พบผลลัพธ์ทั้งหมด 100 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8641/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานชิงทรัพย์: การร่วมกระทำผิดและการลดโทษจากอายุและทรัพย์สินที่ได้ไป
++ เรื่อง ปล้นทรัพย์ ++
คนร้ายที่ใช้กำลังประทุษร้ายและเอาทรัพย์ของผู้เสียหายทั้งสองไปมีเพียง 2 คน เท่านั้นคือจำเลยกับ ส. ส่วนคนร้ายที่เหลืออีก 1 คน คือ ป.นั้นคงยืนเฉย ๆ มิได้กระทำการใด ๆ อันเป็นการช่วยเหลือจำเลยกับ ส. และพฤติการณ์แห่งคดีที่เกิดขึ้นก็เนื่องจากผู้เสียหายที่ 1 ขับรถจักรยานยนต์แซงรถจักรยานยนต์ที่จำเลยขับ แล้วจำเลยก็ขับแซงขึ้นไปจึงเกิดเหตุคดีนี้ขึ้น เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในทันทีทันใดโดยมิได้คบคิดกันมาก่อน เป็นเรื่องเฉพาะตัว จำเลยจึงมีความผิดฐานร่วมกันชิงทรัพย์ในเวลากลางคืนโดยใช้ยานพาหนะตาม ป.อ. มาตรา 339 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 340 ตรี เท่านั้น
ความผิดฐานปล้นทรัพย์ตามที่โจทก์ฟ้องรวมความผิดฐานชิงทรัพย์ด้วยศาลย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยฐานชิงทรัพย์ตามที่พิจารณาได้ความตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคท้าย
ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยกระทำความผิดฐานร่วมกันชิงทรัพย์โดยใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะ แต่ลงโทษตาม ป.อ.มาตรา 339วรรคหนึ่ง, 340 ตรี จึงไม่ถูกต้อง สมควรแก้ไขให้ถูกต้องเป็นจำเลยมีความผิดตามป.อ.มาตรา 339 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 340 ตรี และศาลฎีกามีอำนาจเพิ่มเติมโทษจำเลยได้ เพราะโจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษฐานปล้นทรัพย์ซึ่งมีโทษหนักขึ้น
คนร้ายที่ใช้กำลังประทุษร้ายและเอาทรัพย์ของผู้เสียหายทั้งสองไปมีเพียง 2 คน เท่านั้นคือจำเลยกับ ส. ส่วนคนร้ายที่เหลืออีก 1 คน คือ ป.นั้นคงยืนเฉย ๆ มิได้กระทำการใด ๆ อันเป็นการช่วยเหลือจำเลยกับ ส. และพฤติการณ์แห่งคดีที่เกิดขึ้นก็เนื่องจากผู้เสียหายที่ 1 ขับรถจักรยานยนต์แซงรถจักรยานยนต์ที่จำเลยขับ แล้วจำเลยก็ขับแซงขึ้นไปจึงเกิดเหตุคดีนี้ขึ้น เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในทันทีทันใดโดยมิได้คบคิดกันมาก่อน เป็นเรื่องเฉพาะตัว จำเลยจึงมีความผิดฐานร่วมกันชิงทรัพย์ในเวลากลางคืนโดยใช้ยานพาหนะตาม ป.อ. มาตรา 339 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 340 ตรี เท่านั้น
ความผิดฐานปล้นทรัพย์ตามที่โจทก์ฟ้องรวมความผิดฐานชิงทรัพย์ด้วยศาลย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยฐานชิงทรัพย์ตามที่พิจารณาได้ความตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคท้าย
ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยกระทำความผิดฐานร่วมกันชิงทรัพย์โดยใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะ แต่ลงโทษตาม ป.อ.มาตรา 339วรรคหนึ่ง, 340 ตรี จึงไม่ถูกต้อง สมควรแก้ไขให้ถูกต้องเป็นจำเลยมีความผิดตามป.อ.มาตรา 339 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 340 ตรี และศาลฎีกามีอำนาจเพิ่มเติมโทษจำเลยได้ เพราะโจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษฐานปล้นทรัพย์ซึ่งมีโทษหนักขึ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 757/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฆ่าจากพฤติการณ์ใช้มีดดาบฟันซ้ำ และการลดโทษจากอายุและรับสารภาพ
มีดที่จำเลยใช้ฟันผู้เสียหายมีความยาวประมาณ50 เซนติเมตร แสดงว่าเป็นมีดดาบขนาดใหญ่พอสมควรสามารถใช้เป็นอาวุธประทุษร้ายผู้อื่นถึงแก่ชีวิตได้บาดแผลของผู้เสียหายที่ 1 ปรากฏว่ากระดูกบริเวณหัวไหล่หักหากไม่นำตัวมารักษาอาจถึงแก่ความตายได้ ส่วนผู้เสียหายที่ 2มีบาดแผล 2 แห่ง ที่บริเวณศีรษะและบริเวณต้นคอขวาหากบาดแผลลึกอีกเพียงเล็กน้อยอาจทำให้ถึงแก่ความตายได้เนื่องจากเป็นอวัยวะสำคัญ แสดงว่าโอกาสที่ฟัน จำเลยฟันโดยเลือกฟันอวัยวะสำคัญ เมื่อพิจารณารวมถึง มูลเหตุโกรธเคืองระหว่างจำเลยกับผู้เสียหายที่ 1 ซึ่งทะเลาะวิวาทกันมาก่อนเกิดเหตุ และพฤติการณ์ของ จำเลยที่ฟันผู้เสียหายที่ 1 แสดงว่าจำเลยฟันผู้เสียหายทั้งสอง โดยมีเจตนาฆ่า ประกอบกับพฤติการณ์ที่จำเลยใช้มีดดาบ ฟันผู้เสียหายที่ 1 ขณะนั่งอยู่บนรถจักรยานยนต์ครั้งหนึ่งแล้ว และขณะผู้เสียหายที่ 1 กำลังวิ่งหนีไปบ้านภริยา ก็ถูกจำเลยตามไล่ฟันอีกครั้ง หากผู้เสียหายที่ 1 วิ่งหนีเข้าบ้านภริยาไม่ทันก็อาจถูกจำเลยฟันซ้ำ ถึงแก่ความตายได้ โดยปรากฏว่าจำเลยยังได้ฟันอีกครั้งแต่พลาด ข้อเท็จจริงจึงมีเหตุผลเชื่อได้ว่าจำเลยกระทำผิดโดยเจตนาฆ่าผู้เสียหายทั้งสอง จำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหายทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 552/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาโทษคดีรับของโจรโดยคำนึงถึงความสัมพันธ์ภายในครอบครัว อายุ และประวัติของผู้ต้องหา เพื่อรอการลงโทษ
จำเลยทำผิดฐานรับของโจร เมื่อปรากฏตามคำแถลงของผู้เสียหายว่า จำเลยเป็นญาติกับผู้เสียหาย แสดงว่าเป็นเรื่องภายในเครือญาติกัน พฤติการณ์แห่งคดีจึงมิใช่เรื่องร้ายแรงและผู้เสียหายแถลงว่าได้รับทรัพย์ของกลางคืนแล้ว จึงไม่ติดใจเอาความแก่จำเลย อีกทั้งจำเลยเป็นหญิงอายุมากถึง 59 ปีแล้วและไม่ปรากฏว่าจำเลยได้รับโทษจำคุกมาก่อน จึงมีเหตุอันควรปรานี สมควรกำหนดโทษและรอการลงโทษจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 455/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุผู้เสียหายเป็นสำคัญ: การเปลี่ยนแปลงอายุตามคำเบิกความมารดาทำให้ข้อหาข่มขืนไม่成立
แม้ผู้เสียหายเบิกความว่า ผู้เสียหายเกิดวันที่ 17ตุลาคม 2521 ตามสูติบัตรและสำเนาทะเบียนบ้าน แต่นาง ท.มารดาผู้เสียหายเบิกความตอบทนายจำเลยถามค้านว่าขณะที่ผู้เสียหายเกิดนั้นตนยังไม่ได้ไปแจ้งเกิดในทันทีแต่ไปแจ้งเกิดเมื่อผู้เสียหายมีอายุ 9 เดือน วันเดือนปีเกิดที่ระบุในสูติบัตรเป็นวันที่ไปแจ้งเกิดผู้เสียหาย มิใช่วันเกิดที่แท้จริง เมื่อวันเกิดของผู้เสียหาย ไม่มีใครทราบได้ดีกว่ามารดาผู้เสียหายเพราะเป็นผู้ อุ้มท้องและคลอดผู้เสียหายเอง ย่อมต้องจดจำวันได้อย่างแม่นยำ คำเบิกความของนาง ท. จึงน่าเชื่อถือขณะเกิดเหตุผู้เสียหายมีอายุตามสูติบัตร 14 ปี 6 เดือน เมื่อรวมอีก 9 เดือนด้วยแล้วขณะเกิดเหตุผู้เสียหายมีอายุที่แท้จริง 15 ปีเศษแล้ว อายุของผู้เสียหายนั้นต้องถือตามความเป็นจริง เมื่อจำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายขณะมีอายุเกินกว่า 15 ปีแล้ว มิใช่ 14 ปีเศษตามฟ้องการกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3881/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สำคัญผิดในอายุผู้เสียหาย: เจตนาความผิดฐานกระทำอนาจาร
จำเลยได้พาเด็กหญิง ส. ผู้เสียหายไปเพื่อจะกระทำชำเราในขณะที่ผู้เสียหายอายุ 14 ปี 10 เดือนเศษ โดยผู้เสียหายสมัครใจยินยอมไปกับจำเลย และจำเลยกอดจูบกระทำอนาจารแก่ผู้เสียหาย แม้การกระทำของจำเลยอาจเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 279 วรรคหนึ่ง ก็ตาม แต่การที่ผู้เสียหายมีรูปร่างและลักษณะการพูดจาทำให้จำเลยสำคัญผิดว่าผู้เสียหายอายุ 18 ถึง 19 ปีซึ่งเป็นการสำคัญผิดในข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิดฐานกระทำอนาจารผู้เสียหายอายุไม่เกิน 15 ปี ตาม ป.อ.มาตรา 279 วรรคหนึ่ง การกระทำของจำเลยจึงขาดเจตนากระทำความผิดฐานดังกล่าวตามมาตรา 59 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1258/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพรากเด็กและการสมรสภายหลัง – ผลต่อการดำเนินคดีอาญา
ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคแรก ต่อมาระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลย และผู้เสียหายสมรสกันโดยบิดามารดาผู้เสียหายอนุญาต ดังนั้น จำเลยจึงไม่ต้องรับโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคท้าย โดยศาลยกขึ้นเอง ได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 185,215,225 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317 มิได้จำกัดว่าการพรากเด็ก จะต้องกระทำโดยวิธีการอย่างใด แม้เด็กจะมีรูปร่างใหญ่โต แต่อายุไม่เกิน 15 ปี และเด็กเต็มใจไปด้วยก็ตามก็เป็นความผิดและต้องเป็นการกระทำโดยปราศจากเหตุอันสมควรการที่เด็กอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาและ บิดามารดา โดยบิดามารดามีอำนาจปกครองและมีสิทธิกำหนดที่อยู่ของบุตรนั้น เมื่อจำเลยพาเด็กไปถือเป็นการกระทำ โดยปราศจากเหตุอันสมควรเป็นความผิดตามมาตรา 317 วรรคแรก แล้วส่วนการที่จำเลยกับผู้เสียหายรักกันด้วยความสุจริตใจต่างมี เจตนาอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา การกระทำของจำเลย ขาดเจตนาเพื่อการอนาจาร จึงไม่เป็นความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7627/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดระยะเวลาควบคุมตัวเยาวชนตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนฯ ต้องไม่เกินอายุ 24 ปีบริบูรณ์
การเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวไปควบคุมเพื่อฝึกและอบรมยังสถานพินิจตามเวลาที่ศาลกำหนดตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 104 (2) นั้น ต้องไม่เกินกว่าที่เด็กหรือเยาวชนนั้นมีอายุครบยี่สิบสี่ปีบริบูรณ์ เว้นแต่กรณีที่ศาลมีคำสั่งตามวรรคสุดท้ายของมาตรา 104 ซึ่งตามบทบัญญัติของกฎหมายจะต้องระบุให้ชัดเจนในคำพิพากษาว่า เมื่อจำเลยมีอายุครบยี่สิบสี่ปีบริบูรณ์แล้วให้ส่งตัวจำเลยไปจำคุกไว้ในเรือนจำตามเวลาที่ศาลกำหนดด้วย
จำเลยจะมีอายุครบยี่สิบสี่ปีบริบูรณ์ วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2543ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาวันที่ 29 ธันวาคม 2540 ให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นการส่งตัวจำเลยไปควบคุมเพื่อฝึกและอบรมมีกำหนดขั้นต่ำ 2 ปี ขั้นสูง 4 ปี นับแต่วันพิพากษาตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 104(2) จึงครบกำหนดฝึกและอบรมขั้นต่ำกำหนด 2 ปี ในวันที่ 29 ธันวาคม 2542 และครบกำหนดฝึกและอบรมขั้นสูง4 ปี วันที่ 29 ธันวาคม 2544 ซึ่งเกินกว่าที่จำเลยมีอายุครบยี่สิบสี่ปีบริบูรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์ที่พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นจึงขัดต่อกฎหมาย ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องเป็นว่าให้ส่งตัวจำเลยไปรับการฝึกอบรมมีกำหนดขั้นสูงจนกว่าจำเลยจะมีอายุครบยี่สิบสี่ปีบริบูรณ์ตามมาตรา 104 ประกอบด้วยมาตรา 105
จำเลยจะมีอายุครบยี่สิบสี่ปีบริบูรณ์ วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2543ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาวันที่ 29 ธันวาคม 2540 ให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นการส่งตัวจำเลยไปควบคุมเพื่อฝึกและอบรมมีกำหนดขั้นต่ำ 2 ปี ขั้นสูง 4 ปี นับแต่วันพิพากษาตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 104(2) จึงครบกำหนดฝึกและอบรมขั้นต่ำกำหนด 2 ปี ในวันที่ 29 ธันวาคม 2542 และครบกำหนดฝึกและอบรมขั้นสูง4 ปี วันที่ 29 ธันวาคม 2544 ซึ่งเกินกว่าที่จำเลยมีอายุครบยี่สิบสี่ปีบริบูรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์ที่พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นจึงขัดต่อกฎหมาย ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องเป็นว่าให้ส่งตัวจำเลยไปรับการฝึกอบรมมีกำหนดขั้นสูงจนกว่าจำเลยจะมีอายุครบยี่สิบสี่ปีบริบูรณ์ตามมาตรา 104 ประกอบด้วยมาตรา 105
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7627/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดระยะเวลาควบคุมและฝึกอบรมเยาวชน ต้องไม่เกินอายุ 24 ปีบริบูรณ์ ตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนฯ
การเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวไปควบคุมเพื่อฝึก และอบรมยังสถานพินิจตามเวลาที่ศาลกำหนดตาม พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและ วิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 104(2) นั้น ต้องไม่เกินกว่าที่เด็กหรือเยาวชนนั้นมีอายุครบยี่สิบสี่ปี บริบูรณ์ เว้นแต่กรณีที่ศาลมีคำสั่งตามวรรคสุดท้ายของมาตรา 104 ซึ่งตามบทบัญญัติของกฎหมายจะต้องระบุให้ชัดเจนใน คำพิพากษาว่า เมื่อจำเลยมีอายุครบยี่สิบสี่ปีบริบูรณ์แล้วให้ ส่งตัวจำเลยไปจำคุกไว้ในเรือนจำตามเวลาที่ศาลกำหนดด้วย จำเลยจะมีอายุครบยี่สิบสี่ปีบริบูรณ์ วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2543 ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา วันที่ 29 ธันวาคม 2540 ให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นการส่งตัวจำเลย ไปควบคุมเพื่อฝึกและอบรมมีกำหนดขั้นต่ำ 2 ปี ขั้นสูง 4 ปี นับแต่วันพิพากษาตาม พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัว และวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 104(2) จึงครบกำหนดฝึกและอบรมขั้นต่ำกำหนด 2 ปี ในวันที่ 29 ธันวาคม 2542 และครบกำหนดฝึกและอบรมขั้นสูง 4 ปี วันที่ 29 ธันวาคม 2544 ซึ่งเกินกว่าที่จำเลยมีอายุครบ ยี่สิบสี่ปีบริบูรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์ที่พิพากษายืนตามคำพิพากษา ศาลชั้นต้นจึงขัดต่อกฎหมาย ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหา ข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้น วินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องเป็นว่าให้ส่งตัวจำเลยไปรับการฝึกอบรม มีกำหนดขั้นสูงจนกว่าจำเลยจะมีอายุครบยี่สิบสี่ปีบริบูรณ์ ตามมาตรา 104 ประกอบด้วยมาตรา 105
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 94/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสารภาพและการสืบพยาน: ศาลต้องฟังพยานก่อนลงโทษ แม้จำเลยอายุน้อย
ความผิดที่กฎหมายกำหนดอัตราโทษอย่างต่ำไว้ให้จำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไปเมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา176วรรคหนึ่งแม้จำเลยมีอายุ16ปีเศษและถ้าศาลเห็นสมควรพิพากษาลงโทษก็ให้ลดมาตราส่วนโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นลงกึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา75แต่ก็ยังคงเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องสืบพยานให้ได้ความถึงการกระทำผิดของจำเลยเมื่อปรากฏว่าจำเลยให้การรับสารภาพโจทก์จำเลยแถลงไม่สืบพยานศาลชั้นต้นจึงให้รอฟังคำพิพากษาและได้อ่านคำพิพากษาให้โจทก์จำเลยฟังได้ในวันนั้นเองถือว่าโจทก์ไม่ได้สืบพยานให้เห็นว่าจำเลยได้กระทำผิดจริงย่อมลงโทษจำเลยไม่ได้การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค2พิพากษาลงโทษจำเลยจึงไม่ถูกต้องปัญหานี้แม้จำเลยมิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและพิพากษายกฟ้องโจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา195วรรคสองประกอบด้วยมาตรา225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5176/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สำคัญผิดเรื่องอายุผู้เสียหาย: ไม่มีเจตนาความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 277, 279
ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา277และมาตรา279ผู้กระทำความผิดจะต้องกระทำแก่เด็กอายุไม่เกิน15ปีเรื่องอายุของผู้เสียหายเป็นองค์ประกอบความผิดด้วยเมื่อจำเลยสำคัญผิดในเรื่องอายุของผู้เสียหายแม้ความจริงไม่ใช่อย่างที่จำเลยสำคัญผิดจำเลยย่อมไม่มีความผิดการที่จำเลยไม่รู้จักผู้เสียหายมาก่อนก็ไม่มีข้อห้ามที่ไม่ให้จำเลยอ้างความสำคัญผิดมาเป็นข้อแก้ตัว