คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
อายัดเงิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 82 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9028/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขออายัดเงินชั่วคราวก่อนพิพากษาเพื่อคุ้มครองสิทธิของโจทก์จากจำเลยที่อาจหลีกเลี่ยงหนี้
นอกจากตัวโจทก์จะมาเบิกความยืนยันว่า จำเลยได้กู้เงินโจทก์ไป 150,000 บาท ตามฟ้องแล้ว โจทก์ยังมีหนังสือสัญญากู้เงินซึ่งจำเลยลงลายมือชื่อเป็นผู้กู้มาแสดง มีเหตุให้น่าเชื่อในเบื้องต้นว่า ฟ้องของโจทก์มีมูลความจริง แม้โจทก์จะไม่มีพยานมาเบิกความให้ได้ความโดยแจ้งชัดว่าจำเลยยังมีเจ้าหนี้รายอื่นหรือจำเลยตั้งใจจะโอน ขายหรือจำหน่ายทรัพย์สินของตนเสียทั้งหมดหรือบางส่วน หรือยักย้ายไปให้พ้นจากอำนาจศาล แต่โจทก์ก็มีผู้ซึ่งทำงานอยู่ที่เดียวกันกับจำเลยมาเบิกความยืนยันว่า จำเลยและสามีได้ลาออกจากการเป็นพนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยแล้วโดยจำเลยจะได้เงินทดแทนต่าง ๆ หลังจากลาออกประมาณ2 เดือน ซึ่งโจทก์นำสืบว่าจำเลยจะได้รับประมาณ 500,000 บาท และจำเลยไม่มีทรัพย์สินอื่น เมื่อเงินที่จำเลยจะได้รับเป็นทรัพย์ที่จำเลยสามารถปกปิดซ่อนเร้นหรือยักย้ายถ่ายเทได้โดยง่าย การที่จำเลยและสามีลาออกจากการเป็นพนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ย่อมทำให้จำเลยไม่มีอาชีพการงานที่แน่นอนมั่นคงหากจำเลยคิดบิดพลิ้วหรือหลีกเลี่ยงย่อมเป็นการยากที่โจทก์จะติดตามบังคับหากโจทก์ชนะคดีในภายหลัง และกรณีไม่อาจรับฟังได้อย่างแน่ชัดว่าจำเลยยังมีทรัพย์อื่นอีก ดังนี้เพื่อความยุติธรรม กรณีมีเหตุสมควรที่ศาลจะมีคำสั่งให้อายัดเงินจำนวนที่จำเลยจะได้รับดังกล่าวไว้เป็นการชั่วคราว ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 255 (2) (ข)
คำขอให้คุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 254วรรคหนึ่ง กำหนดให้ทำเป็นคำขอฝ่ายเดียว ซึ่งตามมาตรา 21 (3) ยกเว้นให้ศาลไม่ต้องฟังคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งก่อน ที่ศาลชั้นต้นไต่สวนเฉพาะพยานหลักฐานของโจทก์จึงชอบแล้ว
ตามคำขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา โจทก์ขอให้อายัดเงินทั้งหมดที่จำเลยมีสิทธิจะได้รับจำนวน 500,000 บาทเศษ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้อายัดไว้เพียง 250,000 บาท ซึ่งใกล้เคียงกับจำนวนต้นเงินและดอกเบี้ยที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจึงเหมาะสมแล้ว ส่วนที่ศาลชั้นต้นให้มีหมายถึงผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเพื่อจัดการส่งเงินที่อายัดไปให้ศาลชั้นต้นโดยที่โจทก์ไม่ได้ขอนั้นก็เป็นการสั่งเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติในการอายัดเงินว่าจะให้ผู้ใดเป็นผู้ส่งมาที่ศาล หาได้เกินคำขอไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1602/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลสั่งอายัดเงินหลังมีคำบังคับคดี และการคุ้มครองประโยชน์เจ้าหนี้จากการหลีกเลี่ยงหนี้
ศาลชั้นต้นได้ออกคำบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามคำบังคับใน 30 วัน เจ้าพนักงานศาลได้ส่งคำบังคับให้จำเลยโดยวิธีปิดคำบังคับเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2540 จำเลยจึงมีเวลาที่จะปฏิบัติตามคำบังคับเป็นเวลา 45 วัน นับแต่วันที่มีการปิดคำบังคับ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้คืนเงินให้จำเลยในวันที่ 9 มิถุนายน 2540 ยังไม่พ้นระยะเวลาที่กำหนดให้จำเลยปฏิบัติตามคำบังคับ อีกทั้งศาลชั้นต้นยังมิได้ออกหมายบังคับคดี คดีจึงไม่อยู่ในอำนาจของเจ้าพนักงานบังคับคดีดังนั้น ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจสั่งเกี่ยวกับคำขออายัดเงินของโจทก์ได้ และก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งดังกล่าวศาลชั้นต้นได้ฟังคำแถลงของโจทก์เกี่ยวกับพฤติการณ์ของจำเลยที่แสดงว่าจะหลีกเลี่ยงไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษาด้วยการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่คืนเงินของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาเป็นการคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ผู้ขอเพื่อความสะดวกในการที่จะบังคับตามคำพิพากษา จึงเป็นดุลพินิจ ที่ชอบและถูกต้องตามกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5722/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องและการอายัดเงินค่างาน: ศาลมีอำนาจงดการไต่สวนหากไม่เกี่ยวข้องกับประเด็น
ตามคำแถลงของโจทก์ โจทก์มิได้กล่าวถึงเรื่องตามที่ โจทก์ฎีกาว่า ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 261 วรรคแรก ได้บัญญัติไว้แต่เฉพาะจำเลยที่อาจมีคำขอต่อศาลให้ถอนหมายยึดหรืออายัดหรือคำสั่งห้ามหรือสั่งอื่นใดเช่นว่านั้น แต่ไม่ได้กล่าวถึงบุคคลภายนอกหรือผู้ร้อง ส่วนคำว่าบุคคลภายนอก ตามมาตรา 312 วรรคแรกหมายถึงบุคคลที่ได้รับหมายอายัด หรือ ส. ซึ่งมิใช่ผู้ร้องการใช้ดุลพินิจและมีคำสั่งของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จึงยังไม่ถูกต้อง และในชั้นอุทธรณ์โจทก์ก็ได้บรรยายฟ้องอุทธรณ์ ไว้แต่เพียงว่า ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 261 บัญญัติว่า"จำเลยหรือบุคคลภายนอก" การยื่นคำร้องคัดค้านของผู้ร้องจึงต้องดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 288 โดยอนุโลม ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงคนละอย่างกับฎีกา ของโจทก์ดังกล่าว ฎีกาโจทก์ข้อนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาที่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคแรก เมื่อค่างานในงวดที่ 5 เกิดขึ้นจากสิทธิเรียกร้องค่าจ้างงานที่จำเลยมีต่อ ส. และสิทธิเรียกร้องดังกล่าวจำเลยได้โอนให้ผู้ร้องโดยชอบไปแล้วตั้งแต่ก่อนที่โจทก์จะยื่นฟ้องจำเลยคดีนี้เป็นเวลา 7 เดือนเศษ อีกทั้งผู้ร้องได้รับเงินค่างวดการจ้างงานไปก่อนแล้วถึง 4 งวดโดยเงินทุกงวดก็ต้องถือเป็นเงินอันเกิดจากสิทธิเรียกร้องซึ่งเป็นของผู้ร้องโดยแท้เช่นเดียวกัน ผู้ร้องจึงยังคงมีสิทธิได้รับเงินค่าจ้างงานในงวดที่ 5 อย่างเช่นในงวดก่อน ๆ เหมือนเดิม โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิขออายัดเงินค่างาน ในงวดที่ 5 ดังกล่าว แม้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 288 วรรคสอง บัญญัติให้ศาลพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีเหมือนอย่างคดีธรรมดา หรือตามมาตรา 312 บัญญัติให้ศาลอาจทำการไต่สวนก็ตาม แต่ก็เป็นดุลพินิจของศาลในอันที่จะ ฟังว่าคดีใดไม่สมควรสืบพยานเพราะไม่เกี่ยวแก่ประเด็น หรือเป็นการประวิงให้ชักช้า หรือฟุ่มเฟือยเกินสมควร ศาลก็มีอำนาจงดการสืบพยานหลักฐานเช่นว่านั้นหรืองดการ ไต่สวนเสียได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 86 วรรคสอง โดยให้ถือว่าคดีเสร็จการพิจารณา และพิพากษาคดีไปตามนั้นตามมาตรา 37

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1141/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าหนี้บุคคลภายนอกคดี – การอายัดเงิน – ไม่มีสิทธิบังคับจากหนี้ของผู้อื่น
ผู้ร้องยื่นคำร้องว่า ผู้ร้องเป็นคนขายกุ้งให้ผู้คัดค้านไม่ใช่จำเลย โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอให้อายัดเงินค่ากุ้งที่ขายให้แก่ผู้คัดค้านตามที่ศาลมีคำสั่งอายัดเงินดังกล่าวจากผู้คัดค้านไว้ชั่วคราวในระหว่างพิจารณา ขอให้เพิกถอนการอายัดเงินดังกล่าว ดังนี้ สิทธิในฐานะเป็นเจ้าหนี้ผู้คัดค้านที่ผู้ร้องอ้างมิใช่เป็นบุริมสิทธิหรือสิทธิอื่นซึ่งผู้ร้องอาจร้องขอให้บังคับได้ตามกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287 และไม่ใช่การขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึดไว้ตามมาตรา 288 หากผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ผู้คัดค้านจริงผู้ร้องก็มีเพียงสิทธิเรียกร้องให้ผู้คัดค้านชำระหนี้ให้ตนเท่านั้นไม่มีสิทธิที่จะบังคับจากเงินที่ผู้คัดค้านรับว่าเป็นหนี้จำเลยและได้ส่งมาตามที่ศาลอายัดดังกล่าว ผู้ร้องชอบที่จะไปว่ากล่าวเอาแก่ผู้คัดค้านเป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหาก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1141/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าหนี้กับคำสั่งอายัดเงิน: ผู้ขายกุ้งต่อบุคคลภายนอกไม่มีสิทธิคัดค้านการอายัดเงินจากลูกหนี้
ผู้ร้องยื่นคำร้องว่าผู้ร้องเป็นคนขายกุ้งให้ผู้คัดค้านไม่ใช่จำเลยโจทก์จึงไม่มีสิทธิขอให้อายัดเงินค่ากุ้งที่ขายให้แก่ผู้คัดค้านตามที่ศาลมีคำสั่งอายัดเงินดังกล่าวจากผู้คัดค้านไว้ชั่วคราวในระหว่างพิจารณาขอให้เพิกถอนการอายัดเงินดังกล่าวดังนี้สิทธิในฐานะเป็นเจ้าหนี้ผู้คัดค้านที่ผู้ร้องอ้างมิใช่เป็นบุริมสิทธิหรือสิทธิอื่นซึ่งผู้ร้องอาจร้องขอให้บังคับได้ตามกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา287และไม่ใช่การขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึดไว้ตามมาตรา288หากผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ผู้คัดค้านจริงผู้ร้องก็มีเพียงสิทธิเรียกร้องให้ผู้คัดค้านชำระหนี้ให้ตนเท่านั้นไม่มีสิทธิที่จะบังคับจากเงินที่ผู้คัดค้านรับว่าเป็นหนี้จำเลยและได้ส่งมาตามที่ศาลอายัดดังกล่าวผู้ร้องชอบที่จะไปว่ากล่าวเอาแก่ผู้คัดค้านเป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหาก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 959/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดเงินจากบุคคลภายนอก & ความรับผิดของผู้จ่ายเงิน
คดีที่มีคำพิพากษาหรือคำสั่งกำหนดให้ชำระเงินจำนวนหนึ่งนั้นเจ้าพนักงานบังคับคดีย่อมมีอำนาจอายัดเงินที่บุคคลภายนอกจะต้องชำระให้แก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้โดยตรง โดยไม่จำต้องบังคับคดีตามวิธีการที่กำหนดไว้ใน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 282 เรียงตามลำดับ และไม่ต้องมีการยึดทรัพย์ก่อนที่จะอายัดทรัพย์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 310 เมื่อผู้ร้องได้รับหนังสือแจ้งการอายัดของเจ้าพนักงานบังคับคดีแล้วไม่ปฏิบัติตาม กลับจ่ายเงินตามที่จำเลยมีสิทธิจะได้รับจากผู้ร้องให้จำเลยไปทำให้โจทก์เสียหายจะถือว่าผู้ร้องชำระหนี้ให้จำเลยโดยสุจริตไม่ได้ผู้ร้องจึงต้องรับผิดส่งเงินตามหนังสืออายัดของเจ้าพนักงานบังคับคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 959/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายัดเงินจากบุคคลภายนอก เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจแม้ยังมิได้ยึดทรัพย์สินของลูกหนี้
เจ้าพนักงานบังคับคดีมีหนังสืออายัดถึงผู้ร้องให้ส่งเงินที่จำเลยมีสิทธิได้รับจากผู้ร้อง ผู้ร้องยื่นคำคัดค้านว่าหนังสืออายัดดังกล่าวมิใช่คำสั่งศาล การอายัดต้องกระทำโดยคำสั่งศาลเท่านั้นและการอายัดจะกระทำได้ก็ต่อเมื่อได้มีการยึดทรัพย์สินของจำเลยแล้วคดีจึงมีประเด็นต้องวินิจฉัยว่า เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจออกหนังสืออายัดไปยังผู้ร้องหรือไม่ และการอายัดจะต้องมีการยึดทรัพย์สินของจำเลยก่อนหรือไม่ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยว่าหนังสืออายัดไม่มีข้อห้ามผู้ร้องไม่ให้ชำระเงินแก่จำเลย ทั้งไม่ได้กำหนดเวลาให้ผู้ร้องส่งมอบเงินที่อายัดแก่เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงไม่ใช่คำสั่งอายัดตามกฎหมายที่ผู้ร้องจะต้องปฏิบัติตาม อันเป็นประเด็นที่ผู้ร้องมิได้โต้แย้งคัดค้าน จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีให้จัดการยึดอายัดทรัพย์สินของจำเลย ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีมีหนังสืออายัดเงินที่จำเลยมีสิทธิจะได้รับจากผู้ร้อง จึงเป็นการดำเนินการตามคำสั่งยึดอายัดของศาลชั้นต้น เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงมีอำนาจกระทำได้ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 282 คดีที่มีคำพิพากษาหรือคำสั่งกำหนดให้ชำระเงินจำนวนหนึ่งนั้น เจ้าพนักงานบังคับคดีย่อมมีอำนาจอายัดเงินที่บุคคลภายนอกจะต้องชำระให้แก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้โดยตรง โดยไม่จำต้องบังคับคดีตามวิธีการที่กำหนดไว้ในมาตราดังกล่าวเรียงตามลำดับ ส่วนมาตรา 310ที่บัญญัติว่า "เมื่อได้มีการยึดทรัพย์แล้ว สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้อันมีต่อบุคคลภายนอกนั้น ให้จัดการดังต่อไปนี้ ฯลฯ" นั้นเป็นการบัญญัติวิธีการยึดทรัพย์ก่อนวิธีการอายัดทรัพย์ อันเป็นบทมาตราที่เรียงต่อกันมาเท่านั้น มิได้หมายความจำกัดว่า จะต้องทำการยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาก่อนแล้วจึงจะอายัดสิทธิเรียกร้องได้ การที่ผู้ร้องไม่ปฏิบัติตามคำสั่งอายัดของเจ้าพนักงานบังคับคดีและจ่ายเงินตามที่จำเลยมีสิทธิจะได้รับจากผู้ร้องให้จำเลยรับไปทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จะถือว่าผู้ร้องชำระหนี้ให้จำเลยโดยสุจริตมิได้ ผู้ร้องต้องรับผิดส่งเงินตามหนังสืออายัดของเจ้าพนักงานบังคับคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3630/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องเงินค่าจ้างก่อสร้างและการอายัดเงินของเจ้าหนี้ภาษีอากร
โจทก์รับโอนสิทธิเรียกร้องเงินค่าจ้างรับเหมาก่อสร้างจากบริษัทอ.ที่บริษัทอ.มีต่อกรมชลประทานโดยความยินยอมของกรมชลประทานโดยชอบแล้ว บริษัทอ. จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องต่อกรมชลประทานอีกต่อไป กรมสรรพากร จำเลยที่ 7 ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ภาษีอากรของบริษัทอ.ย่อมจะขออายัดเงินที่กรมชลประทานจะต้องชำระให้แก่โจทก์ไม่ได้ แม้อายัดไปคำสั่งอายัดก็ย่อมไม่มีผลบังคับต่อกรมชลประทาน การที่คลังจังหวัดพะเยาโดยความยินยอมของกรมชลประทานได้ส่งเงินค่าจ้างซึ่งกรมชลประทานจะต้องชำระแก่โจทก์ไปให้จำเลยที่ 1ตามที่จำเลยที่ 1 มีคำสั่งอายัดไว้ ก็เป็นกรณีที่กรมชลประทานจะต้องรับผิดต่อการกระทำของตนเองกรณีดังกล่าวมิได้ทำให้สิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่จะได้รับชำระหนี้จากกรมชลประทานตามที่โจทก์ได้รับโอนมาจากบริษัทอ.เสื่อมเสียไปไม่ การกระทำของจำเลยทั้งสองไม่ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1773/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอายัดเงินบุคคลภายนอกต้องมีคำสั่งศาลก่อน เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องดำเนินการตามขั้นตอน ป.วิ.พ. มาตรา 311
การอายัดให้บุคคลภายนอกชำระเงินแก่เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 311 เสียก่อน กล่าวคือ เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาต้องยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องฝ่ายเดียวขอให้ศาลมีคำสั่งอายัดให้ เมื่อเจ้าหนี้ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดเงินให้โดยมิได้ขอให้ศาลมีคำสั่งอายัดเงินจำนวนดังกล่าวดังนั้น เมื่อบุคคลภายนอกไม่ยอมชำระเงินตามคำสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดีเจ้าพนักงานบังคับคดีต้องขอให้ศาลออกหมายอายัดให้ เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ได้ขอให้ออกหมายอายัด ศาลจึงไม่อนุญาตให้ออกหมายบังคับคดีแก่บุคคลภายนอก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1773/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอายัดเงินจากบุคคลภายนอกต้องมีคำสั่งศาล เจ้าพนักงานบังคับคดีใช้อำนาจสั่งอายัดเองไม่ได้
การอายัดให้บุคคลภายนอกชำระเงินแก่เจ้าพนักงานบังคับคดีนั้นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาต้องยื่นคำขอให้ศาลมีคำสั่งอายัดให้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 311 เสียก่อน คดีนี้เจ้าหนี้ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดเงินให้โดยมิได้ขอให้ศาลมีคำสั่งอายัด ดังนั้นเมื่อบริษัทช. ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกไม่ยอมชำระเงินตามคำสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดี เจ้าพนักงานบังคับคดีก็ต้องขอให้ศาลออกหมายอายัดให้จึงจะชอบ การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ได้ดำเนินการให้ศาลออกหมายอายัดดังกล่าว และจำเลยได้รับเงินจากบริษัท ช. ไปแล้ว เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงจะรายงานศาลให้ออกหมายบังคับคดีแก่บริษัท ช. หาได้ไม่
of 9