจึงไม่ใช่เอกสารปลอม
กรมตำรวจยื่นฟ้องจ่าสิบตำรวจ ภ. กับพวกเป็นจำเลยในคดีแพ่งบังคับให้ชำระเงินฐานทุจริตและละเมิด ระหว่างพิจารณา โจทก์ขอใช้วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษายึดทรัพย์รถยนต์ของจ่าสิบตำรวจ ภ. ออกขายทอดตลาดโดยเก็บรักษาเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดไว้ เมื่อทรัพย์ที่กรมตำรวจขอให้ศาลยึดไว้ชั่วคราวก่อนพิพากษาดังกล่าวนั้น ก็เพื่อป้องกันการจำหน่าย จ่าย โอนทรัพย์เพื่อหลีกเลี่ยงการบังคับชำระหนี้ตามคำพิพากษา ทรัพย์ดังกล่าวจึงมิใช่ทรัพย์ที่ส่งไว้ต่อศาล หรือที่ศาลรักษาไว้ในการพิจารณาคดีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 185
จำเลยในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมในคดีแพ่ง แม้จะเป็นหนี้ที่ไม่มีมูลหนี้ต่อกันจริง จำเลยก็ย่อมมีสิทธิที่จะบังคับเอาแก่ทรัพย์ของลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้และเมื่อศาลชั้นต้นได้ออกหมายบังคับคดีตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดียึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาแล้ว ดังนี้ การที่จำเลยดำเนินการบังคับคดีแก่จ่าสิบตำรวจภ. ลูกหนี้ตามคำพิพากษาโดยขออายัดเงินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวที่ผู้เสียหายขอให้ศาลสั่งยึดไว้ชั่วคราวก่อนพิพากษาในคดีนั้นมาชำระหนี้จำเลยในคดีนี้จึงมิใช่เป็นเรื่องที่จำเลยมีเจตนาเอาทรัพย์ดังกล่าวไปโดยพลการ ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 187
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265และมาตรา 185,187 ประกอบมาตรา 80,350 เรียงกระทงลงโทษฐานปลอมเอกสารสิทธิจำคุก 1 ปี ฐานพยายามเอาไปซึ่งทรัพย์ที่ส่งไว้ต่อศาล หรือที่ศาลได้รักษาไว้ในการพิจารณาคดี จำคุก 2 ปี รวมจำคุก 3 ปี ข้อหาอื่นให้ยก โจทก์ไม่อุทธรณ์ ส่วนจำเลยอุทธรณ์ขอให้ยกฟ้อง ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้ยกฟ้องในข้อหาความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 185,187,90 และ 265 เสียด้วย นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น โดยศาลอุทธรณ์เห็นพ้องด้วยกับคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าจำเลยมีความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350 เมื่อการที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350 แต่ศาลชั้นต้นได้กำหนดโทษจำเลยตามข้อหาความผิดฐานพยายามเอาไปซึ่งทรัพย์ที่ส่งไว้ต่อศาลหรือที่ศาลได้รักษาไว้ในการพิจารณาคดีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 185ซึ่งเป็นบทหนักจึงมิได้กำหนดโทษจำเลยตามมาตรา 350 ไว้นั้น หากเมื่อศาลอุทธรณ์พิจารณาแล้วพิพากษาว่า จำเลยคงมีความผิดตามมาตรา 350 เพียงฐานเดียวเช่นนี้ และตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 วรรคสอง บัญญัติว่าเมื่อศาลเห็นว่าจำเลยได้กระทำผิดและไม่มีการยกเว้นโทษตามกฎหมาย ให้ศาลลงโทษแก่จำเลยตามความผิด และมาตรา 186(7) และ (8) บัญญัติให้คำพิพากษาต้องมีบทมาตราที่ยกขึ้นปรับ และคำชี้ขาดให้ยกฟ้องหรือลงโทษ ซึ่งหมายความว่า เมื่อศาลเห็นว่าจำเลยกระทำผิดและไม่มีการยกเว้นโทษตามกฎหมายให้ศาลลงโทษแก่จำเลยตามความผิดโดยอ้างว่ากระทำผิดบทมาตราใด และมีคำชี้ขาดหรือคำพิพากษาให้ลงโทษไปตามนั้น ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์ไม่มีคำชี้ขาดหรือคำพิพากษาให้ลงโทษจำเลยในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350 จึงเป็นการมิชอบ และกรณีเช่นนี้มิใช่เป็นกรณีที่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 212 เพราะมิใช่เป็นกรณีที่ศาลพิพากษาเพิ่มเติมโทษของจำเลยแต่อย่างใดเมื่อโจทก์ฎีกาในปัญหานี้ ศาลฎีกาจึงมีอำนาจกำหนดโทษจำเลยในความผิดฐานนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6338/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษี การอายัดทรัพย์ และขอบเขตความรับผิดของผู้อื่นในการชำระภาษี
การที่โจทก์ทั้งห้ามีความผูกพันต่อบริษัทร.ตามสัญญาซื้อขายที่ดินทั้งสองแปลงอยู่ก่อนที่จะซื้อที่ดินดังกล่าวมาจากบริษัทก.และในขณะที่โจทก์ทั้งห้าได้ที่ดินทั้งสองแปลงดังกล่าวมาโดยการจดทะเบียนซื้อจากบริษัทก. โจทก์ทั้งห้ามีเจตนาที่จะนำที่ดินทั้งสองแปลงดังกล่าวมาจดทะเบียนโอนขายให้แก่บริษัทร.ตามสัญญาจะซื้อขายที่มีความผูกพันกันอยู่ดังกล่าว และหลังจากซื้อที่ดินมาได้แล้วโจทก์ทั้งห้าได้จดทะเบียนโอนขายที่ดินให้แก่บริษัทร. ไปตามเจตนาที่ซื้อมาเมื่อราคาที่ซื้อมาต่ำแต่ราคาที่ขายไปสูงและคำนวณผลต่างของราคาซื้อบวกด้วยค่าใช้จ่ายในการซื้อลบด้วยราคาขายแล้ว โจทก์ทั้งห้ามีกำไรหลายเท่าตัวทั้งราคาที่ขายไปเป็นราคาที่บริษัทร. ตกลงไว้ตามสัญญาจะซื้อขายหาใช่ราคาตลาดของที่ดินทั้งสองแปลงสูงขึ้นเอง หลังจากที่โจทก์ ทั้งห้าซื้อที่ดินทั้งสองแปลงมาจากบริษัทก. ไม่ ดังนี้ คนที่ขายที่ดินทั้งสองแปลงแก่บริษัทร. นั้น เป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไร สำหรับเงินได้พึงประเมินจากการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นเงินได้ ตาม ประมวลรัษฎากร มาตรา 40(8) ซึ่งมาตรา 46 ยอมให้หักค่าใช้จ่ายได้ตามที่จะได้กำหนดโดย พระราชกฤษฎีกา เมื่อพระราชกฤษฎีกา ออกตามความใน ประมวลรัษฎากรว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11)พ.ศ.2502 มาตรา 8 ทวิ บัญญัติให้หักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควร ทั้งนี้ให้นำมาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรีแห่งประมวลรัษฎากรมาใช้บังคับโดยอนุโลม การที่เจ้าพนักงานประเมินหักค่าใช้จ่ายซึ่งเป็นต้นทุนในการซื้อที่ดินมา ค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนอันเป็นค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรจึงชอบด้วยกฎหมายดังกล่าวแล้ว กรณีของโจทก์ทั้งห้าในคดีนี้สามารถหาหลักฐานค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรมาพิสูจน์ได้ครบถ้วน และเจ้าพนักงานประเมินได้หักให้ตามที่กฎหมายกำหนดไว้แล้ว หาใช่กรณีโจทก์ทั้งห้าไม่สามารถหาหลักฐานเกี่ยวกับการหักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรมาพิสูจน์ได้ตามนัยหนังสือกรมสรรพากร ที่ กค.0802/766 ลงวันที่18 มกราคม 2528 และที่ กค.0802/7789 ลงวันที่ 3 มิถุนายน 2531ไม่ จึงใช้อัตราร้อยละ 78 ของเงินได้พึงประเมินตามนัยหนังสือดังกล่าวมาหักค่าใช้จ่ายแก่โจทก์ทั้งห้าไม่ได้ การที่โจทก์ที่ 3 ถึงที่ 5 มิได้มีเจตนาซื้อและขายที่ดินทั้งสองโฉนดดังกล่าวและมิได้รับเงินจากการขายที่ดินนั้น แต่ลงชื่อ ร่วมในการซื้อและมอบอำนาจในการขายไปตามคำสั่งของโจทก์ที่ 1 เท่านั้น โจทก์ที่ 3 ถึงที่ 5 จึงมิได้เป็นผู้ได้รับเงินได้ พึงประเมินในการที่ที่ดินทั้งสองโฉนดนั้นได้ขายไปโดยการดำเนินการ ของโจทก์ที่ 2 และตามคำสั่งของโจทก์ที่ 1 แต่อย่างใด เจ้าพนักงาน ประเมินจึงไม่มีอำนาจประเมินเรียกเก็บภาษีทั้งหมดจากโจทก์ที่ 3 ถึงที่ 5 การที่โจทก์ที่ 1 ไม่ชำระเงินตามการประเมินจึงถือเป็นภาษีอากร ค้างนายอำเภอแห่งท้องที่นั้นมีอำนาจสั่งอายัดที่ดินของโจทก์ที่ 1 ได้ แต่เนื่องจากการประเมินเรียกเก็บภาษีทั้งหมดจากโจทก์ที่ 4 ไม่ชอบด้วยกฎหมายโจทก์ที่ 4 จึงไม่เป็นหนี้ค่าภาษีอากรค้าง นายอำเภอ แห่งท้องที่จึงไม่มีอำนาจอายัดทรัพย์สินของโจทก์ที่ 4 และขายทอดตลาด เพื่อให้ได้ชำระภาษีอากรค้างตามการประเมินได้ โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ได้บรรยายไว้ในตอนท้ายของคำฟ้องว่าโจทก์ทั้งห้ามิได้มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี จึงมีเหตุอันควรผ่อนผันให้โจทก์ทั้งห้าตามประมวลรัษฎากร ซึ่งศาลภาษีอากรกลางได้กำหนดเป็นประเด็นไว้แล้วว่ามีเหตุอันควรลดหรือลดเบี้ยปรับและเงินเพิ่มหรือไม่ และศาลมีอำนาจวินิจฉัยในประเด็นนี้หรือไม่ดังนั้นการที่ศาลภาษีอากรกลางพิพากษาให้งดเบี้ยปรับภาษีการค้าและเบี้ยปรับภาษีบำรุงเทศบาลแก่โจทก์ที่ 1 และที่ 2 จึงเป็นการวินิจฉัยตามประเด็นในคำฟ้องชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรฯ มาตรา 17

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4659/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอน/แก้ไขคำสั่งอายัดทรัพย์ชั่วคราวในคดีที่เกี่ยวข้องกับมรดกและสิทธิเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา
ระหว่าง ส.ยังมีชีวิตได้ซื้อที่ดินจากจำเลยและว่าจ้างจำเลยสร้างตึกแถว 6 ห้อง บนที่ดินเพื่อจำหน่ายแก่ประชาชน ส.ได้ชำระค่าที่ดินและค่าจ้างให้จำเลยครบถ้วนแล้ว ระหว่างรอโอนขายให้ลูกค้าโดยตรง ส.ถึงแก่ความตาย จำเลยโอนขายที่ดินและตึกแถว 2 ห้อง ให้แก่บุคคลภายนอก ส่วนที่ดินและตึกแถวที่เหลือจำเลยกำลังจะขายให้โจทก์ ผู้ร้องในฐานะเป็นภริยาและผู้จัดการมรดกของ ส.จึงยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลชั้นต้น และศาลชั้นต้นมีคำสั่งอายัดที่ดินและตึกแถวดังกล่าวไว้ชั่วคราว ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ผู้ร้องชนะคดี ระหว่างผู้ร้องดำเนินการบังคับคดี ศาลชั้นต้นคดีนี้มีคำสั่งให้เพิกถอนการอายัดที่ดินและตึกแถวดังกล่าว และให้จดทะเบียนโอนให้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาตามยอมในคดีนี้ดังนี้ผู้ร้องจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่อาจยื่นคำร้องเข้ามาในคดีนี้ เพื่อขอให้ได้รับความคุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ได้
การที่ศาลชั้นต้นสั่งนัดพร้อม และเมื่อถึงวันนัดคู่ความทุกฝ่ายมาศาล ศาลได้สอบถามและฟังคำแถลงของคู่ความทุกฝ่ายแล้วจึงมีคำสั่ง ถือว่าศาลได้ให้โอกาสโจทก์จำเลยโต้แย้งคัดค้านคำร้องของผู้ร้องแล้ว เพราะโจทก์จำเลยสามารถแถลงคัดค้านคำร้องของผู้ร้องในระหว่างที่ศาลออกนั่งพิจารณาได้
คำสั่งอายัดชั่วคราวในคดีอื่นแม้จะสั่งโดยศาลชั้นต้นเดียวกันศาลชั้นต้นคดีนี้ก็มิอาจก้าวล่วงไปสั่งเพิกถอน เพราะทำให้กระทบกระเทือนถึงสิทธิของผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในคดีดังกล่าว เมื่อความปรากฏต่อศาลชั้นต้นคดีนี้ การที่ศาลชั้นต้นคดีนี้ทำการตรวจสอบและฟังคำแถลงของคู่ความทุกฝ่ายแล้วมีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งที่ให้เพิกถอนการอายัดชั่วคราว และมีคำสั่งใหม่เพื่อแก้ไขให้ที่ดินและตึกแถวดังกล่าวกลับคืนสู่การอายัดชั่วคราวตามเดิม เป็นกระบวนพิจารณาที่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 27 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4659/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอายัดทรัพย์หลังมีคำพิพากษาและการเพิกถอนคำสั่งอายัดโดยศาลที่ชอบด้วยกฎหมาย
ระหว่างส. ยังมีชีวิตได้ซื้อที่ดินจากจำเลยและว่าจ้างจำเลยสร้างตึกแถว6ห้องบนที่ดินเพื่อจำหน่ายแก่ประชาชนส.ได้ชำระค่าที่ดินและค่าจ้างให้จำเลยครบถ้วนแล้วระหว่างรอโอนขายให้ลูกค้าโดยตรงส.ถึงแก่ความตายจำเลยโอนขายที่ดินและตึกแถว2ห้องให้แก่บุคคลภายนอกส่วนที่ดินและตึกแถวที่เหลือจำเลยกำลังจะขายให้โจทก์ผู้ร้องในฐานะเป็นภริยาและผู้จัดการมรดกของส. จึงยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลชั้นต้นและศาลชั้นต้นมีคำสั่งอายัดที่ดินและตึกแถวดังกล่าวไว้ชั่วคราวศาลชั้นต้นพิพากษาให้ผู้ร้องชนะคดีระหว่างผู้ร้องดำเนินการบังคับคดีศาลชั้นต้นคดีนี้มีคำสั่งให้เพิกถอนการอายัดที่ดินและตึกแถวดังกล่าวและให้จดทะเบียนโอนให้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาตามยอมในคดีนี้ดังนี้ผู้ร้องจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่อาจยื่นคำร้องเข้ามาในคดีนี้เพื่อขอให้ได้รับความคุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ได้ การที่ศาลชั้นต้นสั่งนัดพร้อมและเมื่อถึงวันนัดคู่ความทุกฝ่ายมาศาลศาลได้สอบถามและฟังคำแถลงของคู่ความทุกฝ่ายแล้วจึงมีคำสั่งถือว่าศาลได้ให้โอกาสโจทก์จำเลยโต้แย้งคัดค้านคำร้องของผู้ร้องแล้วเพราะโจทก์จำเลยสามารถแถลงคัดค้านคำร้องของผู้ร้องในระหว่างที่ศาลออกนั่งพิจารณาได้ คำสั่งอายัดชั่วคราวในคดีอื่นแม้จะสั่งโดยศาลชั้นต้นเดียวกันศาลชั้นต้นคดีนี้ก็มิอาจก้าวล่วงไปสั่งเพิกถอนเพราะทำให้กระทบกระเทือนถึงสิทธิของผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในคดีดังกล่าวเมื่อความปรากฏต่อศาลชั้นต้นคดีนี้การที่ศาลชั้นต้นคดีนี้ทำการตรวจสอบและฟังคำแถลงของคู่ความทุกฝ่ายแล้วมีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งที่ให้เพิกถอนการอายัดชั่วคราวและมีคำสั่งใหม่เพื่อแก้ไขให้ที่ดินและตึกแถวดังกล่าวกลับคืนสู่การอายัดชั่วคราวตามเดิมเป็นกระบวนพิจารณาที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา27แล้ว
of 10