พบผลลัพธ์ทั้งหมด 102 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6560/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความมรดกและการครอบครองทรัพย์มรดกในฐานะทายาทและผู้จัดการมรดก ไม่ตัดสิทธิทายาทอื่นในการฟ้องแบ่งมรดก
โจทก์ทั้งสามฟ้องขอแบ่งที่ดินอันเป็นทรัพย์มรดกของ บ.จากจำเลยให้แก่โจทก์คนละ1ใน5ส่วนโดยตีราคาทุนทรัพย์รวมกันมาในคำฟ้องเป็นเงิน78,000บาทจำเลยโต้เถียงว่าที่พิพาททั้งสามส่วนดังกล่าวเป็นของจำเลยมิใช่ทรัพย์มรดกของ บ. จึงไม่อาจแยกคิดทุนทรัพย์แต่ละส่วนตามที่โจทก์ทั้งสามขอมาได้อุทธรณ์ของจำเลยจึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์78,000บาทไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง การที่จำเลยครอบครองที่พิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกของ บ.ในฐานะทายาทก็ดีและในฐานะผู้จัดการมรดกก็ดีถือได้ว่าเป็นการครอบครองแทนทายาทคนอื่นด้วยจำเลยจึงยกอายุความ1ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1754มาใช้บังคับไม่ได้โจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นทายาทย่อมฟ้องขอแบ่งที่พิพาทจากจำเลยได้แม้เกินกำหนด1ปีนับแต่ บ. ถึงแก่ความตายก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6560/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความมรดกและการครอบครองทรัพย์มรดกในฐานะทายาท/ผู้จัดการมรดก ไม่ตัดสิทธิทายาทในการฟ้องแบ่งมรดก
โจทก์ทั้งสามฟ้องขอแบ่งที่ดินอันเป็นทรัพย์มรดกของ บ.จากจำเลยให้แก่โจทก์คนละ1ใน5ส่วนโดยตีราคาทุนทรัพย์รวมกันมาในคำฟ้องเป็นเงิน78,000บาทจำเลยโต้เถียงว่าที่พิพาททั้งสามส่วนดังกล่าวเป็นของจำเลยมิใช่ทรัพย์มรดกของ บ. จึงไม่อาจแยกคิดทุนทรัพย์แต่ละส่วนตามที่โจทก์ทั้งสามขอมาได้อุทธรณ์ของจำเลยจึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์78,000บาทไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง การที่จำเลยครอบครองที่พิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกของ บ.ในฐานะทายาทก็ดีและในฐานะผู้จัดการมรดกก็ดีถือได้ว่าเป็นการครอบครองแทนทายาทคนอื่นด้วยจำเลยจึงยกอายุความ1ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1754มาใช้บังคับไม่ได้โจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นทายาทย่อมฟ้องขอแบ่งที่พิพาทจากจำเลยได้แม้เกินกำหนด1ปีนับแต่ บ. ถึงแก่ความตายก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6460/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความมรดก: การครอบครองทรัพย์มรดกโดยผู้ทำกินร่วมก่อนเจ้ามรดกถึงแก่กรรม ทำให้สิทธิเรียกร้องแบ่งมรดกของทายาทอื่นขาดอายุความ
จำเลยทั้งสองทำกินในทรัพย์มรดกร่วมกับเจ้ามรดกและมารดาจำเลยทั้งสองก่อนเจ้ามรดกถึงแก่กรรม 10 ปีเศษ เมื่อเจ้ามรดกถึงแก่กรรมก็ยังครอบครองทรัพย์มรดกนับแต่เจ้ามรดกถึงแก่กรรมเกิน 10 ปีแล้ว โดยโจทก์และผู้ร้องสอดไม่ได้เข้ามาเกี่ยวข้องตั้งแต่แรก ฉะนั้นสิทธิของโจทก์และผู้ร้องสอดให้จำเลยทั้งสองแบ่งมรดกซึ่งเป็นคดีมรดกจึงต้องห้ามมิให้ฟ้องตาม ป.พ.พ.มาตรา 1754 วรรคท้าย สิทธิในทรัพย์มรดกดังกล่าวย่อมตกแก่จำเลยทั้งสองโดยสมบูรณ์ การที่จำเลยที่ 1 ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกในเวลาต่อมาก็เพื่อจะดำเนินการให้มีอำนาจเปลี่ยนแปลงหลักฐานทางทะเบียนให้ได้สิทธิโดยสมบูรณ์ในทรัพย์มรดกเท่านั้น หาใช่เพื่อประโยชน์แก่ทายาทอื่น ๆ ซึ่งสิ้นสิทธิในการฟ้องคดีเกี่ยวกับทรัพย์มรดกไปโดยบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1754 แล้วไม่
กรณีดังกล่าวมิใช่กรณีจำเลยที่ 1 สละประโยชน์แห่งอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 192 เดิม หรือ 193/24 ใหม่ ฉะนั้นถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองครอบครองทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกแทนหรือเพื่อประโยชน์แก่ทายาทอื่นทั้งปวงของเจ้ามรดก โจทก์และผู้ร้องจะยกเอาประโยชน์แห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1748 มาอ้างสิทธิเพื่อเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองแบ่งทรัพย์มรดกเมื่อล่วงพ้นกำหนดอายุความตามมาตรา 1754 แล้วหาได้ไม่ จำเลยจึงยกอายุความใช้ยันโจทก์และผู้ร้องสอดได้
กรณีดังกล่าวมิใช่กรณีจำเลยที่ 1 สละประโยชน์แห่งอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 192 เดิม หรือ 193/24 ใหม่ ฉะนั้นถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองครอบครองทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกแทนหรือเพื่อประโยชน์แก่ทายาทอื่นทั้งปวงของเจ้ามรดก โจทก์และผู้ร้องจะยกเอาประโยชน์แห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1748 มาอ้างสิทธิเพื่อเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองแบ่งทรัพย์มรดกเมื่อล่วงพ้นกำหนดอายุความตามมาตรา 1754 แล้วหาได้ไม่ จำเลยจึงยกอายุความใช้ยันโจทก์และผู้ร้องสอดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6460/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความมรดก: จำเลยครอบครองทรัพย์มรดกเกิน 10 ปี ยื่นคำร้องเป็นผู้จัดการมรดกเพื่อเปลี่ยนแปลงหลักฐานทางทะเบียน อายุความย่อมตัดสิทธิทายาทอื่น
จำเลยทั้งสองทำกินในทรัพย์มรดกร่วมกับเจ้ามรดกและมารดาจำเลยทั้งสามก่อนเจ้ามรดกถึงแก่กรรม10ปีเศษเมื่อเจ้ามรดกถึงแก่กรรมก็ยังครอบครองทรัพย์มรดกนับแต่เจ้ามรดกถึงแก่กรรมเกิน10ปีแล้วโดยโจทก์และผู้ร้องสอดไม่ได้เข้ามาเกี่ยวข้องตั้งแต่แรกฉะนั้นสิทธิของโจทก์และผู้ร้องสอดให้จำเลยทั้งสองแบ่งมรดกซึ่งเป็นคดีจึงต้องห้ามมิให้ฟ้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1754วรรคท้ายสิทธิในทรัพย์มรดกดังกล่าวย่อมตกแก่จำเลยทั้งสองโดยสมบูรณ์การที่จำเลยที่1ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกในเวลาต่อมาก็เพื่อจะดำเนินการให้มีอำนาจเปลี่ยนแปลงหลักฐานทางทะเบียนให้ได้สิทธิโดยสมบูรณ์ในทรัพย์มรดกเท่านั้นหาใช้เพื่อประโยชน์แก่ทายาทอื่นๆซึ่งสิ้นสิทธิในการฟ้องคดีเกี่ยวกับทรัพย์มรดกไปโดยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1754แล้วไม่ กรณีดังกล่าวมิใช่กรณีจำเลยที่1สละประโยชน์แห่งอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา192เดิมหรือ193/24ใหม่ฉะนั้นถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองครอบครองทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกแทนหรือเพื่อประโยชน์แก่ทายาทอื่นทั้งปวงของเจ้ามรดกโจทก์และผู้ร้องจะยกเอาประโยชน์แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1748มาอ้างสิทธิเพื่อเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองแบ่งทรัพย์มรดกเมื่อล่วงพ้นกำหนดอายุความตามมาตรา1754แล้วหาได้ไม่จำเลยจึงยกอายุความใช้ยันโจทก์และผู้ร้องสอดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 638/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อบกพร่องคำให้การเรื่องอายุความมรดก ทำให้ไม่เกิดประเด็น และไม่ตัดสิทธิโจทก์
จำเลยให้การว่า บิดาโจทก์และจำเลยยืมเงินจำเลยไปใช้จ่ายในการต่อสู้คดี ต่อมาไม่มีเงินที่จะใช้คืนแก่จำเลยจึงตกลงเอาที่ดินพิพาทตีใช้หนี้จำเลยได้ขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทเป็นชื่อของจำเลยตั้งแต่ปี 2520 และได้ครอบครองที่ดินพิพาทตลอดมาจึงได้สิทธิครอบครองและคดีของโจทก์ขาดอายุความฟ้องร้องตามกฎหมาย คำให้การดังกล่าวของจำเลยมิได้แสดงโดยชัดแจ้งว่าคดีของโจทก์ขาดอายุความเรื่องอะไรและเพราะเหตุใดเป็นคำให้การที่ไม่ถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง ไม่ก่อให้เกิดประเด็นเรื่องคดีของโจทก์ขาดอายุความมรดก ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3136/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดจากหน้าที่ดูแล-อายุความมรดก: นายกเทศมนตรีละเลยไม่ฟ้องบังคับทายาทตามข้อตกลง
บันทึกข้อตกลงที่ ร.ยกที่ดินให้เทศบาลเมืองยโสธรโจทก์สร้างตลาดสด โดยมีข้อตกลงว่า ร.จะสร้างอาคารพาณิชย์ให้เสร็จครบทุกหลังภายในกำหนด 3 ปี นับแต่โจทก์สร้างตลาดสดเสร็จและเปิดดำเนินการ และจะยกกรรมสิทธิ์ให้โจทก์ 2 คูหา โดยจะสร้างเสร็จภายใน 2 ปี นับแต่สร้างตลาดสดเสร็จและเปิดดำเนินการ แล้วโจทก์จะให้ ร.เช่าอาคารพาณิชย์ 2 คูหา มีกำหนด 12 ปีค่าเช่าคูหาละ 200 บาท ต่อเดือน หาก ร.สร้างไม่เสร็จตามกำหนด ก็จะต้องเสียค่าเช่าตามอัตราดังกล่าวแก่โจทก์มีกำหนด 12 ปี เป็นสัญญาอย่างหนึ่งซึ่งก่อให้เกิดบุคคลสิทธิขึ้นในอันที่จะเรียกร้องให้บังคับกันได้ตามกฎหมายระหว่างโจทก์และ ร.
จำเลยที่ 1 เป็นผู้นำ ร.มาทำความตกลงกับโจทก์ และยังได้ลงลายมือชื่อเป็นพยานในบันทึกข้อตกลงระหว่างโจทก์และ ร.ด้วย จำเลยที่ 1ย่อมจะทราบดีอยู่แล้วว่า ร.มีข้อผูกพันที่จะต้องปฏิบัติต่อโจทก์ให้เป็นไปตามข้อตกลงดังกล่าวนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีต่อจาก ส. จำเลยที่ 1มีฐานะเป็นผู้แทนโจทก์ จำเลยที่ 1 ชอบที่จะดำเนินการเรียกร้องให้ ร.ปฏิบัติตามข้อตกลงที่ทำไว้ แต่จำเลยที่ 1 หาได้กระทำการดังกล่าวไม่ จำเลยที่ 1 คงปล่อยปละละเลยเรื่อยมาจนกระทั่งร.ถึงแก่กรรม และจำเลยที่ 1 ก็ยังปล่อยให้เวลาล่วงพ้นไปเป็นเวลาเนิ่นนานถึง 7 ปี โดยมิได้ฟ้องบังคับเอาแก่ทายาทของ ร.จนคดีขาดอายุความมรดกแล้ว ย่อมถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์เสียหายอันเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นปลัดเทศบาล จำเลยที่ 2ได้ไปทวงถามทายาทของ ร.ตามที่จำเลยที่ 1 มอบหมายอันเป็นการปฏิบัติไปตามอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ 2 แล้ว ส่วนอำนาจในการฟ้องคดีเป็นอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 หาได้มีอำนาจเช่นนั้นไม่ จำเลยที่ 2 จึงมิได้ทำละเมิดต่อโจทก์
ร.ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 12 เมษายน 2521 ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1754 วรรคแรก บังคับให้จำเลยที่ 1 ต้องฟ้องคดีเพื่อบังคับเอาแก่ทายาทของ ร.ภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ ร.ถึงแก่กรรม แต่จำเลยที่ 1 ปล่อยปละละเลยไม่ฟ้องคดีจนขาดอายุความ จึงถือได้ว่าเหตุละเมิดเกิดขึ้นตั้งแต่วันพ้นกำหนดอายุความคือวันที่ 13 เมษายน 2522 จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชดใช้ดอกเบี้ยนับแต่วันดังกล่าวเป็นต้นไป
จำเลยที่ 1 เป็นผู้นำ ร.มาทำความตกลงกับโจทก์ และยังได้ลงลายมือชื่อเป็นพยานในบันทึกข้อตกลงระหว่างโจทก์และ ร.ด้วย จำเลยที่ 1ย่อมจะทราบดีอยู่แล้วว่า ร.มีข้อผูกพันที่จะต้องปฏิบัติต่อโจทก์ให้เป็นไปตามข้อตกลงดังกล่าวนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีต่อจาก ส. จำเลยที่ 1มีฐานะเป็นผู้แทนโจทก์ จำเลยที่ 1 ชอบที่จะดำเนินการเรียกร้องให้ ร.ปฏิบัติตามข้อตกลงที่ทำไว้ แต่จำเลยที่ 1 หาได้กระทำการดังกล่าวไม่ จำเลยที่ 1 คงปล่อยปละละเลยเรื่อยมาจนกระทั่งร.ถึงแก่กรรม และจำเลยที่ 1 ก็ยังปล่อยให้เวลาล่วงพ้นไปเป็นเวลาเนิ่นนานถึง 7 ปี โดยมิได้ฟ้องบังคับเอาแก่ทายาทของ ร.จนคดีขาดอายุความมรดกแล้ว ย่อมถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์เสียหายอันเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นปลัดเทศบาล จำเลยที่ 2ได้ไปทวงถามทายาทของ ร.ตามที่จำเลยที่ 1 มอบหมายอันเป็นการปฏิบัติไปตามอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ 2 แล้ว ส่วนอำนาจในการฟ้องคดีเป็นอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 หาได้มีอำนาจเช่นนั้นไม่ จำเลยที่ 2 จึงมิได้ทำละเมิดต่อโจทก์
ร.ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 12 เมษายน 2521 ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1754 วรรคแรก บังคับให้จำเลยที่ 1 ต้องฟ้องคดีเพื่อบังคับเอาแก่ทายาทของ ร.ภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ ร.ถึงแก่กรรม แต่จำเลยที่ 1 ปล่อยปละละเลยไม่ฟ้องคดีจนขาดอายุความ จึงถือได้ว่าเหตุละเมิดเกิดขึ้นตั้งแต่วันพ้นกำหนดอายุความคือวันที่ 13 เมษายน 2522 จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชดใช้ดอกเบี้ยนับแต่วันดังกล่าวเป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 786/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความมรดก: ผู้จัดการมรดกครอบครองแทนทายาท ไม่สามารถอ้างอายุความได้ แม้จัดการมรดกยังไม่เสร็จสิ้น
จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทในฐานะเป็นผู้จัดการมรดก เป็นการครอบครองแทนทายาทอื่นด้วย เมื่อการจัดการมรดกยังไม่เสร็จสิ้นแม้จำเลยจะครอบครองนานเพียงใด จำเลยก็จะยกอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 1754 วรรคหนึ่ง และวรรคสี่ขึ้นต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นทายาทหาได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 722/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความมรดก: การฟ้องเรียกมรดกพ้นกำหนด 1 ปี นับจากเจ้ามรดกเสียชีวิต
จำเลยยกอายุความมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 ขึ้นต่อสู้โจทก์ซึ่งฟ้องเรียกที่ดินมรดกจากจำเลย แม้ศาลชั้นต้นพิจารณาข้อเท็จจริงแล้ว ปรับเข้า ป.พ.พ. มาตรา 1375 วินิจฉัยว่า จำเลยแย่งการครอบครองที่ดิน พิพาททรัพย์มรดกเกินกว่าหนึ่งปี โจทก์ขาดสิทธิฟ้องเอาคืนก็ตามศาลอุทธรณ์ย่อมพิพากษาว่าคดีโจทก์ขาดอายุความฟ้องเรียกมรดกตามมาตรา 1754 ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 722/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความมรดก: ทายาทฟ้องคดีเกิน 1 ปีนับจากเจ้ามรดกเสียชีวิต คดีขาดอายุความ
โจทก์ซึ่งเป็นทายาทและผู้สืบสิทธิของ ร. ฟ้องเรียกที่ดินมรดกซึ่ง ร. ไม่เคยเข้าไปเกี่ยวข้อง และมิได้มอบหมายให้จำเลยครอบครองดูแลที่ดินมรดกส่วนของ ร. เมื่อโจทก์ฟ้องคดีมรดกพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เจ้ามรดกตาย คดีโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 จำเลยยกอายุความมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754ขึ้นต่อสู้ แม้ศาลชั้นต้นพิจารณาข้อเท็จจริงแล้วปรับด้วยมาตรา 1375วินิจฉัยว่าจำเลยแย่งการครอบครองที่ดินพิพาททรัพย์มรดกเกินกว่าหนึ่งปี โจทก์ขาดสิทธิฟ้องเอาคืนก็ตาม ศาลอุทธรณ์ย่อมพิพากษาว่าคดีโจทก์ขาดอายุความฟ้องคดีมรดกตาม มาตรา 1754 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1287/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความมรดก: การจัดการทรัพย์มรดกโดยผู้จัดการมรดกแต่ผู้เดียว และการยินยอมของทายาท ทำให้ขาดอายุความเรียกร้อง
ขณะ บ. ซึ่งเป็นมารดาโจทก์และจำเลยทั้งสามตาย บุตรทุกคนไม่ได้อยู่กับ ท. ซึ่งเป็นบิดาและ บ. ขณะนั้นจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นบุตรคนสุดท้องอายุ 19 ปีเศษ โจทก์และบุตรคนอื่น บรรลุนิติภาวะหมดแล้วนอกจากที่ดินพิพาทแล้ว ท. และ บ. ยังมีทรัพย์สินร่วมกันอีกหลายอย่างเมื่อ บ. ตาย ท. ได้เข้าจัดการทรัพย์สินทุกอย่างรวมทั้งได้ขอรับมรดกที่ดินของ บ. ลงชื่อ ท. ถือกรรมสิทธิ์ไว้คนเดียว และได้จดทะเบียนให้จำเลยทั้งสามถือ กรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาท แสดงว่า ท.ได้ถือตนว่าเป็นเจ้าของทรัพย์สินทั้งส่วนของตนและส่วนที่เป็น มรดกของ บ. แต่ผู้เดียวตลอดมามิได้ครอบครองที่ดินพิพาทไว้แทนบุตรด้วยแต่ประการใด โจทก์และบุตรทุกคนต่างยินยอมรับปฏิบัติตามต่อการกระทำของ ท.มาแต่ต้นไม่เคยคัดค้านการจัดการทรัพย์สินของท.เลย โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อเกินสิบปีนับแต่ บ. ตาย สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในทรัพย์มรดกของ บ. จึงเป็นอันขาดอายุความ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสุดท้าย โจทก์ ไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมที่ ท. ยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยทั้งสาม.