พบผลลัพธ์ทั้งหมด 33 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 768/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าธรรมเนียมการอายัดทรัพย์สิน: การอายัดถูกต้องแม้ชื่อผู้ฝากผิดพลาด โจทก์ต้องรับผิดชอบค่าธรรมเนียม
โจทก์เป็นผู้ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดเงินฝากไปยังธนาคารเจ้าพนักงานบังคับคดีมีหนังสือแจ้งอายัดไปยังธนาคารแล้วแม้ก่อนที่หนังสือแจ้งอายัดดังกล่าวจะไปถึงธนาคารโจทก์ทราบว่าเงินฝากที่โจทก์ขออายัดนั้นไม่ใช่ของจำเลยแต่มีชื่อและนามสกุลพ้องกันกับของจำเลยโจทก์จึงขอให้ธนาคารงดการอายัดไว้ก่อนโดยโจทก์จะไประงับการอายัดต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีตามที่โจทก์กล่าวอ้างในคำร้องและฎีกาก็ตามแต่ก็ปรากฎตามคำร้องของโจทก์เองว่าโจทก์ได้ถอนการอายัดต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีภายหลังจากที่เจ้าพนักงานบังคับคดีมีหนังสืออายัดไปยังธนาคารแล้วทั้งตามคำร้องของโจทก์ก็ไม่ปรากฎว่าขณะที่โจทก์ขอถอนการอายัดนั้นธนาคารยังมิได้รับหนังสืออายัดจากเจ้าพนักงานบังคับคดีแต่อย่างใดดังนั้นที่โจทก์ฎีกาว่าโจทก์ได้ถอนการอายัดเสียก่อนที่หนังสืออายัดของเจ้าพนักงานบังคับคดีจะไปถึงธนาคารจึงเป็นการกล่าวอ้างนอกเหนือจากที่กล่าวในคำร้องไม่อาจรับฟังได้กรณีต้องถือว่าได้มีการอายัดโดยชอบแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา311เมื่อโจทก์ถอนการอายัดจึงต้องเสียค่าธรรมเนียมอายัดแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่ายตามตาราง5(4)ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง การที่ปรากฎว่าบัญชีเงินฝากที่อายัดนั้นไม่ใช่ของจำเลยและธนาคารมีหนังสือแจ้งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบภายหลังที่ได้รับหนังสืออายัดแล้วโจทก์จะยกเป็นข้ออ้างให้พ้นความรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีหาได้ไม่หากโจทก์ผู้ขออายัดไม่ชำระเจ้าพนักงานบังคับคดีย่อมขอหมายบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา295ตรี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6338/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินเพื่อหากำไร ภาษีจากการขายอสังหาริมทรัพย์ และอำนาจการประเมินและอายัดทรัพย์สินของเจ้าพนักงาน
บริษัท ก.ได้รับโฉนดที่ดินทั้งสองแปลงมาเมื่อวันที่ 15 มกราคม2526 ต่อมาบริษัท ก.จดทะเบียนโอนขายแก่โจทก์ทั้งห้าเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2528ในราคา 7,000,000 บาท แล้วโจทก์ทั้งห้าได้จดทะเบียนโอนขายแก่บริษัท ร.เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2528 ในราคา 69,800,000 บาท แต่โจทก์ที่ 2 ได้รับตั๋วแลกเงินธนาคารลงวันที่ 11 มีนาคม 2528 จำนวนเงิน 5,000,000 บาท จากบริษัท ร.เป็นการชำระเงินค่าที่ดินบางส่วนตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินฉบับลงวันที่ 12มีนาคม 2528 แทนผู้ขายทุกคน เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2528 อันแสดงให้เห็นว่าโจทก์ทั้งห้ามีความผูกพันต่อบริษัท ร.ตามสัญญาซื้อขายที่ดินทั้งสองแปลงดังกล่าวอยู่ก่อนที่จะซื้อที่ดินทั้งสองแปลงมาจากบริษัท ก. ฉะนั้น ขณะที่โจทก์ทั้งห้าได้ที่ดินทั้งสองแปลงดังกล่าวมาโดยการจดทะเบียนซื้อจากบริษัท ก.นั้น โจทก์ทั้งห้ามีเจตนาที่จะนำที่ดินทั้งสองแปลงดังกล่าวมาจดทะเบียนโอนขายแก่บริษัท ร.ในราคา69,800,000 บาท ตามสัญญาจะซื้อขายที่มีความผูกพันกันอยู่ดังกล่าวแล้ว และหลังจากซื้อที่ดินมาได้แล้ว โจทก์ทั้งห้าก็ได้จดทะเบียนโอนขายดังกล่าวให้แก่บริษัท ร.จำกัด ไปตามเจตนาที่ซื้อมา เมื่อราคาที่ดินที่ซื้อมาต่ำ แต่ราคาที่ขายไปสูงและคำนวณผลต่างของราคาซื้อบวกด้วยค่าใช้จ่ายในการซื้อลบด้วยราคาขายแล้ว ผลปรากฏว่าโจทก์ทั้งห้ามีกำไรหลายเท่าตัว ทั้งราคาที่ขายไปเป็นราคาที่บริษัท ร.ตกลงไว้ตามสัญญาจะซื้อขายลงวันที่ 12 มีนาคม 2528 หาใช่ราคาตลาดของที่ดินทั้งสองแปลงสูงขึ้นเอง หลังจากที่โจทก์ทั้งห้าซื้อที่ดินทั้งสองแปลงมาจากบริษัท ก.ไม่ ดังนี้ถือได้ว่าการที่โจทก์ทั้งห้าขายที่ดินทั้งสองแปลงแก่บริษัท ร.ไปนั้นเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไร
เงินได้พึงประเมินจากการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นเงินได้จากการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ใน (1) ถึง (7) จึงเป็นเงินได้ตาม ป.รัษฎากร มาตรา40 (8) ซึ่งมาตรา 46 ยอมให้หักค่าใช้จ่ายได้ตามที่จะได้กำหนดโดย พ.ร.ฎ.เมื่อ พ.ร.ฎ.ออกตามความใน ป.รัษฎากรว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2502 มาตรา 8 ทวิ บัญญัติให้หักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควร ทั้งนี้ให้นำมาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรีแห่ง ป.รัษฎากรมาใช้บังคับโดยอนุโลม ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานประเมินคำนวณการประเมินโดยหักค่าใช้จ่ายให้จำนวน 8,396,290 บาท ซึ่งเป็นต้นทุนในการซื้อที่ดินมา 7,000,000 บาท ค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียน 1,396,290 บาทอันเป็นค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรจึงเป็นการชอบด้วยกฎหมายแล้ว
กรณีที่ผู้มีเงินได้จากการขายที่ดินซึ่งที่ดินนั้นได้มาโดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไร มีค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควร แต่ผู้มีเงินได้จากการขายไม่สามารถหาหลักฐานเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายดังกล่าวมาพิสูจน์ต่อเจ้าพนักงาน-ประเมินได้ แนวปฏิบัติตามนัยหนังสือกรมสรรพากรที่ กค.0802/766 ลงวันที่ 18มกราคม 2528 ก็ให้เจ้าพนักงานประเมินหักค่าใช้จ่ายในกรณีเช่นนี้ให้ในอัตราร้อยละ 75 ของเงินได้พึงประเมิน แต่ตามกรณีของโจทก์ทั้งห้าในคดีนี้ โจทก์ทั้งห้าสามารถหาหลักฐานค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรมาพิสูจน์ได้ครบถ้วนและเจ้าพนักงานประเมินก็ได้หักให้ตามที่กฎหมายกำหนดไว้แล้ว หาใช่กรณีโจทก์ทั้งห้าไม่สามารถหาหลักฐานเกี่ยวกับการหักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรมาพิสูจน์ได้ตามนัยหนังสือดังกล่าวไม่ จึงใช้อัตราร้อยละ 75 ของเงินได้พึงประเมินตามนัยหนังสือดังกล่าวมาหักค่าใช้จ่ายแก่โจทก์ทั้งห้าไม่ได้
โจทก์ที่ 2 เป็นผู้ได้รับเงินได้พึงประเมินจากการขายที่ดินทั้งสองโฉนดจากบริษัท ร.มาเองทั้งหมดรวม 69,800,000 บาท โดยโจทก์ที่ 2มีชื่อในโฉนดที่ดินที่ขายทั้งสองโฉนดนั้น แม้โจทก์ที่ 2 จะต้องโอนเงินได้พึงประเมินให้แก่โจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 2 ก็มีสิทธิเพียงหักเงินภาษีจากจำนวนเงินซึ่งต้องโอนให้แก่โจทก์ที่ 1 ตามส่วน เมื่อโจทก์ที่ 2 มีชื่อในโฉนดที่ดินอันเป็นหนังสือสำคัญที่แสดงว่าเป็นผู้ได้รับเงินได้พึงประเมินจากการขายที่ดินโฉนดดังกล่าว เจ้าพนักงาน-ประเมินจึงมีอำนาจประเมินเรียกเก็บภาษีทั้งหมดจากโจทก์ที่ 2 ได้ตาม ป.รัษฎากรมาตรา 61
กรณีการอายัดที่ดินของโจทก์ที่ 1 นั้น เมื่อโจทก์ที่ 1 ไม่ชำระเงินตามการประเมินที่ชอบด้วยกฎหมายจึงถือเป็นภาษีอากรค้าง นายอำเภอในเขตท้องที่นั้นมีอำนาจสั่งอายัดที่ดินของโจทก์ที่ 1 ได้ ส่วนคำสั่งอายัดเงินค่าประกันการใช้โทรศัพท์และสิทธิการเช่าโทรศัพท์ของโจทก์ที่ 4 นั้น เนื่องจากการประเมินเรียกเก็บภาษีทั้งหมดจากโจทก์ที่ 4 ไม่ชอบ จึงมีผลให้ฟังไม่ได้ว่าโจทก์ที่ 4 เป็นหนี้ค่าภาษีอากรค้าง นายอำเภอแห่งท้องที่จึงไม่มีอำนาจอายัดทรัพย์สินของโจทก์ที่ 4และขายทอดตลาดเพื่อให้ได้รับชำระภาษีอากรค้างตามประเมินได้ ดังนั้น การที่นายอำเภอแห่งท้องที่สั่งอายัดเงินค่าประกันการใช้โทรศัพท์และสิทธิการเช่าโทรศัพท์ของโจทก์ที่ 4 จึงเป็นการไม่ชอบไปด้วย
โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ได้บรรยายไว้ในคำฟ้องแล้วว่า โจทก์ทั้งห้ามิได้มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี จึงมีเหตุอันควรผ่อนผันให้โจทก์ทั้งห้า และศาลภาษีอากรกลางก็ได้กำหนดเป็นประเด็นไว้แล้วว่า มีเหตุอันควรลดหรืองดเบี้ยปรับและเงินเพิ่มหรือไม่ และศาลมีอำนาจวินิจฉัยในประเด็นนี้หรือไม่ ดังนั้น การที่ศาลภาษีอากรกลางพิพากษาให้งดเบี้ยปรับภาษีการค้าและเบี้ยปรับภาษีบำรุงเทศบาลแก่โจทก์ที่ 1 และที่ 2 จึงเป็นการวินิจฉัยตามประเด็นในคำฟ้อง ไม่เป็นการฝ่าฝืนป.วิ.พ.มาตรา 142 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 17
เงินได้พึงประเมินจากการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นเงินได้จากการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ใน (1) ถึง (7) จึงเป็นเงินได้ตาม ป.รัษฎากร มาตรา40 (8) ซึ่งมาตรา 46 ยอมให้หักค่าใช้จ่ายได้ตามที่จะได้กำหนดโดย พ.ร.ฎ.เมื่อ พ.ร.ฎ.ออกตามความใน ป.รัษฎากรว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2502 มาตรา 8 ทวิ บัญญัติให้หักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควร ทั้งนี้ให้นำมาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรีแห่ง ป.รัษฎากรมาใช้บังคับโดยอนุโลม ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานประเมินคำนวณการประเมินโดยหักค่าใช้จ่ายให้จำนวน 8,396,290 บาท ซึ่งเป็นต้นทุนในการซื้อที่ดินมา 7,000,000 บาท ค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียน 1,396,290 บาทอันเป็นค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรจึงเป็นการชอบด้วยกฎหมายแล้ว
กรณีที่ผู้มีเงินได้จากการขายที่ดินซึ่งที่ดินนั้นได้มาโดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไร มีค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควร แต่ผู้มีเงินได้จากการขายไม่สามารถหาหลักฐานเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายดังกล่าวมาพิสูจน์ต่อเจ้าพนักงาน-ประเมินได้ แนวปฏิบัติตามนัยหนังสือกรมสรรพากรที่ กค.0802/766 ลงวันที่ 18มกราคม 2528 ก็ให้เจ้าพนักงานประเมินหักค่าใช้จ่ายในกรณีเช่นนี้ให้ในอัตราร้อยละ 75 ของเงินได้พึงประเมิน แต่ตามกรณีของโจทก์ทั้งห้าในคดีนี้ โจทก์ทั้งห้าสามารถหาหลักฐานค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรมาพิสูจน์ได้ครบถ้วนและเจ้าพนักงานประเมินก็ได้หักให้ตามที่กฎหมายกำหนดไว้แล้ว หาใช่กรณีโจทก์ทั้งห้าไม่สามารถหาหลักฐานเกี่ยวกับการหักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรมาพิสูจน์ได้ตามนัยหนังสือดังกล่าวไม่ จึงใช้อัตราร้อยละ 75 ของเงินได้พึงประเมินตามนัยหนังสือดังกล่าวมาหักค่าใช้จ่ายแก่โจทก์ทั้งห้าไม่ได้
โจทก์ที่ 2 เป็นผู้ได้รับเงินได้พึงประเมินจากการขายที่ดินทั้งสองโฉนดจากบริษัท ร.มาเองทั้งหมดรวม 69,800,000 บาท โดยโจทก์ที่ 2มีชื่อในโฉนดที่ดินที่ขายทั้งสองโฉนดนั้น แม้โจทก์ที่ 2 จะต้องโอนเงินได้พึงประเมินให้แก่โจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 2 ก็มีสิทธิเพียงหักเงินภาษีจากจำนวนเงินซึ่งต้องโอนให้แก่โจทก์ที่ 1 ตามส่วน เมื่อโจทก์ที่ 2 มีชื่อในโฉนดที่ดินอันเป็นหนังสือสำคัญที่แสดงว่าเป็นผู้ได้รับเงินได้พึงประเมินจากการขายที่ดินโฉนดดังกล่าว เจ้าพนักงาน-ประเมินจึงมีอำนาจประเมินเรียกเก็บภาษีทั้งหมดจากโจทก์ที่ 2 ได้ตาม ป.รัษฎากรมาตรา 61
กรณีการอายัดที่ดินของโจทก์ที่ 1 นั้น เมื่อโจทก์ที่ 1 ไม่ชำระเงินตามการประเมินที่ชอบด้วยกฎหมายจึงถือเป็นภาษีอากรค้าง นายอำเภอในเขตท้องที่นั้นมีอำนาจสั่งอายัดที่ดินของโจทก์ที่ 1 ได้ ส่วนคำสั่งอายัดเงินค่าประกันการใช้โทรศัพท์และสิทธิการเช่าโทรศัพท์ของโจทก์ที่ 4 นั้น เนื่องจากการประเมินเรียกเก็บภาษีทั้งหมดจากโจทก์ที่ 4 ไม่ชอบ จึงมีผลให้ฟังไม่ได้ว่าโจทก์ที่ 4 เป็นหนี้ค่าภาษีอากรค้าง นายอำเภอแห่งท้องที่จึงไม่มีอำนาจอายัดทรัพย์สินของโจทก์ที่ 4และขายทอดตลาดเพื่อให้ได้รับชำระภาษีอากรค้างตามประเมินได้ ดังนั้น การที่นายอำเภอแห่งท้องที่สั่งอายัดเงินค่าประกันการใช้โทรศัพท์และสิทธิการเช่าโทรศัพท์ของโจทก์ที่ 4 จึงเป็นการไม่ชอบไปด้วย
โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ได้บรรยายไว้ในคำฟ้องแล้วว่า โจทก์ทั้งห้ามิได้มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี จึงมีเหตุอันควรผ่อนผันให้โจทก์ทั้งห้า และศาลภาษีอากรกลางก็ได้กำหนดเป็นประเด็นไว้แล้วว่า มีเหตุอันควรลดหรืองดเบี้ยปรับและเงินเพิ่มหรือไม่ และศาลมีอำนาจวินิจฉัยในประเด็นนี้หรือไม่ ดังนั้น การที่ศาลภาษีอากรกลางพิพากษาให้งดเบี้ยปรับภาษีการค้าและเบี้ยปรับภาษีบำรุงเทศบาลแก่โจทก์ที่ 1 และที่ 2 จึงเป็นการวินิจฉัยตามประเด็นในคำฟ้อง ไม่เป็นการฝ่าฝืนป.วิ.พ.มาตรา 142 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 17
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6684/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีจากคำสั่งอายัดทรัพย์สิน จำเป็นต้องไต่สวนข้อเท็จจริงเรื่องสัญญาจำนำและสิทธิเรียกร้องอย่างละเอียดก่อน
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลแรงงานเพิกถอนการบังคับคดีเพิกถอนการยึด และมีคำสั่งให้ปล่อยเงินที่ยึดจำนวน2,400,200 บาท กับขอให้ไต่สวนข้อโต้แย้งและการปฏิเสธส่งเงินจากบัญชีเงินฝากประจำของจำเลยที่มีอยู่กับผู้ร้องซึ่งผู้ร้องอ้างว่าเงินฝากประจำศาลแพ่งสั่งอายัดชั่วคราวไว้ และบัญชีเงินฝากประจำดังกล่าว จำเลยได้จำนำประกันหนี้ของจำเลยที่มีอยู่กับผู้ร้อง และจำเลยมีหนังสือยินยอมให้หักเงินในบัญชีชำระหนี้ผู้ร้องได้ ดังนี้เป็นกรณีที่ผู้ร้องอ้างว่าจำเลยไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาเงินฝากคืนจากผู้ร้อง โจทก์จึงไม่มีสิทธิขออายัดอันเป็นกรณีที่ผู้ร้องอ้างว่าศาลแรงงานออกหมายบังคับคดีและดำเนินการบังคับคดีเอาแก่ผู้ร้องเป็นการไม่ชอบ ซึ่งศาลแรงงานจะต้องไต่สวนตามที่เห็นสมควรแล้วมีคำสั่งอนุญาตหรือยกคำขอนั้นแต่ในการไต่สวนศาลแรงงานสอบข้อเท็จจริงจากผู้ร้องเพียงฝ่ายเดียว และผู้ร้องส่งอ้างเอกสารเป็นพยานแล้วศาลแรงงานมีคำสั่งให้งดการไต่สวน และมีคำสั่งยกคำร้องของ ผู้ร้อง เมื่อปรากฏว่าคดีนี้ผู้ร้องไม่ได้นำสืบพยานบุคคลประกอบว่าการจำนำตามบัญชีเงินฝากดังกล่าวของจำเลยมีเงื่อนไขหรือข้อจำกัดอย่างไร ผู้ร้องจึงไม่ยอมส่งเงินตามที่ศาลสั่งอายัด สำหรับฝ่ายโจทก์ซึ่งคัดค้านเข้ามาก็ไม่ปรากฏว่าศาลแรงงานได้สอบถามว่ายอมรับข้อเท็จจริงข้อไหนอย่างไร ที่ผู้ร้องอ้างมาบ้าง ดังนั้น ข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานได้มาจากการสอบถามกับเอกสารที่ผู้ร้องส่งอ้าง เป็นพยานก็ดีและข้อเท็จจริงตามคำวินิจฉัยของศาลแรงงานก็ดี ยังไม่เพียงพอแก่การวินิจฉัยข้อกฎหมายของศาลฎีกาในปัญหาว่าที่ศาลแรงงานมีคำสั่งยืนยันให้ผู้ร้องส่งเงินอายัดเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 311 ประกอบด้วยมาตรา 312 วรรคหนึ่ง เพราะจะต้องไต่สวนและ เห็นว่าเป็นที่พอใจว่าหนี้ที่เรียกร้องนั้นมีอยู่จริงก่อนมีคำสั่งยืนยันให้ผู้ร้องส่งเงินตามที่โจทก์ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดไปหรือไม่ และหากข้อเท็จจริงฟังได้ว่าหนี้ที่เรียกร้องไม่มีอยู่จริง การออกหมายบังคับเอาแก่ผู้ร้องต่อมาจะเป็นการออกหมายบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้นอันผู้ร้องจะยื่นคำร้องขอให้ศาลแรงงานมีคำสั่งให้ยก หมายบังคับคดีเสียได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคแรกและวรรคสาม ประกอบด้วย พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 หรือไม่ซึ่งศาลฎีกาไม่อาจก้าวล่วงไปวินิจฉัยข้อเท็จจริงของคดีแรงงานได้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 56 ศาลฎีกาให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานทำการพิจารณาสืบพยานในข้อที่เกี่ยวกับสัญญาจำนำประกันหนี้ต่าง ๆ ที่จำเลยมีกับผู้ร้อง ตลอดถึงข้อกำหนดและเงื่อนไขเกี่ยวกับการจำนำระหว่างผู้ร้องกับจำเลย แล้วมีคำสั่งใหม่ตามรูปคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4948/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอายัดทรัพย์สินชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษา: สิทธิของเจ้าหนี้และข้อห้ามการอายัดซ้ำ
กรณีที่ศาลมีคำสั่งอายัดเงินของจำเลยไว้ชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษานั้น โจทก์ยังมิได้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลย ที่เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดทรัพย์สินจำเลยตามคำสั่งศาลในชั้นนี้เป็นวิธีการชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษา ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 254 (1) มิใช่เป็นกรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ทำการบังคับคดีโดยยึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาไว้แทนเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา จึงไม่ต้องด้วยข้อห้ามมิให้ยึดหรืออายัดซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 290 บทบัญญัติใน ป.วิ.พ. ลักษณะ 2แห่งภาค 4 ว่าด้วยการบังคับคดีที่มาตรา 259 ให้นำมาใช้บังคับแก่วิธีการชั่วคราวนั้นหารวมถึงบทบัญญัติมาตรา 290 นี้ไม่ กรมสรรพากรผู้ร้องมีฐานะเสมือนเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา จึงมีสิทธิยึดหรืออายัดทรัพย์สินของจำเลยได้ ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 290
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2023/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจอายัดทรัพย์สินจำกัดเฉพาะผู้มีหน้าที่เสียภาษี การฟ้องเพิกถอนอายัดไม่ขาดอายุความ
คำฟ้องโจทก์ที่ขอให้จำเลยทั้งสองเพิกถอนคำสั่งอายัดที่ดินพิพาทของโจทก์ มิใช่เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหาย จึงไม่ตกอยู่ในอายุความ 1 ปี ตามป.พ.พ. มาตรา 448
ประมวลรัษฎากร มาตรา 12 ให้อำนาจผู้ว่าราชการจังหวัดยึดหรืออายัดทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากรหรือนำส่งภาษีอากรเท่านั้น เมื่อโจทก์มิใช่ผู้ที่ต้องรับผิดเสียภาษีอากรหรือนำส่งภาษีอากรของ ส. และโจทก์ยังเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทตามกฎหมายอยู่ แม้จำเลยที่ 1 จะได้ยื่นฟ้องโจทก์และ ส. ขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินพิพาทโดยฉ้อฉลไว้แล้วก็ตาม จำเลยที่ 2 ก็ไม่มีอำนาจอายัดที่ดินพิพาทของโจทก์
กรมสรรพากรจำเลยที่ 1 มิได้เป็นผู้สั่งอายัดที่ดินพิพาท จึงไม่อบที่จะให้จำเลยที่ 1 เพิกถอนคำสั่งอายัดของผู้ว่าราชการจังหวัดจำเลยที่ 2 ด้วย
ประมวลรัษฎากร มาตรา 12 ให้อำนาจผู้ว่าราชการจังหวัดยึดหรืออายัดทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากรหรือนำส่งภาษีอากรเท่านั้น เมื่อโจทก์มิใช่ผู้ที่ต้องรับผิดเสียภาษีอากรหรือนำส่งภาษีอากรของ ส. และโจทก์ยังเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทตามกฎหมายอยู่ แม้จำเลยที่ 1 จะได้ยื่นฟ้องโจทก์และ ส. ขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินพิพาทโดยฉ้อฉลไว้แล้วก็ตาม จำเลยที่ 2 ก็ไม่มีอำนาจอายัดที่ดินพิพาทของโจทก์
กรมสรรพากรจำเลยที่ 1 มิได้เป็นผู้สั่งอายัดที่ดินพิพาท จึงไม่อบที่จะให้จำเลยที่ 1 เพิกถอนคำสั่งอายัดของผู้ว่าราชการจังหวัดจำเลยที่ 2 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2023/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสั่งอายัดทรัพย์สินของเจ้าหน้าที่สรรพากร: ต้องเป็นทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดเสียภาษีเท่านั้น
คำฟ้องที่โจทก์ผู้รับโอนที่ดินพิพาทจากเจ้าของเดิมผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากรแก่จำเลยที่1ซึ่งถูกจำเลยที่2มีคำสั่งอายัดตามประมวลรัษฎากรมาตรา12ขอให้จำเลยทั้งสองเพิกถอนคำสั่งอายัดมิใช่เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายไม่อยู่ในอายุความ1ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา448 ประมวลรัษฎากรมาตรา12ให้อำนาจอธิบดีกรมสรรพากรและผู้ว่าราชการจังหวัดยึดหรืออายัดทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากรหรือนำส่งภาษีอากรเมื่อโจทก์มิใช่ผู้ที่ต้องรับผิดเสียภาษีอากรหรือนำส่งภาษีอากรของเจ้าของเดิมจำเลยที่2จึงไม่มีอำนาจอายัดที่ดินพิพาท จำเลยที่1มิได้เป็นผู้สั่งอายัดที่ดินพิพาทจึงไม่ชอบที่จะให้จำเลยที่1เพิกถอนคำสั่งอายัดของจำเลยที่2ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2023/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการอายัดทรัพย์สินจากการค้างภาษีอากร: จำกัดเฉพาะผู้ต้องรับผิดเสียภาษี หรือผู้ส่งภาษีอากรเท่านั้น
คำฟ้องโจทก์ที่ขอให้จำเลยทั้งสองเพิกถอนคำสั่งอายัดที่ดินพิพาทของโจทก์มิใช่เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายจึงไม่ตกอยู่ในอายุความ1ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา448 ประมวลรัษฎากรมาตรา12ให้อำนาจผู้ว่าราชการจังหวัดยึดหรืออายัดทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากรหรือนำส่งภาษีอากรเท่านั้นเมื่อโจทก์มิใช่ผู้ที่ต้องรับผิดเสียภาษีอากรหรือนำส่งภาษีอากรของ ส. และโจทก์ยังเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทตามกฎหมายอยู่แม้จำเลยที่1จะได้ยื่นฟ้องโจทก์และ ส. ขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินพิพาทโดยฉ้อฉลไว้แล้วก็ตามจำเลยที่2ก็ไม่มีอำนาจอายัดที่ดินพิพาทของโจทก์ กรมสรรพากรจำเลยที่1มิได้เป็นผู้สั่งอายัดที่ดินพิพาทจึงไม่ชอบที่จะให้จำเลยที่1เพิกถอนคำสั่งอายัดของผู้ว่าราชการจังหวัดจำเลยที่2ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5154/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอายัดทรัพย์สินก่อนมีคำพิพากษา ไม่ถือเป็นการอายัดแทนเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา โจทก์มีสิทธิขออายัดบังคับคดีได้
คดีเดิมซึ่งผู้ร้องเป็นโจทก์ฟ้องจำเลย ศาลได้ออกหมายอายัดเงินของจำเลยไว้ชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาไปยัง อ. และเจ้าพนักงานบังคับคดีของศาลได้อายัดเงินของจำเลยไว้นั้น เป็นการอายัดทรัพย์สินของจำเลยไว้ชั่วคราวในขณะที่จำเลยยังไม่ได้เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาถือไม่ได้ว่าเป็นการอายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาไว้แทนเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเพื่อบังคับคดีตามคำพิพากษา โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาคดีนี้จึงมีสิทธิขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีกรมบังคับคดีอายัดเงินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา (จำเลย) จาก อ.เพื่อบังคับคดีได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 290 วรรคแรก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5832/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเฉลี่ยทรัพย์สินจากคำพิพากษาและการบังคับคดี: การอายัดทรัพย์สินก่อนพิพากษาและการอ้างบุริมสิทธิ
กำหนดระยะเวลาต่าง ๆ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 290 ที่ให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษารายอื่นยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งได้ยึดหรืออายัดมานั้นหมายความเฉพาะถึงการยึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาโดยเจ้าพนักงานบังคับคดีและโดยการร้องขอของเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเท่านั้น ดังนั้นเมื่อการเคหะแห่งชาติได้ส่งเงินมาให้ศาลชั้นต้นตามหมายอายัดชั่วคราวก่อนพิพากษา กรณีจึงไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 290 ที่ผู้ร้องในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยจะต้องยื่นคำร้องภายในระยะเวลาดังกล่าว บุริมสิทธิในมูลจ้างทำของเป็นการงานทำขึ้นบนอสังหาริมทรัพย์นั้น กฎหมายให้มีอยู่เหนืออสังหาริมทรัพย์ที่ทำการงานขึ้น และอสังหาริมทรัพย์นั้นต้องเป็นของลูกหนี้ คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยเรียกค่าจ้างก่อสร้างตามสัญญาจ้างทำของซึ่งโจทก์รับก่อสร้างช่วงงานจากจำเลย โดยจำเลยได้รับจ้างก่อสร้างให้การเคหะแห่งชาติอีกต่อหนึ่ง และอสังหาริมทรัพย์ซึ่งโจทก์ทำการก่อสร้างก็เป็นของการเคหะแห่งชาติ กรณีจึงไม่ใช่เรื่องที่โจทก์มีบุริมสิทธิเหนืออสังหาริมทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 273และ 275 โจทก์จะอ้างบุริมสิทธิรับชำระหนี้จากเงินซึ่งการเคหะแห่งชาติส่งมาให้ศาลชั้นต้นเหนือผู้ร้องหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2381/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำขอตรวจสอบบัญชีโรงแรมก่อนมีคำพิพากษา ไม่ใช่การยึดหรืออายัดทรัพย์สินตาม ป.วิ.พ. มาตรา 254(1)
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยร่วมกันชำระเงินค่ารับเหมาก่อสร้างค่าสินจ้างและค่าเสียหาย ต่อมาก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาคดี โจทก์ยื่นคำร้องขอให้สั่งเจ้าพนักงานบังคับคดีตรวจสอบบัญชีผู้พักและรายได้โรงแรมของจำเลยที่ 1 และนำผลประโยชน์รายวันของโรงแรมมาเก็บรักษา โดยอ้างว่าจำเลยมีหนี้สินและเจ้าหนี้จำนวนมาก หากโจทก์ชนะคดีก็ยากจะบังคับคดีแก่จำเลยที่ 1ได้ ดังนี้คำขอของโจทก์หาใช่ขอให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินของจำเลย หรือเงินหรือทรัพย์สินของบุคคลภายนอกซึ่งถึงกำหนดชำระแก่จำเลยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 254(1) ไม่ จึงไม่อาจยกเอาบทกฎหมายดังกล่าวมาปรับสั่งคดีโจทก์ตามที่โจทก์ร้องขอได้.